กำลังเห็น....ในขณะนี้เอง.!
เป็น จักขุวิญญาณ.
จักขุวิญญาณ เป็น วิบากจิต.
ซึ่ง เกิดแล้ว เพราะอดีตกรรม เป็น ปัจจัย.
แต่
วิบากจิต คือ ขณะที่ กำลังเห็น
ไม่เป็น เหตุ ให้เกิด วิบากจิต.!
ขณะที่กำลังได้ยินเสียง.!
คือ ขณะที่จิตกำลังรู้เสียง
ขณะนั้น เป็น วิบากจิต.
หมายความว่า
โสตวิญญาณ คือ วิบากจิต.
และ
วิบากจิต คือ จิตที่ได้ยินเสียง
ไม่เป็น เหตุ ให้เกิด วิบากจิต.!
.
วิบากจิต ไม่เป็น เหตุให้เกิด วิบากจิต อีก.!
และ
วิบากจิต ไม่เป็น ปัจจัย
ให้เกิดการกระทำทางกาย ทางวาจา ใด ๆ ได้.
.
วิบากจิต ไม่ประกอบด้วย ธรรมอื่น ๆ
เช่น
กรุณาเจตสิก มุทิตาเจตสิก
และ วิรตีเจตสิก ๓.
(สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตเจตสิก สัมมาอาชีวเจตสิก)
.
ฉะนั้น
ธรรม ซึ่งเป็น วิบากจิต
จึงไม่ชื่อว่า เป็น ธรรม ที่ เลว ปานกลาง หรือ ประณีต.
แต่
วิบากจิต ซึ่งเป็น ผลของกรรมที่เลว
จัดเป็น ธรรม ที่ เลว.
วิบากจิต ซึ่งเป็น ผลของกรรมที่ปานกลาง
จัดเป็น ธรรม ที่ ปานกลาง.
วิบากจิต ซึ่งเป็น ผลของกรรมที่ประณีต
จัดเป็น ธรรม ที่ ประณีต.
.
เมื่อ วิบาก เป็นแต่เพียง ธรรม
ซึ่งเป็น ผล ของ เหตุ.
และ เหตุ ก็คือ กุศลธรรม และ อกุศลธรรม.
แต่
วิบาก เองนั้น
ไม่ชื่อว่าเป็น ธรรมที่เลว ปานกลาง และประณีต
และ ไม่เป็น ธรรม ที่เป็น เหตุ
ซึ่งเป็น ปัจจัย ให้เกิด วิบาก.
.
ฉะนั้น
จึงรวมเรียก จิตประเภทนี้ ว่า
เป็น จิตชาติวิบาก ๑ ชาติ.!
เพราะไม่ต่างกัน โดยประการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น.
อย่างเช่น
ธรรม ที่เป็น เหตุ
คือ อกุศลธรรม และ กุศลธรรม.
ซึ่ง
ธรรม ที่เป็น เหตุ นี้เอง
ที่แยก เป็น จิตชาติอกุศล ๑ ชาติ
และ จิตชาติกุศล ๑ ชาติ.
.
วิบากจิต ทั้งหมด
เป็น ผลของกรรม ที่ได้กระทำแล้ว ในอดีต.
(คือ ผลของกุศลกรรมบ้าง หรือ ผลของอกุศลกรรมบ้าง ตามเหตุ ตามปัจจัย)
.
วิถีจิต ขณะต่าง ๆ
เช่น
จักขุวิญญาณ เป็น วิบากจิต.
สัมปฏิจฉันนจิต เป็น วิบากจิต.
สันตีรณจิต เป็น วิบากจิต.
ตทาลัมพนจิต เป็น วิบากจิต.
.
เมื่อได้ศึกษา เรื่อง "ชาติของจิต" แล้ว
จึงควรทราบ
สภาพธรรม ตามความเป็นจริง
ว่า
ขณะใด จิตเป็นวิบาก
ขณะใด จิตเป็นกุศล ขณะใด จิตเป็นอกุศล
และ ขณะใด จิตเป็นกิริยา
ขณะใด......ที่กำลังเห็น สีสัน-วัณณะ (รูปารมณ์) ที่น่าพอใจ
จักขุวิญญาณ ที่เกิดขึ้น กระทำกิจเห็น (ทัสสนกิจ) ขณะนั้น
เป็น กุศลวิบาก.
(คือ ผลของกุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต)
.
วิถีจิต ที่เกิดสืบต่อ ในวาระเดียวกัน
(จักขุทวารวิถีจิต)
คือ
สัมปฏิจฉันนจิต ก็เป็น กุศลวิบาก.
สันตีรณจิต ก็เป็น กุศลวิบาก.
ตทาลัมพนจิต ก็เป็น กุศลวิบาก.
.
และ เมื่อ รูป (รูปารมณ์) ดับไปแล้ว............
วิถีจิตทางตา (ทางจักขุทวาร หรือ จักขุทวารวิถีจิต)
ก็ดับไปหมด.!
ต่อจากนั้น............
ภวังคจิต เกิด-ดับ-สืบต่อ หลายขณะ
จนกว่า "วิถีจิตต่อไป" จะเกิดขึ้น รู้อารมณ์อื่น.!
.
ฉะนั้น
จึงควรทราบ ว่า
ขณะที่กำลังเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา
วิบากจิต ทั้งหมด ที่เกิดขึ้นกระทำกิจเฉพาะของตน ๆ
ขณะที่เป็น จักขุทวารวิถีจิต วาระนั้น.............
เป็น ผลของอดีตกรรมหนึ่ง....ที่ได้กระทำแล้ว.!
(......ถ้าเป็น ผลของกุศลกรรม
วิบากจิตทุกขณะ ที่เกิดในวาระนั้น เป็น กุศลวิบาก.
ถ้าเป็น ผลของอกุศลกรรม
วิบากจิตทุกขณะ ที่เกิดในวาระนั้น เป็น อกุศลวิบาก.)
.
ขณะที่กำลังได้ยินเสียง ที่น่าพอใจ
หรือ ได้ยินเสียง ที่ไม่น่าพอใจ.!
ก็เพียงชั่วขณะที่วิบากจิตต่าง ๆ เกิดขึ้น
เป็นวิถีจิต ขณะต่าง ๆ ใน วาระเดียวกัน
ซึ่ง รู้เสียงที่ได้ยิน นั้น ๆ แล้วดับไปหมด.
แต่ เมื่อมี ปัจจัย ให้อกุศลจิต เกิดขึ้น
พอใจ หรือ ไม่พอใจ ใน รูป คือ อารมณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น-ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก
ทางลิ้น ทางกาย
ซึ่งมีมากมายเหลือเกิน.!
.
ที่ว่ามาก ก็คือ
วันหนึ่ง ๆ....ก็ไม่พ้นไปจาก ความพอใจบ้าง ความไม่พอใจบ้าง
ในสิ่งที่เกิด-ปรากฏ
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.
.
ขั้นการศึกษา หรือ การฟังพระธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดง นั้น
ยังไม่สามารถ ดับอกุศลธรรม ได้.!
.
ทั้ง ๆ ที่รู้ ว่า....
ขณะที่กำลังเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสทางกาย
เป็นเพียงวิบาก คือ ผลของกรรมในอดีต
แต่ ก็ไม่สามารถยับยั้ง
การเกิดขึ้น ของความพอใจ คือ โลภมูลจิต
หรือ ความไม่พอใจ คือ โทสมูลจิต
ที่เกิดขึ้น หลังจากขณะที่กำลังเห็น (จักขุวิญญาณ)
.
ฉะนั้น
จึงควรศึกษา เพื่อให้เข้าใจ สภาพธรรมทั้งหลาย
ให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง.!
เพื่อที่จะเป็น "ปัจจัย" แก่การ "อบรมเจริญปัญญา"
ตามลำดับ....
จนถึงขั้น "ประจักษ์แจ้ง" สภาพธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง
ว่า สภาพธรรมทั้งหลาย ตามความเป็นจริง นั้น
ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน.!
.
การศึกษา และพิจารณา "พระธรรม" โดยละเอียด
ย่อมเป็น ปัจจัย ให้เห็นโทษ ของอกุศลธรรม มากยิ่งขึ้น.
.
และ ยังเป็น ปัจจัย
ต่อการอบรมเจริญกุศลทุกประการ มากยิ่งขึ้น.!
ทั้งขั้นทาน ขั้นศีล ขั้นภาวนา.
.
เพราะ ความเข้าใจ ที่ว่า
การไม่อบรมเจริญกุศล ทุกประการ
และ การสั่งสมอกุศลธรรม อย่างมากมาย
เป็นเหตุ ให้เป็นผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส
มากขึ้นเรื่อย ๆ
ในชีวิต ปกติ ประจำวัน........................
ท่าน ยึดถือว่า ทุกอย่าง เป็นของท่าน.!
ซึ่งก็หมายถึง เฉพาะแต่ ขณะที่ วิถีจิตเกิดขึ้น
รู้อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง
เท่านั้น.!
.
แต่ ขณะใด ที่วิถีจิต ไม่เกิดขึ้นรู้อารมณ์
คือ
ขณะที่ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส
ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย
และ ไม่รู้อารมณ์ที่รู้ได้เฉพาะทางใจ.
.
เช่น
ขณะที่กำลังนอนหลับสนิท.!
.
ขณะนั้น.........แม้ว่า ยังไม่สิ้นชีวิต
แต่ขณะที่กำลังหลับสนิทนั้น.......
ไม่มีเยื่อใย ไม่มีความอาลัยอาวรณ์
ไม่มีความผูกพันใด ๆ ทั้งสิ้น.......!
.
ไม่มีแม้แต่ ความยึดในขันธ์ ๕
ซึ่ง เคย ยึดถือ ว่า เป็น "เรา"....เป็น "ตัวตน"
.
เพราะขณะที่กำลังนอนหลับสนิทนั้น
วิถีจิต ไม่มีปัจจัย จึงไม่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ใด ๆ
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.
.
แม้ ขณะนั้น...เป็นขณะที่ยังไม่สิ้นชีวิต.!
เพียงแต่หลับสนิทเท่านั้น......
ก็ยังขาดเยื่อใย ความสัมพันธ์
ความเกี่ยวข้องกับ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ
และ เรื่องราวต่าง ๆ ได้.!
.
แล้วเพราะเหตุใด........?
จึงไม่เริ่ม อบรม เจริญปัญญา ให้มากขึ้น ๆ
เพื่อตัดเยื่อใย และ ความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ
ที่เกิด-ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
และ ทางใจ.!
.
ซึ่ง
การอบม เจริญปัญญา
เป็นปัจจัยให้ อกุศลธรรม ค่อย ๆ น้อยลง ๆ
เมื่อ เข้าใจจริง ๆ ว่า
สภาพธรรมทุกอย่างที่เกิด-ปรากฏ นั้น
ก็ เพียงชั่วขณะที่ วิถีจิต เกิดขึ้น รู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
เท่านั้นเอง.!
.
และ เมื่อ จิตขณะใดเกิดขึ้น จิตขณะนั้นต้องดับไป
คือ ดับไปจริง ๆ (ไม่กลับมาอีกเลย)
และ เมื่อ รูปธรรมใด ที่เกิดขึ้น รูปธรรมนั้น ก็ต้องดับไป
คือ ดับไปจริง ๆ (ไม่กลับมาอีกเลย)
เช่น
รูปารมณ์ ที่ปรากฏทางตาเมื่อสักครู่นี้
ดับไปแล้ว ก็ดับหมดจริง ๆ
วิถีจิต แต่ละขณะ ในวาระนั้น (จักขุทวารวิถี)
ก็ดับไปหมดจริง ๆ
(รูป) เสียง ที่เกิด-ปรากฏทางหู (โสตทวาร)
ก็ดับไปหมดจริง ๆ
(จิต) ได้ยิน ก็ดับไปหมดจริง ๆ
จิต ทุกขณะ ที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ ต้องดับไปหมดจริง ๆ
รูป ทุกรูป ที่เกิดขึ้น ก็ต้องดับไปหมดจริง ๆ
แต่ ตราบใด.!
ยังไม่ประจักษ์ การเกิด-ดับ ของ นามธรรม และ รูปธรรม จริง ๆ
ก็ยัง "ไม่เข้าถึงอรรถ" คือ ความหมายของคำว่า "ดับ"
เพราะว่า ยังไม่ประจักษ์ "การดับ"
.
เช่น
ขณะนี้ ถ้าจะกล่าวว่า
จักขุวิญญาณ ดับ.! สัมปฏิจฉันนจิต ดับ.!
สันตีรณจิต ดับ.! โวฏฐัพพนจิต ดับ.!
ชวนจิต ดับ.! ตทาลัมพนจิต ดับ.!
แต่
ยังไม่ประจักษ์ "การดับ" ของสถาพธรรมใด ๆ เลย.!
.
ฉะนั้น
มีหนทางเดียว คือ การอบรมเจริญปัญญา
จนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์
การเกิดขึ้น และ การดับไป
ของ นามธรรม และ รูปธรรม จริง ๆ
.
แต่ ถึงแม้ว่า
"ปัญญาขั้นนั้น" ยังไม่เกิด.!
การฟังพระธรรม และ การพิจารณาพระธรรมที่ได้ฟัง
เพื่อ
"ความเข้าใจที่ถูกต้อง-ละเอียดยิ่งขึ้น"
ก็จะเป็นประโยชน์ เกื้อกูล.
และ
เป็นปัจจัย โดยการเป็น "สังขารขันธ์"
ปรุงแต่งให้ "สติปัฏฐาน" เกิดขึ้น
ระลึก รู้ ลักษณะ ของสภาพธรรมที่กำลังเกิด-ดับ
ตามปกติ.!
ตามความเป็นจริง.
ซึ่ง เป็นปัจจัย ให้
"ปัญญา" ค่อย ๆ น้อมไป
คือ
ค่อย ๆ "ศึกษา-พิจารณา"
สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ.
จนกระทั่ง ความรู้ "ลักษณะ" ของสภาพธรรมทั้งหลาย
ที่ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน
ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ๆ ทีละเล็ก ทีละน้อย ๆ
|