จิตตสังเขป
บทที่ ๑.
ที่ (จิต) ชื่อว่า "ปัณฑระ"
เพราะ ความหมาย ว่า "บริสุทธิ์"
เพราะ
"จิต" มี "ลักษณะ" รู้แจ้งอารมณ์
อย่างเดียว.
โดย "สภาวะ"
จึง เป็น
"ธรรมชาติที่บริสุทธิ์"
.
ข้อความ ใน สัทธัมมปกาสินี
อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อานาปานกถา
มี ว่า
"จิต" นั้น ชื่อว่า "ปณฺฑรํ"
ขาว เพราะอรรถ ว่า "บริสุทธิ์"....ท่าน กล่าวถึง "ภวังคจิต"
.
พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ว่า
"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย
จิต นี้ ประภัสสร
แต่ จิต นั้น เศร้าหมอง
เพราะ อุปกิเลส ทั้งหลาย ที่จรมา"
อนึ่ง
แม้ จิต อกุศล
ท่านก็กล่าวว่า..."ปัณฑระ" เหมือนกัน
เพราะ อกุศล......ออกจากจิตนั้น แล้ว.
ดุจ แม่น้ำคงคา
ไหลออก จากแม่น้ำคงคา.
และ
ดุจ แม่น้ำโคธาวรี
ไหลออก จากแม่น้ำโคธาวรี.
อนึ่ง
เพราะ "จิต"
มี "ลักษณะรู้แจ้งอารมณ์"
จึงไม่เป็น "กิเลส"
ด้วย "ความเศร้าหมอง"
โดย "สภาวะ"
เป็น "จิตบริสุทธิ์" ทีเดียว.
แต่
เมื่อ "ประกอบด้วยกิเลส"
จึง "เศร้าหมอง"
แม้ เพราะ "เหตุ" นั้น
จึงควร...เพื่อจะกล่าว "ปัณฑระ"
.
"จิต"
เป็น สภาพ ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป ทันที.
การดับไป ของ "จิต"...ขณะก่อน
เป็น "ปัจจัย"
ให้ "จิต".......ขณะต่อไป เกิดขึ้น.
.
"จิตเห็น" เกิดขึ้น
แล้ว ดับไป
จึง
ไม่มี "จิตเห็น" อยู่ตลอดเวลา"
และ
ไม่มี "จิตได้ยิน" อยู่ตลอดเวลา
ไม่มี "จิตได้กลิ่น" อยู่ตลอดเวลา
ไม่มี "จิตลิ้มรส" อยู่ตลอดเวลา
ไม่มี "จิตที่รู้กระทบสัมผัสทางกาย" อยู่ตลอดเวลา
และ.......ไม่มี "จิตคิดนึก" อยู่ตลอดเวลา.
.
ใน ขณะที่ นอนหลับสนิท...........ไม่ฝัน.
ขณะนั้น...."จิต" ก็เกิด-ดับ รู้ "อารมณ์"
สืบต่อกันอยู่เรื่อย ๆ
แต่...ไม่รู้ "อารมณ์" ทางตา ทางหู ทางจมูก
ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.
.
"จิต" ใด
ที่ ไม่รู้ "อารมณ์" ทางตา ทางหู ทางจมูก
ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ
"จิต" นั้น
เป็น "ภวังคจิต"
.
"ภวังคจิต"
คือ
"จิต" ที่ ดำรงรักษา ภพชาติ
ที่เป็น บุคคล นั้น
สืบต่อไว้ จนกว่า "จิตอื่น" จะเกิดขึ้น....
..................แล้วก็ รู้ "อารมณ์" ทางตา
หรือ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
หรือ ทางใจ....สลับ สืบต่อ กันไป เรื่อย ๆ
จนกว่า จะสิ้นสุด
ความเป็น บุคคล นั้น.
.
"ภวังคจิต"
ไม่รู้ "อารมณ์" ทางตา ทางหู ทางจมูก
ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.
ในขณะที่ หลับสนิท
ทุกคน.....ไม่รู้สึกชอบ ไม่รู้สึกชัง
ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่สำคัญตน
ไม่เมตตา ไม่กรุณา.............ฯลฯ
เพราะว่า
ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้รู้รส
ไม่ได้กระทบสัมผัส
และ ไม่ได้คิดนึก ใด ๆ ทั้งสิ้น.
.
แต่ ขณะใด
"จิต" เกิดขึ้น....รู้ "อารมณ์" ทางตา ทางหู
ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ
จะ รู้ได้ ว่า
"อกุศลจิต"....เกิดขึ้น.
เพราะว่า
สะสม "กิเลส" ต่าง ๆ ไว้มาก
จึงทำให้เกิด ความยินดีพอใจ
เมื่อ เห็น สิ่งที่น่ายินดีพอใจ.
และ
รู้สึก ขุ่นเคือง ไม่แช่มชื่น
เมื่อ เห็น สิ่งที่ไม่น่าพอใจ.
. . .
จิตตสังเขป
บทที่ ๑.
ขณะที่ "จิต" เกิดขึ้น
รู้ "อารมณ์"
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ
"รู้สึก" อย่างไร.....?
"ความรู้สึก" เฉย ๆ ดีใจ เสียใจ นั้น
ไม่ใช่ "จิต"
แต่ เป็น "เจตสิก" ประเภทหนึ่ง
ซึ่ง พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติ เรียก ว่า
"เวทนาเจตสิก"
.
"จิต"
เป็นใหญ่ เป็นประธาน ในการ "รู้อารมณ์"
แต่
"จิต" ไม่ใช่ "เวทนาเจตสิก"
ซึ่ง "รู้สึก" เฉย ๆ หรือ ดีใจ หรือ เสียใจ
ใน "อารมณ์" ที่ปรากฏ.
.
สภาพธรรมทั้งหลาย ที่เกิดขึ้น นั้น
จะเกิด ตามลำพัง ไม่ได้.!
ต้อง อาศัย สภาพธรรมอื่น เป็น "ปัจจัย"
ในการเกิดขึ้น...พร้อมกัน.
หมายความว่า
"จิต" ต้องเกิดร่วมกับ "เจตสิก"
"เจตสิก" ต้องเกิดร่วมกับ "จิต"
"จิต" และ "เจตสิก"
เกิด พร้อมกัน......ดับ พร้อมกัน
รู้อารมณ์ เดียวกัน
และ
เกิด-ดับ ที่เดียวกัน.
.
"จิต" แต่ละ "ขณะ" ที่เกิดขึ้น
มี "เจตสิก"
เป็น "ปัจจัย" ในการเกิดร่วมด้วย ต่าง ๆ กัน
และ กระทำกิจ ต่าง ๆ กัน.
ฉะนั้น
"จิต"
จึง ต่างกัน เป็นหลายประเภท.
.
ไม่มีใครชอบ.....ขณะที่ "จิต" ขุ่นเคือง
กระวนกระวาย
กระสับกระส่าย โศกเศร้า เดือดร้อน ฯลฯ
แต่ ชอบ....ขณะที่ เป็นสุข
สนุกสนาน เพลิดเพลิน ฯลฯ
ขณะที่ สนุกสนาน รื่นเริง เพลิดเพลิน นั้น.!
"จิต" ก็เป็น "อกุศล"
เพราะว่า ขณะนั้น
"จิต" เกิดร่วมกับ "โลภเจตสิก"
.
"โลภเจตสิก"
เป็น สภาพธรรม
ที่มี "ลักษณะ" ติดข้อง ปรารถนา
พอใจ เพลิดเพลิน
ใน "อารมณ์"
.
การศึกษาพระธรรม
ที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง นั้น.
เพื่อ "สติปัฏฐาน"
หมายความว่า
"สติ" ระลึก ตรง "ลักษณะ" ของ สภาพธรรม
ที่กำลังปรากฏ
ตามปกติ ตามความเป็นจริง.
และ
"อบรม เจริญ ปัญญา"
โดย.......การศึกษา.
คือ
"พิจารณา....สังเกต"
จน "รู้ชัด"...ใน สภาพธรรม นั้น
ถูกต้อง ตรง ตามความเป็นจริง.
ว่า
สภาพธรรมใด เป็น กุศล.
สภาพธรรมใด เป็น อกุศล.
และ
สภาพธรรมใด
ไม่เป็น กุศล และ ไม่เป็น อกุศล.
. . .
|