เนื่องจากพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดง
ตลอด ๔๕ พรรษา และมีการนำสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ภาษาดั่งเดิม
เป็นภาษาบาลี การศึกษาในยุคปัจจุบันควรจะเป็นไปตามลำดับ จึงจะช่วย
ทำให้เข้าใจขึ้น คือ ทุกสิ่งที่ได้ฟังควรเริ่มต้นตั้งแต่คำว่า คืออะไร เช่น คำว่า
ธัมมะ นาม จิต เจตสิก รูป สติ สมาธิ เป็นต้น เมื่อเข้าใจเป็นไปตามลำดับ
แล้ว เวลาฟังพระธรรมที่ละเอียดขึ้นจะได้ไม่งงกับคำหรือศัพท์บางศัพท์ที่ฟังอยู่
สำหรับคนที่มีปัญญามากในสมัยครั้งพุทธกาล ท่านไม่ต้องมีระบบหรือขั้นตอน
อะไรเลย แต่ในยุคนี้ต่างกัน ต้องใช้เวลาค่อยๆเป็นไปตามลำดับ
มีวิธีการที่จะศึกษาพระธรรม
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อศึกษามาสักระยะแล้วก็พบว่า การศึกษาพระธรรมนั้น
เป็นเรื่องของความเข้าใจโดยตลอด ไม่ว่าจะกำลังอ่านหรือฟังธรรมในเรื่องใด ขอให้
เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังศึกษานั้นจริงๆ โดยไม่ต้องห่วงหรือกังวลกับเรื่อง
ที่เคยศึกษามาแล้ว หรือจะศึกษาต่อๆไป เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมอย่าง
ละเอียดและมากมาย ยากที่จะมีผู้ใดศึกษาตามและจดจำไว้ได้ทั้งหมด
อย่างไรก็ดี พระธรรมที่ทรงแสดงไว้มากมายนั้น ก็เพื่อให้ผู้ศึกษารู้จริงในสิ่งที่กำลัง
ปรากฎในขณะนี้ (ไม่ใช่ขณะอื่น) ซึ่งความรู้จริงนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย หากไม่เริ่ม
ด้วยความเข้าใจจริงๆในสิ่งที่กำลังอ่านหรือกำลังฟังอยู่ในขณะนี้
การศึกษาธรรมต้องเป็นไปตามลำดับ ไม่ว่าใครบุคคลใด สมัยไหนเริ่มจากปัญญาขั้น
การฟัง ขั้นพิจารณา ขั้นภาวนา(สติปัฏฐาน) ต้องเป็นไปตามลำดับเสมอ
การศึกษาธรรมชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า ศึกษาธรรม ดังนั้นต้องเริ่มจากคำว่าธรรม ธรรมคือ
อะไร ฟังให้เข้าใจกับคำนี้จริงๆว่าธรรมคืออะไร แต่ไม่ใช่มาจากการท่องแต่มาจากความ
เข้าใจจริงๆ จึงจะเป็นปัจจัยให้ปัญญาขั้นอื่นๆเจริญขึ้น เมื่อเข้าใจขั้นการฟัง ปัญญา
เจริญขึ้น ธรรมนั่นเองทำหน้าที่ รู้ตามความเป็นจริง คือระลึกลักษณะของสภาพธรรม
ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา นี่เป็นการศึกษาธรรม คือศึกษรู้ตัวธรรมจริงๆ โดยอาศัยการฟังให้
เข้าใจในเรื่องของสภาพธรรม เป็นปัจจัยให้สติและปัญญาเกิดศึกษาตัวธรรมที่มีจริงใน
ขณะนี้ ขอย้ำว่า การศึกษาธรรมไม่ใช่พยายามให้รู้ชื่อมากๆ อะไรไม่รู้จะต้องรู้ ไม่ควร
ลืมจุดประสงค์ของการศึกษาธรรม ที่ถูกต้องคือเพื่อรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เมื่อรู้แล้ว
ปัญญาทำหน้าที่ละกิเลสเอง หากมีความเข้าใจที่ถูฏต้องแล้วไม่ว่าศึกษาในส่วนใด
ของพระไตรปิฎก ก็เพื่อเข้าใจความจริงที่มีในขณะนี้และขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน
ทุกอย่างต้องเป็นไปตามลำดับ จากเบื้องต้นถึงสูงสุด
คำว่า วิญญาณ ตามนัยของปฏิจจสมุปบาท หมายถึง โลกียวิบาก ๓๒
ไม่รวมวิญญาณอื่น (กุศลจิต อกุศลจิต กิริยาจิต โลกกุตรวิบาก)
คำว่า นามรูป ที่เกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นาม หมายถึง เจตสิกที่เกิดร่วมกับ
โลกียวิบาก รูป หมายถึง กัมมชรูป คือรูปที่เกิดจากกรรมเท่านั้น
สรุปคือ วิญญาณในปฏิจจสมุปบาทต่างจากวิญญาณขันธ์ เพราะวิญญาณขันธ์ท่าน
หมายรวมจิตทุกประเภท และรูปก็เช่นกัน รูปขันธ์คือรูปทั้งหมด แต่ในปฏิจจสมุปบาท
หมายเอา กัมมชรูปเท่านั้น
|