มีพระพุทธเจ้า เป็น สรณะ...ไม่ใช่สำหรับขอ.!
แต่ สำหรับ ให้ "เข้าใจ".....ให้ "เกิดปัญญา"
และ ให้ "รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ"
.
มี พระธรรม เป็น สรณะ.!
พระพุทธเจ้า ตรัส อย่างไร............?
พระพุทธเจ้า สอน อย่างไร...........?
เราก็เป็น
ผู้ที่ ประพฤติ ปฏิบัติตาม.!
.
มิฉะนั้น
เราก็ไม่มี "ความเข้าใจ" อะไรเลย.!
เราก็เป็นเพียงพูดตาม
ว่า พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ....ถึงพระพุทธเจ้า เป็น สรณะ.
แต่ ไม่รู้จัก พระองค์
ว่า พระองค์
ตรัสรู้ ความจริง อย่างนี้.!
เพราะฉะนั้น
"ไม่เข้าใจ" พระธรรม คำสอน
ก็ไม่ได้ พึ่งพระรัตนตรัย จริง ๆ
แต่ กล่าวว่า พึ่งพระรัตนตรัย.!
.
พระธรรม ที่ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง
ไม่พ้นวิสัย ที่เราจะ ค่อย ๆ "เข้าใจ" ได้.
.
และ การที่จะ ประพฤติ ปฏิบัติตามได้ นั้น
ต้อง สืบเนื่องมาจาก........."ความเข้าใจ"
ถ้า "ไม่เข้าใจ"
ก็ ประพฤติ ปฏิบัติตาม
ไม่ได้.!
.
จริง ๆ แล้ว...ก็คือ "สติปัฏฐาน" นั่นเอง
ค่อย ๆ "เข้าใจ"
ค่อย ๆ "ระลึก" ไปเรื่อย ๆ
"สติปัฏฐาน" ระลึกรู้ได้ ทั้งนั้น.!
อย่างเช่น
ขณะที่ "กำลังเห็น" ขณะนี้
"สติปัฏฐาน"
ระลึกรู้ "วิบากจิต" คือ ผลของกรรม.
หมายความว่า
พอ "เห็น" แล้ว
"สติ"
ก็ระลึก ตรง "ลักษณะ" ของสภาพธรรม
ที่ "มีลักษณะ" ปรากฏให้จิต รู้ได้.
ซึ่ง ก็คือ "ปรมัตถธรรม" นั่นเอง.
การระลึก ตรง "ลักษณะ"
ที่เป็น "สภาพรู้"
ที่กำลังปรากฏ ให้รู้ได้ ในขณะนั้น
เพื่อให้ "เข้าใจ" ใน "ลักษณะของสภาพรู้" นั้น
ตามปกติ ตามคามเป็นจริง
ว่า เป็น "สภาพธรรมชนิดหนึ่ง"
ที่ มีจริง ๆ
และ เกิดขึ้น เพราะเหตุ-ปัจจัย
แล้ว ดับไปทันที
ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ใด ๆ เลย.!
นี่ คือ
"สติปัฏฐาน"
.
สภาพรู้...มีจริง.!
ถ้า "ไม่เข้าใจ" ใน "ลักษณะของสภาพรู้"
ก็ ไม่ใช่ "สติปัฏฐาน"
แต่ถ้า "เป็นสติปัฏฐาน"
หมายความว่า
มี "สภาพรู้" กำลังปรากฏ
แล้ว "เริ่มเข้าใจ"
ใน "ลักษณะที่เป็นอาการรู้"
.
"สภาพรู้" เป็นเพียง "ธาตุที่รู้"
ไม่มีหน้าที่อื่น
นอกจาก "รู้อารมณ์" เท่านั้น.!
"สภาพรู้"
ไม่มีรูปร่าง มีเพียง "อาการที่รู้"
เช่น
ขณะที่ "เจ็บปวด"
"ความเจ็บปวด" ไม่มีรูปร่าง
"ความจำ" ก็ ไม่มีรูปร่าง
เป็นต้น.
.
อย่างเวลาที่เราพูดเรื่อง "ธาตุ"
มี "ธาตุ" ตั้งหลายชนิด.
"ธาตุรู้"
ก็เป็น "ธาตุชนิดหนึ่ง" ที่ต่างกับ "รูปธาตุ"
เพราะ
"นามธาตุ" เป็น "ธาตุรู้"
เมื่อเกิดขึ้น
ก็ต้อง "รู้อารมณ์"
เช่น
"การได้ยิน" เป็น อาการรู้
เป็น "ธาตุรู้"
ส่วน "เสียง" เป็น "รูปธาตุ"
ไม่ใช่ "ธาตุรู้"
และ ไม่ใช่ "นามธาตุ"
แต่
"เสียง"
เป็น "อารมณ์" ของ "ธาตุรู้"
ซึ่ง
"ธาตุรู้" หรือ "นามธาตุ"
ในขณะนั้น
ก็คือ "การได้ยิน" นั่นเอง.
.
"รูปธาตุ" และ "นามธาตุ"
แยกขาดจากกัน โดยเด็ดขาด.!
"รูปธาตุ"......ไม่รู้อะไรเลย.!
ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่คิดนึก ฯลฯ
ส่วน "นามธาตุ"
คือ จิต และ เจตสิก.
จะใช้ "คำ" ที่บัญญัติเรียก ว่า
"วิญญาณธาตุ"
ก็ได้.
"นามขันธ์"
ก็ได้.
"นามขันธ์ ๔"
(เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
ก็ได้.
"จิต และ เจตสิก คือ นามธรรม"
ก็ได้. การรู้ สภาพธรรม ตามความเป็นจริง นั้น
"ความเข้าใจ" ต้องเพิ่มขึ้น.
และ เริ่ม ด้วยการ ค่อย ๆ เข้าใจ มากขึ้น ๆ
เริ่มจาก น้อย ๆ ไป เรื่อย ๆ
ฟังแล้ว ฟังอีก
พิจารณาแล้ว พิจารณาอีก.
จนกว่าจะ รู้ "ลักษณะ" ของสิ่งที่ปรากฏ
อย่างแจ่มแจ้ง ตามความเป็นจริง.
.
เมื่อสิ่งใด ปรากฏ
แสดงว่า
มี "สภาพธรรมที่กำลังรู้สิ่งนั้น"
ถ้า สภาพธรรม ปรากฏให้เห็น ทางตา
ก็คือ "จิตเห็น"
กำลังเห็น "สิ่งที่ปรากฏทางตา"
ถ้า "เสียง" ปรากฏ
แสดงว่า
มี "จิต" ที่กำลังรู้ "เสียงที่กำลังปรากฏ" นั้นได้.
เพราะฉะนั้น...จึง ไม่ใช่เรา
เพราะว่า.......เป็น "ธาตุรู้"
"ความเข้าใจ" อย่างนี้ ต้องเริ่มตั้งแต่ การฟัง
แล้ว ค่อย ๆ เข้าใจขึ้น ๆ ทีละเล็ก ทีละน้อย ๆ
คือ "เข้าใจ" ใน "ลักษณะ"
ของ นามธรรม และ รูปธรรม.
.
โดยปกติแล้ว...ก็เป็นเราอยู่เสมอ.!
แต่ "การฟัง".......โดยลักษณะนี้
คือ ฟังให้ "เข้าใจ"
"ลักษณะของอาการรู้"
เช่น ได้ยิน ได้กลิ่น ฯ เป็นต้น
โดย "เข้าใจ" ว่า เป็นสิ่งที่มีจริง ๆ
และ เป็น "ธาตุรู้"
นี่คือ "ความเข้าใจ"
เรื่องที่ได้ยิน...ลักษณะที่ได้ยิน.
แต่ ขณะที่กำลังได้ยิน จริง ๆ
ยังไม่สามารถ ละ "ความเป็นเรา" ออกได้.....?
เพราะฉะนั้น
จึงต้องมีการอบรมเจริญปัญญา อีกขั้นหนึ่ง
คือ
ขณะที่กำลัง "ได้ยิน" มีการค่อย ๆ รู้ขึ้น ว่า
"ลักษณะที่ได้ยิน" นี้ เป็น "สภาพรู้"
ที่กำลังรู้.
และ "เสียง"
ก็ปรากฏได้ กับ "สภาพรู้เสียง" เท่านั้น.!
ซึ่ง ถ้าไม่มี "สภาพรู้เสียง"
"เสียง" ก็ ปรากฏให้รู้ ไม่ได้.!
แต่ "ตัวสภาพรู้"
ไม่มีรูปร่าง ให้เห็นได้เหมือนอย่างอื่น
ซึ่ง ก็ยาก ตรงนี้.!
นอกจากที่จะ รู้ เท่านั้น
คือ รู้ว่า "เป็นอาการรู้"
เพราะไม่มี รูปร่าง ปรากฏ.
นี่คือ "ธาตุรู้" ที่มี...ตั้งแต่เกิดจนตาย
ซึ่งเกิด แล้วก็ดับ ๆ ๆ ๆ ๆ................
มีจริง ๆ แต่ไม่รู้
เพราะว่า รู้ยาก.!
ลึก ๆ แล้ว "ความเป็นเรา" นั้น มี
เพราะ ผู้ที่ไม่มี "ความเป็นเรา" เลยนั้น
คือ พระโสดาบัน.!
.
เพราะฉะนั้น
"สติ"
ระลึก ตรง "ลักษณะ" ของ "ขันธ์ไหน"
ก็ ค่อย ๆ รู้ ตรง "ลักษณะ"ของ "ขันธ์นั้น"
แต่ "ขันธ์อื่น"...ยังเป็นเรา อยู่
แสดงให้เห็นว่า
ยัง รู้ ไม่ทั่ว.!
.
ซึ่ง ถ้าไม่มีการอบรมเจริญปัญญา
คือ "การเจริญสติปัฏฐาน"
จะไม่ "เข้าใจ"
ว่า "ความเป็นเรา" ยังอยู่.!
.
"ความเข้าใจขั้นฟัง"
ยัง ละ "ความเป็นเรา" ไม่ได้.!
แต่มี "ตัวธรรมะ" จริง ๆ
ที่กำลัง "ได้ยิน" ขณะนี้.
"สติ" จะต้องเริ่มเกิด
เพื่อ ระลึก ตรง "ลักษณะ"
แทนที่จะไปคิด เรื่องอื่น.
.
เพราะฉะนั้น
ในขณะที่ "ได้ยิน" เกิดขึ้น
ก็รู้ทันที ว่า มี "ลักษณะรู้ที่เสียงปรากฏ"
ไม่ใช่ รู้อย่างอื่น
ต้อง รู้ ใน "อาการที่รู้เสียง"
คือ รู้ ว่า
"ลักษณะ" นี้ คือ "ลักษณะรู้"
เพราะถ้าไม่มี "เสียง" ปรากฏ
จะรู้ "ลักษณะรู้เสียง"
ไม่ได้เลย.!
.
เป็นเรื่องที่ต้อง ค่อย ๆ เข้าใจ จริง ๆ
มิฉะนั้น...........ก็จะไม่ยาก อย่างนี้.!
เหมือน ผ้ากาสี ที่ลูบแล้วลูบอีก.....!
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 55
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
[๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงสวดพระปาติโมกข์ในที่ประชุมพระภิกษุ
สงฆ์ดังนี้-
ขันติคือความทนทานเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้ง
หลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง ผู้ทำร้ายผู้อื่น
ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ไม่ชื่อว่าเป็น
สมณะเลย.
การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อมการทำจิต
ของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมใน
พระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑
ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑
หกอย่างนี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
|