Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ลักษณะ

ศุกร์ 26 มิ.ย. 2009 8:22 am

"ลักษณะร้อน"....เป็นอะไร.?


สภาพธรรม มี ๒ อย่าง

คือ

"นามธาตุ" และ "รูปธาตุ"


ขณะที่ ท่านผู้ฟัง กำลังจับกาน้ำ ที่ร้อน.

ขณะนั้น


"ลักษณะที่ร้อน" ก็อย่างหนึ่ง

"ลักษณะที่แข็ง" ก็อย่างหนึ่ง


แล้วแต่ ว่า

ร้อน หรือ แข็ง จะปรากฏให้รู้ได้

(ทีละ ขณะ...ไม่พร้อมกัน)



.



"ลักษณะ" ที่ปรากฏ ให้รู้ได้

มี ๒ อย่าง

คือ

ถ้าไม่ใช่ "นามธรรม"........(สภาพรู้อารมณ์)

ก็ต้องเป็น "รูปธรรม" (สภาพที่ไม่รู้อารมณ์)



"ลักษณะ ทั้ง ๒ อย่าง" นี้

(นามธรรม และ รูปธรรม)


จะปราศจากกันไม่ได้เลย.!


เพราะเหตุนี้

เกือบจะทำให้ แยกกันไม่ออก.!



.



แต่ โดยมาก เราไป รู้ "ชื่อ"

มากกว่า ที่จะ รู้ "ลักษณะ"


คือ รู้ เพียงว่า แข็ง เป็น รูป

และ การรู้แข็ง เป็น นาม.


จึง ไม่ได้ รู้จริง ๆ ตรง "ลักษณะ"

ของ "สภาพแข็ง" และ "สภาพที่รู้แข็ง"

ว่า ต่างกัน อย่างไร.!



.



เพราะฉะนั้น


ต้อง "เข้าใจ" ก่อน ว่า

เมื่อ นามธรรม และ รูปธรรม

ปราศจากกันไม่ได้.!



ก็ ต้อง ค่อย ๆ ระลึก รู้ ตรง "ลักษณะ"

ไม่ว่าจะเป็น "ลักษณะแข็ง" ที่กำลังปรากฏ

หรือ "ลักษณะที่รู้แข็ง" ......ที่กำลังปรากฏ.


เช่นเดียวกับ

"ลักษณะร้อน" และ "ลักษณะที่รู้ร้อน"


หมายความว่า


"สภาพร้อน"....ไม่รู้อะไรเลย.!

แต่ ขณะใด...ที่ "ลักษณะร้อน" ปรากฏ

ขณะนั้น

กำลังมี "สภาพที่รู้ร้อน"

"ลักษณะร้อน"

จึงปรากฏ ได้.!


(ลักษณะแข็ง และ ลักษณะที่รู้แข็ง ก็โดยนัยเดียวกัน)



.



เช่น "ลักษณะแข็ง"


ถ้าหาก ท่านผู้ฟัง ไม่มี "การกระทบสัมผัส" ทางกาย

ท่านผู้ฟัง ก็ไม่รู้ ว่า มี "ลักษณะที่แข็ง"

ทั้ง ๆ ที่ มองเห็น...ก็ไม่รู้ "ลักษณะแข็ง"


แต่ เมื่อใด ที่ "กระทบสัมผัสแข็ง" ทางกาย

เมื่อนั้น "ลักษณะที่แข็ง" ก็จะปรากฏ ทันที.!


เพราะเหตุ ว่า

มี "สภาพที่รู้แข็ง"

และ "ลักษณะที่รู้" นี้เอง

คือ "จิต"

ซึ่ง เป็นใหญ่ เป็นประธาน

ในการ......."รู้แจ้งอารมณ์"



.



เพราะฉะนั้น


"ความรู้สึกร้อน"

เป็น

"นามธรรม" หรือ "นามธาตุ"

แต่

"ความร้อน"

เป็น

"รูปธรรม" หรือ "รูปธาตุ"



.



ยังไงก็ตามแต่..............


สภาพธรรม มี ๒ อย่าง

คือ

นามธรรม และ รูปธรรม


ซึ่ง

จะต้อง ค่อย ๆ "เข้าใจ" มากขึ้น ๆ

จึงจะสามารถที่จะ "รู้ชัด" ได้จริง ๆ


จนกว่า จะ "เข้าใจ"

จนกระทั่ง ถึงความ "ไม่มีเรา"



.



ความยาก ความละเอียด อยู่ตรงนี้.!


ซึ่ง ตราบใด


ที่ยัง "ไม่รู้ชัด" ใน "ลักษณะ"

ของ นามธรรม และ รูปธรรม.


ตราบนั้น

"ความเป็นเรา"....ก็ ยัง แฝง อยู่.!



.



เพราะฉะนั้น

จึงต้องอบรมเจริญ "สติ" กับ "ปัญญา"

เพื่อที่จะ ค่อย ๆ ระลึก ตรง "ลักษณะ"

ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ขณะนี้

ตามปกติ ตามความเป็นจริง.



.



และ


คำ ว่า "ศึกษา" ที่นี้


หมายความว่า


ไม่ใช่ การ "นึกถึง" เรื่องราว-ชื่อ-บัญญัติ.


แต่


เป็น "ความเพียร" ที่จะ "เข้าใจลักษณะ"

ของ สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ขณะนี้

ตามปกติ ตามความเป็นจริง

ในชีวิตประจำวัน.

Re: ลักษณะ

จันทร์ 29 มิ.ย. 2009 4:31 pm

ขอบคุณครับ
ตอบกระทู้