Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ธรรมน่ารู้

อาทิตย์ 26 ก.ค. 2009 10:53 am

ในโลกมนุษย์ยุคกาลวิบัตินี้ แม้แต่พระอรหันต์ก็ไม่มี พระอรหันต์ที่ได้ฌานก็ไม่มี จะ

กล่าวไปใยถึงปุถุชน เป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้แน่นอน พิสูจน์ได้ในขณะนี้ครับ หลังเห็น

ตอบได้อย่างชัดเจนอย่างละเอียดจนถึงขณะจิตแต่ละขณะได้ไหมว่า จิตเป็นไปกับกุศล

หรือเป็นไปกับอกุศล ถ้ายังไม่มีปัญญาที่สามารถจะรู้ความต่างของขณะที่สงบกับขณะ

ที่ไม่สงบของจิต รวมถึงอุบายที่จะข่มความไม่สงบของจิตโดยละเอียดแล้ว ก็ยากเหลือ

วิสัยที่เราจะเสียเวลาไปเจริญสมถภาวนาล้วนๆ ครับ ฉะนั้น สิ่งที่จะเป็นประโยชน์กว่า

คือ การศึกษาพระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เข้าใจตรง และถูก

ต้องในหนทางแห่งการดับทุกข์ ที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้และทรงพระมหากรุณาคุณแสดง

ไว้ให้สาวกได้ฟังให้เข้าใจ จนเกิดความรู้ชัดในความเป็นสัจจธรรมของทุกสิ่งทุกอย่าง

ที่มีจริง ซึ่งล้วนแต่เป็นอนัตตาทั้งหมด

มานะ ในทางโลกเข้าใจกันว่าเป็นความพยายามบากบั่นขยันหมั่นเพียร แต่ในทาง

ธรรมแล้ว มานะ เป็นความสำคัญตน เป็นความทะนงตน ถือตน เป็นเจตสิกประเภท

หนึ่ง กล่าวคือ เป็นอกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิต ผู้ที่จะดับมานะได้อย่าง

เด็ดขาด ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้น ดังนั้น ผู้ที่ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ยังคงมีมานะ

แต่ก็ย่อมมีความหยาบ ความเบาแตกต่างกันออกไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอกุศลในชีวิต

ประจำวันมีมากจริง ๆ และไม่ใช่เฉพาะมานะเท่านั้น ยังมีอกุศลธรรมประเภทอื่นอีกมาก

มายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน จึงควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรม

เจริญเพื่อเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง และไม่เดือดร้อนกับอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

สมานัตตตา (ความเป็นผู้มีตนเสมอ) หมายถึง เสมอกันด้วยคุณธรรม คือ ด้วยธรรม

ฝ่ายดี เช่น เสมอกันโดยศีล เป็นต้น ไม่ใช่ว่าเสมอกันด้วยอกุศลธรรม สมานัตตตา

เป็นธรรมเครื่องสงเคราะห์ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคนอื่น เพราะขณะนั้น เป็นผู้วาง

ตนสม่ำเสมอ ไม่ถือตัว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 118

บทว่า สมานตฺตตา คือความเป็นผู้มีสุขมีทุกข์เสมอกัน. จริงอยู่บุคคลบางคน

ย่อมไม่หวังสังคหวัตถุมีทานเป็นต้น แม้แต่อย่างหนึ่ง หากหวังความร่วมสุขร่วมทุกข์

อย่างนี้ คือนั่งบนอาสนะเดียวกัน นอนบนเตียงเดียวกัน บริโภคร่วมกัน. ถ้าเขาเป็น

คฤหัสถ์ย่อมเสมอกันโดยชาติ บรรพชิตย่อมเสมอกันโดยศีล ความวางตนสม่ำเสมอนี้

ควรทำแก่บุคคลนั้น.



หาชื่อ..แต่กำลังมีในชีวิตประจำวัน

ไม่ว่าจะเป็นการพูดในเรื่องสภาพธรรมใด ไม่ควรลืมว่าอยู่ในชีวิตประจำวัน

เพราะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง มานะมีจริง ขณะใดที่เปรียบเทียบ

มานะเป็นการเปรียบเทียบคือดีกว่า เสมอกันหรือต่ำว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพย์ เรื่อง

ตระกูล เรื่องความรู้ เป็นต้น เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ให้ขอทานเห็นว่าเขาต่ำว่าจึงให้

มีมานะไหม แต่คนละขณะกับจิตที่ให้ที่เป็นกุศล

ลูกโป่งลอยสูง แต่ข้างในว่างเปล่าฉันใด มานะก็ยกตนให้สูงขึ้น

แต่ข้างในว่างเปล่าจากกุศลธรรม

สมานัตตา ความเป็นผู้วางตนเสมอ ซึ่งก็หลายระดับจากเพียงขั้นพื้นฐานจนสูงสุด

ไม่ควรลืมกลับมาอีกครั้งคือเป็นไปในชีวิตประจำวัน แม้แต่สมานัตตาชีวิตประจำวัน

อย่างไร...ไม่ชอบใคร เขาทำอาหารให้ แต่ไม่ยอมทาน เพราะไม่ชอบเขา มีตนเสมอกับ

เขาไหม กุศลจิต กับอกุศลจิต เสมอกันไหม และสมานัตตาในระดับสูง กุศลย่อมเสมอ

กับกุศล คุณธรรมของพระโสดาบัน เสมอกับปุถุชนไหม ไม่ใช่สมานัตตาแน่นอน ดังนั้น

คุณธรรมของพระโสดาบันกับพระโสดาบันจึงเสมอกันเป็นสมานัตตา จนถึงสูงสุด

คุณธรรมของพระอรหันต์เสมอกันกับพระอรหันต์ เป็นสมานัตตาสูงสุด

ดังนั้นความต่างของมานะกับสมานัตตาคือ

มานะเป็นอกุศล สมานัตตาเป็นธรรมฝ่ายดี

มานะมีการเปรียบเทียบ ไม่มีความเสมอกันด้วยกุศลธรรม

สมานัตตา

การวางตนเสมอเพราะเสมอในคุณธรรมและเสมอกันเพราะพิจารณาตามความเป็นจริง

สุดท้าย ไม่ควรลืมว่าคือขณะนี้ ในชีวิตประจำวัน

แม้มานะและสมานัตตาก็เป็นธรรมไม่ใช่เรา





พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 303

ปโตทสูตร ม้าอาชาไนยและบุรุษอาชาไนย ๔ จำพวก

.......................................................

บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ฟังว่าในบ้านหรือในนิคมโน้น.

มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา และ

ไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเอง

ทั้งญาติหรือสาโลหิตของเขาก็ไม่ถึงทุกข์ หรือทำกาลกิริยา

แต่เขาเองทีเดียว อันทุกขเวทนาเป็นไปทางสรีระ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน

ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะนำชีวิตไปเสีย ถูกต้องแล้ว

เขาจึงสลด ถึงความสังเวชเพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว

เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง

ปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกแทงด้วยปฏักถึงกระดูก จึงสลด ถึงความสังเวช

แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น



คำว่า เศษกรรม หมายถึง ผลของกรรมที่ยังเหลือ คือผลของอกุศลกรรม

โดยตรงทำให้เกิดในนรก เมื่อบุคคลนั้นกับมาเกิดเป็นมนุษย์ ทำให้ได้รับสิ่งที่ไม่น่า

ปรารถนา สิ่งที่ไม่ดีที่ได้รับนี้เรียกว่า เศษของกรรม บางนัยใช้คำว่าผลของอย่างเบา

๓.ข้อความในพระสูตรบางแห่งแสดงว่า วิบากกรรมบางกรรมสิ้นสุดก็มี แต่ในบาง

แห่งแสดงว่า กรรมในชวนจิตดวงที่ ๒ - ๖ ให้ผลไปตลอด จนกว่าจะปรินิพพาน คือ

ตราบใดที่ยังมีขันธ์เหลืออยู่ กรรมที่เคยทำไว้ตลอดแสนโกฏกัป เมื่อมีโอกาสย่อมให้

ผล...
คำว่า อุกฤษฎ์ หมายถึง สูงสุด อย่างสูง ตัวอย่าง เช่น เมื่อกล่าวถึง

สมณะ หรือพระอริยะ ท่านจะหมายถึงพระอริยบุคคลขั้นสูงสุด คือพระอรหันต์

ความจริงแล้วคำว่า สมณะ หรือพระอริยะ มีทั้งหมด ๔ ระดับ หรือเวลาท่านแสดง

โสภณธรรม เช่น ศรัทธา สติ ปัญญา เป็นต้น ท่านจะอธิบาย ศรัทธา สติ ปัญญา

ในระดับสูง คือ ขั้นโลกุตตระ แต่ความจริง ปัญญา เป็นต้นนั้นมีหลายระดับ..

Re: ธรรมน่ารู้

อาทิตย์ 26 ก.ค. 2009 8:38 pm

ขอบคุณมากครับ
ตอบกระทู้