ทุกคนเคยคิดถึงวันก่อนๆ แต่ขณะที่คิดถึงวันก่อนๆ เดือนก่อนๆ ปีก่อนๆ ลองพิจารณาว่า ขณะนั้นคิด
ด้วยความเป็นตัวตนหรือเปล่า แทนที่จะคิดว่าเมื่อวานนี้อยู่ที่ไหน สิ่งที่เห็นเมื่อวานนี้อยู่ที่ไหน เสียงที่
ได้ยินเมื่อวานนี้อยู่ที่ไหน เห็นเมื่อวานนี้อยู่ที่ไหน ได้ยินเมื่อวานนี้อยู่ที่ไหน ขณะนี้ไม่มีเลย เสียงเมื่อ
วานนี้ก็หายไปหมด กลิ่นเมื่อวานนี้ก็หายไปหมด ได้ยินเมื่อวานนี้ก็หายไปหมด เพราะฉะนั้น ตัวตนที่
เคยมี เคยเป็นเมื่อวานนี้ก็ย่อมหายไปหมดด้วย สูญไปจริงๆแล้วค่ะ ความเป็นบุคคลนี้ เมื่อวานนี้ ไม่มี
เหลือเลย ฉันใด ขณะนี้ก็จะเป็นเมื่อวานนี้ของพรุ่งนี้
เพราะฉะนั้น ในขณะนี้เอง ทุกๆขณะที่ผ่านไป ก็กำลังสูญสิ้นไปจริงๆ เมื่อดับแล้วก็ไม่สามารถจะยึดถือ
ว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้ ถ้าใครยังยึดถืออยู่ก็เท่ากับยึดถือความว่างเปล่า แม้ในขณะเดียว
นี้เองก็หมดแล้ว
เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เป็นชีวิตประจำวัน ถ้าคิดเรื่องอดีตก็ให้เป็นประโยชน์ โดยการที่รู้ว่า ไม่มี หมด
แล้วจริงๆ จนกระทั่งมาถึงขณะนี้ก็จะได้รู้ว่า แม้ในขณะนี้ก็กำลังหมดไปๆ ไม่มีจริงๆด้วย โดยที่จะเกื้อกูล
ให้สติระลึกลักษณะของสภาพธรรม ถ้าคลายการยึดถือสภาพธรรม โดยรู้ว่า สภาพธรรมในขณะนี้ที่สติ
ไม่ระลึก สภาพธรรมนั้นก็ดับหมดไป เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะระลึกทันทีที่ลักษณะของสภาพธรรมที่
กำลังปรากฏ
การที่สติไม่เกิด ไม่ระลึกศึกษาลักษณะของสภาพธรรม จะทำให้ยังคงมีความเป็นตัวตน แล้วก็มีอกุศล
ธรรมที่ความจริงควรรังเกียจ แต่ก็ไม่รังเกียจ แล้วก็ยังไม่คิดที่จะละด้วย เพราะเหตุว่าไม่รู้สภาพธรรม
ตามความเป็นจริง ทำให้มีความสำคัญในเรื่องราวต่างๆ บางคน คนอื่นทำผิดแล้วรับผิด ก็ยังไม่ยอมยก
โทษ เพียงเท่านี้ สั้นๆอย่างนี้ ก็จะเห็นอำนาจของกิเลสว่า ทำไมจึงมีกิเลสมาก ถึงแม้ว่าจะยกโทษ ก็
ยกโทษไม่ได้ จะเก็บความโกรธไว้ทำไม จะผูกความโกรธไว้ทำไม เพราะเหตุว่าเป็นแต่เพียงสภาพ
ธรรมที่เกิดแล้วก็ดับไปเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 320
แต่พยาบาทนั้น จะละได้ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย ในเมตตาเจโต-
วิมุตติ. ในคำว่า เมตตาเจโตวิมุตินั้น เมื่อพูดกันถึงเมตตา ย่อมควรทั้งอัปปนา
ทั้งอุปจาระ. บทว่า เมตตาเจโตวิมุตติ ได้แก่อัปปนาโยนิโสมนสิการมีลักษณะ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ -
[๕๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
ทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอย่างนั้นได้เหมือนกัน.
บทว่า โจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ สมาธิในอรหัตผล.
บทว่า ปญฺญาวิมุตฺตึ ได้แก่ ปัญญาในอรหัตผล.
พระอภิธรรมปิฎก ธาตุกถา-บุคคลบัญญัติ เล่ม ๓ - หน้าที่ 223
วินิจฉัยในนิเทศแห่ง ปัญญาวิมุตตบุคคล. ผู้ใดหลุดพ้นวิเศษ
แล้วด้วยปัญญา ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุตตบุคคล. ปัญญาวิมุตตบุคคลนั้น
มี ๕ จำพวก คือ พระอรหัตสุกขวิปัสสก ๑ บุคคลผู้ออกจากฌานทั้ง ๔ แล้ว
บรรลุพระอรหัต อีก ๔ จำพวก. ก็บรรดาพระอรหันต์เหล่านั้น แม้องค์หนึ่งที่
ได้วิโมกข์ ๘ หามีไม่. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "น
เทว โข อฏฺฐวิโมกฺเข" ดังนี้ แต่บรรดาอรูปาวจรฌานทั้งหลาย เมื่อมีอยู่
สักหนึ่งฌาน ก็ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตบุคคล ได้เหมือนกัน.
จบอรรถกถาปัญญาวิมุตตบุคคล
คำว่า " เจโตวิมุติ และ ปัญญาวิมุติ " มีความหมายต่างกัน คือ หลุดพ้นพร้อมด้วยฌาน
เป็นเจโตวิมุติ หลุดพ้นด้วยปัญญา เป็นปัญญาวิมุติ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั้งสองคำนี้
มีความหมายหลายนัย ในบางแห่ง ฌานจิตทุกระดับเป็นเจโตวิมุติ เช่น คำที่ว่าเมตตาเจโต
วิมุติ เป็นต้น ในบางแห่งหมายถึง สมาธิในอรหัตตผล ชื่อว่า เจโตวิมุติ
และคำว่า ปัญญาวิมุติในอรรถกถาบางแห่ง หมายถึง ปัญญาในอรหัตตผล ในบาง
แห่งกล่าวถึง การบรรลุเป็นพระอรหันต์ที่ไม่ประกอบด้วยอรูปฌาน คือ พระอรหันต์ที่เป็น
สุกขวิปัสสกะ หรือพระอรหันต์ที่ประกอบด้วยรูปฌาน ฌานใดฌานหนึ่ง เรียกว่า ปัญญาวิมุติ
|