Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

โลกุตตร

พฤหัสฯ. 27 ส.ค. 2009 5:13 pm

โลกุตตรกุศลจิต.

เป็นปัจจัยให้ โลกุตตรวิบากจิต เกิด สืบต่อ ทันที.!


ไม่มีจิตอื่นเกิดคั่นได้เลย.


และ กุศลอื่นทั้งหมด ไม่สามารถที่จะให้ผล ทันที.


กุศลจิตอื่น ทั้งหมด

ไม่เป็นปัจจัยให้ กุศลวิบากจิตอื่น ทั้งหมด

เกิดสืบต่อจากกุศลจิตนั้น ๆ


หมายความว่า


โลกุตตรกุศลจิต.

เป็นปัจจัยให้ โลกุตตรวิบาก เกิดสืบต่อทันที.


โดยไม่มี จิตอื่น เกิดคั่นได้เลย.!


ระหว่าง โลกุตตรกุศลจิต ซึ่งเป็น เหตุ

และ โลกุตตรวิบากจิต ซึ่งเป็น ผล.


เช่น


ทันที ที่ โสตาปัตติมัคคจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรกุศลจิต ดับไป

ก็เป็นปัจจัยให้ โสตาปัตติผลจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรวิบากจิต

เกิดสืบต่อ ทันที.


และ


ทันที ที่ สกทาคามิมัคคจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรกุศลจิต ดับไป

ก็เป็นปัจจัยให้ สกทาคามิผลจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรวิบากจิต

เกิดสืบต่อ ทันที.


และ


ทันที่ ที่ อนาคามิมัคคจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรกุศลจิต ดับไป

ก็เป็นปัจจยให้ อนาคามิผลจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรวิบากจิต

เกิดสืบต่อ ทันที.


และ


ทันที ที่ อรหัตตมัคคจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรกุศลจิต ดับไป

ก็เป็นปัจจัยให้ อรหัตตผลจิต

ซึ่งเป็น โลกุตตรวิบากจิต

เกิดสืบต่อ ทันที.


.


ฉะนั้น

โลกุตตรวิบากจิต ทั้ง ๔ ประเภท.


คือ

โสตาปัตติผลจิต ๑.

สกทาคาผลจิต ๑.

อนาคามิผลจิต ๑.

อรหัตตผลจิต ๑.


ไม่ได้ทำ ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ และ จุติกิจ.


.


ดังนั้น


โลกุตตรวิบากจิต ทั้ง ๔ ประเภท ดังกล่าว

จึงไม่เหมือน โลกิยกุศลวิบากจิต และ อกุศลวิบากจิต.


.


ขณะที่ โลกุตตรกุศลจิต ดับไป

เป็นปัจจัยให้ โลกุตตรวิบากจิต เกิดขึ้น สืบต่อ ทันที

โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์.


.


ฉะนั้น

ผลจิต ซึ่งเป็น โลกุตตรวิบากจิต นั้น

จึงเป็น ชวนวิถีจิต เช่นเดียวกับ โลกุตตรกุศลจิต.


ผลจิต

เป็น "วิบากจิตประเภทเดียวเท่านั้น"

ที่เป็น "ชวนวิถีจิต"

ซึ่งทำชวนกิจ โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์.


.


โลกุตตรกุศลจิต.

เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว เท่านั้น ในสังสารวัฏฏ์.


เป็นการดับกิเลส เป็นสมุจเฉท

ตามระดับขั้น ของ โลกุตตรกุศลจิต ทั้ง ๔ ประเภท.


คือ


โสตาปัตติมัคคจิต.


( เกิดขึ้นทำชวนกิจ โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์

ซึ่ง ดับกิเลส และบรรลุเป็นพระโสดาบัน.

โสตาปัตติมัคจิต

เกิดขึ้นและดับไป เพียง ๑ ขณะเท่านั้น ในสังสารวัฏฏ์)



สกทาคามิมัคคจิต.


( เกิดขึ้นทำชวนกิจ โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์

ซึ่ง ดับกิเลส และ บรรลุเป็นพระสกทาคามี.

สกทาคามิมัคคจิต

เกิดขึ้นและดับไป เพียง ๑ ขณะเท่านั้น ในสังสารวัฏฏ์)



อนาคามิมัคคจิต.


( เกิดขึ้นทำชวนกิจ โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์

ซึ่ง ดับกิเลส และ บรรลุเป็นพระอนาคามี.

อนาคามิมัคคจิต

เกิดขึ้นและดับไป เพียง ๑ ขณะเท่านั้น ในสังสารวัฏฏ์)



อรหัตตมัคคจิต.


( เกิดขึ้นทำชวนกิจ โดยมี นิพพาน เป็นอารมณ์

ซึ่ง ดับกิเลส และ บรรลุเป็นพระอรหันต์.

อรหัตตมัคคจิต

เกิดขึ้นและดับไป เพียง ๑ ขณะเท่านั้น ในสังสารวัฏฏ์)


.
.
.


(การดับกิเลส ต้องเป็นไปตามลำดับขั้น ดังนี้ คือ

ระดับพระโสดาบัน

ระดับพระสกทาคามี

ระดับพระอนาคามี

และ ระดับพระอรหันต์

ตามลำดับ.)


.


แต่

โลกุตตรวิบากจิต ที่เกิดสืบต่อจาก โลกุตตรกุศลจิต นั้น

มี นิพพาน เป็นอารมณ์ อีก ๒ หรือ ๓ ขณะ ได้

ตามประเภทของบุคคล.


.


พระโสดาบัน

ยังเกิดอีก อย่างมาก ไม่เกิน ๗ ชาติ.


แต่

ปฏิสนธิจิต ของพระโสดาบัน

ไม่ใช่ โสตาปัตติผลจิต ซึ่งทำกิจปฏิสนธิ.

ดังนั้น

ก็แล้วแต่ ว่า พระโสดาบันบุคคลนั้น ๆ จะเกิดในภูมิใด

ซึ่งเป็น กิจของวิบากจิต ในระดับของภูมินั้น ๆ

ซึ่ง ทำกิจ ปฏิสนธิ คือ เกิดในภูมินั้น ๆ



เช่น


ถ้าหาก พระโสดาบันบุคคลนั้น เกิดในสวรรค์ชั้นใด ๆ

ก็หมายความว่า

กามาวจรกุศลวิบากจิต

เป็นปัจจัยให้ ปฏิสนธิในสวรรค์ชั้นนั้น ๆ


หรือ

ถ้าหาก พระโสดาบันบุคคลนั้น เกิดในพรหมภูมิใด ๆ

ก็หมายความว่า

รูปาวจรวิบากจิต หรือ อรูปวจรวิบากจิต

เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิ ในพรหมภูมิ นั้น ๆ


.


ฉะนั้น

คำว่า "ภูมิ" มี ๒ ความหมาย.


คือ

หมายถึง ภูมิ ซึ่งเป็นระดับขั้นของจิต.


และ

หมายถึง ภูมิ ซึ่งเป็นที่เกิดของสัตว์โลก.


.


ภูมิ ซึ่งเป็น ระดับขั้นของจิต มี ๔ ภูมิ.


คือ


กามาวจรจิต ๑.

รูปาวจรจิต ๑.

อรูปาวจรจิต ๑.

โลกุตตรจิต ๑.


.


ภูมิ ซึ่งเป็นที่เกิดของสัตว์โลก

หมายถึง โอกาสโลก ซึ่งเป็นสถานที่เกิดของสัตว์โลก

ซึ่งมี ๓๑ ภูมิ

ตามระดับขั้นของจิต.


คือ


กามภูมิ ๑๑ ภูมิ

รูปพรหมภูมิ ๑๖ ภูมิ

อรูปพรหมภูมิ ๔ ภูมิ


กรรมที่เกิดทางทวารทั้ง ๓ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เมื่อครบองค์

ย่อมเป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิเกิดขึ้นได้ ทางมโนกรรมตัวอย่าง ฝ่ายอกุศล เช่น

ผู้มีความเห็นผิด(นิยตมิจฉาทิฏฐิ) ฝ่ายกุศลกรรมเพียงเกิดกุศลจิตเลื่อมใสใน

พระพุทธเจ้า เป็นต้นก็ทำให้เกิดในสวรรค์ ซึ่งก็มีตัวอย่างมาก เช่นมัฏฐกุณฑลี

เป็นต้น

Re: โลกุตตร

พฤหัสฯ. 27 ส.ค. 2009 9:27 pm

อนุโมทนาด้วยครับ ชอบเรื่องมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรจริง ๆ :P
ตอบกระทู้