เพราะ "ชวนวิถีจิต"
ซึ่งเป็น "กุศลจิต" และ "อกุศลจิต"
ที่ เกิด-ดับ-สืบต่อ...สะสมมาเรื่อย ๆ
เป็น "ปัจจัย"
ที่ทำให้ "แต่ละบุคคล"
มี "อัธยาศัย" ที่ไม่เหมือนกันเลย.!
.
"การสะสมของจิต" ของ "แต่ละบุคคล"
มีความละเอียดมาก.
ฉะนั้น.........
แม้พระอรหันต์ทั้งหลาย
ก็มี "อัธยาศัย" ที่ต่าง ๆ กัน.
เช่น
ความเป็น "เอตทัคคะ" ของพระอรหันต์แต่ละท่าน
คือ "ความเป็นผู้เลิศ" ในทางต่าง ๆ กัน ของพระอรหันต์แต่ละท่าน.
ตัวอย่าง เช่น "ท่านพระสารีบุตร"
ท่านพระสารีบุตร เป็น "เอตทัคคะ" ในทาง "ปัญญา"
"ท่านพระมหาโมคคัลลานะ"
เป็น "เอตทัคคะ" ในทาง "อิทธิปาติหาริย์"
"ท่านพระมหากัสสปะ"
เป็น "เอตทัคคะ" ในทาง "ธุดงค์-และสรรเสริญธุดงค์"
"ท่านพระอนุรุทธะ"
เป็น "เอตทัคคะ" ในทาง "จักขุทิพย์"
เป็นต้น.
.
"การสั่งสมของชวนวิถีจิต" ของ "ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์"
ต่างกัน ตามความเป็นไปของ "กุศลจิต" และ "อกุศลจิต"
ของแต่ละบุคคลทั้งหลาย ฉันใด
"การสั่งสมของชวนวิถีจิต" ของ "พระอรหันต์"
ก็ต่างกัน ตามความเป็นไปของ "กิริยาจิต"
ของ บุคคลผู้ซึ่งเป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น.
.
ขณะนี้.!
ทุกคน "คิด" ไม่เหมือนกันเลย
"การกระทำ" ทางกาย ทางวาจา ของแต่ละบุคคล
ก็ต้องไม่เหมือนกันเลย...."ตามการสะสม" นั่นเอง.
เรื่องต่อมาคือวันพระ ภาษาในพระไตรปิฎกใช้คำว่าวันอุโบสถ
วันอุโบสถหรือวันพระ มีปรากฏมาก่อนที่พระพุทธองค์จะอุบัติขึ้นในโลก
แม้ในชาดกทั้งหลาย คือ สมัยนอกพุทธกาล ก็มีข้อความเกี่ยวกันวันอุโบสถ
ด้วยเช่นกัน และมีพุทธบัญญัติแก่พระสาวกทั้งหลายว่า ให้ประชุมกันในวัน
อุโบสถ และให้ทำสังฆกรรมคือการสวดปาฏิโมกข์ และแสดงธรรมในวันนั้น
ด้วย ซึ่งสมัยปฐมโพธิกาล ยังไม่มีการประชุมกันของพระภิกษุ ทรงปรารภ
พระเจ้าพิมพิสาร และทรงรับสั่งให้พระภิกษุประชุมกันในวันอุโบสถ..
การเจริญกุศลเพื่อหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใดตอบแทนนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ถ้าเริ่มเข้าใจ
พระธรรมไปตามลำดับแล้ว การเจริญกุศลทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นในขั้นของทาน
(การให้ สละวัตถุสิ่งของ เพื่อประโยชน์สุขของบุคคลอื่น อันเป็นการสละซึ่งความ
ตระหนึ่) ขั้นของศีล (งดเว้นจากทุจริตกรรมประการต่าง ๆ และประพฤติในสิ่งทีดีงาม)
ขั้นของภาวนา (การอบรมเจริญความสงบของจิต และการอบรมเจริญปัญญาที่ประจักษ์
แจ้งในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง) ย่อมเป็นไปเพื่อการ
ขัดเกลากิเลสทั้งสิ้น
|