พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อังคาร 18 ส.ค. 2009 10:52 am
ปฏิสนธิจิต.
เป็นจิตที่ ประมวลมา ซึ่งนามธรรม และ รูปธรรมทั้งหลาย
นามธรรมและรูปธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
มีปัจจัย ที่ทำให้เกิดขึ้น เป็นไปในลักษณะต่าง ๆ ในภพชาติหนึ่ง ๆ
ตามกำลัง และ ประเภทของปฏิสนธิจิต นั้น ๆ
(กามาวจรวิบากจิต ๑๐. รูปาวจรวิบากจิต ๕. อรูปาวจรวิบากจิต ๔.)
.
จิต ที่ทำปฏิสนธิกิจ ในกามภูมิ ๑๑ ภูมิ.
ได้แก่
กามาวจรวิบากจิต ๑๐ ประเภท.
คือ
อุเบกขา-สันตีรณจิต อกุศลวิบาก ๑ ประเภท.
อุเบกขา-สันตีรณจิต กุศลวิบาก ๑ ประเภท.
กามาวจร-สเหตุก-กุศลวิบากจิต (มหาวิบาก) ๘ ประเภท.
อธิบายว่า
อุเบกขา-สันตีรณ-อกุศลวิบากจิต.
เป็น
ผลของอกุศลกรรม อย่างใด อย่างหนึ่ง
ทำปฏิสนธิกิจ ในอบายภูมิ ๔
คือ
เกิดในนรก เกิดเป็นเปรต
เกิดเป็นอสุรกาย เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน.
.
อุเบกขา-สันตีรณ-กุศลวิบากจิต.
เป็น
ผลของกุศลกรรมอย่างอ่อน ที่ไม่มีกำลัง.
เมื่อ อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ทำปฏิสนธิกิจ ในภูมิมนุษย์
เนืองจากเป็น ผลของกุศลกรรม ที่ไม่มีกำลัง
จึงมีปัจจัยให้ อกุศลกรรม เบียดเบียน
ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ที่พิการ บ้า ใบ้ บอด หนวก ฯลฯ
ตั้งแต่กำเนิด.
และ
เมื่อ อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ทำปฏิสนธิกิจ ในภูมิสวรรค์
ก็เกิด ในสวรรค์ชั้นต้น คือ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา.
.
มหาวิบากจิต ๘ ประเภท.
ทำปฏิสนธิกิจในภูมิมนุษย์ และ สวรรค์ ๖ ภูมิ
ต่าง ๆ กันไป ตามกำลัง และ ความประณีต ของกุศลกรรม นั้น ๆ
.
รูปาวจรวิบากจิต ๕ ประเภท.
ทำปฏิสนธิกิจ คือ เกิดในรูปพรหม ๑๕ ภูมิ.
ตามขั้นของ รูปาวจรกุศล นั้น ๆ ซึ่งเป็นเหตุ.
.
อรูปาวจรวิบากจิต ๔ ประเภท.
ทำปฏิสนธิกิจในรูปพรหม ๑๕ ภูมิ
ตามขั้นของ อรูปาวจรกุศล นั้น ๆ ซึ่งเป็นเหตุ.
.
ตทาลัมพนจิต ๑๑ ประเภท.
เกิดต่อจาก กามชวนวิถี ใน กามภูมิ เท่านั้น
ไม่เกิดในภูมิที่สูงกว่านี้
คือ ไม่เกิดในรูปพรหมภูมิ และ ไม่เกิดในอรูปพรหมภูมิ.
.
จิต ที่ทำได้ ๕ กิจ.
มี ๒ ประเภท คือ
๑. อุเบกขา-สันตีรณจิต-อกุศลวิบาก.
๒. อุเบกขา-สันตีรณจิต-กุศลวิบาก.
.
จิต ที่ทำได้ ๔ กิจ
มี ๘ ประเภท.
คือ มหาวิบากจิต ๘ ดวง.
.
จิต ที่ทำได้ ๓ กิจ.
มี ๙ ประเภท. คือ
รูปาวจรวิบากจิต ๕ ประเภท.
และ อรูปาวจรวิบากจิต ๔ ประเภท.
.
จิต ที่ทำได้ ๒ กิจ
มี ๒ ประเภท. คือ
๑. มโนทวาราวัชชนจิต.
๒. โสมนัสสันตีรณ กุศลวิบากจิต.
.
จิต ที่เหลือ
ทำได้กิจเดียว คือ กิจเฉพาะของตน ๆ เท่านั้น.
"ลักษณะของจิต"
ประการที่ ๑.
คือ
จิต เป็นสภาพธรรม ที่ รู้แจ้ง อารมณ์.!
เมื่อมีปัจจัย...สภาพธรรม ที่รู้แจ้งอารมณ์ นี้
ย่อมเกื้อกูลให้ "สติ" เกิดขึ้น
ระลึก ตรง ลักษณะของสภาพธรรม ทีละลักษณะ
ที่กำลังปรากฏ ตามปกติ
ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน.
หมายถึง
ขณะที่กำลังเห็น หรือกำลังได้ยิน หรือกำลังได้กลิ่น
หรือกำลังลิ้มรส หรือกำลังกระทบสัมผัส หรือกำลังคิดนึก.
ขณะใด ขณะหนึ่ง ทีละขณะ ๆ
และ "ความรู้" จากการพิจารณา "จิต" แต่ละขณะ ๆ
(คือ ลักษณะ ของการรู้แจ้ง อารมณ์ต่าง ๆที่ปรากฏทีละขณะ ๆ)
คือ "ความรู้" ว่า "จิต" ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน.!
(ซึ่ง เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป บังคับบัญชาไม่ได้)
เพราะว่า "จิต" เป็นเพียงสภาพธรรม ประเภทหนึ่ง
ที่มีลักษณะ รู้แจ้ง อารมณ์ หรือ สิ่งที่กำลังปรากฏ
เท่านั้นเอง.!
.
"ลักษณะของจิต"
ประการที่ ๒.
คือ
ชื่อว่า "จิต"
เพราะ สั่งสมสันดานของตน ด้วยสามารถแห่ง ชวนวิถี.
แต่ละบุคคล เช่น มนุษย์ และ สัตว์ เป็นต้น
มี อุปนิสัย ที่ต่าง ๆ กัน......?
เป็นเพราะ เหตุ คือ การสั่งสมสันดาน.!
ซึ่งแล้วแต่เหตุ-ปัจจัย...ว่า แต่ละบุคคล
มีการสั่งสม อกุศลธรรม เช่น โลภะ โทสะ โมหะ มามาก
หรือว่า มีการสั่งสม กุศลธรรม ประเภทต่าง ๆ มามาก.
ดังนั้น
แต่ละ บุคคล จึงมี "อัธยาศัย" ที่ต่าง ๆ กันอย่างละเอียดมาก
และ ไม่ซ้ำกันเลย.!
.
"ลักษณะของจิต"
ประการที่ ๓.
คือ
ชื่อว่า "จิต"
เพราะเป็น ธรรมชาติ อัน "กรรม-กิเลส" สั่งสมวิบาก.
เมื่อศึกษา และ เข้าใจ ความเป็นไป ของ "วิถีจิต"
ก็สามารถ เข้าใจ ความเป็นไป ของ "สภาพธรรม ที่เป็น สังสารวัฏฏ์"
ซึ่งหมายถึง
การเกิดขึ้น วนเวียนไป เป็นกิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์.
เพราะว่า
จิต เป็นธรรมชาติ อัน กรรม-กิเลส สั่งสมวิบาก.
หมายความว่า
(สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์.!)
สภาพธรรม ที่เป็นกุศลธรรม หรือ อกุศลธรรม ที่เกิดขึ้น ทำชวนกิจ
(ซึ่งก็คือ กุศลชวนวิถีจิต หรือ อกุศลชวนวิถีจิต)
........เมื่อเกิดขึ้น และ ดับไปหมดแล้ว
มีการสั่งสม-สืบต่อในจิตขณะต่อไป.!
ดังนั้น
ถึงแม้ว่า จิต เกิดขึ้น และ ดับไปหมดแล้ว
แต่ การดับไป ของจิตขณะก่อน เป็นปัจจัยให้ จิตขณะต่อไป เกิดขึ้น.!
ฉะนั้น
จิตขณะต่อไป ที่เกิดขึ้น
จึงสืบต่อทุกอย่าง...ที่สั่งสมอยู่ในจิตขณะก่อน ที่ดับไปนั้นเอง.!
.
จิตขณะก่อน...เป็นปัจจัยแก่การเกิดขึ้นของจิตขณะต่อไป.!
(โดยปัจจัยหนึ่ง คือ "อนันตรปัจจัย")
ฉะนั้น
อกุศลชวนวิถีจิต หรือ กุศลชวนวิถีจิต
ที่เกิดขึ้น สั่งสมสันดานของตน ๆ ขณะที่เป็น ชวนวิถีจิต นั้นเอง
ที่เป็นปัจจัย ให้เกิด "วิบาก"
(วิบากจิต ซึ่งเป็น ผลของกรรม )
หมายความว่า
ถ้าเป็น อกุศลชวนวิถีจิต
ก็เป็นการสั่งสมสันดาน ซึ่งเป็นเหตุ ที่จะทำให้เกิดผล
คือ อกุศลวิบากจิต.
ถ้าเป็น กุศลชวนวิถีจิต
ก็เป็นการสั่งสมสันดาน ซึ่งเป็นเหตุ ที่จะทำให้เกิดผล
คือ กุศลวิบากจิต.
สังสารวัฏฏ์
มี ๓ อย่าง
คือ
กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์
.
กิเลสวัฏฏ์
เกิดขึ้น วนเวียน
ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น
ทางกาย และ ทางใจ.
และ สั่งสมสันดาน-สืบต่อ
ซึ่งเป็นเหตุ ให้เกิดการกระทำ "กัมมวัฏฏ์"
.
กัมมวัฏฏ์
คือ
กุศลกรรม และ อกุศลกรรม
ทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ.
กัมมวัฏฏ์
เป็นปัจจัยให้เกิด วิปากวัฏฏ์.!
และ เมื่อ วิบากจิต เกิดขึ้น
รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก
ทางลิ้น และ ทางกาย.
ขณะนั้น.!
ก็ ไม่ปราศจาก กิเลสวัฏฏ์ อีก.
เพราะเหตุว่า
ยังมีความยินดี (โลภะ) ยังมีความยินร้าย (โทสะ)
ในสิ่งที่ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น
ทางกาย และ ทางใจ.
.
ดังนั้น
เมื่อ ยังมีกิเลส (กิเลสวัฏฏ์)
ก็เป็นเหตุ ให้กระทำกรรม
ที่เป็น อกุศลกรรมบ้าง หรือ กุศลกรรมบ้าง.
และ อกุศลกรรม หรือ กุศลกรรม
ที่ได้กระทำแล้ว นั้นเอง.!
ก็เป็นเหตุ ที่ทำให้เกิด อกุศลวิบากจิต.
ถ้าเป็นอกุศลกรรม ที่กระทำสำเร็จแล้ว
ก็เป็นเหตุ ที่ทำให้เกิด อกุศลวิบากจิต.
(คือ ผลของอกุศลกรรม ซึ่งเป็น อนิฏฐารมณ์.)
ถ้าเป็นกุศลกรรม ที่ได้กระทำสำเร็จแล้ว
ก็เป็นเหตุ ที่ทำให้เกิด กุศลวิบากจิต.
(คือ ผลของกุศลกรรม ซึ่งเป็น อิฏฐารมณ์)
.
สังสารวัฏฏ์
คือ
กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์
เกิดขึ้น เป็นไป ตามเหตุ-ปัจจัย
วนเวียนอยู่อย่างนี้
ไม่รู้จบ.!
ตราบใด
ที่ไม่ได้อบรมเจริญปัญญา จนคมกล้า
ซึ่งเป็นเหตุ-ปัจจัย
ให้สามารถประจักษ์แจ้ง "อริยสัจจธรรม"
ตราบนั้น
กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏ์ฏ์ วิปากวัฏฏ์
ก็จะมีปัจจัยให้เกิดขึ้น
เป็น สังสารวัฏฏ์
ซึ่ง เป็นไป วนเวียนอยู่เช่นนี้ เรื่อย ๆ
ไม่รู้จบ.!
ปฏิจจสมุปปาท
คือ
ธรรม ที่ อาศัยกันและกัน เกิดขึ้น.
ซึ่ง หมายถึง
กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์
คือ
อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร.
หมายความว่า
กิเลสวัฏฏ์ เป็นปัจจัยให้เกิด กัมมวัฏฏ์.
และ
สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ
หมายความว่า
กิเลสวัฏฏ์ เป็นปัจจัยให้เกิด วิปากวัฏฏ์.
.
อวิชชา
คือ
โมหเจตสิก
ซึ่งเป็น อกุศลธรรม ที่ไม่รู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริง.
.
สังขาร ที่เป็นผล ของอวิชชา
มี ๓ ประเภท
(หมายถึง กรรม คือ เจตนาเจตสิก ๓ ประเภท)
คือ
๑. ปุญญาภิสังขาร
ได้แก่ เจตนา(เจตสิก) ที่กระทำ กุศลกรรม อันเนื่องด้วยรูป
คือ
กามาวจร-กุศลกรรม
และ
รูปาวจร-กุศลกรรม
.
๒. อปุญญาภิสังขาร
คือ
เจตนา (เจตสิก) ที่กระทำอกุศลกรรม.
.
๓. อาเนญชาภิสังขาร
คือ
เจตนา (เจตสิก) ที่เป็น อรูปาวจร-กุศลกรรม
ได้แก่
อรูปฌานกุศล (กรรม) ๔ ประเภท.
.
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร.
(กรรม ๓ ประเภท)
เป็นปัจจัยให้เกิด "วิญญาณ"
ซึ่ง หมายถึง การปฏิสนธิ ในภูมิต่าง ๆ
ตามควรแก่ เหตุ.!
เหตุ คือ กรรม.!
(หมายถึง กรรม ทั้ง ๓ ประเภท ดังกล่าว)
.
ฉะนั้น
"ปฏิจจสมุปปาท"
ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง.
คือ
สภาพธรรม ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปตามปกติ ในชีวิตประจำวัน
แต่ละขณะนี้เอง.!
ไม่ว่าจะทรงแสดงโดยนัยใด ๆ
เช่น
ทรงแสดง
โดยนัยของ.....ปรมัตถธรรม ๔.
โดยนัยของ...........อริยสัจจ์ ๔.
โดยนัยของ......ปฏิจจสมุปปาท.
อรรถ ที่เป็น "ลักษณะของจิต"
ประการที่ ๓ ที่ว่า
ชื่อว่า "จิต" เพราะเป็นธรรมชาติ อันกรรม-กิเลส-สั่งสมวิบาก.
.
แสดงให้เห็นว่า
ในชีวิตประจำวัน ตามปกติ ตามความเป็นจริง ของแต่ละบุคคล
บางขณะ ก็เป็น กิเลส.!
บางขณะ ก็เป็น กรรม.!
บางขณะ ก็เป็น วิบาก.!
.
ซึ่ง
ถ้าหาก เข้าใจชัดเจน ในเรื่องของวิถีจิต
ซึ่งเป็นปัจจัยให้ "สติ" เกิดขึ้น
พิจารณา ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ตามปกติ ตามความเป็นจริง
ในขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และ คิดนึก
ด้วยความเข้าใจ สภาพธรรมตามความเป็นจริง ว่า
ขณะใด....เป็น กิเลส.!
ขณะใด....เป็น กรรม.!
ขณะใด....เป็น วิบาก.!
.
ยกตัวอย่าง เช่น ขณะที่กำลังเห็น.!
วิถีจิต ในวาระนั้น ๆ คือ
วิถีจิตขณะที่ ๑.
คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต.
ไม่ใช่ วิบากจิต แต่ เป็นกิริยาจิต.
วิถีจิตขณะที่ ๒.
คือ จักขุวิญญาณ.
เป็น วิบากจิต ซึ่งเป็น ผลของกรรม.
วิถีจิตขณะที่ ๓.
คือ สัมปฏิจฉันนจิต.
เป็น วิบากจิต ซึ่งเป็น ผลของกรรม.
วิถีจิตขณะที่ ๔ คือ สันตีรณจิต.
เป็น วิบากจิต.
(เป็น ผลของกรรม)
วิถีจิตขณะที่ ๕ คือ โวฏฐัพพนจิต.
ไม่ใช่ วิบากจิต.
(เป็น กิริยาจิต)
วิถีจิตขณะที่ ๖ คือ ชวนจิต.
ไม่ใช่ วิบากจิต.
(เป็น อกุศลจิต หรือ อกุศลจิต หรือ กิริยาจิตของพระอรหันต์)
วิถีจิตขณะที่ ๗ คือ ตทาลัมพนจิต.
เป็น วิบากจิต.
(เป็น ผลของกรรม)
.
มีประโยชน์อะไร.?
ที่จะเข้าใจในรายละเอียด เช่น ขณะที่กำลังเห็น วาระหนึ่ง ๆ นั้น
ขณะใด เป็นวิบาก....ขณะใด ไม่ใช่วิบาก.!
ประโยชน์ ก็คือ
ความรู้ สภาพธรรม ตามความเป็นจริง ว่า
สภาพธรรมใด ที่เป็น เหตุ.
สภาพธรรมนั้น ไม่ใช่ ผล.!
อกุศลธรรม และ กุศลธรรม
เป็นเหตุ จึงไม่ใช่วิบาก (ผล)
ขณะใด เป็น วิบากจิต.
ขณะนั้น เป็นผล ซึ่งเกิดจากเหตุ.!
วิบากจิต ไม่ใช่ เหตุ.!
.
ในขณะที่กำลังเห็น ขณะนี้.!
ถ้ามีความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ว่า
ขณะที่กำลังเห็นนี้ เป็น ผลของกรรมใด กรรมหนึ่ง ในอดีต
ซึ่งเป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดผล คือ วิบากจิต (จิตเห็น) เกิดขึ้น.!
.
คิดว่า มีตัวตน ที่สามารถบันดาลให้วิบากจิตใด ๆ
เกิดขึ้นได้ หรือไม่.?
.
ถ้า มีความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ว่า
จิตใด ที่เป็นเหตุ ที่ทำให้เกิดผล.!
จิตใด ที่เป็นผล อันเกิดจากเหตุ.!
.
แสดงให้เห็น ความเป็นอนัตตา ของจิต.!
ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และ คิดนึก.
.
ซึ่ง ความเข้าใจนี้ เป็นปัจจัยเกื้อกูลให้ "สติ" เกิดขึ้น
ระลึก ตรง ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนั้น
ตามปกติ ตามความเป็นจริง.
.
และ
"ปัญญา"
รู้ ว่า สภาพธรรม แต่ละประเภท
ที่กำลังปรากฏกับจิตขณะนั้น ๆ
เกิดขึ้น เพราะ "ปัจจัย" ทั้งสิ้น.!
.
มีใครกลัวว่า วิบากจิตจะไม่เกิด...หรือกลัวว่าจะหมดวิบาก.?
ซึ่งไม่ต้องกลัวเลย.!
เพราะ ไม่ว่าวันนี้ พรุ่งนี้ วันต่อไป เดือนต่อไป ปีต่อไป ชาติต่อไป
ก็ไม่ต้องห่วง เรื่องที่ว่า วิบากจิตจะไม่เกิด.!
เพราะเมื่อยังไม่เป็นพระอรหันต์
ก็ยังมีปัจจัย พร้อมที่จะให้วิบากจิตเกิดขึ้น-สืบต่อไป เรื่อย ๆ
.
แต่.......ควรเข้าใจก่อน ว่า
วิบากจิต ที่จะเกิดนั้น...เป็นวิบากจิต ประเภทไหน.!
และ เป็นผลของกรรมอะไร.!
.
ซึ่งในชาตินี้.
ก็เป็นเครื่องพิสูจน์วิบาก ของแต่ละบุคคล ว่า
แต่ละบุคคล
มีวิบากของกุศลกรรม หรือว่า มีวิบากของอกุศลกรรม
มากน้อย-แตกต่างกัน อย่างไร.!
ข้อความใน มโนรถปูรณี
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ วรรคที่ ๔
นิทานสูตร ข้อ ๔๗๓.
แสดง ปริยายแห่ง "พระอภิธรรม"
ซึ่ง
จำแนก "กรรม" เป็น ๑๖ ประการ.
คือ
เป็น อกุศลกรรม ๘ ประการ.
เป็น กุศลกรรม ๘ ประการ.
.
อกุศลกรรม (บาป) และ กุศลกรรม (บุญ) ที่ได้กระทำแล้ว
ที่จะให้ผล เป็นวิบาก ได้นั้น.!
ต้อง ถึงพร้อม ด้วย สมบัติ และ วิบัติ.
.
การไม่ให้ผล ของอกุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้ว
๔ ประการ.
เพราะอาศัย สมบัติ.
ประการที่ ๑.
กัมมสมาทาน ฝ่ายบาป บางอย่าง.
หากมีปัจจัยให้ คติสมบัติ ห้ามไว้
ย่อมไม่ให้ผล มีอยู่.
.
ประการที่ ๒.
กัมมสมาทาน ฝ่ายบาป บางอย่าง.
หากมีปัจจัยให้ อุปธิสมบัติ ห้ามไว้
ย่อมไม่ให้ผล มีอยู่.
.
ประการที่ ๓.
กัมมสมาทาน ฝ่ายบาป บางอย่าง.
หากมีปัจจัยให้ กาลสมบัติ ห้ามไว้
ย่อมไม่ให้ผล มีอยู่.
.
ประการที่ ๔.
กัมมสมาทาน ฝ่ายบาป บางอย่าง
หากมีปัจจัยให้ ปโยคสมบัติ ห้ามไว้
ย่อมไม่ให้ผล มีอยู่.
.
หมายความว่า
เมื่อบุคคลใด ถึงพร้อม
ด้วย คติสมบัติ หรือ อุปธิสมบัติ หรือ กาลสมบัติ หรือ ปโยคสมบัติ.
แม้มีอกุศลธรรมบางอย่าง ที่ได้กระทำแล้ว
อกุศลกรรมนั้น ย่อมไม่มีโอกาสที่จะให้ผล
เพราะเหตุ คือ
ความถึงพร้อม ด้วยสมบัติ ต่าง ๆ
ดังกล่าว.
.
และ การให้ผล ของอกุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้ว
๔ ประการ.
เพราะอาศัย วิบัติ.
ประการที่ ๑.
อกุศลกรรม บางอย่าง.
อาศัย คติวิบัติ...ย่อมให้ผล มีอยู่.
.
ประการที่ ๒.
อกุศลกรรม บางอย่าง.
อาศัย อุปธิวิบัติ...ย่อมให้ผล มีอยู่.
.
ประการที่ ๓.
อุกศลกรรม บางอย่าง.
อาศัย กาลวิบัติ...ย่อมให้ผล มีอยู่.
.
ประการที่ ๔.
อกุศลกรรม บางอย่าง.
อาศัย ปโยควิบัติ...ย่อมให้ผล มีอยู่.
.
สำหรับการให้ผล ของกุศลกรรม ๘ ประการ
โดยนัยเดียวกัน.!
การไม่ให้ผล ของกุศลกรรม
ที่ได้กระทำแล้ว ๔ ประการ.
ของบุคคลนั้น คือ
เมื่อบุคคลใด ถึงพร้อมด้วย วิบัติ
คือ คติวิบัติ หรือ อุปธิวิบัติ หรือ กาลวิบัติ หรือ ปโยควิบัติ.
กุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้ว ของบุคคลนั้น
ย่อมไม่มีโอกาส ที่จะให้ผล แก่บุคคลนั้น.
.
และ
การให้ผล ของกุศลกรรม
ที่ได้กระทำแล้ว ๔ ประการ.
ของบุคคลนั้น.
กุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้ว จะให้ผล แก่บุคคลนั้นได้
ต้องอาศัย ความถึงพร้อมด้วย สมบัติ.
คือ คติสมบัติ หรือ อุปธิสมบัติ หรือ กาลสมบัติ หรือ ปโยคสมบัติ.
คติสมบัติ.
คือ
การเกิด ในภพภูมิที่ดี...เป็น สุคติภูมิ.
.
คติวิบัติ
คือ
การเกิด ในภพภูมิที่ไม่ดี...เป็น ทุคติภูมิ เป็น อบายภูมิ.
.
ทุกท่าน จะต้อง (เกิด) ปฏิสนธิ...ทันทีที่จุติจิตดับ.!
แต่
ไม่มีใครรู้ ว่า "คติ" หรือ ภพภูมิที่จะไปเกิด นั้น
จะเป็น สุคติภูมิ หรือ ทุคติภูมิ.!
.
เช่น
บางท่าน ปรารถนาที่จะเกิดในสกุล ซึ่ง ไม่มีสุรายาเมา.
แต่
เมื่อจุติจิต ยังไม่เกิด
ก็ไม่มีทางที่จะรู้ ว่า ก่อนที่จุติจิตจะเกิด นั้น
จะมี "ชวนวิถี" อะไร ๆ เกิดบ้าง.!
และ
เมื่อ จุติจิต เกิดและดับไปแล้ว
ก็ไม่มีใครรู้ ว่า
กรรมใด กรรมหนึ่ง ที่ได้กระทำแล้ว ในสังสารวัฏฏ์
จะให้ผล ทำปฏิสนธิกิจ (เกิด) ในภพภูมิใด.!
.
ถ้า กุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้ว...ให้ผล.!
เป็นปัจจัยให้เกิดใน สุคติภูมิ....ก็เป็น "คติสมบัติ"
.
กุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้ว
ซึ่งเป็นปัจจัยให้ ปฏิสนธิ ในภพภูมิ นั้น.!
ย่อมประมวลมา ซึ่งอดีตกรรมต่าง ๆ ในสังสารวัฏฏ์
ที่ควรแก่การเป็นปัจจัยให้ วิบากจิต ประเภทต่าง ๆ เกิดขึ้น
รู้อารมณ์ ที่เป็น "อิฏฐารมณ์" คือ อารมณ์ที่น่าพอใจ
ตามฐานะของปฏิสนธิจิต นั้น ๆ
.
แต่
เนื่องจาก อกุศลกรรมในอดีต...ที่ได้เคยกระทำไว้ด้วย.!
ทุกท่าน จึงไม่ได้มีแต่ "อิฏฐารมณ์" เท่านั้น.
.
ซึ่ง
ขณะใด...ที่อกุศลกรรม ให้ผล.!
ขณะนั้น...วิบากจิต ก็รู้อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ คือ "อนิฏฐารมณ์"
ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง
ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง.
.
ถึงแม้ว่า ในสังสารวัฏฏ์ อันยาวนานนี้
ทุกท่าน ได้เคยกระทำแล้ว
ทั้ง อดีตกุศลกรรม และ อดีตอกุศลกรรม.
.
แต่ การที่ "แต่ละกรรม"
จะให้ผล เป็นวิบากจิต ประเภทต่าง ๆ นั้น
ก็ต้องขึ้นอยู่กับ "ภพภูมิที่เกิด" ว่า
เป็น คติสมบัติ หรือ เป็น คติวิบัติ.!
นอกจาก "คติ" แล้ว
การให้ผลของกรรม ยังขึ้นอยู่กับ "อุปธิ"
"อุปธิ"
คือ
สภาพธรรม ที่ทรงสภาพของทุกข์.
สำหรับ
อุปธิสมบัติ และ อุปธิวิบัติ
คือ
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกาย.
ซึ่ง เมื่อเกิดเป็น มนุษย์ อันเป็นสุคติภูมิ แล้วก็ตาม
แต่
อกุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้ว ในอดีต
ก็ยังเป็นปัจจัยให้ เป็นบุคคลผู้พิการ.
เช่น
มีอวัยวะที่ไม่สมประกอบ เป็นต้น.
นี้ เป็น "อุปธิวิบัติ"
.
นอกจาก "อุปธิ" แล้ว
กุศลกรรมใด ๆ ที่ได้กระทำแล้วในอดีต
ยังต้องอาศัย "กาลสมบัติ" เป็นปัจจัย
จึงจะให้ผล เป็นกุศลวิบากจิต ได้.!
.
เช่น
ในกาลสมัยที่ข้าวปลา อาหาร บริบูรณ์ดี
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว
ไม่ใช่ กาลสมัย ที่ข้าวยาก หมากแพง
บ้านเมือง ก็ร่มเย็น เป็นสุข
มีความสมบูรณ์พร้อม ทุกประการ.!
ในกาลสมัย เช่นนั้น เป็น "กาลสมบัติ"
เป็นขณะที่ กุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต
มีปัจจัยให้ผล เป็นกุศลวิบากจิต.
ซึ่งเกิดขึ้น รู้ อิฏฐารมณ์ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง
ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง.
.
แต่ ถ้าเป็น "กาลวิบัติ"
คือ กาลสมัยใด ที่บ้านเมือง เดือดร้อน วุ่นวาย
ข้าวยาก หมากแพง.
แม้มี กุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต
แต่ก็ไม่มีปัจจัยให้เกิดผล เป็นกุศลวิบากจิต ซึ่งเกิดขึ้น
รู้ อิฏฐารมณ์ ได้เท่ากับ กาลสมัยที่เป็น "กาลสมบัติ"
.
ในยุคนี้ สมัยนี้
คนดี ที่ไม่ได้กระทำความเดือดร้อนให้ใครเลย
ก็ยังไดรับ ความวิบัติ อันได้แก่ ความเจ็บปวด หรือ การสิ้นชีวิต
เพราะ เป็น "กาลวิบัติ"
.
แม้ว่า จะได้มีการสั่งสมกุศลกรรมมาแล้ว
แต่เมื่อเป็น "กาลวิบัติ"
เช่น บ้านเมืองระส่ำระสาย เป็นต้น.
อกุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต
ย่อมเป็นปัจจัยให้ อกุศลวิบากจิต เกิดขึ้น รู้ อนิฏฐารมณ์
ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง
ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง.
.
นอกจาก กาลสมบัติ และ กาลวิบัติ แล้ว.
กรรมใด ๆ ที่จะให้ผลสมควรแก่เหตุนั้น
ยังต้องอาศัย "ปโยคสมบัติ"
คือ ความสามารถ ในการประกอบกิจการงาน
ด้วยความพากเพียร ด้วยการพิจารณาอย่างฉลาด.
.
กิจการงานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอาชีพต่าง ๆ
หรือ แม้แต่ อาชีพทุจริต เช่น การโจรกรรม.
ก็ต้องอาศัย ศิลปะ คือ ความชำนาญ
และ ความสามารถในกิจการงานนั้น ๆ
ดังนั้น
ความสำเร็จในกิจการงานที่กระทำ
จึงต้องอาศัย ปโยคสมบัติ เป็นปัจจัย.
ไม่ว่าจะเป็นการกระทำกิจการงาน
ที่เป็น กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม ก็ตาม.!
หมายความว่า
ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใด ๆ กิจการงานใด ๆ
ทั้งสุจริต และ ทุจริต
ก็ต้องอาศัย ปโยคสมบัติ คือ ความชำนาญ ความสามารถ
กิจการงานที่กระทำนั้น
จึงประสบความสำเร็จได้ ตามความต้องการ.
.
อกุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้วจากความชำนาญ
(ปโยคสมบัติ)
เมื่อยังไม่ถึงพร้อมด้วยปัจจัยที่ทำให้ อกุศลวิบากจิต เกิดขึ้น
ก็เป็นเพราะ ขณะนั้น.!
บุคคลนั้น ยังประกอบด้วยปัจจัย คือ ปโยคสมบัติ
คือ ความชำนาญ และ ความสามารถ ในกิจการงานนั้น ๆ
.
และ ถึงแม้ว่าจะเป็นคนดี
แต่หากขาด ศิลปะ คือ ความชำนาญ ความรู้ ความสามารถ
ในการประกอบกิจการงาน หรือ อาชีพ.
ขณะนั้น.....ก็เป็น ปโยควิบัติ.!
เพราะว่า ขาด ปโยคสมบัติ จึงไม่มีปัจจัยให้ กุศลวิบากจิต เกิดขึ้น
คือ การประสบความสำเร็จในกิจการงาน หรือ อาชีพใด ๆ นั่นเอง.
อิทธิบาท ๔
จตฺตาโร ( สี่ ) + อิทฺธิ ( ความสำเร็จ ) + ปาท ( เท้า , เครื่องให้ถึง )
ธรรมเครื่องให้ถึงความสำเร็จ ๔ อย่าง หมายถึง สภาพธรรม ๔ อย่าง คือ ฉันท-
เจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ จิต ๑ ปัญญาเจตสิต ( วิมังสา ) ๑ ที่เป็นไปใน
การอบรมสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา ถ้าเป็นไปในสมถภาวนา ก็เป็นบาทแห่ง
ความสำเร็จคืออภิญญาสมาบัติ ซึ่งสามารถข่มกิเลสได้ในขณะที่เข้าฌานสมบัติ หรือ
สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้ ถ้าเป็นไปในวิปัสสนาภาวนา ก็เป็นบาทแห่งความ
สำเร็จคือ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งอำนาจในการประหาณกิเลสเป็นสมุจเฉท
พรหมวิหาร ๔
จตุ ( สี่ ) + พรฺหม ( ผู้ประเสริฐ , ท่านผู้เป็นใหญ่ ) + วิหาร ( เครื่องอยู่ )
เครื่องอยู่ของท่านผู้ประเสริฐ หรือผู้เป็นใหญ่ ๔ อย่าง หมายถึง เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา ผู้ที่มีธรรม ๔ อย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นผู้ประเสริฐ เป็น
ผู้ใหญ่ เพราะเป็นคุณธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญพรหมวิหาร ๔ หรือเรียกอีก
อย่างหนึ่งว่า อัปปมัญญา เพราะอบรมเจริญจนแผ่ไปได้ไม่มีประมาณ ทั้ง ๔ อย่าง มี
สัตว์บุคคลเป็นอารมณ์แต่มีความต่างกัน คือ
๑. เมตตา มีสัตว์ซึ่งเป็นที่รักเป็นอารมณ์ ( ปิยมนาสัตว์ ) คือ มีความรักสนิท
สนม เป็นไมตรี ไม่รู้สึกรังเกียจในสัตว์บุคคลที่ประสบพบเห็น เมตตา คือ
อโทสเจตสิก เป็นปฏิปักษ์ต่อความโกรธ ความพยาบาท
๒. กรุณา มีสัตว์ซึ่งเป็นทุกข์เป็นอารมณ์ ( ทุกขิตสัตว์ ) คือ มีความสงสาร
อาทร หวังเกื้อกูลแก่สัตว์บุคคลที่กำลังเป็นทุกข์นั้น
๓. มุทิตา มีสัตว์ซึ่งเป็นสุขเป็นอารมณ์ ( สุขิตสัตว์ ) คือ มีความยินดีปลาบ
ปลื้มกับสัตว์บุคคลที่กำลังประสบกับความสุข มุทิตาคือมุทิตาเจตสิก เป็น
ปฏิปักษ์ต่ออรติ ความไม่ยินดีและความริษยา
๔. อุเบกขา มีสัตว์ที่เป็นกลาง ไม่เป็นที่รัก หรือที่ชังเป็นอารมณ์ ( มัชฌตต-
สัตว์ ) คือมีความวางเฉยในสัตว์บุคคลทั้งหลาย ซึ่งมีกรรมเป็นของ ๆ ตน
อุเบกขาคือตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก เป็นปฏิปักต่อราคะ ความกำหนัดยินดี
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 193
[อรรถาธิบายพุทธคุณบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน]
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
ก็เพราะทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ. ในวิชชาและจรณะนั้น วิชชา ๓
ก็ดี วิชชา ๘ ก็ดี ชื่อว่าวิชชา. วิชชา ๓ พึงทราบตามนัยที่ตรัสไว้ในภยเภรว-
สูตรนั่นแล. วิชชา ๘ ในอัมพัฏฐสูตร. ก็ในวิชชา ๓ และวิชชา ๘ นั้น
วิชชา ๘ พระองค์ตรัสประมวลอภิญญา ๖ กับวิปัสสนาญาณและมโนมยิทธิ
เข้าด้วยกัน. ธรรม ๑๕ นี้ คือ สีลสังวร ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว
ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ชาคริยานุโยค สัทธรรม ๗
ณาน ๔ พึงทราบว่า ชื่อว่าจรณะ. จริงอยู่ ธรรม ๑๕ นี้แหละ พระองค์ตรัส
เรียกว่า จรณะ เพราะเหตุที่เป็นเครื่องดำเนินคือเป็นเครื่องไปสู่ทิศ คืออมตธรรม
ของพระอริยสาวก. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนมหา-
นาม พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศีล ดังนี้เป็นต้น.
ผู้ศึกษาพึงทราบความพิสดาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วย
วิชชาเหล่านี้และด้วยจรณะนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะในความถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น ความถึงพร้อมด้วยวิชชา
ยังความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัพพัญญูให้เต็มอยู่. ความถึงพร้อมด้วย
จรณะ ยังความที่พระองค์เป็นผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาให้เต็มอยู่. พระผู้มี
พระภาคเจ้านั้นทรงรู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ด้วย
ความเป็นสัพพัญญู แล้วทรงเว้นสิ่งที่มิใช่ประโยชน์เสีย ด้วยความเป็นผู้
ประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงชักนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมือนอย่างผู้ที่
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะฉะนั้นแล. เพราะเหตุนั้น เหล่าสาวกของพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้น จึงเป็นผู้ปฏิบัติดี หาเป็นผู้ปฏิบัติชั่วไม่. พวกสาวกของพระผู้มี
พระภาคเจ้านั้น หาเป็นผู้ปฏิบัติชั่วเหมือนอย่างเหล่าสาวกของพวกบุคคลผู้มี
วิชชาและจรณะวิบัติ ทำตนให้เดือดร้อนเป็นต้นฉะนั้นไม่
โดยทั่วไปผู้ที่จะมีหน้าที่ชำระหนี้ หมายถึงผู้นั้นได้ทำการกู้ยืม เพราะมีการกู้ยืม มีหนี้
จึงมีการชำระหนี้ ในทางธรรมก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราทำการกู้ยืมของสงฆ์ กิจ คือ การ
ชำระหนี้สงฆ์ก็ไม่มี เพราะไม่มีข้อความนี้ในพระไตรปิฎกอรรถกถาและฎีกา
แต่การทำบุญถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เพื่อบูชาพระสังฆรัตนะ
ไม่ใช่การชำระหนี้
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.