--------------------------------------------------------------------------------
"ความรู้สึกที่กายทั้งหมด"
เป็น "เวทนา"
มี ๒ ประเภท
คือ
"สุข" หรือ "ทุกข์"
.
อย่างเช่น
"อาการคัน"....ไม่ใช่ "สุข" แน่ ๆ
และ เพราะเหตุที่ว่า
"มีร่างกาย" ก็ ต้อง คัน
(เป็นต้น)
.
ขณะที่ "จิต" กระทบกับ "สิ่งหนึ่งสิ่งใด"
ที่ ทำให้ เกิด "ความรู้สึกคัน"
แสดงให้เห็น ว่า
"คัน" เป็น "ความรู้สึก"
เพราะฉะนั้น
"ความรู้สึก"...ไม่ใช่ "จิต"
.
วันนี้...เราสนทนากัน เรื่อง
"จิต เป็นประธาน เป็นใหญ่ ในการ รู้แจ้งอารมณ์"
และ
"จิต" ไม่ได้ เกิด เพียงลำพัง.
แต่
ต้อง มี "สภาพนามธรรมอื่น" เกิด ร่วม ด้วย.
ซึ่ง
"ความรู้สึก"
เป็น "สภาพธรรม" ประเภทหนึ่ง (ในหลายประเภท)
ที่ ต้องเกิดร่วมด้วยกับ "จิต" ทุกประเภท.
แต่
"ความรู้สึก" ไม่ใช่ "จิต"
.
"จิต"
ทำหน้าที่ "รู้แจ้งอารมณ์" อย่างเดียว.
เช่น
ขณะที่ "เห็น"
ขณะนั้น
"จิต" ทำหน้าที่ "เห็น"
อย่างเดียว เท่านั้น.!
หรือ
ขณะที่ "จิต" กำลัง รู้ "เสียง"
"จิต" รู้ "เสียง"
คือ รู้ แจ่มแจ้ง ชัดเจน
ใน"ลักษณะของเสียง"
หมายความว่า
ขณะที่ "จิต" รู้แจ้งอารมณ์ เช่น สี หรือ เสียง (เป็นต้น)
ขณะนั้น
"จิต" ไม่ได้ "สุข"
"จิต" ไม่ได้ "ทุกข์"
"จิต" ไม่ได้ "จำ"
ฯลฯ
เพราะฉะนั้น
สภาพธรรมอื่น ๆ ที่เกิด ร่วมกับ "จิต"
ต่าง ก็ "ทำหน้าที่ เฉพาะ ของตน ๆ"
ซึ่ง (ในที่นี้) ก็ หมายถึง
"เจตสิก"
แต่ละชนิด.
.
เพราะฉะนั้น
"เวทนา" ก็เป็น "เจตสิก"
ที่ทำกิจหน้าที่เพียง "รู้สึก"
ไม่ว่าจะ "เห็น".......ก็ "รู้สึก"
ไม่ว่าจะ "ได้ยิน"....ก็ "รู้สึก"
(เป็นต้น)
.
และ จะต้อง มี "ความรู้สึก"
เกิดร่วมด้วย ทุกครั้ง....ที่มี "ผัสสะ" (ผัสสเจตสิก)
"ผัสสะ" คือ "การกระทบอารมณ์"
เป็นเรื่องธรรมดา
เมื่อ "กระทบอารมณ์" ก็ ต้อง มี "ความรู้สึก"
ใน ขณะ นั้น ๆ
.
"ความรู้สึก"....ไม่ใช่ "จิต"
แต่ เป็น "เจตสิก"
และ
"จิต" ไม่ใช่ "ความรู้สึก"
แต่ "จิต" เป็น "สภาพรู้"
. . . "เวทนา" ซึ่งเป็น "ความรู้สึก"
เป็น "สภาพรู้"
และ เป็น "เจตสิกประเภทหนึ่ง"
ซึ่ง ต้อง อาศัย "กาย" (ซึ่งเป็น กลุ่มของรูป)
จึง สามารถที่จะ เกิด และ ปรากฏ
ให้รู้ "ลักษณะของเวทนา" ได้
.
และ มี "ลักษณะของความรู้สึก" อื่น ๆ
อีกหลายประเภท
ซึ่ง เกิดขึ้น เพราะ "กาย" เป็น "ปัจจัย"
เช่น
คัน เจ็บ ปวด เมื่อย ฯลฯ
เป็นต้น.
.
เพราะฉะนั้น
ขณะใด............................
ที่ "ลักษณะของความรู้สึก"
เช่น
อาการคัน ปวด หรือ เมื่อย
เป็นต้น นั้น
...........กำลังปรากฏ.!
หมายความว่า...........
ขณะนั้น....................
"ลักษณะที่แข็ง-อ่อน"
"ลักษณะที่ เย็น-ร้อน"
"ลักษณะ ที่ ตึง-ไหว"
...............ไม่ ปรากฏ.!
.
แต่ ว่า
ขณะที่ มีอาการ คัน ปวด หรือ เมื่อย เป็นต้น นั้น
จะต้องมี "สภาพธรรม" ที่กระทบกับ "กายปสาท"
ซึ่ง
เป็น ธาตุไฟ (เย็น-ร้อน) ก็ได้
เป็น ธาตุดิน (อ่อน-แข็ง) ก็ได้
หรือ เป็น ธาตุลม (ตึง-ไหว) ก็ได้
ตามเหตุ ตามปัจจัย
ซึ่ง ทำให้เกิด "อาการนั้น ๆ"
และ ปรากฏ เป็น
"ลักษณะของความรู้สึกประเภทนั้น ๆ"
แต่ เป็นเพราะว่า
ความรู้สึกประเภทนั้น ๆ มีจริง ๆ
และ กำลังปราฏ ใน ขณะนั้น.!
ขณะนั้น
ก็เลย "ไม่รู้" ว่า
มี อะไร เป็น "อารมณ์" ของ "กายวิญญาณจิต"
เพราะเหตุว่า
"กายวิญญาณจิต"
ไม่ รู้ ลักษณะที่คัน ลักษณะที่เจ็บ
หรือ ลักษณะที่เมื่อย เป็นต้น นั้น.
แต่
"กายวิญญาณจิต"
รู้ เพียงแต่ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว
เท่านั้น
|