จิตตสังเขป
บทที่ ๑.
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค อันธวรรค ที่ ๗
จิตตสูตร ที่ ๒.
.
เทวดา ทูลถามว่า
โลก อันอะไร ย่อมนำไป
อันอะไรหนอ ย่อมเสือกไสไป
โลก ทั้งหมด
เป็นไป ตามอำนาจของธรรม อันหนึ่ง
คือ อะไร.
พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบ ว่า
"โลก" อัน "จิต" ย่อมนำไป
อัน "จิต" ย่อมเสือกไสไป
"โลก" ทั้งหมด
เป็นไป ตามอำนาจ ของ "ธรรม" อันหนึ่ง
คือ "จิต"
.
แสดงให้เห็น "ความสำคัญของจิต"
"จิต" ซึ่งเป็น "ธาตุรู้" เป็น "สภาพรู้"
ซึ่ง เป็นใหญ่ เป็นประธาน
ในการ "รู้สิ่งที่ปรากฏ"
.
ซึ่ง ไม่เพียงแต่ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส
รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เท่านั้น
แต่ยัง "คิดนึก" วิจิตร ต่าง ๆ นานา.
.
ฉะนั้น
"โลกของแต่ละคน"
จึง เป็นไป ตาม "อำนาจจิตของแต่ละคน"
.
"จิต" ของบางคน ก็ "สะสมกุศล" ไว้มาก
ไม่ว่า จะเห็นบุคคลใด ซึ่งเป็น ผู้มากไปด้วย "อกุศลธรรม"
"จิต" ของบุคคล ซึ่ง "สะสมกุศล" ไว้มากนั้น
ก็ยังเกิด เมตตา กรุณา หรือ อุเบกขา ได้.
.
ในขณะที่ "โลกของคนอื่น"
เป็น "โลก"ของความชิงชัง ความไม่แช่มชื่น
ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ.
.
ฉะนั้น
แต่ละคน...จึง เป็น "โลกของตัวเอง" แต่ละโลก
ทุก ๆ ขณะ ตามความเป็นจริง.
.
ดูเหมือนว่า
เราทุกคน อยู่ร่วม "โลก" เดียวกัน.
แต่ ตามความเป็นจริงนั้น
สิ่งต่าง ๆ ที่เป็น "รูปธรรม" ซึ่ง สามารถปรากฏได้
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นั้น
ถ้า ไม่มี "จิต" ซึ่งเป็น "สภาพรู้"
สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น
ก็ย่อมไม่ปรากฏ เป็น ความสำคัญ
แต่อย่างใด.
แต่
เพราะ "จิต"....รู้ สิ่งที่ปรากฏ
ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง
ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง.......
"โลกของแต่ละคน" จึงเป็นไป ตาม "จิตของแต่ละคน"
โลกไหนจะดี....โลกที่สะสมกุศลมาก ๆ
พร้อมที่จะเกิดเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
หรือ....
"โลก" ที่ ชิงชัง โกรธแค้น ขุ่นเคือง.
ซึ่ง แม้ว่า จะเห็นบุคคลเดียวกัน
รู้เรื่องบุคคลเดียวกัน...............
แต่ "โลกของแต่ละคน".......จะเมตตา หรือ ชิงชัง
ก็ย่อมเป็นไป ตาม "อำนาจของจิต" ของแต่ละคน
ซึ่ง "สะสมมา" ต่าง ๆ กัน.
. . .
๑. ไทยธรรมมี ผู้ขอมี.......แต่ไม่ให้
เพราะเมื่อก่อน......เราไม่ได้สะสมเรื่องการให้
๒. ไทยธรรมมีน้อย
เพราะเมื่อก่อน......เราไม่เป็นผู้ให้ จึงขาดแคลนไทยธรรม
๓. เสียดายไทยธรรม
ก็จงคิดว่า.......เราปรารถนาการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมหรือการสะสมวัตถุ (อิ_อิ)
๔. เห็นความสิ้นเปลืองแห่งไทยธรรมเพราะการให้
ก็จงคิดว่า.......แม้ไทยธรรมนั้นก็ย่อมสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา แม้ไม่ให้
|