จิตดวงหนึ่งๆ นั้นมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหลายประเภท จิตดวงหนึ่งๆ
จะมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยมากน้อยต่างกันตามประเภทของจิตนั้นๆ จิตทุกดวงต้อง
มีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วยตามประเภทของจิตนั้น ๆ
อกุศลจิตทุกดวงต้องมีอกุศลสาธารณเจตสิก(เจตสิกที่เกิดกับอกุศล
จิตทุกดวง) ๔ ดวงเกิดร่วมด้วย คือ ... โมหเจตสิก ๑
อหิริกเจตสิก (สภาพธรรมที่ไม่รังเกียจบาป) ๑
อโนตตัปปเจตสิก(สภาพธรรมที่ไม่หวั่นเกรงโทษของอกุศลธรรม) ๑
และ อุทธัจจเจตสิก (สภาพธรรมที่ฟุ้งซ่านไปตามอกุศลธรรม) ๑
ความต่างกันของอกุศลจิต ๑๒ ดวงโดยมูล ( อกุศลเหตุ ๓ : โลภะ
โทสะ โมหะ ) คือ ... โมหมูลจิต ไม่มีโลภเจตสิกและโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย โทสมูลจิต ไม่มีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย โลภมูลจิต ไม่มีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ความต่างกันของอกุศลจิต ๑๒ ดวงโดยเวทนา ๓ ( อุเบกขาเวทนา
โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา ) คือ ... อุเบกขาเวทนาเจตสิก
เกิดร่วมกับโลภมูลจิตและโมหมูลจิตได้
เกิดร่วมกับโทสมูลจิตไม่ได้
โสมนัสเวทนาเจตสิก
เกิดร่วมกับโลภมูลจิต
เกิดร่วมกับโทสมูลจิตและโมหมูลจิตไม่ได้
โทมนัสเวทนาเจตสิก
เกิดร่วมกับโทสมูลจิต ๒ ดวง เท่านั้น
ไม่เกิดกับจิตประเภทอื่นๆ เลย
สำหรับอกุศลจิตดวงสุดท้าย คือ โมหมูลจิตดวงที่ ๒ อุเปกฺขาสหคตํ
อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ นั้น เป็นโมหมูลจิตที่ไม่มีวิจิกิจฉาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ก็เป็น
อกุศลจิตประเภทหนึ่งเพราะมีอกุศลเจตสิกเกิดร่วมด้วย ขณะใดที่ไม่เป็นโลภ-
มูลจิต ๘ ดวง โทสมูลจิต ๒ ดวง และโมหมูลจิต วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ อกุศล
จิตขณะนั้นก็เป็นโมหมูลจิต อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ
เมื่ออกุศลจิตขณะใดมีกำลังแรงกล้า ก็จะเป็นเหตุให้เจตนากระทำ
อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ
กายกรรม ๓ ได้แก่ ปาณาติปาต (ฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต) ๑ อทินนาทาน
(ถือทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน) ๑ กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดใน
กาม) ๑ วจีกรรม ๔ ได้แก่ มุสาวาท (พูดเท็จ)๑ ผรุสวาท (พูดคำหยาบ)๑
ปิสุณวาจา (พูดคำส่อเสียด) ๑ สัมผัปปลาปวาจา (พูดเพ้อเจ้อ) ๑ มโนกรรม ๓ ได้แก่ อภิชฌา (คิดเพ่งเล็งเอาของของผู้อื่นมาเป็น
ของตน ) ๑ พยาปาท (คิดเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น) ๑ มิจฉาทิฏฐิ (คิดเห็นผิด
ว่าผลของกรรมไม่มี เป็นนัตถิกทิฏฐิ คือ เห็นว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจาก
กรรม ๑ เห็นผิดว่ากรรมไม่มีผล เป็นอเหตุกทิฏฐิ คือ เห็นว่ากรรมไม่เป็นเหตุให้
เกิดผล ๑ เห็นผิดว่ากรรมเป็นเพียงกิริยาอาการของกายเท่านั้น เป็นอกิริยา
ทิฏฐิ ๑) ๑ เมื่ออกุศลจิตที่เป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรมบถดับไปแล้ว เจตนา
เจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตที่ดับไปนั้น ก็เป็นกัมมปัจจัยให้อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง
เกิดขึ้นเป็นผลของกรรมนั้นๆ เมื่อถึงกาลอันสมควร
อเหตุกจิต ๑๘ ดวง
อเหตุกจิต ๑๘ ดวง คือ จิตที่ไม่เกิดร่วมกับเจตสิกที่เป็นเหตุ ๖ ดวง
เลย เจตสิกที่เป็นเหตุมี ๖ ดวง คือ ... โลภเจตสิก ๑ โทสเจตสิก ๑ โมหเจตสิก ๑
เป็น อกุศลเหตุ ๓ (อกุศลเหตุ ๓ นี้เกิดกับอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้นไม่เกิดกับ
จิตประเภทอื่นๆ เลย)
อโลภเจตสิก ๑ อโทสเจตสิก ๑ ปัญญาเจตสิก (อโมหะ) ๑
เป็น โสภณเหตุ ๓ จิตใดมีโสภณเหตุเกิดร่วมด้วย จิตนั้นเป็นโสภณจิต
คือ เป็นจิตที่ดีงาม
จิต ๑๘ ดวง ไม่เกิดร่วมกับเจตสิกที่เป็นเหตุ ๖ เลย จิต ๑๘ ดวงจึงเป็น
อเหตุกจิต และเป็น อโสภณจิต ด้วย ส่วนจิตอื่นๆ ๗๑ ดวงนั้นเกิดร่วมกับ
เจตสิกที่เป็นเหตุ จิต ๗๑ ดวงจึงเป็นสเหตุกจิต อเหตุกจิต ๑๘ดวง คือ ... อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง
อเหตุกกุศลวิบากจิต ๘ ดวง และ อเหตุกกิริยาจิต ๓ ดวง
อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง คือ...
อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ *จิตเห็นวัณณะ (ที่ไม่ดี) เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ *จิตได้ยินเสียง (ที่ไม่ดี) เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ *จิตได้กลิ่น (ที่ไม่ดี) เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา อุเปกฺขาสหคตํ ชิวหาวิญฺญาณํ *จิตลิ้มรส (ที่ไม่ดี) เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา ทุกฺขสหคตํ กายวิญฺญาณํ *จิตรู้โผฏฐัพพะ (ที่ไม่ดี) เกิดร่วมกับทุกขเวทนา (*ปัญจวิญญาณ ๕ รู้อารมณ์ ๕ เฉพาะอารมณ์ของตนๆ เท่านั้น) อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ จิตรับรู้อารมณ์ ๕ ต่อจากปัญจวิญญาณ อกุศลวิบากจิตอุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ จิตพิจารณาอารมณ์ ๕ ต่อจากสัมปฏิจฉันนะ อกุศลวิบากจิต
อกุศลวิบากจิตทุกดวงเป็นผลของอกุศลกรรม จึงเป็นจิตที่เกิดขึ้นรู้
อนิฏฐารมณ์ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
|