Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

พระนิพพาน

อังคาร 14 ก.ค. 2009 10:40 am

ที่ไม่ได้ฟังพระธรรมคำสอนซึ่งเป็นหนทางเพื่อการออกจากวัฏฏะ เขาย่อมออกจาก

วัฏฏะไม่ได้เลย ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมคำสอนเริ่มเข้าใจขึ้น แม้ว่าชาตินี้จะยังไม่สามารถพ้น

จากวัฏฏะได้ แต่การสะสมกุศลธรรม สะสมความเข้าใจคือปัญญามากยิ่งขึ้น ย่อมพ้น

จาก วัฏฏะได้ในอนาคต ดังนั้นจากประวัติของพระอริยสาวกทั้งหลาย ท่านได้สะสม

บุญบารมีผ่านพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ พอมาชาตินี้เมื่อท่านได้ฟังพระธรรมจึงพ้น

จากวัฏฏะได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงกังวลอะไร ขอให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาพระ

ธรรมคำสอน ค่อยๆสะสมไปการบริบูรณ์ของปัญญาย่อมมีได้



ควรทราบว่าสภาพที่สงบระงับอกุศลธรรม ต้องเป็นกุศลธรรม ไม่ใช่ท่านั่งหรือท่าทาง

เดิน ถ้าไม่เข้าใจอะไรเลย ไปนั่ง ไปเดิน การนั่งหรือการเดินนั้นก็เป็นอกุศล ขณะที่

อกุศลเกิดขึ้นจิตไม่สงบ ขณะที่กุศลเกิดขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม จิตย่อม

สงบจากอกุศล ดังนั้นเรื่องท่าทางอิริยาบถไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ความเข้าใจพระ

ธรรมคำสอนที่ตรงและถูกต้อง ย่อมสำคัญกว่า เพราะผู้ที่ศึกษาพระธรรมเข้าใจแล้ว ไม่

ว่าจะอยู่ที่ไหน อิริยาบถใด สติย่อมเกิดระลึกรู้ได้ ขณะที่สติเกิดขึ้นจิตย่อมสงบจาก

อกุศล โดยไม่ต้องไปนั่ง หรือไปเดินจงกรม สรุปคือความเข้าใจสำคัญที่สุด





พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 587

๕. อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยอนุสติ ๖ ประการ

[๒๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตว่า

แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. . . เป็นผู้เบิกบานแล้ว

เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึง

พระตถาคต สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม

ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว

เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ

สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์

ได้ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า ............

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า .............

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน .............

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า .............

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า .............



ผู้ใดที่ไม่เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมจนละ

คลาย ผู้นั้นจะบรรลุอริยสัจจ์ ๔ เป็นพระอริยบุคคลไม่ได้ พระอริยบุคคล

เห็นความเป็น “ พุทธ” ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเห็นธรรมที่พระองค์

ทรงตรัสรู้ ไม่ใช่เพียงแต่ศึกษาพระธรรมที่พระองค์ทรงเทศนาเท่านั้น พระ

อริยบุคคลหมดความสงสัยในพระธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้

เพราะพระอริยบุคคลได้รับบรรลุธรรมนั้น และได้ประจักษ์ในความเป็น

“พุทธ” ว่า พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงนั้นไม่ใช่โดยคาดคะเน แต่โดย

ตรัสรู้ทั้งปวงตามความเป็นจริงของธรรมนั้นๆ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นย่อมเห็น

ตถาคต ผู้ใดศึกษาและปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งธรรม ผู้นั้นย่อมสามารถรู้แจ้ง

ธรรมและดับกิเลสเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ คือ ตั้งแต่พระโสดาบัน

พระสกทาคามี พระอนาคามี จนถึงพระอรหันต์


พระนิพพานมีความสงบ เป็นลักษณะ (สันติลักขะณัง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๔๔ หน้าที่ ๗๑๑

๑. ปฐมนิพพานสูตร ว่าด้วยอายตนะ คือ นิพพาน

[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน

น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ

อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และ

พระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น ว่า เป็นการมา

เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ

อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้

นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบปฐมนิพพานสูตรที่ ๑



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๔๔ หน้าที่ ๗๑๑
๒. ทุติยนิพพานสูตร ว่าด้วยฐานะที่เห็นได้ยาก คือ นิพพาน

[๑๕๙] ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่านิพพาน ไม่มีตัณหา

นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอัน

บุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคล

ผู้รู้ ผู้เห็นอยู่.

จบทุติยนิพพานสูตรที่ ๒



วิการรูป ๓ ได้แก่ รูปที่เบา รูปที่อ่อน และรูปที่ควรแก่การงาน ทั้งสามรูปนี้

เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง เรียกว่า อสภาวะรูป ซึ่งเกิดจากสมุฎฐานทั้งสาม

ได้แก่ จิต อุตุ และอาหาร วิการรูปเป็นอาการของรูป ในร่างกายเรานี้ถ้ามีเพียง

วิการรูปที่เกิดจากจิต และอุตุเท่านั้นแต่ขาดอาหาร วิการรูปก็ไม่มีกำลังพอที่จะ

เคลื่อนไหวได้สะดวก รูปที่สามารถอบรมให้รู้ให้เข้าใจได้นั้น ได้แก่ สิ่งที่ปรากฎ-

ทางตา เสียง กลิ่น รส และเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว เพราะว่า

เป็นรูปที่มีสภาวะ เมื่ออบรมเจริญความรู้ความเข้าใจ สติสามารถระลึกรู้รูปเหล่านี้

ได้ในชีวิตปรำจำวันว่าเป็นเพียงสภาพธรรม ไม่ใช่เรา ส่วนวิการรรูปนั้นมีคำถาม

จากชาวต่างชาติท่านหนึ่งว่า สติปัฎฐานสามารถเกิดระลึกรู้รูปเบา รูปอ่อน

และรูปที่ควรแก่การงานได้ไหม คำตอบ คือ ได้ แต่เกิดขึ้นกับใคร....

สิ่งที่กำลังปรากฎขณะนี้ยังไม่รู้ ควรอบรมความรู้ความเข้าใจในลักษณะ

สภาพธรรมที่กำลังปรากฎขณะนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ส่วนวิการรูปนั้นเมื่อไร

ที่ปรากฎกับผู้มีปัญญาที่ได้สะสมมา เมื่อปรากฎผู้นั้นรู้เอง...

Re: พระนิพพาน

อังคาร 14 ก.ค. 2009 8:20 pm

ขอบคุณครับ
ตอบกระทู้