Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

การอุทิศบุญ

พุธ 05 ส.ค. 2009 7:59 am

แต่ละบุคคลที่เกิดมา ล้วนมีความตายเป็นที่สุดด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครหลีกพ้นได้

ขึ้นอยู่กับว่าจะตายช้าหรือตายเร็วเท่านั้น ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคคลรอบข้าง ไม่ว่า

จะเป็นบิดามารดา หรือ ญาติพี่น้องเป็นต้น ย่อมสามารถเป็นที่พึ่ง สามารถช่วยเหลือ

ทำกิจต่าง ๆให้แก่เราได้ แต่พอถึงเวลาตายมาถึง บุคคลเหล่านี้ ไม่สามารถที่จะช่วย

ต้านทานไว้ได้เลย ดังนั้น ในเมื่อทุกคนต้องตายอย่างแน่นอน จึงควรพิจารณาอยู่

เสมอว่า ก่อนที่วันนั้นจะมาถึง เราควรทำอะไร? เรื่องตาย ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะเป็น

เพียงจิตขณะเดียว ที่เกิดขึ้นทำให้เคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ ไม่สามารถ

กลับมาเป็นบุคคลนี้ได้อีก ขณะนี้จิตที่ว่านั้น(จุติจิต)ยังไม่เกิด แต่จะเกิดขึ้นเมื่อใด

ไม่มีใครทราบได้ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ จึงเป็นขณะที่สำคัญ ดังนั้น การฟังพระธรรม

ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา สะสมกุศลในชีวิตประจำวัน ตามกำลัง ย่อมเป็นสิ่ง

ที่สมควร

คำว่า พลีกรรม ตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ หมายถึง การสละ

การสละ มี ๒ ประเภท สละเพื่อช่วยเหลือสงเคราะห์ ๑ สละเพื่อบูชาคุณ ๑

การทำพลี ข้อความบางตอนจากปัตตกัมมสูตรมีดังนี้

....อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมเป็นผู้ทำพลี ๕ คือญาติพลี (สงเคราะห์ญาติ)

อติถิพลี (ต้อนรับแขก) ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย) ราชพลี

(ช่วยราชการ) เทวตาพลี (ทำบุญอุทิศให้เทวดา) ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มา

ด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้เป็นกรรมที่สมควรข้อที่ ๓

ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้

(โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว..
ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ยังไม่พบข้อความกล่าวถึงการกรวดน้ำ แต่มีพูดถึงการ

อุทิศส่วนบุญให้กับผู้ล่วงลับไปแล้วแต่ไม่มีการหลั่งน้ำตอนที่พระสวด มีผู้อธิบายว่าการ

หลั่งน้ำเป็นการแสดงถึงการมอบให้ส่วนบุญที่เป็นนามธรรม คือ ธรรมดาเมื่อมีการมอบ

ให้สิ่งของแก่กันต้องมีการยื่นมอบให้ แต่ถ้าเป็นของใหญ่ เช่น ที่ดิน กุฏิวิหารหรือบุญซึ่ง

มองไม่เห็นก็แสดงการมอบให้โดยการหลั่งน้ำ ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงพระเจ้าพิมพิสาร

อุทิศส่วนบุญให้ญาติแต่ไม่มีการหลั่งน้ำ เพราะฉะนั้นสำคัญอยู่ที่เจตนาของผู้ให้ถ้าหลั่ง

น้ำแต่พูดอะไรก็ไม่รู้ ญาติที่ล่วงลับไปแล้วก็ไม่ทราบ แต่ถ้าเราอุทิศส่วนบุญโดยไม่ใช้

น้ำ แต่มีเจตนาให้ และพูดภาษาที่เข้าใจได้ เช่น "ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้ง

หลาย ขอญาติทั้งหลายจงมีความสุข" การอุทิศส่วนบุญแบบนี้ ย่อมสำเร็จแก่ญาติทั้ง

หลายได้เหมือนกับพระเจ้าพิมพิสารในสมัยครั้งพุทธกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 284

เปรตพวกนั้น พากันไปยืนที่นอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยหวังว่า วันนี้

พวกเราคงได้อะไรกันบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำโดยอาการที่เปรตพวก

นั้น จะปรากฏแก่พระราชาหมดทุกตน.

พระราชาถวายน้ำทักษิโณทก ทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงมีแก่พวก

ญาติของเรา. ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดารดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่เปรต

พวกนั้น. เปรตพวกนั้นก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ระงับความกระวน

กระวายความลำบากและหิวกระหายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง.

ลำดับนั้น พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินเป็นต้น

แล้วทรงอุทิศ. ในทันใดนั้นเอง ข้าวยาคูของเคี้ยวและของกินอันเป็นทิพย์ ก็

บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. เปรตพวกนั้น ก็พากินบริโภคของทิพย์เหล่านั้น มี

อินทรีย์เอิบอิ่ม.

ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้าและเสนาสนะเป็นต้น ทรงอุทิศให้

เครื่องอลังการต่างๆ มีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอน

เป็นต้น ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. สมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้น ปรากฏ

ทุกอย่างโดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงอธิษฐาน (ให้พระราชา

ทรงเห็น) โดยประการนั้น. พระราชาทรงดีพระทัยยิ่ง. แต่นั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺฐนฺติ เป็นต้น เพื่อทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้ามคธรัฐ

การกรวดน้ำ คือ การอุทิศส่วนบุญที่เราทำไปแล้วให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว

เราเป็นคนไทยเราใช้ภาษาไทยก็ได้ ย่อและสั้นที่สุดก้คือ "ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่

ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลายจงมีความสุขเถิด" แค่นี้ก็ใช้ได้ครับ หรือถ้าต้องการจะ

ยาวกว่าก็มีดังนี้ " ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลที่ได้ทำแล้วในวันนี้แด่มารดา บิดา และ ผู้

มีพระคุณทั้งในปัจจุบันชาติและอดีตอนันตชาติ แก่เทพยดาและอมนุษย์ทั้งหลาย ขอ

จงมีจิตโสมนัสยินดี อนุโมทนาในส่วนกุศล โดยทั่วถึงกันเทอญ "

ควรทราบว่าอกุศลธรรมมีหลายระดับ คือ มีกำลังล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา

ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนก็มี หรือเพียงกลุ้มรุมจิตไม่ได้ล่วงทางกายวาจาก็มี อกุศลธรรม

ที่จะมีกำลังเป็นถึงขั้นกรรมบถย่อมมีผลคือวิบากเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนอกุศลธรรม

ที่ไม่เป็นกรรม ย่อมสะสมสืบต่อไป แต่ไม่มีวิบาก เพราะไม่ใช่กรรม

Re: การอุทิศบุญ

พุธ 05 ส.ค. 2009 9:12 am

ขอบพระคุณครับ :lcky:

Re: การอุทิศบุญ

พุธ 05 ส.ค. 2009 10:37 am

ขอบคุณครับผม

Re: การอุทิศบุญ

พฤหัสฯ. 06 ส.ค. 2009 1:44 am

ขอบคุณหลาย ๆ ครับ :P
ตอบกระทู้