Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

วิปัสสนาญาณ13-16

อาทิตย์ 28 มิ.ย. 2009 7:03 pm

วิปัสสนาญาณที่ ๑๓ -- โคตรภูญาณ

เมื่ออนุโลมญาณ ๓ ขณะ ( สำหรับผู้เป็นมัณทบุคคลคือผู้บรรลุอริย-

สัจจธรรมช้ากว่าติกขบุคคล) หรือ ๒ ขณะ (สำหรับผู้เป็นติกขบุคคล) ดับไปแล้ว

โคตรภูญาณคือมหากุศลญาณสัมปยุตตจิตก็เกิดต่อ โดยน้อมไปมีนิพพานเป็น

อารมณ์ เป็นอาเสวนปัจจัยให้โสตาปัตติมัคคจิตเกิดต่อมีนิพพานเป็นอารมณ์

โดยเป็นโลกุตตรกุศลจิตที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉท

ธรรมดาของชวนวิถีในวาระเดียวกัน ๗ ขณะนั้นต้องมีอารมณ์เดียวกัน

แต่ในมัคควิถีนั้น ชวนวิถี ๗ ขณะมีอารมณ์ต่างกัน คือ บริกัมม์ ๑ ขณะ อุปจาระ ๑

ขณะ อนุโลม ๑ ขณะ มีไตรลักษณ์ลักษณะหนึ่งลักษณะใดใน ๓ ลักษณะเป็นอา-

รมณ์ แต่โคตรภูจิต ๑ ขณะ มัคคจิต ๑ ขณะ และ ผลจิต ๒ ขณะ มีนิพพานเป็น

อารมณ์ เมื่อโคตรภูจิตเป็นมหากุศลจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ขณะแรก จึงเป็น

ดุจอาวัชชนะของโสตาปัตติมัคคจิตซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ ต่อจากโคตรภูจิต

โสตาปัตติมัคคจิตจึงทำกิจดับกิเลสได้

ข้อความในอัฏฐาสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ พรรณนาโลกุตตรกุศล และ

วิสุทธิมัคค์ ญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส อุปมาอนุโลมญาณและโคตรภูญาณ ดุจ

บุรุษผู้แหงนดูดวงจันทร์ในเวลากลางคืน ขณะนั้นดวงจันทร์ไม่ปรากฏเพราะเมฆ

หมอกกำบังไว้ ทันใดนั้นมีลมกองหนึ่งพัดเมฆก้อนทึบนั้นให้กระจายไปแล้วลม

อีกกองหนึ่งก็พัดเมฆที่กระจายแล้วนั้นให้ออกไปอีก แล้วลมอีกกองหนึ่งก็พัดเมฆ

แม้ละเอียดที่ปิดบังดวงจันทร์นั้นให้ออกไป บุรุษนั้นจึงเห็นดวงจันทร์ที่ปราศจาก

เมฆปิดบัง นิพพานเปรียบดุจดวงจันทร์ อนุโลมญาณ ๓ ขณะเปรียบดุจลม ๓

กอง โคตรภูญาณเปรียบดุจบุรุษผู้เห็นดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆปิดบัง อนุโลม

ญาณ ๓ ขณะเหมือนลม ๓ กองซึ่งอาจกำจัดเมฆที่ปิดบังดวงจันทร์ได้ แต่ไม่

อาจเห็นดวงจันทร์ฉันใด อนุโลมญาณก็บรรเทาความมืดอันปกปิดสัจจะได้ แต่

ไม่อาจเห็นนิพพานได้ ฉันนั้น และบุรุษนั้นอาจเห็นดวงจันทร์ได้อย่างเดียวแต่

ไม่สามารถกำจัดเมฆได้ ฉันใด โคตรภูญาณก็ฉันนั้น คือ อาจเห็นนิพพานได้ แต่

ไม่อาจทำลายความมืด คือ กิเลสได้



วิปัสสนาญาณที่ ๑๔ -- มัคคญาณ

เมื่อโคตรภูจิตดับไปแล้ว โสตาปัตติมัคคจิตที่เกิดต่อ ก็ข้ามพ้น

สภาพความเป็นปุถุชนสู่ความเป็นพระอริยบุคคล โสตาปัตติมัคคจิตเกิดขึ้นดับ

กิเลสเป็นสมุจเฉท ตามขั้นของโลกุตตรปัญญา

วิปัสสนาญาณที่ ๑๕ -- ผลญาณ

เมื่อโสตาปัตติมัคคจิตซึ่งเป็นโลกกุตตรกุศลจิตดับไปแล้ว ก็เป็น

ปัจจัยให้โสตาปัตติผลจิตซึ่งเป็นโลกุตตรวิบากจิตเกิดสืบต่อโดยไม่มีจิตอื่นเกิด

คั่นเลย โลกุตตรกุศลจิตเป็นอกาลิโก เป็นกัมมปัจจัยที่ทำให้โลกุตตร-

วิบากจิตเกิดสืบต่อทันทีโดยไม่มีจิตอื่นเกิดคั่นเลย โลกุตตรวิบากจิตจึง

เป็นวิบากจิตที่ต่างกับวิบากอื่นๆ คือ ทำชวนกิจ สืบต่อจากโลกุตตรกุศล

จิต ๒ หรือ ๓ ขณะ ในมัคควิถี และโลกุตตรวิบากคือผลจิตซึ่งเกิดภายหลัง

มัคควิถีนั้นก็ทำชวนกิจ ไม่ทำกิจของวิบากจิตอื่นๆ เลย



วิปัสสนาญาณที่ ๑๖ -- ปัจจเวกขณญาณ

เมื่อมัคควิถีจิตดับไปแล้ว ภวังคจิตก็เกิดสืบต่อ และหลังจากนั้นมโน

ทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้น พิจารณาสภาพธรรมที่เพิ่งประจักษ์แจ้ง ที่ละวาระ คือ

พิจารณามัคคจิต วาระ ๑ พิจารณาผลจิต วาระ ๑ พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว

วาระ ๑ พิจารณากิเลสที่ยังเหลือ วาระ ๑ พิจารณานิพพาน วาระ ๑

สำหรับผู้ที่บรรลุอรหัตตมัคค์และอรหัตตผลนั้น ไม่มีการพิจารณา

กิเลสที่ยังเหลือ เพราะอรหัตตมัคคจิตดับกิเลสทุกประเภทหมดเป็นสมุจเฉท ไม่

มีกิเลสใดๆ เหลือเลย

Re: วิปัสสนาญาณ13-16

จันทร์ 29 มิ.ย. 2009 4:29 pm

ขอบคุณครับ
ตอบกระทู้