วิปัสสนาญาณที่ ๙ -- มุญจิตุกัมยตาญาณ เมื่อปัญญารู้ชัดความหน่ายนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏเพิ่มขึ้นอีก
ย่อมเกิดปัญญาที่ต้องการจะพ้นจากนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดดับ ปรากฏใน
ขณะนั้น ปัญญาที่ต้องการจะพ้นจากนามธรรมและรูปธรรมเป็นมุญจิตุกัมยตา-
ญาณ
วิปัสสนาญาณที่ ๑๐ -- ปฏิสังขาญาณ เมื่อเกิดปัญญา ที่ต้องการจะพ้นจากนามธรรมและรูปธรรมทั้งหลาย
ยิ่งขึ้นแล้ว ปัญญาก็พิจารณาไตรลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายตามสภาวะ
ที่เป็นอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะต่อไปอีก
แล้วจึงประจักษ์อนิจจลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายที่เกิดดับๆ นั้น
โดยเป็นสภาพที่ไม่แน่นอนเป็นที่สุด เป็นชั่วขณะ ง่อนแง่น แปรผัน ไม่ยั่งยืน ไม่
มีสาระ
ประจักษ์แจ้งในทุกขลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลาย ที่เกิดดับๆ นั้น
โดยสภาพที่บีบคั้นเนืองๆ ไม่มีทางหลีกเลี่ยง ไม่มีทางแก้ไข เป็นทุกขภัย คือ
เป็นสภาพที่ไม่น่าพอใจติดข้อง
ประจักษ์แจ้งในอนัตตลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายที่เกิดดับๆ นั้น
โดยสภาพที่สูญไป สิ้นไป ไม่มีเจ้าของ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาได้ ปัญญา
ที่ประจักษ์แจ้งไตรลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายนั้นเป็นปฏิสังขาญาณ วิปัสสนาญาณที่ ๑๑ -- สังขารุเปกขาญาณ เมื่อปัญญาประจักษ์แจ้งไตรลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายเพิ่มยิ่ง
ขึ้นแล้ว ทำให้สังขารธรรมทั้งหลายที่เคยปรากฏโดยเป็นสภาพที่เที่ยง เป็นสุข
และเป็นตัวตน อ่อนกำลังลงจนเกิดความวางเฉยในสังขารธรรมทั้งหลาย เพราะ
รู้ชัดว่า ตราบใดที่ยังไม่ถึงกาลที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของพระนิพพาน โดยมี
พระนิพพานปรากฏเป็นอารมณ์ ตราบนั้นก็พิจารณาไตรลักษณะ ลักษณะหนึ่ง
ลักษณะใดเป็นอารมณ์ไปเรื่อยๆ ปัญญาที่รู้ชัดในความวางเฉยในสังขารธรรมทั้ง
หลายที่เกิดดับปรากฏนั้น เป็นสังขารุเปกขาญาณ สังขารุเปกขาญาณนี้เป็น
วิปัสสนาอันบรรลุถึงยอด เป็นวุฏฐานคามินีปัญญา คือปัญญาอันเป็นเหตุพา
พ้นออกไปจากภาวะแห่งปุถุชนเมื่อมัคควิถีเกิดขึ้น
วิปัสสนาญาณที่ ๑๒ -- อนุโลมญาณ อนุโลมญาณ เป็นวิปัสสนาญาณในมัคควิถี ซึ่งอนุโลมต่อการรู้
แจ้งอริยสัจจธรรม อนุโลมญาณเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๓ ขณะในมัคค-
วิถี คือ บริกัมม์ ๑ ขณะ อุปจาร ๑ ขณะ อนุโลม ๑ ขณะ มหากุศลญาณสัมป-
ยุตตจิต ๓ ขณะนี้ มีไตรลักษณ์ลักษณะหนึ่งลักษณะใดเป็นอารมณ์ คือ มีอนิจจ-
ลักษณะของสังขารธรรมเป็นอารมณ์ หรือมีทุกขลักษณะของสังขารเป็นอารมณ์
หรือมีอนัตตลักษณะของสังขารธรรมเป็นอารมณ์ ซึ่งอนุโลมต่อการที่จะปล่อย
อารมณ์ที่เป็นสังขารธรรม๑ สำหรับบุคคลที่เป็นติกขบุคคล คือมีปัญญากล้า
บรรลุอริยสัจธรรมได้เร็ว อนุโลมญาณก็มี ๒ ขณะ คือ เว้นขณะบริกัมม์ ๑ ขณะ
และเพิ่มผลจิตเป็น ๓ ขณะ
|