เมตตาคือความรู้สึกเป็นมิตร เป็นเพื่อน เมตตามีข้าศึกใกล้ที่ลวงว่าเป็นเมตตาคือโลภะ
หวังดีเพราะบุคคลนั้นเป็นที่รัก เป็นมิตรเพราะต้องการสนิทสนทด้วย หรือหวังดี ช่วย
เหลือเพราะต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้น อันเป็นลักษณะของโลภะที่เป็นความ
ต้องการ ยินดี ติดข้อง เมตตาย่อมไม่ทุกข์ แต่โลภะย่อมทุกข์ เมตตาย่อมไม่แบ่งแยก
ช่วยเหลือทุกคน โลภะ แบ่งแยกช่วยเหลือเป็นมิตรกับคนที่รัก ซึ่งประการที่สำคัญที่สุด
ต้องมีสติและปัญญาที่รู้ลักษณะของเมตตาและโลภะ ถ้าไม่รู้เราก็แยกไม่ออกว่าขณะ
ไหนเป็นเมตตา ขณะไหนเป็นโลภะ การอบรมเจริญเมตตาให้มากขึ้นจึงเป็นเรื่องของ
ปัญญาด้วยครับ เพราะเมตตากับโลภะใกล้กันมาก และการแผ่เมตตานั้น ไม่ใช่จะแผ่
ให้ทุกคนได้เพราะเมตตายังไม่มีกำลังอย่างนั้น ต้องเป็นระดับอัปนา แต่ค่อยๆอบรม
เมตตาทีละเล็กละน้อยได้ เช่น กับครู อาจารย์ เป็นต้น แต่ยังแผ่ไม่ได้
เวลานี้ใครมองเห็นเจ้ากรรมนายเวรบ้าง ฟังดูเสมือนว่าทุกคนมีเจ้ากรรมนายเวร
แต่ตามความเป็นจริงนั้น ทุกคนเป็นทายาทของกรรมของตนเองกรรมที่ได้กระทำแล้ว
ในอดีตย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ผลเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลดีที่กำลังได้รับความสุข
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายก็ไม่ใช่บุคคลอื่นบันดาลให้ แต่กุศลที่ผู้นั้นได้
กระทำแล้วในอดีต เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสสิ่งที่ดีๆ
ฉะนั้น เมื่อกุศลให้ผล ก็ทำให้ได้รับความสุขทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทาง
กาย ก็ฉันนั้น ถ้าถูกคนอื่นทำร้าย ก็อาจจะคิดว่าเพราะคนนั้นทำ แต่ถ้าไม่ได้ถูกใครทำ
ร้ายเลย เวลาตกบันไดหรือเจ็บป่วยต่างๆนั้น ใครทำให้ ฉะนั้น แต่ละคนจึงมีกรรมของ
ตนเองเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้ผลของกรรมเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ที่
ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
ฉะนั้น เรื่องเจ้ากรรมนายเวร จึงเป็นเรื่องรับฟังต่อๆ กันม าโดยไม่รู้ว่าใครเคยเห็น
เจ้ากรรมนายเวรที่ไหน เมื่อไหร่ เพียงแต่นึกว่ามีบุคคลที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้
เป็นทุกข์เดือดร้อนต่างๆแต่ความจริงนั้น ทุกคนมีกรรมเป็นของของตนเอง
ฉะนั้น ท่านเป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่านเองหรือเปล่า ในเมื่อคนอื่นไม่สามารถ
จะทำกรรมให้ท่านได้ ม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมก็ตาม ต่างคนก็ต่างเป็น
เจ้ากรรมนายเวรกันโดยไม่รู้จักหน้าค่าตาว่าเคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรกัน ตั้งแต่ในครั้ง
ไหนในสังสารวัฎฎ์
ฉะนั้น ทุกท่านที่กำลังนั่งอยู่ในที่นี้ ต่างเป็นเจ้ากรรมนายเวรที่มองไม่เห็น ใครก็
ตามที่ทำให้ท่านไม่พอใจในชาตินี้ คนนั้นแหละคือผู้ที่ท่านเคยทำกรรมไม่ดีกะเขา
ครั้งหนึ่งในสังสารวัฎฎ์ได้ไหม ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว ไม่โกรธ ไม่เกลียด ให้อภัยผู้นั้น
ทันที เมื่อไม่โกรธเคืองผู้ใด ก็หมดเวรกรรมกับผู้นั้น
เวลานี้ใครมองเห็นเจ้ากรรมนายเวรบ้าง ฟังดูเสมือนว่าทุกคนมีเจ้ากรรมนายเวร แต่
ตามความเป็นจริงนั้น ทุกคนเป็นทายาทของกรรมของตนเองกรรมที่ได้กระทำแล้วในอดีต
ย่อมเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ผลเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลดีที่กำลังได้รับความสุข ทางตา ทางหู
ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็ไม่ใช่บุคคลอื่นบันดาลให้ แต่กุศลที่ผู้นั้นได้กระทำแล้วในอดีต
เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสสิ่งที่ดีๆ ฉะนั้น เมื่อกุศลให้ผล ก็ทำ
ให้ได้รับความสุข ทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย ก็ฉันนั้น ถ้าถูกคนอื่นทำร้าย ก็
อาจจะคิดว่าเพราะคนนั้นทำ แต่ถ้าไม่ได้ถูกใครทำร้ายเลย เวลาตกบันไดหรือเจ็บป่วยต่างๆ
นั้น ใครทำให้ ฉะนั้น แต่ละคนจึงมีกรรมของตนเอง เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะทำให้ผลของ
กรรมเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
ฉะนั้น เรื่องเจ้ากรรมนายเวร จึงเป็นเรื่องรับฟังต่อๆกันมา โดยไม่รู้ว่าใครเคยเห็น
เจ้ากรรมนายเวรที่ไหน เมื่อไหร่เพียง แต่นึกว่ามีบุคคลที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้เป็น
ทุกข์เดือดร้อนต่างๆแต่ความจริงนั้น ทุกคนมีกรรมเป็นของของตนเอง
ฉะนั้น ท่านเป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่านเองหรือเปล่า ในเมื่อคนอื่นไม่สามารถจะทำ
กรรมให้ท่านได้ ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมก็ตาม ต่างคนก็ต่างเป็นเจ้ากรรม
นายเวรกันโดยไม่รู้จักหน้าค่าตาว่าเคยเป็นเจ้ากรรมนายเวรกัน ตั้งแต่ในครั้งไหนในสังสาร
วัฎฎ์
ฉะนั้น ทุกท่านที่กำลังนั่งอยู่ในที่นี้ต่างเป็นเจ้ากรรมนายเวรที่มองไม่เห็น ใครก็ตามที่
ทำให้ท่านไม่พอใจในชาตินี้ คนนั้นแหละคือ ผู้ที่ท่านเคยทำกรรมไม่ดีกะเขาครั้งหนึ่งใน
สังสารวัฎฎ์ได้ไหม ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว ไม่โกรธ ไม่เกลียด ให้อภัยผู้นั้นทันที เมื่อไม่โกรธ
เคืองผู้ใด ก็หมดเวรกรรมกับผู้นั้น
เราคิดว่าเจ้ากรรมนายเวรเป็นคำที่มนุษย์ใช้เรียกและตั้งขึ้นมาเอง ไม่มีอยู่ในพระไตรปิฏก แต่เราก็คิด
ว่าบุคคลที่ถูกเจ้ากรรมนายเวรมีตัวตนจริง เพราะว่ามันถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เรียกแทนคนที่ถูกเราทำร้ายโดย
ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ แต่ความว่าตัวเราเท่านั้นเป็นผู้รับผลขอกรรมนั้น ก็คือเราต้องรับผลจากสิ่งที่เราทำอันนี้
เป็นจริงแท้ และการที่เราทำความดีทำบุญก็เป็นกรรมดีที่เราต้องรับไม่ต่างจากกรรมชั่ว ดังนั้นการขอ
อโหสิกรรม ก็ต้องมีผล เพราะการกระทำที่เรียกว่า การขออโหสิกรรม ก็คือ การที่คนเราทำบุญ เช่นการ
สวดมนต์ทำทานก็ทำให้ได้กุศลวิบากเช่นกัน แต่สิ่งที่ขัดแย้งจริงๆ ไม่ใช่เจ้ากรรมนายเวรไม่มีจริง หรือ
อโหสิกรรมไม่มีผล แต่เป็นความเข้าใจไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องความคิดที่ว่าการทำดีสามารถลบล้างปาบได้
ต่างหาก และการทำดีย่อมให้กุศลวิบากดี การทำชั่วย่อมให้กุศลวิบากชั่วจะเปรียบเทียบก็จะพอยกตัวอย่างว่า
เช่น ถ้ามีคนคนหนึ่งกำลังเดินทางกลับบ้านแล้วกระเป๋าตังค์หายไม่มีเงินติดตัวเลยสักบาท(ก็เพราะเขาเคยทำ
กรรมไว้ คือ เขาเคยขโมยเงินคนอื่นทำให้เขาต้องได้รับกรรมคือเสียทรัพย์โดยไม่ได้ตั้งใจ) แต่ในขณะที่เขา
ลำบากอยู่นั้นจู่ๆ เขาก็เจอเงิน 15 บาท พอให้เขาขึ้นรถกลับบ้านได้พอดี(เพราะเขาเคยทำบุญบริจาคทานมา
ก่อน)แสดงให้เห็นว่าปาบและบุญให้ผลคนละด้าน และวาระบุญไม่ได้ทำให้ปาบลดลงแต่จะช่วยเกื้อกูลเมื่อเรา
ต้องการต่างหาก ดังนั้นการจะปฏิเสธว่าอโหสิกรรมไม่ให้ผลนั้นไม่ได้เพราะอโหสิกรรมเป็นกรรมดีที่ต้องให้
ผลในทางที่ดีแต่ไม่ได้ช่วยให้กรรมชั่วลดลงต้องกล่าวอย่างนี้จึงจะถูกต้อง
คำว่า ปจฺจตฺตํ แปลว่า เฉพาะตน. ซึ่งส่วนใหญ่ในพระไตรปิฎกและ
อรรถกถาจะมีคำว่าเต็มว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ เป็นคำอธิบาย
พระธรรมคุณ ในอรรถกถาท่านอธิบายดังนี้
ในข้อว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ นี้ มีความสังเขปว่า อัน
วิญญูชนแม้ทั้งปวงมีอุฆคฏิตัญญูบุคคลเป็นต้น พึงรู้ได้ในตนว่า มรรคอันเรา
เจริญแล้ว ผลอันเราบรรลุแล้ว นิโรธอันเรากระทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้
บทว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพวิญฺญูหิ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายพึงรู้ได้ใน
สันดานของตน ๆ นั่นเองแต่พาลชนทั้งหลายรู้ได้ยาก ...
การที่จะรู้ ความจริงของจิต จะขาดการฟัง "เรื่องของจิต" ก่อนไม่ได้ จะรู้ความ
จริงของจิตได้ ก็โดยอาศัยการฟัง การศึกษา "เรื่องของจิต" จากพระธรรมที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงตรัสรู้ และทรงแสดงไว้โดยละเอียดโดยนัยต่างๆ เพื่อที่จะให้สาวกผู้ฟังได้
ค่อยๆ พิจารณา ไตร่ตรองตาม อย่างมีเหตุผล แล้วสะสมความเข้าใจถูก ความเห็นถูก
เป็นปัญญาของตนเอง จนกว่าจะมีความมั่นคงเพิ่มขึ้นตามลำดับ....ในความเป็นธรรมะ
ที่ไม่ใช่เรา...เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ฯลฯ
เมื่อมีความเข้าใจถูกต้อง ในความเป็นจริงของสภาพธรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นทีละเล็ก
ทีละน้อย เมื่อเหตุสมควรแก่ผล ก็จะเป็นปัจจัยให้ระลึกได้ในขณะที่สภาพธรรมนั้น
ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมนั้นจะเป็นจิต / เจตสิก หรือ รูปก็ตาม
ที่สำคัญคือต้องเป็นผู้ตรง โดยรู้ว่า....ขณะนี้เพิ่งเริ่มฟัง เพิ่งเริ่มมีความเข้าใจ
ในขั้นของการฟัง ปัญญาขั้นฟัง ฟังเรื่องของจิต แต่ยังไม่สามารถที่จะรู้ตัวจริงของจิต
เพราะตัวจริงของจิต ไม่ใช่เรื่อง ไม่ใช่คำ แต่จิตกำลังมีในขณะนี้ ขณะที่กำลังเห็น...
เป็นจิต...รู้ตัวจริงของจิตที่เห็นหรือยัง ?...รวมทั้งขณะที่ได้ยิน....กระทบสัมผัส ...คิดนึก
ก็เป็นจิตๆ ทุกขณะที่เกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็ว....แต่ไม่รู้ ที่จะรู้ได้...ต้องอาศัยการ
เจริญขึ้นของปัญญาอีกมาก...อีกระดับหนึ่ง....จึงจะสามารถรู้ความจริงของจิตได้ และ
ปัญญาในระดับนั้นก็จะต้องอาศัยเหตุปัจจัยมาจากปัญญาขั้นฟังด้วย..ขาดกันไม่ได้
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น เป็นไปเพื่อละ เป็นไป
เพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ดังนั้น ในการ
ศึกษาพระธรรม ความเป็นผู้ตรงจึงควรที่จะมีเป็นอย่างยิ่ง คือ ศึกษาเพื่อความเข้าใจที่
ถูกต้อง เพื่อละคลายความไม่รู้ พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตามเพื่อขัดเกลากิเลส
ในชีวิตประจำวัน ถ้าหากศึกษาเพื่อเพิ่มกิเลส คือ โลภะ ความติดข้องต้องการอยากรู้ชื่อ
มาก ๆ หรือศึกษาเพื่อเพิ่มมานะ ความสำคัญตน ศึกษาเพื่อเก่ง เพื่อรู้มาก ๆ เอาไว้คุยโอ้
อวดกับบุคคลอื่น อย่างนี้ไม่เป็นผู้ตรง การศึกษาธรรมแบบนี้ไม่เป็นประโยชน์เลย มีแต่
จะทำให้เกิดโทษ และผู้ศึกษาในลักษณะนี้จะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากพระธรรม เลย
เพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า ผู้ที่ตรง มีความจริงใจต่อพระธรรม ศึกษาเพื่อความเข้าใจถูก
เห็นถูก ย่อมจะได้รับประโยชน์จากพระธรรม
บางครั้งกรรมกับกิเลสก็แยกออกยากว่าอะไรเป็นกิเลสอะไรเป็นกรรม ท่านว่ากรรม
กิเลสสั่งสมวิบาก เช่นทำไมถึงถูกลูกศรยิงซ้ำๆ ทุกชีวิตเกิดมาก็เป็นไป ตามกรรมหมาย
ความว่าทุกวันนี้มีชีวิตอยู่เพราะกรรม ที่นี้ก็สั่งสมกิเลสไว้มากเมื่อกิเลสเกิดก็ไม่รู้ก็เลยถูก
ลูกศรยิงซ้ำๆ แล้วสั่งสมต่อที่จะเป็นวิบากอีก ที่ว่าบางครั้งกรรมกับกิเลสแยกกันไม่ออก
คือทั้งๆที่รู้ว่าเป็นกิเลสก็ยังมีความพอใจที่จะให้โทสะเกิดให้ถูกลูกศร ไม่อาจจะหลีก
เลี่ยงได้เหมือนการได้รับกรรม จึงควรรู้ว่าอะไรเป็นกรรมอะไรเป็นกิเลส เอาชนะกิเลสได้
ก็หลีกเลี่ยงได้เป็นการละ
ลักษณะของผู้ตรงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาเมตตสูตรมีว่า
[๑๐] กิจนั้นใด อันพระอริยะบรรลุบทอันสงบ
ทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดพึงทำ
กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้อาจหาญ ตรงและตรงด้วยดี
พึงเป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ
พึงเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจน้อย
ประพฤติเบากายจิต.....
อรรถกถาขยายความบางตอนดังนี้
ชื่อว่า ตรง (อุชุ) เพราะทำด้วยความไม่อวดดี ชื่อว่า ตรงดี (สุหุชู) เพราะ
ไม่มีมายา. หรือว่า ชื่อว่า ตรง เพราะละความคดทางกายและวาจา ชื่อว่า
ตรงดี เพราะละความคดทางใจ. หรือชื่อว่า ตรง เพราะไม่อวดคุณที่ไม่มี
จริง ชื่อว่า ตรงดี เพราะไม่อดกลั้นต่อลาภที่เกิดเพราะคุณที่ไม่มีจริง.....