พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เสาร์ 27 มิ.ย. 2009 5:12 pm
หิว เป็น นามธรรม
สิ่งที่จิตรู้ เป็นนามธรรมก็ได้ เป็นรูปธรรมก็ได้
ไม่ได้หมายความว่า
จิตรู้เฉพาะ รูปธรรมเท่านั้น
ขณะที่หิว
จิต-เจตสิก เป็น สภาพรู้ คือ รู้สึกหิว
รูป เป็น ปัจจัย ให้เกิด สภาพหิว.
หมายความว่า
มีร่างกาย (กลุ่มของรูป)....จึงเป็น "เหตุปัจจัย" ให้ รู้สึกหิว
เพราะมีรูป ที่เรียกว่า ร่างกาย(ที่ยังมีชีวิต)
จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด สภาพหิว.
แต่ โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ เป็นรูปที่ไม่มีใจครอง(ไม่มีชีวิต)...ไม่หิว
ฉะนั้น "หิว"ไม่ใช่รูป...แต่ รูป เป็นปัจจัยให้เกิด "หิว"
ขณะ หลับสนิท
ขณะนั้น จิต รู้ "อารมณ์ที่ไม่ปรากฏ"
เรียกจิตประเภทนี้ ว่า "ภวังคจิต"
อารมณ์ที่ไม่ปรากฏ
คือ อารมณ์ที่ ไม่ปรากฏ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.
เราจึงไม่รู้อารมณ์ขณะที่หลับ เพราะเป็นอารมณ์ที่ไม่ปรากฏ...แต่ ต้อง มี
ขณะที่หลับสนิท เป็น จิต คือ สภาพรู้ที่รู้อารมณ์ แต่ไม่ใช่อารมณ์ของชาตินี้
เพราะ จิต ทำงานตลอดเวลา ไม่มีวันหยุด.
ส่วนขณะที่ตื่น
เช่น เห็น ได้ยิน หรือ ฟังเสียงคนอื่น เป็นต้น
ขณะนั้น...กล่าวโดยปรมัตถ์
ไม่พ้นไปจาก การทำงาน ของ จิต เจตสิก และรูป
โดยการเป็นปัจจัย ในการเกิด-ดับ สืบต่อ
เพราะ จิต เจตสิก รูป จะปราศจากกันไม่ได้
และ จะต้องรู้ อารมณ์ที่ปรากฏ ทางตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ที่ละอย่าง เท่านั้น
ถ้าไม่มี จิต....เจตสิก ก็ไม่เกิด
ถ้าไม่มี เจตสิก....จิต ก็ไม่สามารถเกิดได้
ส่วน รูป เป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น และ รู้ได้ เมื่อรูปปรากฏกับจิต
แต่รูป ไม่มีรู้อะไรเลย.
หมายความว่า รูป เป็นอารมณ์ของจิตและเจตสิก
เช่น เสียง สี แข็ง อ่อน เป็นต้น
รูป ไม่สามารถรู้อะไรได้เลย...รูปจึงกลายเป็นนาม ไม่ได้.
นาม รู้ นาม ได้
นาม รู้ รูป ได้
แต่ รูป รู้นามไม่ได้.
เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด
จาก หนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป.
ภาษาไทยเข้าใจว่า หมายถึงขอ เวลาอธิษฐาน ก็คือขอ
บางคนอาจจะอธิษฐาน ขอเย็นนี้อย่าให้ฝนตก อะไรอย่างนี้ก็ได้ใช่ไหม
แล้วแต่ว่าจะอธิษฐานอะไร นี่คือภาษาไทยที่เอาภาษาบาลีมาใช้
แต่ตามความหมายเดิม ก็คือความตั้งมั่น ทีนี้การตั้งมั่น
มีใครคิดที่จะตั้งมั่นในอกุศลบ้าง คงไม่มีนะค่ะ
เพราะฉะนั้น การที่จะให้จิต ซึ่งปกติเป็นอกุศล แล้วก็สามารถที่จะมีปัจจัย
ที่จะทำให้ตั้งมั่นคงเป็นกุศลขึ้น เพราะว่าจริง ๆ แล้ว
เกิดมาในภูมิที่มี
รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและ
ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
มีอะไรปรากฎนะค่ะ ย่อมติด เพราะไม่รู้ความจริงของสิ่งนั้น
ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย
เพราะฉะนั้น ถ้ารู้ว่า เกิดมาก็มีแต่อกุศลมากมาย คงจะไม่ต้องการตั้งมั่น
ในอกุศลให้มากขึ้น ๆ ใช่ไหม แต่ก็เห็นว่า สิ่งที่ดีกว่าธาตุที่เลว
แม้เป็นธาตุที่ปานกลาง เป็นกุศลประเภทหนึ่งประเภทใดก็ยังดี
เพราะฉะนั้น การที่มีความเห็นถูก
นี่เป็นความเห็นถูก ทำให้ตั้งมั่น มีปัจจัยที่จะทำให้กุศลเกิด
ก็เป็นสิ่งที่ไม่ผิด
เพราะว่าทุกคนนี้ อปุญญ คือ อกุศลเป็นเดช มีกำลัง
เพราะว่ายังไม่ทันทำอะไรเลย อกุศลก็เกิดแล้ว มีกำลังมากไหม
สะสมไว้มาก พร้อมทันที ที่ได้ยินเสียง
อกุศลถึงเวลาเกิดได้ก็เกิด
โดยไม่รั้งรอเลย
เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นความต่างกันของกุศลและอกุศล ผู้ที่มีปัญญา
ย่อมเห็นโทษของอกุศล และมีฉันทะ มีสัทธา ที่จะให้กุศลเกิดมากกว่า
เพราะฉะนั้น เมื่อมีความตั้งมั่นอย่างนี้ จะกล่าวหรือไม่กล่าว
จะขอหรือไม่ขอ จะพูดหรือไม่พูด แต่ความตั้งมั่น ย่อมสำคัญกว่า
ไม่ใช่พูด แต่ไม่ค่อยตั้งใจเท่าไรหรอก ก็เพียงแต่อยากจะได้ ก็เลยขอ
อย่างนั้นก็มีใช่ไหม แล้วก็ของ่าย ๆ ด้วย ขอนั้น ขอนี่
ไม่รู้ว่ามีเหตุจะให้เกิดตามที่ขอหรือเปล่า
เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น ย่อมเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
เมื่อวานนี้ มีใครอธิษฐานขอมาฟังธรรมบ้างไหม มีไหม
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนมีเหตุปัจจัยให้เกิด การได้รับอารมณ์ที่ดี และไม่ดี
สุขกาย และทุกข์กาย ย่อมมาจากเหตุ ซึ่งก็คือ กุศลเหตุ และอกุศลเหตุที่ได้กระทำ
ไว้แล้วในอดีตทั้งสิ้น เมื่อมีความเข้าใจเรื่องกรรม และผลของกรรมว่า ทุกอย่างที่เกิด
ขึ้นในชิวิตของเราล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย พระพุทธศาสนาสอนให้เรารู้เรื่องเหตุและ
ผล เมื่อเรามีความเข้าใจปัจจัยต่าง ๆ มากขึ้น เราก็สามารถเผชิญกับความทุกข์ยาก
ในชีวิตได้ และค่อยๆอบรมเจริญกุศลทุกประการซึ่งเป็นเหตุที่จะนำไปสู่ผลที่ดี
เสาร์ 27 มิ.ย. 2009 5:47 pm
ถูกใจ...โดนใจจังค่ะ
ขอบคุณมากๆ นะคะ
จันทร์ 29 มิ.ย. 2009 4:30 pm
อ่านแล้วนึกถึงหลวงพ่อสาลีโข ท่านก็ชอบสอนเรื่องเกี่ยวกับอาหารที่มนุษย์ต้องรับเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ชักคิดถึงหลวงพ่อแฮะ
อังคาร 30 มิ.ย. 2009 2:44 am
อาหารเป็นนามธรรม จำไว้ อู๊ด อู๊ด
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.