พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ศุกร์ 24 ก.ค. 2009 7:44 am
คำว่าฌานโดยศัพท์หมายถึง เพ่ง หรือเผา ธรรมที่เป็นข้าศึกกัน มี ๒ ชนิด คือ
อกุศลฌาน ๑ กุศลฌาน ๑
สภาพธรรมที่เป็นองค์ของฌานมี ๗ คือ วิตก๑ วิจาร ๑ ปีติ ๑ เอกัคคตา ๑ โสมนัส ๑
โทมนัส ๑ อุเบกขา ๑
กุศลฌานมี ๒ คือ ลักขณูปนิชฌาน (เพ่งลักษณะ วิปัสสนา ) ๑
อารัมณูปนิชฌาน (เพ่งอารมณ์ สมถะ) ๑
ในคำสอนของพระพุทธองค์ทรงเน้นเรื่องการเจริญลักขณูปนิชฌาน เพราะทำให้
รู้ความจริงและดับกิเลส พ้นทุกข์ได้ การเจริญสติปัฎฐานคือการเจริญลักขณูปนิชฌาน
เพราะรู้ลักษณะของสภาพธรรม
ลักขณูปนิชฌานเป็นการอบรมวิปัสสนา คือ การรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความ
เป็นจริงพ้นจากทุกข์ได้ ฌานขั้นต่างๆ เป็นการอบรมความสงบของจิต แต่ไม่รู้
ความจริง ผลสูงสุดคือ เกิดเป็นพระพรหม แต่ไม่พ้นจากทุกข์
การเจริญสมถภาวนาจิตสงบจนถึงอัปปนาฌาน เป็นเรื่องใหญ่ และยากมาก แม้ใน
สมัยครั้งพุทธกาล ผู้ที่จะอบรมจนบรรลุฌานเป็นสิ่งกระทำได้แสนยาก คือ ขั้นต้นจะ
ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาและอบรมตามลำดับของการเจริญสมถภาวนา ที่กล่าวไว้ในวิสุทธิ
มรรค ตั้งแต่การละปลิโพธ การหาอาจารย์ที่มีปัญญา หาอาวาสที่เหมาะสม รู้จัก
อารมณ์ที่เหมาะกับจริต รู้วิธีการบริกรรมเพื่อให้จิตแนบแน่น รู้จักองค์ของฌาน เป็น
ต้น มิจฉาสมาธิเป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต สัมมาสมาธิเป็นสมาธิที่เกิดร่วมกับ
กุศล
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 211
จิตตุปปาทกัณฑ์
กุศลธรรม
กามาวจรมหากุศลจิต ๘
จิตดวงที่ ๑
ปทภาชนีย์
[๑๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน ?
กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส๑ สัมปยุตด้วยญาณ๒ มีรูปเป็น
อารมณ์ หรือ มีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มี
โผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือ ปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น
ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข
เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ
(สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา
กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติสัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา
ปัคคาหะ อวิกเขปะ. มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
มีอยู่ในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล
ผู้ที่จะอบรมเจริญสมถภาวนา จนถึงขั้นฌาน นั้น ปฎิสนธิจิตต้องประกอบด้วย
ปัญญามิฉะนั้น ไม่สามารถจะเจริญสัมมาสมาธิ จนถึงขั้นฌานได้ ก่อนอื่นผู้นั้นจะต้องมี
อัธยาศัยที่จะละกาม คือ เห็นโทษของความติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส รู้จัก
อกุศลในชีวิตประจำวัน ว่า มีมากมาย มีปัญญารู้ว่า จิต ขณะใดเป็นอกุศล จิต
ขณะใดเป็นกุศลและรู้ว่าอารมณ์ใดเหมาะสำหรับตนเอง ที่จะเจริญกุศลให้แนบแน่นจน
ถึงขั้นฌาน ซึ่งถ้าไม่ทราบ ก็ต้องมีอาจารย์ที่จะแนะนำได้ ไม่ใช่ว่าในชีวิตประจำ
วัน เกิดหงุดหงิดในการงาน ได้เจอแต่สิ่งที่ไม่น่าพอใจทะเลาะกับคนนั้น คนนี้ ก็จะหนี
ไปบวช จะหนีไปเจริญฌาน อย่างนี้ไม่ใช่ปัญญา เป็นเพียงไม่ชอบโทสะ แต่ถ้า
เป็นโลภะ เท่าไรก็ไม่พอต้องการเห็นสิ่งที่สวยงาม ต้องการเสียงที่ไพเราะ ต้องการ
กลิ่นหอม ต้องการอาหารที่อร่อย ต้องการกระทบสัมผัสทางกายที่สบาย ถ้ายังมีความ
ต้องการในสิ่งเหล่านี้เจริญฌานไม่ได้
แต่บางคนก็คิดวิธีปฏิบัติขึ้นมาเองว่า ถ้าอย่างนั้น " ฉันก็จะไม่ดูหนัง ฟังเพลง
ไม่ใช้น้ำหอม ไม่กินของอร่อย ๆ ไม่นอนบนที่นอนนุ่ม ๆ" ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญญาที่เห็นโทษ
ของกาม แต่เป็นการ "หนี" โดยไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล เป็นการไม่
เข้าใจอัธยาศัยของตนเอง
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 1
พระอภิธรรมปิฎก
เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒
ธรรมสังคณี
บทภาชนีย์อกุศลธรรม
อกุศลจิต ๑๒
จิตดวงที่ ๑
[๒๗๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน ?
อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์
หรือมีเสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็น
อารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด
ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคา วิริยินทรีย์
สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ
มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ
โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ
อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ก็หรือว่านามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ใน
สมัยนั้น
แม้แต่การที่จะเพียงฟังธรรม พ้นมานิดเดียว จากการที่หวังอย่างอื่น
ที่จะได้ ฟังธรรมแต่โลภะก็ตามมาด้วย หวังที่จะเข้าใจ
พอฟังเรื่องสภาพธรรม ก็หวังที่จะรู้มาก ๆ
เพราะฉะนั้น จริง ๆ แล้ว นิฉาโต พระธรรมที่ทรงแสดงไว้
เพื่อให้ถึงความไม่มีโลภะ
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้จริง ๆ แล้วโลภะ เป็นสิ่งที่ซึ่งต้องละ
เพราะฉะนั้น เวลาที่เกิดโลภะขึ้น ให้รู้ว่าเป็นสิ่งที่ต้องละ อริยสัจจะที่ ๒
ถ้าไม่ละแล้วจะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้อย่างไร
เพราะว่าที่มีโลภะ เพราะไม่รู้ ถ้ารู้ก็จะไม่มี
อย่างในขณะนี้ถ้ารู้ว่า การรู้ธรรมต้องอาศัยการฟังและปัญญาค่อย ๆ
เข้าใจขึ้น ละความหวังไหม หรือยังหวัง
เพราะฉะนั้น ปัญญาเท่านั้นที่จะเห็นโลภะ
ความเป็นทาสซึ่งนานแสนนานแล้ว
ไม่สามารถที่จะรู้ตัวเลยว่าเป็นทาส พ้นออกมาเมื่อไร เป็นอิสสระ
แม้เพียงเล็กน้อย จะรู้เลยว่าสภาพที่เป็นอิสสระ
พ้นจากโลภะเป็นอย่างนี้แล้ว
ถ้าสามารถจะพ้นไปได้อีก ก็จะยิ่งเห็นว่า
การเป็นอิสสระจากโลภะเป็นอย่างนี้
จนกระทั่งสามารถจะพ้นจากโลภะ ที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด
ขณะนั้นก็จะยิ่งรู้ถึงความหมายของคำว่า เป็นไท หรือ เป็นอิสสระ
จากความเห็นผิด เพราะว่าถูกครอบงำอย่างมิดชิด ไม่เห็นอะไร
จะไปรู้ได้อย่างไร ภาวะที่ไม่มีโลภะ
พ้นจากโลภะ จะเป็นอย่างไร
ความเป็นอิสสระเป็นอย่างไร ก็ยังไม่รู้
แต่มีประกายไฟ คือ มีฉันทะ
คอยเวลาที่จะเป็นไฟกองใหญ่ ถ้ามีเชื้อไฟเพิ่มขึ้น
ศุกร์ 24 ก.ค. 2009 9:03 am
ขอบพระคุณครับ อ่านๆก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ คงต้องค่อยๆไป
อาทิตย์ 26 ก.ค. 2009 7:26 pm
แย่เลยครับ ชานผมอยู่นอกห้องนอน เลยไปไม่ถึงสักที แพ้ที่นอนตลอด
ขออภัย หากทำเสียเรื่องครับ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.