พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
จันทร์ 10 ส.ค. 2009 11:10 am
จงกรมโดยศัพท์ หมายถึงการก้าวไปตามลำดับ ซึ่งในชีวิตของสมณะเพศ การ
ออกกำลังกายแบบคฤหัสถ์ มีการเต้น การวิ่ง หรือกีฬาประเภทต่างๆ ไม่สมควร
ฉะนั้น การจงกรมจึงเป็นการบริหารร่างกาย เพื่อเป็นการผลัด เปลี่ยนอิริยาบถ เท่านั้น
แต่เนื่องจากท่านพระภิกษุเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน ในทุกอิริยาบถ การเดิน
ของท่านก็เดินปกติ คือ มีการพิจารณาธรรมะด้วย
การเดินจงกรมโดยศัพท์ หมายถึง การก้าวไปตามลำดับ ซึ่งในชีวิตของ
สมณะเพศ การออกกำลังกายแบบคฤหัสถ์มีการเต้น การวิ่ง หรือกีฬาประเภท
ต่างๆ ไม่สมควร
ฉะนั้น การเดินจงกรมจึงเป็นการบริหารร่างกาย เพื่อเป็นการผลัดเปลี่ยน
อิริยาบถเท่านั้น แต่เนื่องจากท่านพระภิกษุเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน
ในทุกอิริยาบถ การเดินของท่านก็เดินปกติคือ มีการพิจารณาธรรมะด้วย แต่
ไม่ใช่มีการบริกรรมคำว่า ย่างหนอ
ประโยชน์ในการเดินจงกรมของพระภิกษุคือ
1 ทำให้มีความอดทนต่อการเดินทางไกล
2 ทำให้เกิดการอดทนต่อการทำความเพียร
3 ทำให้ป็นผู้มีอาพาธน้อย
4 ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น
5 ทำให้สมาธิตั้งมั่นได้ดี
การเดินจงกรมเป็นการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ คือการเดินไปเดินกลับไปมาธรรมดา
ไม่ใช่เป็นวิธีการปฏิบัติธรรมแต่อย่างใด แต่ผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ท่านก็เจริญทุก
อิริยาบถ คือ ขณะนั่ง ยืน เดิน นอน ท่านย่อมเจริญเป็นปกติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒- หน้าที่ 298
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
อิริยาบถบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางแห่ง
ลมอัสสาสะปัสสาสะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางแห่งอิริยาบถ
จึงตรัสว่า ปุน จปร อีกอย่างหนึ่งดังนี้เป็นต้น. ในอิริยาบถนั้น พึงทราบความ
ว่า แม้สัตว์ดิรัจฉาน เช่น สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น เมื่อเดินไปก็รู้ว่า
ตัวเดิน ก็จริงอยู่ แต่ในอิริยาบถนั้น มิได้ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น. เพราะ
ความรู้เช่นนั้น ละความเห็นว่าสัตว์ไม่ได้ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ไม่ได้.
ไม่เป็นกัมมัฏฐาน หรือ สติปัฏฐานภาวนาเลย. ส่วนการรู้ของภิกษุ (ผู้เจริญ
กายานุปัสสนา) นี้ ย่อมละความเห็นว่าสัตว์ เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ได้.
เป็นทั้งกัมมัฏฐาน และเป็นสติปัฏฐานภาวนา. และคำที่ตรัสหมายถึง ความรู้ชัด
อย่างนี้ว่า ใครเดิน การเดินของใคร เดินได้เพราะอะไร แม้ในอิริยาบถ
อื่น มีการยืนเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒- หน้าที่ 299
จะวินิจฉัย ในปัญหาเหล่านั้น คำว่า ใครเดิน ความว่า ไม่ใช่สัตว์
หรือบุคคลไร ๆ เดิน. คำว่า การเดินของใคร ความว่า ไม่ใช่การเดินของ
สัตว์ หรือบุคคลไรๆ เดิน. คำว่าเดินได้เพราะอะไร ความว่า เดินได้เพราะ
การแผ่ไปของวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อม
รู้ชัดอย่างนี้ คือจิตเกิดขึ้นว่าเราจะเดิน จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุ ๆ ก็ทำให้
เกิดวิญญัติ ความเคลื่อนไหว การนำสกลกายให้ก้าวไปข้างหน้า ด้วยความ
ไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่าเดิน. แม้ในอิริยาบถอื่น
มียืนเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในอิริยาบถยืนเป็นต้นนั้น จิตเกิดขึ้นว่า เรา
จะยืน จิตนั้นทำให้เกิดวาโยธาตุ ๆ ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว การทรง
สกลกายตั้งขึ้นแต่พื้นเท้าเป็นที่สุด ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การ
ทำของจิต เรียกว่า ยืน. จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุ ๆ
ก็ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหว ความคู้กายเบื้องล่างลง ทรงกายเบื้องบน
ตั้งขึ้น ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่านั่ง
จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน จิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุ ๆ ทำให้เกิดวิญญัติความ
เคลื่อนไหว การเหยียดกายทั้งสิ้นเป็นทางยาว ด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุ
อันเกิดแต่การทำของจิต เรียกว่า นอน. เมื่อภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ ย่อมมี
ความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เขากล่าวกันว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน แต่โดยอรรถ
แล้ว สัตว์ไร ๆ ที่เดิน ที่ยืนไม่มี ประดุจคำที่กล่าวกันว่า เกวียนเดิน
เกวียนหยุด แต่ธรรมดาว่า เกวียนไร ๆ ที่เดินได้ หยุดได้เอง หามีไม่ ต่อเมื่อ
นายสารถีผู้ฉลาด เทียมโค ๔ ตัว แล้วขับไป เกวียนจึงเดิน จึงหยุด เพราะ
ฉะนั้น คำนั้น จึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกันฉันใด กายเปรียบเหมือน
เกวียน เพราะอรรถว่า ไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิต เปรียบเหมือนโค จิตเปรียบ
เหมือน สารถี เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน เราจะยืน วาโยธาตุที่ทำให้เกิด
ความเคลื่อนไหวก็เกิดขึ้น อิริยาบถมีเดินเป็นต้น ย่อมเป็นไปเพราะความไหวตัว
แห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต ต่อแต่นั้น สัตว์ก็เดิน สัตว์ก็ยืน เราเดิน
เรายืน เพราะเหตุนั้น คำนั้น จึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกัน ฉันนั้น
เหมือนกัน.
ด้วยฉะนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
เรือแล่นไปได้ด้วยกำลังลม ลูกธนู
แล่นไปด้วยกำลังสายธนูฉันใด กายนี้อัน
ลมนำไป จึงเดินไปได้ฉันนั้น แม้ยนต์
คือกายนี้ อันปัจจัยประกอบแล้ว เดิน
ยืน และนั่ง ได้ด้วยอำนาจสายชัก คือจิต
เหมือนเครื่องยนต์ หมุนไปได้ด้วยอำนาจ
สายชักฉะนั้นนั่นแหละ ในโลกนี้สัตว์ใด
เว้นเหตุปัจจัยเสียแล้ว ยังยืนได้ เดินได้
ด้วยอานุภาพของตนเอง สัตว์นั้น ชื่อไร
เล่า จะมีดังนี้.
เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า ภิกษุนี้ กำหนดอิริยาบถมีเดินเป็นต้น ซึ่งเป็นไปได้
ด้วยอำนาจเหตุปัจจัย เท่านั้นอย่างนี้ เมื่อเดินก็รู้ว่าเราเดิน เมื่อยืนก็รู้ว่าเรายืน
เมื่อนั่งก็รู้ว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ว่าเรานอน ดังนี้.
การเดินจงกรม คือ การเดินไปเดินมา เป็นการเปลี่ยนอิริยาบท จากการนอน
การนั่ง เป็นการเดิน
กิจของพระภิกษุจริงๆ มี 2 ประการ คือ คันธะธุระ และวิปัสสนาธุระ คันธะธุระ
คือ การศึกษาพระธรรม วิปัสสนาธุระ คือ การเจริญสติปัฐฐาน ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
การเจริญสติปัฎฐานทุกอิริยาบทจึงเป็นปกติของผู้ที่อบรมเจริญปัญญา ไม่เจาะจง
ว่าจะต้องเป็นการเดินจงกรม หรือ ทำอย่างอื่น นั่นหมายถึง เป็นตัวตน เป็นเราที่จัดกระทำขึ้น
ซึ่งผิดไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา คือ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน
บังคับบัญชาไม่ได้ ทุกอย่างเป็นธรรมะ
ธรรมะต้องทำหน้าที่ของธรรมะ เช่น สติ ทำหน้าที่ระลึกรู้สภาพธรรมะที่ปรากฎ
ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (ทวารทั้ง 6) ปัญญา ทำหน้าที่ รู้แจ้ง เข้าใจถูกต้อง ตาม
สภาพธรรมะที่ปรากฎทางทวารทั้ง 6
การศึกษาพระไตรปิฎก อันดับแรก ต้องมีความเข้าใจพื้นฐานอย่างถูกต้องว่า ธรรมะ
คืออะไร ต้องมั่นคงเรื่อง อนัตตา
พระไตรปิฎก ถูกถ่ายทอดมาจาก พระอรหันต์ ผู้ซึ่งไม่มีกิเลสแล้ว แต่เราปุถุชน ที่มี
กิเลสแน่นหนา ทุกอย่างจะเป็นเราที่จะกระทำหมด เพราะเคยชินกับความเป็นตัวตน เป็นเราโดย
ลืมไปว่าทุกอย่างคือธรรมะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓- หน้าที่ 55
๙. จังกมสูตร ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการจงกรม ๕ ประการ
[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ อาหาร
ที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑ สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรม
ย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการ
นี้แล.
จบจังกมสูตรที่ ๙
อรรถกถาจังกมสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในจังกมสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อทฺธานกฺขโม โหติ ได้แก่ เมื่อเดินทางไกลก็เดินได้ทน คือ
อดทนได้. บทว่า ปธานกฺขโม ได้แก่ เพียรได้ทน. บทว่า จงฺกมาธิคโต
จ สมาธิ ได้แก่ สมาธิแห่งสมาบัติ ๘ อย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้อธิษฐาน
จงกรมถึงแล้ว. บทว่า จิรฏฐิติโก โหติ แปลว่า ตั้งอยู่ได้นาน. ด้วยว่า
นิมิตอันผู้ยืนอยู่ถือเอาเมื่อนั่งก็หายไป นิมิตอันผู้นั่งถือเอาเมื่อนอนก็หายไป
ส่วนนิมิตอันผู้อธิษฐานจงกรม ถือเอาในอารมณ์ที่หวั่นไหวแล้วเมื่อยืนก็ดี นั่ง
ก็ดี นอนก็ดี ย่อมไม่หายไป.
จบอรรถกถาจังกมสูตรที่ ๙
จันทร์ 10 ส.ค. 2009 11:22 am
ขอบคุณครับผม สงสัยเพราะผมไม่ได้เดินจงกรม ระบบย่อยอาหารเลยไม่ดี ทำให้ตัวกลมดั่งเช่นทุกวันนี้
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.