Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

จิตทุกขณะ

เสาร์ 18 ก.ค. 2009 12:22 pm

จิตทุกขณะ เกิดขึ้น

กระทำ "กิจ" ของตน ๆ....แล้วก็ ดับไป.



.



"ปฏิสนธิจิต"

กระทำกิจ-สืบต่อจาก "จุติจิต"......ของชาติก่อน

โดยกระทำกิจของตน...เพียงขณะเดียว เท่านั้น.!



.



"ภวังคจิต" ทุกขณะ

ทั้ง อตีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปเฉทะ

ล้วนกระทำกิจ คือ "ภวังคกิจ"

ซึ่ง เป็นกิจ สืบต่อ-ดำรงภพชาตินั้นไว้.



.



เมื่อ "ภวังคุปเฉทะ" ดับไปแล้ว.!

"วิถีจิตขณะแรก" ที่เกิดต่อจาก "ภวังคุปเฉทะ" นั้น

ก็กระทำ "อาวัชชนกิจ"



.



"อาวัชชนกิจ"


แปลโดยศัพท์ ว่า

"รำพึง ถึง อารมณ์ ที่ปรากฏกับทวาร"

หมายความว่า

รู้ อารมณ์ ที่กระทบกับทวาร.



.



ชื่อว่า "อาวัชชนะ"

เพราะ อรรถ ว่า

"นำออกไปจากสันดาน" (การเกิด-ดับ-สืบต่อ) อันเป็น ภวังค์.

คือ

"น้อมไปสู่ อารมณ์ ที่กระทบกับทวาร"



.



ซึ่ง ถ้าเป็นทาง "ปัญจทวาร" คือ

(ทวาร) ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย.



.



"ปัญจทวาราวัชชนจิต"

ซึ่ง เป็น "จิต" ประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้น

กระทำกิจ คือ "อาวัชชนกิจ"


"อาวัชชนกิจ"

คือ การรำพึงถึงอารมณ์ ที่กระทบทวารหนึ่ง ทวารใด

ใน ๕ ทวาร.

(ตา หู จมูก ลิ้น กาย)



.



ขณะที่ "จิต" กระทำอาวัชชนกิจ.


"จิตขณะนั้น"

ยังไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส

และ ยังไม่รู้ สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย.



.



ถ้าเป็น ทาง "มโนทวาร" คือ "ทางใจ"


"ทางใจ"


ไม่ใช่ จักขุปสาท..............(ทางตา)

ไม่ใช่ โสตปสาท...............(ทางหู)

ไม่ใช่ ฆานปสาท..............(ทางจมูก)

ไม่ใช่ ชิวหาปสาท............(ทางลิ้น)

ไม่ใช่ กายปสาท..............(ทางกาย)


ขณะที่ "มโนทวาราวัชชนจิต" เกิดขึ้น

ก็กระทำกิจ คือ "อาวัชชนกิจ" เฉพาะทางมโนทวาร เท่านั้น.!

และ

"มโนทวาราวัชชนจิต" ไม่ใช่ "ปัญจทวาราวัชชนจิต"



.



ตัวอย่าง เช่น

(ขณะที่รสกระทบชิวหาปสาท)


เมื่อ "รส" เกิดขึ้น กระทบกับ "ชิวหาปสาท"

และ กระทบกับ "อตีตภวังค์".....................


และ เมื่อ "อตีตภวังค์" ดับไป


ก็เป็นปัจจัย ให้ "ภวังคจลนะ" เกิดต่อ..........แล้วดับไป


แล้วก็เป็นปัจจัย ให้ "ภวังคุปเฉทะ" เกิดต่อ...แล้วดับไป


แล้วก็เป็นปัจจัย ให้ "ปัญจทวาราวัชชนจิต".......เกิดต่อ


.....................กระทำกิจ "รำพึง"

คือ รู้ ว่า อารมณ์กระทบชิวหาทวาร

แต่ ยังไม่ได้ลิ้มรส นั้น.!


โดยการ อุปมา.............


เหมือนแขกมาที่ประตู...แต่ยังไม่เห็นแขก

จึงยังไม่รู้ ว่า เป็นใครมา...........

เพียงแต่รู้ ว่า มีแขกมา เท่านั้น.!


ทุกท่าน...ย่อมมีแขกไปมาหาสู่

เวลาที่คิดถึง คำว่า "แขก"...ก็มักจะคิดถึง "บุคคล"


แต่ความจริง

"แขก" ดังที่อุปมา....ก็คือ "อารมณ์" ต่าง ๆ

ที่ "ปรากฏ"

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นั่นเอง.!



.



ขณะที่เห็น...สิ่งที่ปรากฏทางตา

ขณะนั้น...สิ่งที่ปรากฏทางตา นั้นเอง...เป็น แขก.


โดยนัยเดียวกัน.!


ขณะใด ที่ได้ยินเสียง......เสียง เป็น แขก

ขณะที่ไม่ได้ยินเสียง...คือ เสียงไม่ปรากฏ

ขณะนั้น...แขก ทางหู ยังไม่มา.!


ขณะใด...ที่ รส ปรากฏ

รส ก็เป็นแขก...ที่ปรากฏทางลิ้น

ชั่วขณะหนึ่ง..........แล้วก็ดับไป.


เป็นต้น.



.



ขณะใด...ที่ อารมณ์ ปรากฏ....ทางทวารใด

ขณะนั้น.....อารมณ์ ที่ปรากฏ ทางทวารนั้น

ก็เป็น "แขก" ของทวารนั้น.


ซึ่ง เป็นชั่วระยะ...ที่สั้นที่สุด

แล้วก็ดับหมดสิ้น

ไม่กลับมาอีกเลย ในสังสารวัฏฏ์.!

ผู้ใหญ่ บางท่าน...รู้สึกเหงา.!


เพราะว่า ระหว่างที่ท่านยังไม่ใช่ผู้สูงอายุ

ท่านได้พบปะ บุคคล มากหน้าหลายตา

ได้รื่นเริง สนุกสนานกับญาติมิตรสหาย

แต่ เมื่อ ท่านสูงอายุขึ้นแล้ว.................



"แขก ซึ่งเป็น บุคคล....ในความรู้สึกของท่าน"

ก็ลดน้อยลง.



เมื่อถามท่านผู้สูงอายุ ว่า...ท่านชอบอะไรมากที่สุด.?

บางท่าน...ตอบว่า ท่านชอบคน

คือ ชอบให้คนมาหา ได้พูดคุยกัน ได้เพลิดเพลิน.



แต่ความจริง.!

ทุกคน...มี แขก มาหา...ทุกขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น

ลิ้มรส และ กระทบสัมผัสทางกาย.



และ ตามธรรมดา นั้น

พอ แขก มา.............

"โลภมูลจิต" ก็เกิดขึ้น...ยินดี พอใจใน "สิ่งที่กำลังปรากฏ"

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย.



"แขก" มี หลายประเภท.!

ถ้าเป็นโจรผู้ร้าย ก็ไม่มีใครต้องการ "แขก" ประเภทนั้น.!


แต่ ถ้า เป็นญาติ มิตร สหาย

ก็รอ ว่า เมื่อไรจะมา.!



แต่ความจริง.!

"อารมณ์" ต่าง ๆ ที่ "กำลังปรากฏ"

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

เป็นเพียง "รูปธรรม"

ซึ่ง

ไม่มี "เจตนาร้าย" กับใคร.!


เพราะว่า

"รูปธรรม" ไม่ใช่ สภาพรู้.



.



ฉะนั้น

"แขก" ที่จะเป็นโจร หรือจะเป็นญาติ...ใน ขณะไหน.?


ในขณะที่ "อารมณ์ใด" กำลังปรากฏ

แล้วเกิดความยินดีพอใจ ติดข้อง ใน "อารมณ์นั้น"

"โจร" ก็อยู่ที่นั่น เพราะ ความยินดีพอใจ ติดข้อง.!



ความยินดี พอใจ ติดข้อง เป็น "อกุศลธรรม"

"อกุศลธรรม"

ไม่เป็นมิตรกับใคร.!

แต่

"กุศลธรรม"

เป็นเสมือน ญาติสนิท ที่คอยอุปการะ เกื้อกูล ช่วยเหลือ

ไม่ว่าในยามใดทั้งสิ้น.!



ฉะนั้น

จึง ต้อง รู้ "ลักษณะของจิต" ที่ต่างกัน.!


คือ

"อกุศลจิต" เป็นโทษ เป็นโจร ไม่ใช่มิตร.!


และ เมื่อคิดถึง "โจร"

ย่อมเกิดความกลัว และ ไม่อยากให้มา เป็น"แขก"


แต่ "โจร" คือ "อกุศลจิต"

ซึ่ง "เป็นเหตุ" ที่ทำให้มี...."แขกที่เป็นโจรในวันหน้า"


ส่วน "กุศลจิต"

ก็เปรียบเสมือน "ญาติมิตร"

ซึ่ง "เป็นเหตุ" นำมาซึ่ง "ญาติมิตรสหายในวันข้างหน้า"



ฉะนั้น

"รูปธรรม"

ไม่ใช่ เหตุ และ ไม่ใช่ สภาพรู้

จึง "ไม่มีเจตนา" ใด ๆ ทั้งสิ้น.!



รูปธรรม เช่น "เสียงที่ปรากฏ"

ไม่ใช่ สภาพรู้...ที่ ต้องการให้ใครได้ยิน

หรือ ไม่ต้องการให้ใครได้ยิน.

ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ว่า ให้คนนี้ได้ยิน...ไม่ให้คนนั้นได้ยิน.!



เพราะว่า

"เสียง" เป็น "รูปธรรม"

ที่เกิดขึ้น "ตามปัจจัย" ที่ทำให้เกิดเสียงนั้น.



ซึ่ง แล้วแต่ ว่า

โสตปสาทของใคร จะกระทบเสียงใด.!



เช่น บางคนนอนหลับสนิท

ไม่ได้ยิน เสียงฟ้าร้อง ดังสนั่นน่ากลัว.

ฉะนั้น

เสียงฟ้าร้อง นั้น

จึงไม่ใช่ "แขก" ของบุคคลที่ ไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง นั้น.

แต่

เสียงฟ้าร้องนั้น เป็น "แขก"

ของบุคคลที่ "สะสมเหตุ"ที่ทำให้ โสตปสาทกระทบกับเสียงนั้น.!



.



ฉะนั้น

ขณะที่ "อารมณ์ใด" เกิดขึ้น

เป็น "แขก" ของบุคคลใด

ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย


ย่อม เป็นไป ตามเหตุปัจจัย...ซึ่งก็คือ "กรรม"


"กรรม" ที่บุคคลนั้นสะสมมานั้นเอง

ที่ เป็น "ปัจจัย" ที่ทำให้ "วิบากจิต" เกิดขึ้น

และ รู้ อารมณ์ นั้น ๆ



.



ฉะนั้น


"แขก"


ที่ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

ก็เป็นเพียง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ซึ่ง เกิดขึ้น และ ปรากฏ......เพียงชั่วขณะ สั้น ๆ

แล้วก็ ดับสูญไป.....ไม่กลับมาอีกเลย.!



หาใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน หรือ วัตถุสิ่งใดไม่.!



และ ในวันหนึ่ง ๆ

ก็ไม่มีใคร ที่สามารถจะรู้ได้เลย ว่า

"แขก" ไหน

จะมาทางใด และ มาเมื่อไร.!
ขณะใด "จิต" กำลังรู้ อารมณ์

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

ขณะนั้น...เป็น "วิถีจิต"


.


"ปัญจทวาราวัชชนจิต"

เป็น "วิถีจิตแรก"

ที่เกิดต่อจาก "ภวังคุปเฉทะ"


.


"ปัญจทวาราวัชชนจิต"

กระทำกิจ "อาวัชชนกิจ"

หมายถึง

กระทำกิจ..........เพียง รู้ อารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใด

ที่มากระทบกับ ทวารหนึ่ง ทวารใด...ใน ๕ ทวาร.


.


ฉะนั้น

"ปัญจทวาราวัชชนจิต"


ไม่ใช่ "จิตที่กระทำกิจเห็น"

ไม่ใช่ "จิตที่กระทำกิจได้ยิน"

ไม่ใช่ "จิตที่กระทำกิจได้กลิ่น"

ไม่ใช่ "จิตที่กระทำกิจลิ้มรส"

และ

ไม่ใช่ "จิตที่กระทำกิจกระทบสัมผัสทางกาย"


.


"วิถีจิตอื่น ๆ"

ที่เกิดขึ้น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

จะเกิดขึ้น ไม่ได้.!

ถ้า "ปัญจทวาราวัชชนจิต" ไม่เกิดขึ้น

และดับไป เสียก่อน.!


.


ฉะนั้น

"ปัญจทวาราวัชชนจิต"

จึงเป็น "วิถีจิตขณะแรก"

ที่เกิดทางทวารหนึ่ง ทวารใด ใน ๕ ทวาร.

จึงชื่อว่า

"ปัญจทวาราวัชชนจิต"

(ปัญจ-ทวาร-อาวัชชน)


.


ถ้าแยกออก เป็น แต่ละทวาร

คือ


ขณะที่เกิดทาง "จักขุทวาร" ก็เป็น "จักขุทวาราวัชชนจิต"


ขณะที่เกิดทาง "โสตทวาร" ก็เป็น "โสตทวาราวัชชนจิต"


ขณะที่เกิดทาง "ฆานทวาร" ก็เป็น "ฆานทวาราวัชชนจิต"


ขณะที่เกิดทาง "ชิวหาทวาร" ก็เป็น "ชิวหาทวาราวัชชนจิต"


ขณะที่เกิดทาง "กายทวาร" ก็เป็น "กายทวาราวัชชนจิต"


ซึ่ง "จิต" ประเภทนี้

กระทำ "อาวัชชนกิจ" ได้ทั้ง ๕ ทวาร

ดังนั้น

จึงรวมเรียก ว่า "ปัญจทวาราวัชชนจิต"


.


สำหรับ "วิถีจิต"

ที่เกิดขึ้น รู้อารมณ์ ต่าง ๆ "ทางใจ" นั้น.


ก่อนที่ "วิถีจิต" คือ กุศลจิต หรือ อกุศลจิต

เป็นต้น

จะเกิดขึ้น คิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ

ก็ต้องมี "อาวัชชนจิต" เกิดก่อน.


ซึ่ง "จิต" ที่กระทำ "อาวัชชนกิจ"

คือ รู้อารมณ์ทางใจ

เรียกว่า

"มโนทวาราวัชชนจิต"


.


"มโนทวาราวัชชนจิต"

เป็น "วิถีจิตขณะแรก" ที่เกิดขึ้น "ทางมโนทวาร"

และ

ถ้า "มโนทวาราวัชชนจิต"ไม่เกิดขึ้นก่อน

"วิถีจิตอื่น ๆ ทางมโนทวาร"

ก็เกิดขึ้น รู้ อารมณ์ทางใจ (ทางมโนทวาร)......ไม่ได้.!


.


"มโนทวาราวัชชนจิต" ไม่ใช่ "ปัญจทวาราวัชชนจิต"

เพราะ เป็น "จิต" คนละประเภท.


เพราะว่า

"ปัญจทวาราวัชชนจิต" เกิดขึ้น

กระทำ "อาวัชชนกิจ" ได้....เฉพาะ ๕ ทวาร.

คือ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

เท่านั้น.


เกิดขึ้นกระทำ "อาวัชชนกิจ" ทางมโนทวาร ไม่ได้.!


และ

"มโนทวาราวัชชนจิต"

ก็เกิดขึ้น กระทำ "อาวัชชนกิจ" ได้

เฉพาะ "ทางมโนทวาร"

ทวารเดียว เท่านั้น.!


.


ฉะนั้น

"วิถีจิต" ที่กระทำ "อาวัชชนกิจ" ทางทวาร ทั้ง ๖

คือ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.


ได้แก่


"จิต" ๒ ประเภท.


คือ


๑. "ปัญจทวาราวัชชนจิต"


ซึ่ง

"ปัญจทวาราวัชชนจิต" กระทำ "อาวัชชนกิจ" ทาง ๕ ทวาร

คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย

เท่านั้น.!


.


๒. "มโนทวาราวัชชนจิต"


ซึ่ง

"มโนทวาราวัชชนจิต" กระทำ "อาวัชชนกิจ" ทาง มโนทวาร

คือ ทางใจ เพียงทวารเดียว

เท่านั้น.!



ตามพระวินัยมีว่า เมื่อพระภิกษุรับประเคนยารักษาโรค สามารถเก็บไว้ฉันตลอดชีวิต

คือไม่มีกำหนดวัน ดังนั้นคฤหัสถ์ถวายยารักษาโรค ไม่ขัดกับพระวินัย เพราะว่ายา
รักษาโรคเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย พระพุทธองค์ทรงอนุญาต
ให้บรรพชิตรับและเก็บไว้ได้ไม่จำกัดวันและเวลา

"โดยมากท่านผู้ฟังอาจจะคิดว่า คบหาสมาคมกับบุคคล แต่ว่าโดยสภาพของปรมัตถ

ธรรมแล้ว เป็นการคบหาสมาคมกับธรรมทั้งสิ้น แล้วแต่ท่านจะคบหาสมาคมกับความ

เห็นถูก หรือว่าคบหาสมาคมกับความเห็นผิด หรือคบหาสมาคมกับกุศลธรรม หรืออกุศล

ธรรม ซึ่งการคบหาพระธรรม ก็คือการฟังพระธรรม การพิจารณาพระธรรมโดยละเอียด

แล้วก็ไตร่ตรองเลือกเฟ้นพระธรรมโดยรอบคอบ นั่นก็จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้สามารถที่

จะได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้

เพราะเหตุว่าบางท่านอาจจะสงสัยว่า ท่านจะคบกับพระธรรมอย่างไร ถ้ามีการฟังพระ

ธรรม ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง และบางครั้งก็อาจจะเกิดความสงสัย ก็คบต่อไปอีก โดย

ประการที่ฟังต่อไป แล้วก็พิจารณาพระโอวาทที่ได้ทรงตักเตือน

ถ้าท่านคบหาสมาคมกับบุคคลที่เป็นมิตรสหาย ก็อาจจะได้ฟังความคิดเห็นของมิตร

สหาย ถ้ามีสิ่งใดที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล มิตรสหายนั้นก็จะโอวาท หรือช่วยตักเตือน

เพราะฉะนั้น บางท่านอาจจะคิดว่า เมื่อคบกับพระธรรม พระธรรมจะเป็นเหมือนมิตร

สหายได้อย่างไร แต่ความจริงพระธรรมเป็นยิ่งกว่ามิตรสหาย เพราะเหตุว่าแม้ไม่เห็นตัว

แต่ก็ยังฟัง เหมือนกับมีบุคคลที่กำลังแสดงพระธรรมให้ฟัง และถ้าสงสัย ก็ศึกษาและฟัง

ต่อไปอีก พระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงพระธรรมไว้โดยละเอียดทุกประการ ซึ่งเหมือน

กับการที่จะตอบข้อสงสัยของท่านผู้ฟังได้

บุคคลในสมัยพระผู้มีพระภาค มีความศรัทธา เลื่อมใส และเห็นประโยชน์ของการคบ

หาสมาคมกับพระธรรม"

คำว่า ผู้ยินดีในการขัดคอ หมายถึงผู้ที่ชอบโต้แย้ง คำกล่าวของผู้อื่น

คือใครจะพูดอะไรมา เขาก็พูดขัดไปทุกเรื่อง ตัวอย่าง เช่น

สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคแสดงพระธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
อายุของมนุษย์ทั้งหลายน้อย คนดี

ควรดูหมิ่นอายุนั้นเสีย ควรประพฤติดุจคน

ที่ถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น การที่มัจจุไม่เมาจะไม่มีเลย.


มารก็พูดขัดว่า
อายุของมนุษย์ทั้งหลายยืนยาว คนดี

ไม่ควรดูหมิ่นอายุนั้นเลย ควรประพฤติดุจ

เด็กอ่อนที่เอาแต่กินนม ฉะนั้น ไม่มีมัจจุมาดอก...

สำหรับท่านที่เห็นประโยชน์ของสติ และรู้ว่าสติที่เจริญสมบูรณ์ถึงขั้น

คือ ขั้นสติปัฏฐานสามารถที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ดับกิเลสได้เป็น

สมุจเฉท แต่ก็ไม่ใช่ว่าสติปัฏฐานจะเกิดได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะ

ได้เข้าใจว่า อะไรเป็นอาหารของสติ เพราะทุกอย่างที่จะเจริญขึ้น ก็จะต้องมี

อาหาร
ข้อความในอังคุตตรนิกาย ปฐมปัณณาสก์ อวิชชาสูตร ข้อความบางตอน มีว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้

โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็น

อาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็

กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน

๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓ (เพื่อที่จะไม่ให้ขาดสติ และประพฤติทุจริต เพราะ

ถ้ากิเลสยังมีกำลังแรง เป็นผู้ที่กระทำทุจริตอยู่เสมอ และหวังที่จะให้สติ

ปัฏฐานเกิด ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะสติ ปัฏฐานเป็นสติขั้นที่สูงกว่า สติ

ทั่วๆไป) แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไร

เป็นอาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวม

อินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหาร

ของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แม้สติสัมปชัญญะเราก็

กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติ

สัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดย

แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหาร

ของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่าศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็

กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา

ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้

กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่าการ

คบ สัปบุรุษ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการ

ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์

ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ใน

ใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่

บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์

ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้

บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์

๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหาร

อย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ


เรื่อง เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด สติและปัญญา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕- หน้าที่ 203
ข้อความบางตอนจาก ตัณหาสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์
ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดย
แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะ
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่
บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติ
ปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗
ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

Re: จิตทุกขณะ

เสาร์ 18 ก.ค. 2009 1:24 pm

อ่านยังไม่จบเรยยครับ ไว้มาอ่านต่อ

ขอบคุณครับ :D
ตอบกระทู้