Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

เจริญปัญญา

พุธ 15 ก.ค. 2009 8:36 pm

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓- หน้าที่ 185

มหาตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยการก้าวลงสู่ครรภ์

[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ

ความเกิดแห่งทารกก็มี ในสัตว์โลกนี้ มารดา บิดา อยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่

มีระดู และสัตว์ที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ ความเกิดแห่งทารกก็ยังไม่มีก่อน ใน

สัตว์โลกนี้ มารดา บิดา อยู่ร่วมกัน มารดามีระดู แต่สัตว์ที่จะมาเกิดยังไม่ปรากฏ

ความเกิดแห่งทารกก็ยังไม่มีก่อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดมารดา บิดาอยู่

ร่วมกันด้วย มารดามีระดูด้วย สัตว์ที่จะมาเกิดก็ปรากฏด้วย เพราะความประชุม

พร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการอย่างนี้ ความเกิดแห่งสัตว์จึงมี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มารดาย่อมรักษาทารกนั้นด้วยท้องเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง เมื่อล่วงไปเก้า

เดือน หรือสิบเดือน มารดาก็คลอดทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ด้วยความสงสัย

ใหญ่ และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนักนั้นซึ่งเกิดแล้วด้วยโลหิตของตนด้วยความ

สงสัยใหญ่.




พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 463

จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อายุเจริญอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่,

ก็สัตว์เหล่านี้ ไหว้ท่านผู้มีพระคุณ ย่อมเจริญด้วยเหตุ ๔ ประการ,

พ้นจากอันตราย, ดำรงอยู่จนตลอดอายุทีเดียว" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรง

สืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๘. อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน

จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ.


"ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ

พละ เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ

ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์."



จิตรู้บัญญัติได้โดยจิตคิดถึง ชื่อ สัณฐาน เรื่องราว ของปรมัตถ์ เพราะมีปรมัตถ์

บัญญัติจึงมีได้ ขณะจิตที่จิตมีบัญญัติเป็นอารมณ์นั้น ไม่มีสภาพธรรมอะไรปรากฏ

หมายถึงขณะจิตนั้นจริงๆ แต่โดยทั่วไปการรู้บัญญัติ ย่อมอาศัย สี เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ เป็นต้น ปรากฏวิถีแรกๆ จากนั้นจึงมีบัญญัติเป็นอารมณ์ หรือจิตรู้

ปรมัตถ์และบัญญัติสลับกันไปตามวาระต่างๆตามสมควรของวิถีจิต



ถ้าท่านเข้าใจคำว่าวิญญาณตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่มีคำว่าวิญญาณ

ล่องลอย เพราะวิญญาณก็คือจิต ทุกขณะในชีวิตประจำวันมีวิญญาณตลอดเวลา

คือ ทางตาเห็น ทางหูได้ยิน ทางจมูกรู้กลิ่น ทางลิ้นรู้รส ทางกายกระทบโผฏฐัพพะ

ทางใจคิดนึก ทั้งหมดเป็นวิญญาณคือสภาพรู้ ส่วนที่เค้าเห็นกันเป็นรูปร่างต่างๆ

นั้น ก็เป็นไปได้ว่าเป็นอมนุษย์ก็ได้ แต่ความจริงแล้วสิ่งใดที่ตาเห็นได้ เป็นเพียงรูป

ประเภทหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์บุคคลใดๆเลย..



รายละเอียดในเรื่อง "สันโดษ" มีมาก

แต่ โดยพื้นฐานทั่ว ๆ ไป นั้น...........


ผู้ที่มีทรัพย์ไม่มาก แต่ว่า พอใจ

คือ ไม่โลภมาก

ไม่ดิ้นรนขวนขวาย.....จนไม่รู้จักเพียงพอ

นั่น คือ "ลักษณะ"ของคนที่ "ไม่จน"



แต่ "ลักษณะ" ของคนที่ "จน"

คนที่คิดแต่จะเอา คิดแต่จะได้.

แสวงหาอยู่เสมอ

ไม่รู้จักจบสิ้น.!

ไม่มีวันเต็ม สำหรับ "ผู้ที่มีความโลภมาก"

คือ โลภมาก อยู่ร่ำไป

ไม่ว่าจะมีมากสักเท่าไร ก็ยังรู้สึกไม่พอ

เช่นนี้ ก็คือ คนที่ "จน" อยู่เสมอ.!



แต่ ในขณะเดียวกัน

ผู้ที่มี เพียงไม่มาก

แต่ว่า พอใจ ในสิ่งที่พึงมี พึงได้

และมีความสุขอยู่กับทรัพย์ เท่าที่มี นั้น

นั่น คือ พื้นฐานทั่ว ๆไป.



แต่ ไม่ได้หมายความว่า

พระธรรมส่วนนี้ จะสอนให้คนไม่ขยัน.!


ซึ่ง

ถ้ามีการ "ศึกษา" โดยละเอียดแล้ว

พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงธรรม

เรื่องของ "ความขยันหมั่นเพียร"



พระองค์ทรงยกย่อง

เรื่อง "ความขยันหมั่นเพียร"

เรื่อง "การแสวงหาทรัพย์"

และทรงแสดงเรื่อง

"โทษของความเกียจคร้านในการทำงาน"

ว่า เป็น "อบายมุข"

และเป็น "ทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์"



ดังนั้น

เมื่อ "ศึกษา" พระธรรม โดยละเอียดแล้ว

ก็จะไม่เข้าใจสับสน

ระหว่าง "ความสันโดษ" กับ "ความเกียจคร้าน"

และ "ความเป็นผู้ขยัน"

ยินดีในทรัพย์ ตามมี ตามได้ ตามกำลัง

หรือ ตามสมควร.


อกุศลจิต เป็น สภาพธรรม ที่ "เป็นโทษ"

เป็น สภาพธรรม ที่ "เป็นเหตุ"

ทำให้เกิด "ผล" ที่เป็นทุกข์ ที่ไม่น่าพอใจ

ซึ่ง (ผล) ก็คือ "อกุศลวิบากจิต" ต่าง ๆ



.



นอกจาก กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต

ยังมี "จิต" อีกประเภทหนึ่ง


คือ


"กิริยาจิต"


กิริยาจิต ซึ่ง "ไม่เป็นเหตุ"

คือ ไม่เป็นเหตุให้เกิด วิบากจิต (ผลของกรรม)


เพราะฉะนั้น


"กิริยาจิต"

จึงไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต ไม่ใช่วิบากจิต.


เพราะว่า......


กิริยาจิต ไม่ใช่ผล ของกุศลจิต

กิริยาจิต ไม่ใช่ผล ของอกุศลจิต.



.



จิต ทั้งหมด จำแนกเป็น "ชาติ"

(ชา-ติ คือ การเกิด)

คือ จำแนกเป็น "จิตชาติหนึ่ง ชาติใด"

ใน ๔ ชาติ

คือ


จิต ที่เป็น ชาติกุศล

จิต ที่เป็น ชาติอกุศล

จิต ที่เป็น ชาติวิบาก

จิต ที่เป็น ชาติกิริยา



.



เช่น


ขณะปฏิสนธิ.........ซึ่ง เป็น "จิตขณะแรก"

จิตขณะแรก...ที่เกิดขึ้น ในภพนี้ ในชาตินี้.


และ การที่ทุกท่าน มีชีวิตอยู่ ในขณะนี้......

ก็เพราะ ปฏิสนธิจิต เกิดขึ้นในภพนี้ ชาตินี้

จึงทำให้ "เป็นบุคคล" นี้.!


ปฏิสนธิจิต เป็น กุศลจิต ไม่ได้.!

ปฏิสนธิจิต เป็น อกุศลจิต ไม่ได้.!



.



ขณะที่ ปฏิสนธิจิต เกิดขึ้น

ขณะนั้น........

ไม่ได้กระทำ"กรรม" ใด ๆ...ทางกาย ทางวาจา ทางใจ.



.



ปฏิสนธิจิต เป็น วิบากจิต

ซึ่ง เกิดขึ้น เพราะ กรรมหนึ่ง กรรมใด เป็น ปัจจัย.



.



แม้ว่า กรรม ที่ได้กระทำแล้ว ในแต่ละภพชาติ

จะมากมาย สักเพียงใดก็ตาม.......................


กรรมใด....เป็น "ปัจจัย"

ให้ ปฏิสนธิจิต หรือ วิบากจิตใด...เกิดขึ้น.!

กรรมนั้น...เป็น "กัมมปัจจัย"

แก่ ปฏิสนธิจิต และ วิบากจิต นั้น.!



.



ถ้าเกิดในภูมิมนุษย์....เป็น สุคติภูมิ

ก็ต้อง เป็น ผลของกุศลกรรม.

และ

"จิต" ที่กระทำกิจปฏิสนธิ (ปฏิสนธิจิต)

ก็ต้องเป็น กุศลวิบาก.



ถ้าเกิด ใน อบายภูมิ

คือ เกิดในนรก เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกาย เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

ก็ต้อง เป็น ผลของอกุศลกรรม

และ

"จิต" ที่กระทำกิจปฏิสนธิ (ปฏิสนธิจิต)

ก็ต้องเป็น อกุศลวิบาก.



.



เมื่อ ปฏิสนธิจิต ดับไปแล้ว

กรรมนั้น...ไม่ได้เพียงทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด เท่านั้น.!


เพราะว่า

เมื่อ ปฏิสนธิจิต ดับไปแล้ว..........


กรรม เดียวกัน........ที่เป็น "ปัจจัย" ให้ปฏิสนธิจิตเกิดนั้น

ก็ เป็น "กัมมปัจจัย" ที่ทำให้วิบากจิต ขณะต่อไป เกิดขึ้น

และ กระทำกิจ คือ "ภวังคกิจ"...สืบต่อ จาก ปฏิสนธิจิต.



.



"ปฏิสนธิจิต" คือ จิตที่กระทำกิจ สืบต่อจาก "จุติจิต"

(จุติจิต คือ จิตขณะสุดท้ายของชาติก่อน)


หมายความว่า


ทันทีที่ จุติจิตของชาติก่อน...ดับไป.


"กรรมหนึ่ง".............ที่ได้กระทำแล้ว

เป็น "ปัจจัย" ให้ ปฏิสนธิจิต เกิดขึ้น

และ เป็น "จิตขณะแรก"...ในชาตินี้

ที่สืบต่อ จาก "จุติจิต" ของชาติก่อน

.........แล้วดับไป.


และ

"กรรมเดียวกัน" นั้น ก็เป็น "ปัจจัย"

ให้ วิบากจิต ขณะต่อไป ๆ เกิดขึ้น

ทำกิจ คือ "ภวังคกิจ"


"ภวังคกิจ"

คือ กิจดำรงภพชาติ...ที่เป็นบุคคลนี้ สืบต่อไป.


.....................จนกว่า "จุติจิต" จะเกิด

และ ทำกิจ คือ "เคลื่อน" จากภพภูมินี้

เป็นการสิ้นสุด สภาพ ที่เป็นบุคคลนี้.!



.



และ ในระหว่างที่ยังไม่ จุติ

"กรรม" อื่น ๆ ก็ "เป็นปัจจัย" ให้ "วิบากจิต" ต่าง ๆ

เกิดขึ้น......"รู้อารมณ์"

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย.

"กุศล"

คือ สภาพธรรมที่ดีงาม ไม่เป็นโทษภัย.


บางท่าน เข้าใจ ว่า

ท่านสามารถที่จะเจริญกุศลได้

เฉพาะเวลาที่มีทรัพย์สินเงินทอง เท่านั้น.!


แต่....ลืม "ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่"


ถึงแม้ไม่มีเงิน แต่มีสิ่งของที่พอจะแบ่งปัน เจือจาน สละให้

เพื่อช่วยเหลือ บุคคลอื่น ๆ ได้

ท่าน จะสละให้ เพื่อช่วยเหลือ บุคคลอื่น

ได้ไหม.......?


ถ้าหาก "สละ" ไม่ได้........................

ขณะนั้น เป็น กุศล หรือ เป็น อกุศล.


ผู้ที่รู้ ว่า "กุศลจิต" เป็น "จิตที่ดีงาม" เป็น "จิตที่ไม่มีโทษ"

ก็อาจจะ "คิด"...เศร้าหมองใจ ว่า

ท่านขาดเงิน....ท่านทำบุญไม่ได้.!


แต่

ความจริง นั้น

ถึงแม้ว่าไม่มีเงิน ที่จะเจริญ "ทานกุศล"

ก็มี "กุศลอื่นๆ" อีกหลายประการ ที่เจริญได้.


เช่น


ขณะที่ รู้สึก เป็นมิตร...กับบุคคลอื่น.


ขณะที่ มีความรู้สึก เสมอกัน...กับบุคคลอื่น.


ขณะที่ มีจิตใจที่อ่อนโยน พูดคำอ่อนหวาน...กับบุคคลอื่น

ด้วยใจจริง.!


หรือ ขณะที่ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่...ต่อบุคคลอื่น.


เป็นต้น.


ขณะนั้น...เป็น "กุศล"

ซึ่งเป็น "สภาพธรรม"....ที่ไม่เป็นโทษภัย ใด ๆ เลย.



.



ขณะใด...ที่มี "ควมสำคัญตน" ว่า

สูงกว่า ดีกว่า เก่งกว่า...บุคคลอื่น.


หรือ มีการแบ่งแยกว่า เป็นเขา-เป็นเรา

แล้วไม่ช่วยเหลือ ไม่เอื้อเฟื้อ.


ขณะนั้น...เป็น "อกุศลจิต"

คือ จิตที่ไม่ดีงาม.

เป็น "สภาพธรรม" ที่เป็นโทษ.



.



เมื่อ "เข้าใจลักษณะ" ของ "กุศล" จริง ๆ

ก็เป็นเหตุให้ "เจริญกุศลทุกประการ" ได้.!



แม้ว่า ไม่มีทรัพย์สินเงินทอง ที่จะสละให้

ก็ยังมีสิ่งอื่น เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งพอที่จะ "สละให้" ได้.!



ถ้าสละให้ไม่ได้จริง ๆ.....เพราะ เป็นคนที่ "หวงของ"

แต่ก็ "คิดอยาก" ให้จิตสงบ หรือ "อยากหมดกิเลส"

จนถึงความเป็นพระโสดาบัน.

จะ "สละ" สิ่งของ ให้ผู้อื่นบ้าง...ได้ไหม.?




.



แต่ละบุคคล

ต่างก็สะสม กุศล และ อกุศล มาต่าง ๆ กัน.



ฉะนั้น

จึง ควร "พิจารณาจิตของตนเอง" ว่า

เป็น ผู้ที่ยัง "หวงสิ่งของมาก"

หรือว่า

"เริ่มสละ" สิ่งของ ให้เป็นประโยชน์ แก่คนอื่น ๆ บ้าง

ทีละเล็ก ทีละน้อย.....จนเป็น "อุปนิสัย"


จนเป็น "ปัจจัยที่มีกำลัง"


ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ "ละคลายการยึดถือ"

ที่ "เคยยึดถือ"สภาพนามธรรม และ รูปธรรม

ที่ปรากฏ นั้น ว่า เป็นตัวตน.!


จนกระทั่ง

"ปัญญาที่อบรมเจริญจนคมกล้าแล้ว" นั้น

สามารถ "รู้แจ้งนิพพาน" ได้.!



.



ผู้ที่คิดว่า อยากหมดกิเลส นั้น

ขณะที่กิเลสเกิดขึ้น

ก็ยังพอใจ...ที่จะให้กิเลสนั้น มีอยู่.!

เช่น

ขณะที่มี "มานะ" คือ ความสำคัญตน

หรือ ความริษยา เป็นต้น นั้น.


แม้ผู้ใด จะบอก ให้ละคลายเสีย

หรือ ควรยินดีด้วย กับความสุขของบุคคลอื่น

หรือ ควรมีเมตตา.....แม้ ต่อบุคคล ที่เลวร้าย.


ท่านจะกระทำได้ไหม.?



.



ผู้ที่มี "ฉันทะ"

คือ พอใจ....ที่จะโกรธ ดูหมิ่น ถือตัว ริษยา ฯลฯ

ก็ย่อมไม่สามารถที่จะกระทำได้.!



.



ฉะนั้น

"การละกิเลส"

จึง ไม่ใช่ สิ่งที่สามารถจะกระทำได้ ทันที.!

แต่ จะต้องค่อย ๆ เป็นไป

ค่อย ๆ "อบรม" เจริญ "ปัญญา" ให้เกิดขึ้น

ทีละเล็ก ทีละน้อย.

Re: เจริญปัญญา

พุธ 15 ก.ค. 2009 9:12 pm

ขอบคุณครับ

ชอบตรง "ทีละเล็ก ทีละน้อย" นี่แหละ :P

Re: เจริญปัญญา

พฤหัสฯ. 16 ก.ค. 2009 10:17 am

:shock: ขอบคุณค่ะ...จะพยายาม "เตือนจิต" ตัวเองค่ะ... :pry:
ตอบกระทู้