พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ศุกร์ 10 ก.ค. 2009 7:52 am
โทสมูลจิต ๒
โทสมูลจิต คื อ จิตที่เกิดร่วมกับโทสเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่
หยาบกระด้าง ไม่พอใจในอารมณ์ โทสมูลจิตมี ๒ ประเภท คือ ...
ดวงที่ ๑ โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โทสมูลจิตเกิดร่วมกับโทมนัสเวทนา ความรู้สึกไม่สบายใจ และเกิด
ร่วมกับปฏิฆะ (โทสเจตสิก) ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่หยาบกระด้าง เป็นจิตมีกำลัง
เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยการชักจูง
ดวงที่ ๒ โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โทสมูลจิตเกิดร่วมกับโทมนัสเวทนาและโทสเจตสิก เป็นจิตมีกำลัง
อ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง
โลภมูลจิต ๘
โลภมูลจิต คือ จิตที่มีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย จึงทำให้พอใจติด
ข้องในอารมณ์ปรากฏ โลภมูลจิตมี ๘ ประเภท คือ ...
ดวงที่ ๑ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา (โสมนสฺสสหคตํ) ความรู้สึกดีใจ
เป็นสุข เป็นไปกับความเห็นผิด (ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ) คือ มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วม
ด้วย เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง (อสงฺขาริกํ)
ดวงที่ ๒ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา เป็นไปกับความเห็นผิด เป็นจิต
ที่มีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง (สสงฺขาริกํ)
ดวงที่ ๓ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด (ทิฏฺฐิ-
คตวิปฺปยุตฺตํ) คือ ไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่
ต้องอาศัยการชักจูง
ดวงที่ ๔ โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็น
จิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง
ดวงที่ ๕ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ เป็น
ไปกับความเห็นผิด เป็นจิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง
ดวงที่ ๖ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา เป็นไปกับความเห็นผิด เป็น
จิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง
ดวงที่ ๗ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็น
จิตมีกำลัง เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยการชักจูง
ดวงที่ ๘ อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
โลภมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ไม่เป็นไปกับความเห็นผิด เป็น
จิตมีกำลังอ่อน เกิดขึ้นโดยอาศัยการชักจูง
โมหมูลจิต ๒
โมหมูลจิต คือ จิตที่เกิดร่วมกับโมหเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่หลง
ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งหลาย โมหมูลจิตมี ๒ ประเภท คือ ...
ดวงที่ ๑ อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ
โมหมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยความสงสัย (วิจิกิจฉา
เจตสิก) ในความจริงของสภาพธรรมทั้งหลาย
ดวงที่ ๒ อุเปกฺขาสหคต อุทธจฺสมฺปยุตฺตํ
โมหมูลจิตเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ประกอบกับความฟุ้งซ่าน (อุทธัจ-
จเจตสิก)
อกุศลมูล
มูล คือ ต้นเหตุของอกุศลธรรมทั้งหลายนั้น มี ๓ คือ ...โลภเจตสิก ๑
โทสเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑ รวมเป็นอกุศลเหตุหรืออกุศลมูล ๓
อกุศลจิต ๑๒ ดวง
อกุศลจิต เป็นจิตที่ไม่ดีงาม เพราะมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย อกุศล
จิต ๑๒ ดวง ได้แก่ ...โลภมูลจิต ๘ ดวง
โทสมูลจิต ๒ ดวง
โมหมูลจิต ๒ ดวง
กามาวจรจิต เป็นจิตขั้นต้น ซึ่งเกิดดับเป็นปรกติประจำวันทุกขณะ
ไม่ว่าจะหลับหรือตื่น รูปปรมัตถ์เป็นกามอารมณ์ ในบรรดารูปปรมัตถ์ ๒๘ รูปนั้น
รูปปรมัตถ์ที่ปรากฏเป็นอารมณ์ตามปรกติทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั้น มี ๗
รูป เรียกว่า โคจรวิสยรูป ( รูปซึ่งเป็นวิสัยเป็นโคจร คือ เป็นรูปที่จิตย่อมเกิด
ขึ้นรู้เป็นปรกติ) ได้แก่ ...
รูปารมณ์ ( วัณณะ ปรากฏเมื่อกระทบจักขุปสาทรูป ) ๑ รูป
สัททารมณ์ ( เสียง ปรากฏเมื่อกระทบโสตปสาทรูป ) ๑ รูป
คันธารมณ์ ( กลิ่น ปรากฏเมื่อกระทบฆานปสาทรูป ) ๑ รูป
รสารมณ์ ( รส ปรากฏเมื่อกระทบชิวหาปสาทรูป ) ๑ รูป
โผฏฐัพพารมณ์ ๓ รูป ( อ่อนหรือแข็งเป็นธาตุดิน ๑ เย็นหรือร้อนเป็น
ธาตุไฟ ๑ ตึงหรือไหวเป็นธาตุลม ๑ ปรากฏเมื่อกระทบกับกายปสาทรูป )
จิตที่เกิดดับตามปรกติในชีวิตทุกๆ ขณะนั้น เป็นจิตขั้นกามาวจรจิต
ซึ่งเป็นไปกับรูปเหล่านี้ คือ มีรูปเหล่านี้เป็นอารมณ์หรือคิดนึกเรื่องรูปเหล่านี้
กามาวจรจิต ๕๔ ดวง คือ ...
อกุศลจิต ๑๒ ดวง
อเหตุกจิต ๑๘ ดวง
กามโสภณจิต ๒๔ ดวง
ศุกร์ 10 ก.ค. 2009 7:51 pm
ขอบคุณครับ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.