"ทวาร ๖."
"ทวาร" คือ ประตู
หรือ ทางที่เป็น "ปัจจัย" ให้ "จิตเกิดขึ้น...รู้ อารมณ์"
.
"อารมณ์" ที่ จิตเกิดขึ้น รู้ ทางทวารทั้ง ๖
ทวารใดทวารหนึ่ง นั้น
ต้อง ไม่ใช่ "อารมณ์ของภวังคจิต".!
ฉะนั้น
"ทวาร" จึงเป็น "ทางรู้อารมณ์ของวิถีจิต"
.
"ทวาร"
มี ๖ ทวาร.
ซึ่ง
เป็น "รูปธรรม" ๕ ทวาร.
และ
เป็น "นามธรรม" ๑ ทวาร.
.
"ทวารที่เป็นรูปธรรม"
มี ๕ ทวาร.
คือ
"จักขุทวาร" หมายถึง "จักขุปสาทรูป"
๑ ทวาร.
"โสตทวาร" หมายถึง "โสตปสาทรูป"
๑ ทวาร.
"ฆานทวาร" หมายถึง "ฆานปสาทรูป"
๑ ทวาร.
"ชิวหาทวาร" หมายถึง "ชิวหาปสาทรูป"
๑ ทวาร.
"กายทวาร" หมายถึง "กายปสาทรูป"
๑ ทวาร.
และ "ทวารที่เป็นนามธรรม"
มี ๑ ทวาร คือ
"มโนทวาร"
ซึ่ง หมายถึง "ภวังคุปัจเฉทจิต"
( หมายความว่า "ภวังคุปัจเฉทจิต"
ซึ่งเป็น "จิต ที่เกิดก่อนมโนทวาราวัชชนจิต" นั่นเอง.!
กระทำกิจ เป็น "ทวาร"
คือ เป็น "ปัจจัย" ให้ "มโนทวาราวัชชนจิต"
ซึ่งเป็น "วิถีจิต" เกิดขึ้น
และ รู้อารมณ์ทาง ใจ คือ ทางมโนทวาร. )
.
"วัตถุ ๖."
คือ
"รูปธรรม" ซึ่งเป็น "ที่เกิดของจิต" ในภูมิที่มีขันธ์ ๕
มี ๖ รูป เรียกว่า "วัตถุรูป ๖ "
.
"วัตถุรูป ๖ "
ได้แก่
"จักขุปสาทรูป" ๑ รูป หมายถึง "จักขุวัตถุ"
ซึ่ง เป็นที่เกิดของ "จักขุวิญญาณ" ๒ ประเภท
คือ
"จักขุวิญญาณกุศลวิบาก" ๑.
และ
"จักขุวิญญาณอกุศลวิบาก" ๑.
.
"โสตปสาทรูป" ๑ รูป หมายถึง "โสตวัตถุ"
ซึ่ง เป็นที่เกิดของ "โสตวิญญาณ" ๒ ประเภท
คือ
"โสตวิญญาณกุศลวิบาก" ๑.
และ
"โสตวิญญาณอกุศลวิบาก" ๑.
.
"ฆานปสาทรูป" ๑ รูป หมายถึง "ฆานวัตถุ"
ซึ่ง เป็นที่เกิดของ"ฆานวิญญาณ" ๒ ประเภท
คือ
"ฆานวิญญาณกุศลวิบาก" ๑.
และ
"ฆานวิญญาณอกุศลวิบาก" ๑.
.
"ชิวหาปสาทรูป" ๑ รูป หมายถึง "ชิวหาวัตถุ"
ซึ่ง เป็นที่เกิดของ "ชิวหาวิญญาณ" ๒ ประเภท.
ได้แก่
"ชิวหาวิญญาณกุศลวิบาก" ๑.
และ
"ชิวหาวิญญาณอกุศลวิบาก" ๑.
.
"กายปสาทรูป" ๑ รูป หมายถึง "กายวัตถุ"
ซึ่ง เป็นที่เกิดของ "กายวิญญาณ" ๒ ประเภท.
ได้แก่
"กายวิญญาณกุศลวิบาก"
และ
"กายวิญญาณอกุศลวิบาก"
.
"หทยรูป" ๑ รูป
เป็นที่เกิดของ จิตอื่น ๆ ทั้งหมด ในภูมิที่มีขันธ์ ๕.
ยกเว้น "ทวิปัญจวิญญาณ" ๑๐ ประเภท เท่านั้น.!
.
เพราะฉะนั้น
"ปสาทรูป ๕"
จึงเป็น "ทวาร ๕" และเป็น "วัตถุ ๕"
ดังนี้..............
"จักขุปสาทรูป"
เป็น "จักขุทวาร" ของ จักขุทวาราวัชชนจิต
จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต
โวฏฐัพพนจิต ชวนจิต ตทาลัมพนจิต.........
ซึ่ง รู้ "รูปารมณ์" ที่กระทบ "จักขุปสาทรูป"
ในขณะที่ "รูปารมณ์" นั้น ยังไม่ดับ.!
.
"จักขุปสาทรูป" เป็น "จักขุวัตถุ"
ซึ่ง เป็นที่เกิดของ "จิต" ๒ ประเภท เท่านั้น
คือ
"จักขุวิญญาณกุศลวิบาก" ๑.
และ
"จักขุวิญญาณอกุศลวิบาก" ๑.
.
ส่วน "วิถีจิตอื่น ๆ" ใน "วาระ" เดียวกัน
ซึ่งได้แก่..................
จักขุทวาราวัชชนจิต ๑.
สัมปฏิจฉันนจิต ๑. สันตีรณจิต ๑. โวฏฐัพพนจิต ๑.
ชวนจิต ๗. และ ตทาลัมพพนจิต ๒.
ต้องเกิดที่ "หทยวัตถุ" เท่านั้น.!
.
โสตปสาทรูป. (โสตวัตถุ)
ฆานปสาทรูป. (ฆานวัตถุ)
ชิวหาปสาทรูป. (ชิวหาวัตถุ)
กายปสาทรูป. (กายวัตถุ)
ก็โดยนัยเดียวกัน.!
.
"หทยรูป" เป็น "หทยวัตถุ"
คือ เป็นที่เกิดของจิต...แต่ ไม่เป็น "ทวาร"
การเกิด-ดับ-สืบต่อกัน ของ "จิต" และ "วิถีจิต" ต่าง ๆ นั้น
เป็น "ชีวิตปกติประจำวัน"
.
แต่ เมื่อ มี "ศัพท์ทางธรรม"
ที่แสดงถึง "ลักษณะของจิต" และ "กิจของจิต" ต่าง ๆ
ก็ ทำให้เกิด "ความสงสัย"
"ความสงสัย" เกิดขึ้น
เพราะ "ไม่เข้าใจความหมายของศัพท์นั้น ๆ"
แต่ "ศัทพ์นั้น ๆ"
ล้วนแต่แสดงให้ "เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมต่าง ๆ"
ที่ปรากฏ เป็นปกติ ตามความเป็นจริง
ใน ชีวิตประจำวัน นั่นเอง.!
.
ฉะนั้น
"ธรรมทั้งหลาย"
จึงไม่ได้อยู่ในตำรา.!
แต่
เป็น ชีวิตจริง ๆ
ที่กำลังปรากฏ แต่ละขณะ ๆ
ในขณะนี้เอง.!
.
"จิต" แต่ละขณะ ๆ
ที่เกิดขึ้น และ ดับไป อย่างรวดเร็ว นั้น
ต้องเกิดขึ้น ทีละขณะ ๆ
ขณะใด ขณะหนึ่ง...ทางทวารใด ทวารหนึ่ง
ซึ่ง ไม่ปะปนกันเลย.!
.
ไม่ว่าจะเป็น ขณะที่กำลัง "เห็น" สิ่งที่ปรากฏทางตา
หรือ
ขณะที่กำลัง "ได้ยิน" เสียงทางหู.
หรือ
ขณะที่กำลัง"ได้กลิ่น" ทางจมูก.
หรือ
ขณะที่กำลัง "ลิ้มรส" ทางลิ้น.
หรือ
ขณะที่กำลัง "กระทบสัมผัส" ทางกาย.
หรือ
ขณะที่กำลัง "คิดนึก" ถึงเรื่องราวต่าง ๆ ทางใจ.
.
แม้แต่ ขณะนี้....ทุกท่านกำลัง "เห็น"....?
.
เมื่อได้ศึกษา "พระธรรม"
จนกระทั่ง
"เกิดความเข้าใจ...เรื่องของวิถีจิต"
ซึ่งมีทั้ง ขณะที่เป็น "อาวัชชนจิต"
ขณะที่เป็น "จักขุวิญญาณ"
ขณะที่เป็น "สัมปฏิจฉันนจิต"
ขณะที่เป็น "สันตีรณจิต"
ขณะที่เป็น "โวฏฐัพพนจิต"
ขณะที่เป็น "ชวนจิต"
และ ขณะที่เป็น "ตทาลัมพนจิต"
ซึ่ง เกิด-ดับ-สืบต่อกัน ทีละขณะ ๆ
ใน แต่ละ"วาระ"
.
"ความเข้าใจพระธรรม"
เป็น "เหตุ-ปัจจัย" ที่เตือนให้ "ระลึกได้" ว่า
ขณะที่เป็น "ชวนวิถีจิต"
ที่กำลังเกิดขึ้น ในชีวิตประจำวัน
ในวาระต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นใน "วาระที่เห็น"
หรือ ใน "วาระที่ได้ยิน"
หรือ ใน "วาระที่ได้กลิ่น"
หรือ ใน "วาระที่ลิ้มรส"
หรือ ใน "วาระที่กระทบสัมผัส ทางกาย"
หรือ ใน "วาระที่คิดนึก ทางใจ"
วาระใด วาระหนึ่ง...ที่ไม่ปะปนกันเลย นั้น.!
ขณะนั้น.!
เป็น กุศลจิต หรือ เป็น อกุศลจิต.!
ซึ่ง เกิด-ดับ-สืบต่อ ซ้ำ ๆ กัน ถึง ๗ ขณะ.
กำลัง สั่งสมสันดาน ที่เป็น กุศล หรือ อกุศล
ตามเหตุ ตามปัจจัย.!
การศึกษา เรื่อง "ชาติ" ของจิต.
(ชา-ติ แปลว่า การเกิด)
"ชาติ" ทั้ง ๔ ของจิต
คือ การที่จิตเกิดขึ้น.
โดยเกิดเป็น.............
กุศล ๑. อกุศล ๑. วิบาก ๑. กิริยา ๑.
.
เมื่อเข้าใจอย่างนี้
จึงทราบได้ ว่า....
"จิตขณะใด" เป็น "เหตุ"
คือ เป็น "เหตุ" ที่จะทำให้เกิด "ผล" ต่อไปในกาลข้างหน้า (อนาคต)
ซึ่ง "ผล" ต้องสมควรแก่ "เหตุ" เสมอ.!
(เหตุ คือ กุศลจิต และ อกุศลจิต...ผล คือ วิบากจิต)
.
และยังทราบอีก ว่า
"จิตขณะใด" เป็น "วิบาก"
คือ "ผล" ของ "เหตุ-ที่ได้กระทำแล้วในอดีต"
.
ฉะนั้น
ในการศึกษา "เรื่องของจิต"
ซึ่งมีทั้ง "จิต" ที่เป็น "วิถี"
และ "จิต" ที่ "ไม่เป็นวิถี"
และ ควรเข้าใจก่อน ว่า..................
"จิต" ขณะต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
เป็น "ชาติ" อะไร.!
เช่น
"ปฏิสนธิจิต" เป็น "วิบากจิต"
ซึ่งเป็น "ผลของกรรม"
โดยเป็น "ผลของกรรมใดกรรมหนึ่ง"
ในกรรมทั้งหลาย ที่ได้กระทำแล้ว ในอดีต
(อนันตชาติ-ในสังสารวัฏฏ์)
และ "ผลของกรรมใดกรรมหนึ่ง" ดังกล่าวนี้เอง
ที่เป็น "ปัจจัย"
ทำให้ "ปฏิสนธิจิต" เกิด-สืบต่อจาก "จุติจิต" ของชาติก่อน.
.
"ปฏิสนธิจิต"
เป็น "วิบากจิต" ที่กระทำกิจ "ปฏิสนธิ"
ในภพชาติใด ภพชาติหนึ่ง
ซึ่ง เกิด-ดับ เพียงชั่วขณะเดียว (ในสังสารวัฏฏ์)
และ "ปฏิสนธิจิต".....ที่เกิด-ดับไปแล้วนั้น
ไม่กระทำกิจ "ปฏิสนธิ" ในภพชาตินั้นอีก.
เพราะ "ปฏิสนธิจิต".......กระทำกิจได้ เพียงขณะเดียว
คือ ขณะที่เกิด-สืบต่อจาก "จุติจิต" ของภพชาติก่อน
เท่านั้น.!
.
"ปฏิสนธิจิต" เกิดขึ้น และ ดับไป
ไม่ยั่งยืนเลย.!
ปัญญาทางโลกประกอบขึ้นด้วยกำลังของโลภะ โทสะ โมหะ
ปัญญาทางธรรม ประกอบขึ้นด้วยสภาพธรรมฝ่ายดีขั้นต่างๆ
เกิดขึ้นกระทำกิจของตนเมื่อเหตุพร้อม และทั้งหมด เป็นไปเพื่อการละ
เรื่องสมถภาวนาและอารมณ์ ๔๐ ท่านมีแสดงไว้โดยละเอียดในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ผู้ที่จะอบรมเจริญอย่างถูกต้อง ควรศึกษาโดยละเอียดตั้งแต่เบื้องต้น ท่ามกลาง
และที่สุด ว่าคืออย่างไร เพื่ออะไร เป็นต้น และยุคสมัยที่ต่างเวลาเหลือน้อย ควร
ศึกษาอบรมอะไร ที่สำคัญต้องเป็นเรื่องของผู้ที่มีปัญญาเท่านั้น ถ้ายังไม่เข้าใจ
อะไรเลย จะทำอะไร เพ่งอะไร จิตก็เป็นอกุศล เริ่มต้นก็ผิดตั้งแต่แรก แต่สำหรับ
ผู้ที่มีปัญญาในยุคกาลสมบัติ ท่านเห็นดิน เห็นสีขาว หรือเห็นสีเหลือง เป็นต้น
จิตของท่านก็สงบได้ เพราะการสะสมมาแต่ก่อน อนึ่งพระธรรมที่ทรงแสดงไว้
ตลอด ๔๕ พรรษามีมาก ควรศึกษาส่วนที่จะเกื้อกูลแก่ปัญญาตามสมควรแก่เพศ พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ 554
ก็คำว่า วสฺสสหสฺส นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุ
ปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่ง
ถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี
๑,๐๐๐ โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน
ปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้
แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะ
เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรม
ไม่มี ปฏิเวธธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว
เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.
จบ อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑ พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 554
ปิดไว้ครั้งแรกนั่นแหละ น้ำใดที่ไม่ขังอยู่ เพราะไม่ปิดกั้นเป็นปัจจัย
น้ำแม้นั้นก็พึงขังอยู่ได้ฉันใด. ครุธรรมเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เราบัญญัติเสียก่อน เพื่อประโยชน์จะไม่ให้นางภิกษุณีจงใจล่วง
ละเมิดในเมื่อเรื่องยังไม่เกิดขึ้น เพราะเมื่อเราไม่บัญญัติครุธรรม
เหล่านั้น เพราะมาตุคามบวช พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้ ๕๐๐ ปี
แต่ครุธรรมที่เราบัญญัติไว้เสียก่อน พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้
อีก ๕๐๐ ปี รวมความว่าพระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้เพียง ๑,๐๐๐ ปี
ซึ่งได้ตรัสไว้ก่อนดังกล่าวมาฉะนี้.
ก็คำว่า วสฺสสหสฺส นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุ
ปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่ง
ถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี
๑,๐๐๐ โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน
ปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้
แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะ
เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรม
ไม่มี ปฏิเวธธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว
เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.
จบ อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑
|