การที่ ชวนวิถีจิต
เกิด-ดับ-สืบต่อ-เสพอารมณ์เดียวกัน
ทางทวารเดียวกัน ซ้ำ ๆ กัน ถึง ๗ ขณะ.!
เป็นไป โดย "อาเสวนปัจจัย" ดังนี้
คือ
ชวนวิถีจิต ขณะที่ ๑.
เป็น อาเสวนปัจจัย ให้ ชวนวิถีจิต ขณะที่ ๒
เกิดขึ้น-เสพอารมณ์นั้นซ้ำอีก ๑ ขณะ.
และ
ชวนจิต ขณะที่ ๒.
ก็เป็น อเสวนปัจจัย ให้ ชวนจิต ขณะที่ ๓
เกิดขึ้น-เสพอารมณ์นั้นซ้ำอีก ๑ ขณะ.
และ
ชวนจิต ขณะที่ ๓.
ก็เป็น อาเสวนปัจจัย ให้ ชวนจิต ขณะที่ ๔.
เกิดขึ้น-เสพอารมณ์ซ้ำอีก ๑ ขณะ.
และ
ชวนจิต ขณะที่ ๔.
ก็เป็น อาเสวนปัจจัย ให้ ชวนจิต ขณะที่ ๕.
เกิดขึ้น-เสพอารมณ์ซ้ำอีก ๑ ขณะ.
และ
ชวนจิต ขณะที่ ๕.
ก็เป็น อาเสวนปัจจัย ให้ ชวนจิต ขณะที่ ๖.
เกิดขึ้น-เสพอารมณ์ซ้ำอีก ๑ ขณะ.
และ
ชวนจิต ขณะที่ ๖.
ก็เป็น อาเสวนปัจจัย ให้ ชวนจิต ขณะที่ ๗.
เกิดขึ้น-เสพอารมณ์ซ้ำอีก ๑ ขณะ.
.
ชวนวิถีจิต สิ้นสุดความเป็น ชวนวิถีจิต
ในชวนจิต ขณะที่ ๗.
ฉะนั้น
ชวนจิต ขณะที่ ๗.
จึงไม่เป็น อาเสวนปัจจัย.!
.
"อาเสวนปัจจัย"
คือ
กุศลชวนวิถีจิต หรือ อกุศลชวนวิถีจิต ของผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์
และ กิริยาชวนวิถีจิต ของผู้ที่เป็นพระอรหันต์.
.
อาเสวนปัจจัย
จึงเป็นปัจจัยให้ จิตชาติเดียวกัน
(ได้แก่ จิตชาติกุศล หรือ จิตชาติอกุศล อย่างใดอย่างหนึ่ง)
เกิดขึ้นกระทำ ชวนกิจ
คือ การเกิด-ดับ-สืบต่อซ้ำอีก ๗ ขณะ ดังกล่าว.
.
และ กุศลจิต หรือ อกุศลจิต
ซึ่ง มีการเกิด-ดับ-สืบต่อซ้ำกันถึง ๗ ขณะ นั้นเอง.!
จึงเป็น กุศลจิต หรือ อกุศลจิต ที่มีกำลังมาก.
.
กุศลจิต และ อกุศลจิต ที่มีกำลังมาก
จึงเป็น กัมมปัจจัย
ที่ทำให้ วิบากจิต ซึ่งเป็น ผลของกรรม เกิดขึ้น
ให้ผล ต่อไป-ในอนาคต.
.
นอกจากนั้น
กุศลจิต และ อกุศลจิต ก็ยังเป็น อุปนิสสยปัจจัย
ที่ทำให้ ให้ กุศลชวนวิถีจิต หรือ อกุศลจิตชวนวิถีจิต
ของผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์
และ กิริยาชวนวิถีจิตของพระอรหันต์
เกิดขึ้นอีกต่อไป- ในอนาคต.
.
เพราะฉะนั้น
การสั่งสมสันดานของจิต.
เช่น
การสั่งสมอกุศลจิต ประเภทต่าง ๆ อย่างมากมาย
จนกระทั่งหนาแน่น พอกพูนขึ้นนั้นเอง ที่เป็นเหตุ-ปัจจัย
(เช่น) ทำให้ทันที ที่ลืมตา ตื่นขึ้นมา เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
และ ทันที ที่เห็น...ก็หลงไปด้วยความไม่รู้.!
คือ ไม่รู้ ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏขณะนั้น
ตามความเป็นจริง นั่นเอง.!
เพราะก่อนนั้น คือ ขณะที่หลับสนิท ซึ่งจิต เป็น ภวังค์
จึงไม่มีการรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น
ทางกาย และ ทางใจเลย.!
เพราะถ้าหากมีการฝัน (คิดนึก)
ก็คือ หลับไม่สนิท.
ขณะที่กำลังฝัน เป็นการรู้อารมณ์ของ วิถีจิตทางมโนทวาร
ขณะที่หลับไม่สนิท และมีการฝันเกิดขึ้น จึงไม่ใช่ ภวังคจิต.
เพราะว่า
ตลอดเวลาที่จิตเป็น ภวังค์
หรือ ขณะที่เป็นภวังคจิตเกิด-ดับ-สืบต่อ-ดำรงภพชาติ
เช่น ขณะที่กำลังหลับสนิท และไม่ฝัน.
ขณะนั้น
ไม่มีการรู้อารมณ์ใด ๆ ในโลกทางทวารทั้งหกเลย.!
หมายความว่า
"โลกนี้...ไม่ปรากฏเลย.!"
แต่แม้กระนั้น.....ในขณะที่ที่หลับสนิท
หรือ ขณะที่เป็นภวังคจิต....ไม่รู้อารมณ์ในโลกนี้เลยนั้น.!
ขณะนั้น ก็มี อนุสัยกิเลส.!
จึงไม่ได้หมายความว่า
ขณะที่เป็นภวังคจิต ซึ่งไม่รู้อารมณ์ใด ๆ ในโลกนี้
จะไม่มี (อนุสัย) กิเลส.!
.
ทั้งนี้......เป็นเพราะว่า
กิเลส มี ๓ ระดับขั้น
คือ
๑. อนุสัยกิเลส.
คือ กิเลสอย่างละเอียด ที่สะสม นอนเนื่องอยู่ในจิต.
๒. ปริยุฏฐานกิเลส.
คือ
กิเลสอย่างกลาง ที่เกิดร่วมกับ ชวนวิถีจิต.
๓. วีติกกมกิเลส.
คือ
กิเลสอย่างหยาบ ที่เกิดร่วมกับ ชวนวิถีจิต.
.
ฉะนั้น
แม้ จิต ซึ่งไม่ใช่ ชวนวิถีจิต ก็มี อนุสัยกิเลส.
เว้นแต่
จิตทุกประเภทของพระอรหันต์ เท่านั้น
ที่ไม่มีกิเลสใด ๆ เลย ทั้งสิ้น.!
.
ฉะนั้น
ให้ทราบว่า....ขณะใด ที่วิถีจิตเกิดขึ้น
เห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา หรือ ได้ยินเสียงที่ปรากฏทางหู
หรือ ได้กลิ่นที่ปรากฏทางจมูก หรือ ลิ้มรสที่ปรากฏทางลิ้น
หรือ กระทบสัมผัส เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว ทางกาย
หรือ คิดนึก เรื่องราวต่าง ๆ ทางใจ
ทางทวารใด ทวารหนึ่ง.
ขณะนั้น
ชวนวิถีจิต...กำลังสั่งสมสันดาน เพิ่มขึ้น ๆ
ไม่ว่าจะเป็น อกุศลชวนวิถีจิต หรือ กามาวจรกุศลชวนวิถีจิต
หรือ กามาวจรกิริยาชวนวิถีจิต.
.
วาระหนึ่ง ๆ ที่เห็น.
วิถีจิตทั้ง ๗ วิถี เป็น จักขุทวารวิถี.
วาระหนึ่ง ๆ ที่ได้ยิน.
วิถีจิตทั้ง ๗ วิถี เป็น โสตทวารวิถี.
วาระหนึ่ง ๆ ที่ได้กลิ่น.
วิถีจิตทั้ง ๗ วิถี เป็น ชิวหาทวารวิถี.
วาระหนึ่ง ๆ ที่ ลิ้มรส.
วิถีจิตทั้ง ๗ วิถี เป็น ชิวหาทวารวิถี.
วาระหนึ่ง ๆ ที่ รู้โผฏฐัพพะ คือ เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว.
วิถีจิตทั้ง ๗ วิถี เป็น กายทวารวิถี.
วาระหนึ่ง ๆ ที่ คิดนึก.
วิถีจิต ๓ วิถี เป็น มโนทวารวิถี.
จิต ๘๙ ประเภท
จำแนกออกเป็น ๔ ชาติ.
คือ
เป็น กุศล ๒๑ ประเภท.
เป็น อกุศล ๑๒ ประเภท.
เป็น วิบาก ๓๖ ประเภท.
เป็น กิริยา ๒๐ ประเภท.
.
เมื่อศึกษา เรื่อง ชาติของจิต
(ชา-ติ แปลว่า การเกิด)
ก็จะทำให้ "เข้าใจ"
ว่า "บุคคลแต่ละประเภท" นั้น....มี จิตประเภทใดบ้าง.!
ซึ่ง แสดงไว้ดังนี้
คือ
บุคคล ซึ่ง เป็นปุถุชน.
มีจิต ๔ ชาติ
คือ
กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต.
.
บุคคล ซึ่ง เป็นพระโสดาบัน
มีจิต ๔ ชาติ
คือ
กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต.
.
บุคคล ซึ่ง เป็นพระสกทาคามี.
มีจิต ๔ ชาติ
คือ
กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต.
.
บุคคล ซึ่ง เป็นพระอนาคามี.
มีจิต ๔ ชาติ
คือ
กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต.
.
บุคคล ซึ่ง เป็นพระอรหันต์.
มีจิต ๒ ชาติ
คือ
วิบากจิต และ กิริยาจิต.
.
เมื่อ เข้าใจแล้ว ว่า จิตแต่ละประเภท เป็นชาติอะไร.
คือ
จิตบางประเภท เป็น กุศลจิต.
จิตบางประเภท เป็น อกุศลจิต.
จิตบางประเภท เป็น วิบากจิต.
จิตบางประเภท เป็น กิริยาจิต.
ก็ยัง ต้องเข้าใจ เรื่องกิจของจิต
ว่า กิจ หรือ หน้าที่ของ จิตแต่ละประเภท.....ทำกิจอะไร.!
เช่น
ปฏิสนธิจิต เป็น วิบากจิต.
หมายความว่า
ปฏิสนธิจิต เป็น ผลของกรรม.
.
ถ้า ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ทำปฏิสนธิกิจ ใน สุคติภูมิ.
ปฏิสนธิจิต ขณะนั้น.!
เป็น ผลของกุศลกรรม
เรียกว่า กุศลวิบาก.
และถ้า ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ทำปฎิสนกิจ ใน ทุคติภูมิ หรือ อบายภูมิ.
ปฏิสนธิจิต ขณะนั้น.!
เป็น ผลของอกุศลกรรม
เรียกว่า อกุศลวิบาก.
.
แต่
กุศลวิบากจิต และ อกุศลวิบากจิต
แต่ละประเภท
ไม่ได้ทำ "ปฏิสนธิกิจ" เพียงกิจเดียว
จึงเรียก เฉพาะกุศลวิบากจิต และ อกุศลวิบากจิต
ประเภทที่ทำ "ปฏิสนธิกิจ" ว่า "ปฏิสนธิจิต"
.
กุศลวิบากจิต หรือ อกุศลวิบากจิต
ประเภทใด ทำ "ภวังคกิจ"
ก็เรียก เฉพาะกุศลวิบากจิต และ อกุศลวิบากจิต ประเภทนั้น ว่า
"ภวังคจิต"
.
วิบากจิต บางประเภท
เช่น
จักขุวิญญาณ เป็นวิบากจิต ที่ทำปฏิสนธิกิจ ไม่ได้.!
และ ทำภวังคกิจ ก็ไม่ได้.!
เพราะว่า
จักขุวิญญาณ ทำทัสสนกิจ เพียงกิจเดียวเท่านั้น.!
และ ที่ชื่อว่า "จักขุวิญญาณ"
เพราะเป็น "จิตที่รู้แจ้งอารมณ์" เท่านั้น.!
คือ
เห็น อารมณ์ ที่ปรากฏ โดย อาศัย ตา.!
.
ฉะนั้น
จึงเรียกชื่อ จิตแต่ละประเภท
ตามประเภทของจิต ที่ รู้แจ้งอารมณ์ ทางทวาร ด้วย.!
มีคำอธิบาย ว่า
ข้อเปรียบเทียบนั้น...แสดงเนื้อความอะไร.!
.
แสดงเนื้อความ ว่า
อารมณ์ มีกิจ คือ มีหน้าที่เพียงกระทบปสาท เท่านั้น.!
อุปมา.....คนบ้านนอก ไม่ได้เข้าไปเฝ้าพระราชา
แต่เครื่องราชบรรณาการ
ต้องถูกส่งต่อ จากคนที่ ๑-๒-๓ จึงจะถึงพระราชาได้.
และ จักขุวิญญาณ กระทำกิจเห็น
คือ เห็น อารมณ์ ที่สามารถปรากฏได้ ทางตา เท่านั้น.!
แต่ว่า
จิต เกิดขึ้น รู้อารมณ์สืบต่อกันโดยไม่ได้ข้าม
หรือ ล่วงล้ำจากปสาทที่อารมณ์กระทบ ไปสู่ที่อื่นเลย.!
.
การพิจารณา คำอุปมานี้
ก็เพื่อให้เข้าใจ การเปรียบเทียบ วิถีจิต ที่เกิดขึ้น
และ กระทำกิจของตน ๆ แต่ละขณะ ๆ
เช่น
จักขุวิญญาณ กระทำกิจเห็น
โดยเกิดที่ จักขุปสาทรูป ซึ่งก็ คือ จักขุทวาร นั่นเอง.
และ จักขุปสาทรูป ซึ่งเป็นทวาร นั่นเอง
เปรียบเหมือน นายทวารที่เปิดประตู และดูที่ประตู (ทวาร) นั้น.
และ สัมปฏิจฉันนจิต เปรียบเหมือน ทหารยามคนที่หนึ่ง
ที่รับ เครื่องราชบรรณาการ ซึ่งหายถึง อารมณ์ที่กระทบปสาท
และ ส่งต่อ ให้ทหารยามคนที่สอง.
.
เพราะเมื่อ จักขุวิญญาณ ซึ่ง กระทำกิจเห็น ดับไปแล้ว
จักขุวิญญาณจะกระทำกิจ รับอารมณ์ต่อ
เหมือนกับ สัมปฏิจฉันนจิต ไม่ได้.!
เพราะว่า
จักขุวิญญาณ กระทำทัสสนกิจ
เพียงกิจเดียว เท่านั้น.!
จักขุวิญญาณ กระทำทัสสนกิจ คือ การเห็น
คือ เห็นสิ่งที่ปรากฏได้เฉพาะทางตา
ซึ่งภาษาบาล เรียกว่า รูปารมณ์.
และ รูปารมณ์
ต้องปรากฏกับจักขุปสาท (จักขุทวาร) เท่านั้น.
.
ฉะนั้น
สัมปฏิจฉันนจิต
เปรียบเหมือนทหารยามคนที่หนึ่ง
ก็ทำหน้าที่ รับอารมณ์ต่อจาก ปัญจวิญญาณ.!
เมื่อ สัมปฏิจฉันนจิต ดับไปแล้ว.
สันตีรณจิต.
ซึ่งเปรียบเหมือนทหารยามคนที่สอง
ก็ทำหน้าที่ พิจารณาอารมณ์นั้น ๆ.!
เมื่อ สันตีรณจิต ดับไปแล้ว.
โวฏฐัพพนจิต.
ซึ่งเปรียบเหมือนทหารยามคนที่สาม
ก็ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์นั้น.!
เมื่อ โวฏฐัพพนจิต ดับไปแล้ว.
ชวนวิถีจิต.
ซึ่งทำกิจหน้าที่ คือ เกิด-ดับ-สืบต่อซ้ำกัน ๗ ขณะ
รู้อารมณ์เดียวกัน โดย จิตประเภทเดียวกัน ทางทวารเดียวกัน.
ฉะนั้น ชวนวิถีจิต จึงเป็นการสั่งสมสันดาน.!
ชวนวิถีจิต
จึงเปรียบเหมือนกับการที่พระราชา
ได้ เสวย หรือ เสพ เครื่องราชบรรณาการนั้น ๆ
.
ฉะนั้น
ใช้คำว่า เสวย หรือ เสพ.!
เพื่อให้ เข้าใจ จริง ๆ
ถึง ลักษณะ ของกุศลจิต หรือ อกุศลจิต หรือ กิริยาจิตของพระอรหันต์.
ที่เกิดขึ้น กระทำชวนกิจ
ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น
หรือทางกาย หรือทางใจ
ทางใด ทางหนึ่ง.
.
ชวนวิถีจิต
เสพอารมณ์ ด้วยอกุศลจิต ประเภทต่าง ๆ
เช่น โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต เป็นต้น.
หรือ
เสพอารมณ์ ด้วยกุศลจิต ประเภทต่าง ๆ
เช่น อโลภมูลจิต อโทสมูลจิต อโทสมูลจิต เป็นต้น.
หรือ
เสพอารมณ์ ด้วยมหากิริยาจิตของพระอรหันต์
(มหากิริยาจิต คือ กริยาจิตประเภทต่าง ๆ ทั้งหมด.)
.
ชวนวิถีจิต
กระทำกิจ แล่นไปในอารมณ์.
โดย ไม่ได้กระทำกิจ เห็น (จักขุวิญญาณ)
๑ ขณะ.
ไม่ได้กระทำกิจ รับอารมณ์ (สัมปฏิจฉันนจิต)
๑ ขณะ.
ไม่ได้กระทำกิจ พิจารณาอารมณ์ (สันตีรณจิต)
๑ ขณะ.
ไม่ได้กระทำกิจ ตัดสินอารมณ์ (โวฏฐัพพนจิต)
๑ ขณะ.
เพราะว่า
จิตที่เกิดขึ้นขณะก่อน ประเภทต่าง ๆดังกล่าว
ได้กระทำกิจเหล่านั้นไป จนหมดสิ้นแล้ว.!
ด้วยเหตุนี้
จึงเป็นปัจจัยให้ กุศลจิต หรือ อกุศลจิต
หรือ กิริยาจิตของพระอรหันต์ เกิดขึ้นรู้อารมณ์
หรือ เสพอารมณ์ นั้น.
เสพอามณ์ ซึ่งหมายถึง การแล่นไปในอารมณ์นั้น
หรือ รู้อารมณ์นั้น โดยจิตประเภทเดียวกัน ทางทวารเดียวกัน
ที่เกิด-ดับ-สืบต่อ ซ้ำ ๆ กัน ถึง ๗ ขณะ.!
ฉะนั้น
ชวนวิถีจิต จึงเป็น วิถีจิต ที่เสพอารมณ์จริง ๆ
.
ถ้าเป็น โมฆวาระ.
เช่น ขณะที่เสียงเกิดขึ้น กระทบโสตปสาท
แต่ ไม่ได้ยิน.!
หรือ ถ้าเป็น โวฏฐัพพนวาระ.
คือ วาระ ที่กุศลจิต หรือ อกุศลจิต หรือ กิริยาจิตของพระอรหันต์
ไม่มีปัจจัยให้เกิดขึ้น.!
การเสพ อารมณ์ที่กระทบปสาทนั้น ๆ ก็เกิดขึ้นไม่ได้.!
เพราะว่า
ไม่มีปัจจัยให้ ชวนวิถีจิต เกิดขึ้น กระทำชวนกิจ.
.
แต่ถ้ามีปัจจัยให้ ชวนวิถีจิต เกิดขึ้น
ชวนวิถีจิต ก็เกิดขึ้น กระทำชวนกิจ
คือ เสพอารมณ์นั้นได้.!
โดย เป็นจิตประเภทเดียวกัน
ที่เกิด-ดับ-สืบต่อซ้ำ ๆ กันถึง ๗ ขณะ
รู้อารมณ์เดียวกัน ทางทวารเดียวกัน.!
ซึ่งก็แล้วแต่ เหตุ-ปัจจัย
ว่า ชวนวิถีจิต ที่เกิดขึ้น รู้อารมณ์นั้น ๆ ใน ชวนวาระนั้น
จะเป็นกุศลจิต หรือ อกุศลจิต
หรือ กิริยาจิตของพระอรหันต์.
ข้อความ ใน อัฏฐสาลินี อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์
อุปมา
การเกิดขึ้น รู้อารมณ์ ของ วิถีจิตทางปัญจทวาร ว่า
พระราชาองค์หนึ่ง
บรรทมหลับ อยู่บนพระแท่นบรรทม
มหาดเล็กคนหนึ่ง
ถวายนวดพระยุคลบาทอยู่.
นายทวาร หูหนวก
ยืนอยู่ที่พระทวาร.
ทหารยาม ๓ คน
ยืนเรียงลำดับอยู่.
ทีนั้น
มี คนบ้านนอก คนหนึ่ง
ถือเครื่องบรรณาการมา
เคาะที่ประตู เรียก..........
นายทวารหูหนวก ไม่ได้ยินเสียง.!
มหาดเล็ก
ผู้ถวายนวดพระยุคลบาท
จึงส่งสัญญาณ
นายทวารหูหนวก จึงเปิดประตู (เพื่อ) ดู
ด้วย สัญญาณ นั้น.
ทหารยาม คนที่หนึ่ง
รับ เครื่องราชบรรณาการนั้น
แล้วก็ ส่งให้ (ทหารยาม) คนที่สอง.
และ(ทหารยาม) คนที่สอง
รับแล้ว ก็ส่งต่อ ให้ (ทหารยาม) คนที่สาม
และ (ทหารยาม) คนที่สาม
(นำเครื่องราชบรรณาการนั้น)
นำขึ้นทูลเกล้า ฯ
ถวาย (เครื่องราชบรรณาการนั้น) แด่ พระราชา
พระราชา
เสวย (เครื่องราชบรรณาการนั้น)
. . .
คำอุปมา
เปรียบเทียบ.......เพื่อแสดง ให้เข้าใจ
การเกิดขึ้น-รับรู้-อารมณ์ ของ วิถีจิต
ที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะ ดังนี้ คือ......
ขณะที่ อารมณ์ กระทบกับจักขุปสาท
อุปมา ว่า เป็นคนบ้านนอก
ที่ถือเครื่องราชบรรณาการ แล้วมาเคาะที่พระทวาร.
และอุปมา ว่า
มหาดเล็กที่ถวายงาน นวดพระยุคลบาทของพระราชา.
คือ ปัญจทวาราวัชชจิต.
และอุปมา ขณะที่ รู้ ว่า แขกมาเคาะที่ทวาร
มหาดเล็กคนนั้น จึงให้ สัญญาณ.
คือ ขณะที่ วิถีต เกิดขึ้น รู้อารมณ์ ที่กระทบกับปสาท.
และ เมื่อ ดับไปแล้ว
(ขณะที่ปัญจทวาราวัชชนจิต ดับไปแล้ว.)
จักขุวิญญาณ.
(เป็นต้น)
ก็เกิดขึ้น-สืบต่อ กระทำกิจ
คือ เห็น
ซึ่งเกิดขึ้นได้........
โดยอาศัย จักขุปสาท เป็นปัจจัย.
แล้วต่อจากนั้น
อุปมา ทหารยามคนที่หนึ่ง
คือ สัมปฏิจฉันนจิต.
รับ เครื่องราชบรรณาการนั้น.......
แล้วส่งต่อให้ ทหารยามคนที่สอง.
อุปมา ทหารยามคนที่สอง
คือ สันตีรณจิต.
และทหารยามคนที่สอง
ก็ส่งต่อ เครื่องราชบรรณาการนั้น
ให้ทหารยามคนที่สาม.
อุปมา ทหารยามคนที่สาม
คือ โวฏฐัพพนจิต.
(นำเครื่องราชบรรณาการนั้น ทูลเกล้าฯ ถวายพระราชา.)
อุปมา พระราชา ในที่นี้
คือ ชวนจิต.
อุปมา เครื่องราชบรรณาการ
คือ อารมณ์.
และ อุปมา
การเสวยเครื่องราชบรรณาการของพระราชา
คือ
การรู้อารมณ์ ของ ชวนวิถีจิต ทางปัญจทวาร.
วิถีจิต ที่รู้อารมณ์ ทางตา.
.
เมื่อ จักขุทวาราวัชชนจิต ดับไปแล้ว
เป็นปัจจัยให้ จักขุวิญญาณ เกิด-สืบต่อ.
จักขุวิญญาณ คือ ขณะที่เห็น
ซึ่งเป็น วิบากจิต ที่เป็นผลของกรรม
กรรมใด กรมหนึ่ง ที่ได้กระทำแล้วในอดีต.
กุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้ว
เป็นปัจจัยให้ จักขุวิญญาณกุศลวิบาก
เห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา (รูปารมณ์)
ที่น่าพอใจ (อิฏฐารมณ์)
แต่
อกุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้ว
เป็นปัจจัยให้ จักขุวิญาณอกุศลวิบาก
เห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา (รูปารมณ์)
ที่ไม่น่พอใจ (อนิฏฐารมณ์)
.
วิถีจิต ที่ได้ยินเสียง ทางหู (โสตทวาร)
คือ โสตวิญญาณ ก็เป็น วิบากจิต.
ซึ่งไม่มีใครรู้ ว่า
ขณะใด....โสตวิญญาณ จะเกิดขึ้น ได้ยินเสียงอะไร.!
(จักขุวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ก็โดยนัยเดียวกัน)
ทั้งนี้ เป็นเพราะว่า
ต้องเป็นไป ตามเหตุ คือ กรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต.
.
วิถีจิต ที่ได้กลิ่น ทางจมูก (ฆานทวาร)
ฆานวิญญาณ ที่รู้กลิ่น ก็เป็น วิบากจิต
คือ เป็นผลของกรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต.
.
วิถีจิต ที่ลิ้มรส ทางลิ้น (ชิวหาทวาร)
ชิวหาวิญญาณ ที่รู้รส ก็เป็น วิบากจิต
คือ เป็นผลของกรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต.
.
วิถีจิต ที่กระทบสัมผัส ทางกาย (กายทวาร)
กายวิญญาณ ที่รู้ เย็น-ร้อน
หรือ อ่อน-แข็ง หรือ ตึง-ไหว
ก็เป็น วิบากจิต
คือ เป็นผลของกรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต.
.
ผลของกรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต
เป็นปัจจัยให้ วิบากจิต ดังกล่าวมาทั้งหมดนั้น
เกิดขึ้นรู้อารมณ์ ต่อจาก ปัญจทวาราวัชชนจิต.
.
และ เมื่อ ปัญจวิญญาณ เกิดขึ้น
รู้อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง ทางทวารใดทวารหนึ่ง ไม่ปะปนกันเลย.!
คือ
ขณะที่เห็น หรือ ขณะที่ได้ยิน หรือ ขณะที่ได้กลิ่น
หรือ ขณะที่ลิ้มรส หรือ ขณะที่กระทบสัมผัสทางกาย
ขณะใด ขณะหนึ่ง นั้น.....เมื่อดับไปแล้ว
ก็เป็น อนันตรปัจจัย ให้ สัมปฏิจฉันนจิต เกิดขึ้น
รับ-รู้อารมณ์นั้น ๆ ต่อ.
และ สัมปฏิจฉันนจิต ก็เป็น วิบากจิต
เพราะ เป็นผลของกรรม.
สัมปฏิจฉันนจิต เกิดจากผลของกรรม
กรรมเดียวกัน ที่เป็นปัจจัยให้ จักขุวิญญาณ เกิดขึ้น.!
.
เมื่อ สัมปฏิจฉันนจิต ดับไปแล้ว.
กรรมเดียวกันนั้นเอง
( คือ กรรมที่เป็นปัจจัยให้ จักขุวิญญาณ เกิดขึ้น)
เป็นปัจจัยให้ สันตีรณจิต ซึ่งเป็น วิบากจิต
เกิดต่อจาก สัมปฏิจฉันนจิต.
โดยเกิดขึ้น
กระทำ สันตีรณกิจ
( คือ พิจารณาอารมณ์นั้น ๆ )
.
ฉะนั้น
วิถีจิต ซึ่งเป็น วิบากจิต ที่เกิดทางปัญจทวาร
คือ
จักขุวิญญาณ ๑ ขณะ โสตวิญญาณ ๑ ขณะ ฆานวิญญาณ ๑ ขณะ
ชิวหาวิญญาณ ๑ ขณะ กายวิญญาณ ๑ ขณะ
สัมปฏิจฉันนจิต ๑ ขณะ และ สันตีรณจิต ๑ ขณะ
จึงไม่สั่งสมสันดาน.!
แต่เป็นเพียง ผลของกรรม (วิบากจิต)
ซึ่งกระทำกิจของตน ๆ แล้วดับไป.
.
ต่อจากนั้น
โวฏฐัพพนจิต ซึ่งได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต (กิริยาจิต)
ก็เกิดขึ้น กระทำโวฏฐัพพนกิจ ทางปัญจทวาร.
โวฏฐัพพนจิต เป็น กิริยาจิต
ซึ่งกระทำ โวฏฐัพพนกิจ แล้วดับไป
โดย ไม่ได้สั่งสมสันดาน.!
.
เมื่อ โวฏฐัพพนจิต ดับไปแล้ว
จิตขณะต่อไป ที่เกิดสืบต่อ คือ ชวนวิถีจิต.
ชวนวิถีจิต
กระทำกิจ แล่นไปในอารมณ์.
สำหรับ ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์
ชวนวิถีจิต เป็น กุศลจิต หรือ อกุศลจิต.
แต่สำหรับ ผู้ที่เป็นพระอรหันต์
ชวนวิถีจิต เป็น (มหา) กิริยาจิต.
(มหา แปลว่า มาก-หลากหลายประเภท)
ชวนวิถีจิต
เกิด-ดับ-สืบต่อ ซ้ำกันถึง ๗ ขณะ
โดย รู้อารมณ์เดียวกัน ทางทวารเดียวกัน
ด้วยกุศลจิต หรือ ด้วยอกุศลจิต หรือ ด้วย (มหา) กิริยาจิตของพระอรหันต์
ชวนวิถีจิต
จึงเป็น ขณะที่สั่งสมสันดาน.!
|