นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 12:19 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: การถวายเงิน
โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 30 ส.ค. 2009 9:16 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
ถวายเงินกับพระสงฆ์เป็นการกระทำที่ไม่สมควร พระพุทธองค์ทรงตำหนิทั้งผู้รับและผู้ให้

คือ สำหรับผู้รับทรงบัญญัติพระวินัยปรับอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ต้องสละทิ้งเงินก่อนจึงปลง

อาบัติได้ ส่วนผู้ถวายทรงแสดงเรื่องการให้ทานแบบอสัตบุรุษคือผู้ไม่ฉลาดย่อมถวายของที่

เป็นอกัปปิยะ คือ ของที่ไม่สมควรแก่บรรพชิต ส่วนพระสงฆ์แม้รับเพื่อผู้อื่นก็เป็นอาบัติและ

การพัฒนาหรือช่วยเหลือสังคมไม่ใช่กิจของสงฆ์
เงิน ทอง ( สิ่งอื่น ๆ ที่ใช้แทนเงินทอง) ไม่ใช่ปัจจัย4 ของพระภิกษุ เพราะปัจจัย 4

ของพระภิกษุ ได้แก่ อาหารบิณฑบาตร 1 จีวร 1 ที่อยู่ 1 ยารักษาโรค 1 เท่านั้น

ธุระของพระภิกษุ ก็มีเพียง 2 อย่าง คือ

1 คันถธุระ คือ ศึกษาพระธรรม ( จากพระไตรปิฎก หรือจากผู้รู้พระไตรปิฎก )

2 วิปัสสนาธุระ คือ อบรมเจริญวิปัสสนาเพื่อความเป็นพระอรหันต์









ในการรับเองหรือใช้ให้รับนั้นมีวินิจฉัยดังนี้

เป็นอาบัติตัวเดียวแก่ภิกษุผู้รับเอง หรือใช้ให้รับวัตถุสิ่งเดียวในบรรดาภัณฑะ คือ เงินทองทั้ง

กหาปณะและมาสก ถ้าแม้นว่าภิกษุรับเองหรือใช้ให้รับตั้งพันอย่างรวมกัน เป็นอาบัติมากตาม

จำนวนวัตถุ ฯลฯ ถ้าแม้นภิกษุยินดีด้วยจิตเป็นผู้ใคร่เพื่อจะรับเอาด้วยกายหรือวาจา แต่ปฏิเสธ

ว่านี้ไม่ควรไม่เป็นอาบัติ.. บรรดาไตรทวารอันภิกษุห้ามแล้วด้วยทวารใดทวารหนึ่งย่อมเป็นอัน

ห้ามแล้วแท้ แต่ถ้าไม่ห้ามด้วยกายวาจารับอยู่ด้วยจิตต้องอาบัติ

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ หน้า ๙๔๗

หลักการใช้ทรัพย์ของคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน พระพุทธองค์แสดงไว้มากในพระสูตร

ต่างๆ เช่น ในสิงคาลกสูตร ในปัตตกัมมสูตร เป็นต้น สำหรับบางท่าน ในชาติก่อน

ทำกุศลฝ่ายทานไว้น้อยชาตินี้จึงขัดสนโภคทรัพย์ บางครั้งเงินทองขาดมือ ทำให้

ลำบากในการดำรงชีวิต ต้องเที่ยวขอยืมในที่ต่างๆ ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง ก็เป็น

ความทุกข์ของคนจนในโลกนี้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นผลของเหตุในชาติก่อน การป้องกัน

ระยะยาวก็คือทำเหตุที่ดี เหตุที่ทำให้มั่งมีไม่ขัดสนเรื่องโภคทรัพย์ ก็คือการให้ทาน ผู้

ที่ไม่ตระหนี่ย่อมบริบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ในที่ที่เขาเกิดแล้ว อีกอย่างหนึ่งผู้ที่มีปัญญาแม้

ไม่มีโภคทรัพย์ก็เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข ดังพระอริยสาวกทั้งหลาย ท่านไม่ยากจน

ทรัพย์ภายในคืออริยทรัพย์ ฉะนั้นปัญญาจึงประเสริฐที่สุด
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

๒. มัจฉริสูตร

ฯ ล ฯ

คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมให้ทานไม่-

ได้ ภัยนั้นนั่นแลย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่

ให้ทาน คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและ

ความกระหายใด ความหิวและความกระ-

หายนั้นย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้นนั่นแล ผู้

เป็นพาลทั้งในโลกนี้ และในโลกหน้า

ฉะนั้น บุคคลควรกำจัดความตระหนี่

อันเป็นสนิมในใจ ให้ทานเถิด เพราะบุญทั้ง

หลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลก

หน้า.

ฯ ล ฯ



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓- หน้าที่ 277

๑. มหากัจจายนเถรคาถา

บุคคลผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้นทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้

ส่วนบุคคลถึงจะมีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา

ฯลฯ

การปฏิบัติในเรื่องเงินและทองของพุทธบริษัท

อรรถกถาพระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ (สมันตปาสาทิกา)

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

[ว่าด้วยกัปปิยการกและไวยาวัจกร]

ถามว่า ก็ในกัปปิยการกทั้งปวง จะพึงปฏิบัติอย่างนี้หรือ ?

แก้ว่า ไม่ต้องปฏิบัติ (อย่างนี้เสมอไป).

แท้จริง ชื่อว่า กัปปิยการกนี้ โดยสังเขปมี ๒ อย่าง คือ ผู้ที่ถูก

แสดง ๑ ผู้ที่มิได้ถูกแสดง ๑, ใน ๒ พวกนั้น กัปปิยการกผู้ที่ถูกแสดง

มี ๒ คือ ผู้ที่ภิกษุแสดงอย่างหนึ่ง ผู้ที่ทูตแสดงอย่างหนึ่ง. แม้กัปปิยการกที่

ไม่ถูกแสดงก็มี ๒ อย่าง คือ กัปปิยการกผู้ออกปากเป็นเองต่อหน้า ๑

กัปปิการกลับหลัง ๑. บรรดากัปปิยการก ที่ภิกษุแสดงเป็นต้นนั้น

กัปปิยการกที่ภิกษุแสดง มี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจต่อหน้าและลับหลัง.

กัปปิยการกที่ทูตแสดงก็เช่นเดียวกันแล.

อย่างไร ? คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมส่งอกัปปิยวัตถุไปด้วย

ทูต เพื่อประโยชน์แก่จีวรสำหรับภิกษุ. ทูตเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น กล่าวว่า

ท่านขอรับ ! ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ ส่งอกัปปิยวัตถุนี้มาเพื่อประโยชน์แก่จีวร

สำหรับท่าน, ขอท่านจงรับอกัปปิยวัตถุนั้น. ภิกษุห้ามว่า อกัปปิยวัตถุนี้

ไม่สมควร. ทูตถามว่า ท่านขอรับ ! ก็ไวยาวัจกรของท่านมีอยู่หรือ ? และ

ไวยาวัจกรทั้งหลายที่พวกอุบาสก ผู้ต้องการบุญสั่งไว้ว่า พวกท่านจงทำ

การรับใช้แก่ภิกษุทั้งหลาย หรือไวยาวัจกรบางพวกเป็นเพื่อนเคยเห็น

เคยคบกันมา ของภิกษุทั้งหลายมีอยู่. บรรดาไวยาวัจกรเหล่านั้น คนใด

คนหนึ่ง นั่งอยู่ในสำนักของภิกษุ ในขณะนั้น. ภิกษุแสดงเขาว่า ผู้นี้

เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ดังนี้. ทูตมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของ

ไวยาวัจกรนั้น สั่งว่า ท่านจงซื้อจีวรถวายพระเถระ ดังนี้ แล้วไป. นี้

ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดงต่อหน้า.

ถ้าไวยาวัจกร มิได้นั่งอยู่ในสำนักของภิกษุ, อนึ่งแล ภิกษุย่อม

แสดงขึ้นว่า คนชื่อนี้ ในบ้านชื่อโน้น เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย.

ทูตนั้นไปมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของไวยาวัจกรนั้นสั่งว่า ท่านพึงซื้อ

จีวรถวายพระเถระ มาบอกแก่ภิกษุแล้วจึงไป. ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่า

ผู้อันภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างหนึ่ง.

ก็แล ทูตนั้นมิได้มาบอกด้วยตนเองเลย แต่กลับวานผู้อื่นไปบอกว่า

ท่านขอรับ ! ทรัพย์สำหรับจ่ายค่าจีวร ผมได้มอบไว้ในมือผู้นั้น, ขอท่าน

พึงรับเอาจีวรเถิด. ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่าผู้อันภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า

อย่างที่สอง.

ทูตนั้น มิได้วานคนอื่นไปเลย, แต่ไปบอกภิกษุเสียเองแลว่า ผม

จักมอบทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ในมือแห่งผู้นั้น, ขอท่านพึงรับเอาจีวรเถิด.

ผู้นี้ชื่อว่า ไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างที่สาม. ด้วยประการ

ดังกล่าวมานี้ ไวยาวัจกร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ ผู้ที่ภิกษุแสดงต่อหน้า

จำพวกหนึ่ง ผู้ที่ภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า ๓ จำพวก ชื่อว่าไวยาวัจกรที่

ภิกษุแสดง. ในไวยาวัจกร ๔ จำพวกนี้ ภิกษุพึงปฏิบัติ โดยนัยที่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในราชสิกขาบทนี้แล.

ภิกษุอีกรูปหนึ่งถูกทูตถามแล้ว โดยนัยก่อนนั่นแล เพราะไวยาวัจกร

ไม่มี หรือเพราะไม่อยากจะจัดการ จึงกล่าวว่า พวกเรา ไม่มีกัปปิยการก

และในขณะนั้นมีคนบางคนผ่านมา, ทูตจึงมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของ

เขา แล้วกล่าวว่า ท่านพึงรับเอาจีวรจากมือของผู้นี้เถิด แล้วไปเสีย,

ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่าผู้อันทูตแสดงต่อหน้า.

ยังมีทูตอื่นอีกเข้าไปยังบ้านแล้ว มอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของผู้ใด

ผู้หนึ่ง ที่ชอบพอกับตน แล้วมาบอก หรือวานผู้อื่นไปบอกโดยนัยก่อน

นั่นแล หรือกล่าวว่า ผมจักให้ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ในมือของคนชื่อ

โน้น, ท่านพึงรับเอาจีวรเถิด ดังนี้ แล้วไปเสีย. ไวยาวัจกรที่ ๓ นี้ชื่อว่า

ผู้ที่ทูตแสดงไม่พร้อมหน้า ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ไวยาจักร ๔ จำพวก

เหล่านี้ คือไวยาวัจกรที่ทูตแสดงต่อหน้าจำพวกหนึ่ง ไวยาวัจกรที่ทูตแสดง

ไม่พร้อมหน้า ๓ จำพวก ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ทูตแสดง. ในไวยาจักร ๔

จำพวกเหล่านี้ ภิกษุพึงปฏิบัติ โดยนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน

เมณฑกสิกขาบทนั่นแล.

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่

พวกมนุษย์ที่มีศรัทธาเลื่อมใส, มนุษย์เหล่านั้น ย่อมมอบหมายเงิน และ

ทองไว้ในมือแห่งกัปปิยการกทั้งหลายสั่งว่า พวกท่านจงจัดของที่ควร

ถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า ด้วยเงินและทองนี้ ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาต

ให้ยินดี สิ่งของซึ่งเป็นกัปปิยะจากเงินและทองนั้น, ภิกษุทั้งหลาย ! แต่

เราหากล่าวไม่เลยว่า ภิกษุพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน โดยปริยาย

ไร ๆ.

ในอธิการแห่งไวยาวัจกร ๔ จำพวกที่ทูตแสดงนี้ ไม่มีกำหนดการ

ทวง. การที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีมูลค่า ยินดีแต่กัปปิยภัณฑ์โดยการทวงหรือการ

ยืน แม้ตั้งพันครั้ง ก็ควร. ถ้าไวยาวัจกรนั้นไม่ให้, แม้จะพึงตั้งกัปปิย-

การกอื่น ให้นำมาก็ได้. ถ้ากัปปิยการกอื่นปรารถนาจะนำมา, ภิกษุพึง

บอกแม้แก่เจ้าของเดิม. ถ้าไม่ปรารถนา, ก็ไม่ต้องบอก.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ถูกทูตถามโดยนัยก่อนเหมือนกัน กล่าวว่า พวก

เราไม่มีกัปปิยการก. คนอื่นจากทูตนั้น ยืนอยู่ใกล้ ๆ ได้ยินจึงกล่าวว่า

ผู้เจริญ ! โปรดนำมาเถิด, ผมจักจ่ายจีวรถวายพระคุณเจ้า ดังนี้. ทูตกล่าว

ว่า เชิญเถิด ท่านผู้เจริญ ! ท่านพึงถวาย แล้วมอบไว้ในมือของผู้นั้น

ไม่บอกแก่ภิกษุเลย ไปเสีย. นี้ชื่อว่ากัปปิยการกผู้ออกปากเป็นเองต่อหน้า.

ทูตอีกคนหนึ่งมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมืออุปัฏฐากของภิกษุ หรือคน

อื่นสั่งว่า ท่านพึงถวายจีวรแก่พระเถระ แล้วหลีกไปจากที่นั่นทีเดียว. นี้

ชื่อว่า กัปปิยการกลับหลัง ; ฉะนั้น กัปปิยการกทั้งสองนี้จึงชื่อว่า กัปปิย-

การกที่ทูตไม่ได้แสดง. ในกัปปิยการกทั้ง ๒ นี้ พึงปฏิบัติเหมือนในอัญญา-

ตกสิกขาบท และอัปปวาริตสิกขาบทฉะนั้น. ถ้ากัปปิยการกที่ทูตมิได้

แสดงทั้งหลาย นำจีวรมาถวายเอง ภิกษุพึงรับ, ถ้าไม่ได้นำมาถวาย,

อย่าพึงพูดคำอะไร ๆ.

ก็คำว่า ทูเตน จีวรเจตาปน ปหิเณยฺย นี้ สักว่าเป็นเทศนาเท่านั้น.

ถึงในพวกกัปปิยการกแม้ผู้นำอกัปปิยวัตถุมาถวาย เพื่อประโยชน์แก่

บิณฑบาตเป็นต้นด้วยตนเอง ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ภิกษุจะรับเพื่อ

ประโยชน์แก่ตนเองอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สมควร.

[วิธีปฏิบัติในเรื่องเงินและทองที่มีผู้ถวาย]

ถ้าใคร ๆ นำเอาทองและเงินมากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายทองและเงิน

นี้แก่สงฆ์, ท่านทั้งหลายจงสร้างอาราม วิหาร เจดีย์ หรือหอฉันเป็นต้น

อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม, จะรับทองและเงินแม้นี้ไม่ควร. ในมหาปัจจรี

ท่านกล่าวไว้ว่า ด้วยว่าเป็นทุกกฏแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้รับเพื่อประโยชน์

แก่ผู้อื่น. ก็ถ้าเมื่อภิกษุปฎิเสธว่า ภิกษุทั้งหลายจะรับทองและเงินนี้ ไม่

สมควร. เขากล่าวว่า ทองและเงินจักอยู่ในมือของพวกช่างไม้ หรือพวก

กรรมกร, ท่านทั้งหลายจงรับทราบการงานที่เขาทำดี และไม่ดีอย่างเดียว

ดังนี้แล้ว มอบไว้ในมือพวกช่างไม้ หรือพวกกรรมกรเหล่านั้นจึงหลีกไป,

จะรับก็ควร, ถ้าแม้น เขากล่าวว่า ทองและเงินจักอยู่ในมือของพวกคน

ของผมเอง, หรือว่าจักอยู่ในมือของผมเอง, ท่านพึงส่งข่าวไปเพื่อ

ประโยชน์แก่บุคคลผู้ที่เราจะต้องให้ทองและเงินเขาอย่างเดียว, แม้อย่างนี้

ก็ควร.

ก็ถ้าว่าพวกเขาไม่ระบุสงฆ์ คณะ หรือบุคคล กล่าวว่า ข้าพเจ้า

ทั้งหลายถวายเงิน และทองนี้แก่เจดีย์, ถวายแก่วิหาร, ถวายเพื่อนวกรรม

ดังนี้ จะปฏิเสธไม่สมควร. พึงบอกแก่พวกกัปปิยการกว่า ชนพวกนี้กล่าว

คำนี้. แต่เมื่อเขากล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงรับเก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่เจดีย์

เป็นต้นเถิด พึงปฏิเสธว่า การที่พวกเรารับไว้ไม่สมควร.

แต่ถ้าคนบางคนนำเอาเงิน และทองมามากกล่าวว่า ข้าพเจ้าขอ

ถวายเงินและทองนี้แก่สงฆ์, ท่านทั้งหลายจงบริโภคปัจจัย ๔ เถิด, ถ้า

สงฆ์รับเงินและทองนั้น เป็นอาบัติทั้งเพราะรับ ทั้งเพราะบริโภค. ถ้า

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งปฏิเสธว่า สิ่งนี้ไม่ควร. และอุบาสก

กล่าวว่า ถ้าไม่ควรจักเป็นของผมเสียเอง ดังนี้แล้วไป, ภิกษุนั้นอันภิกษุ

บางรูปไม่พึงกล่าวคำอะไร ๆ ว่า เธอทำอันตรายลาภของสงฆ์, เพราะ

ภิกษุใดโจทเธอ, ภิกษุนั่นเองเป็นผู้มีอาบัติติดตัว. แต่เธอรูปเดียวกระทำ

ภิกษุเป็นอันมากไม่ให้เป็นอาบัติ. ก็ถ้าว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายปฏิเสธว่า

ไม่ควร เขากล่าวว่า จักอยู่ในมือของพวกกัปปิยการก หรือจักอยู่ในมือ

ของพวกคนของผม หรือในมือของผม, ท่านทั้งหลาย จงบริโภคปัจจัย

อย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้, สมควรอยู่.

อนึ่ง เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่จตุปัจจัย พึงน้อมไปเพื่อปัจจัย

ที่ต้องการ. เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่จีวร พึงน้อมไปในจีวรเท่านั้น.

ถ้าว่าไม่มีความต้องการจีวรนั้น, สงฆ์ลำบากด้วยปัจจัยมีบิณฑบาตเป็นต้น

พึงอปโลกน์เพื่อความเห็นดีแห่งสงฆ์แล้วน้อมไป แม้เพื่อประโยชน์แก่

บิณฑบาตเป็นต้น. แม้ในอกัปปิยวัตถุที่เขาถวาย เพื่อประโยชน์แก่

บิณฑบาตและคิลานปัจจัย ก็นัยนี้.

อนึ่ง อกัปปิยวัตถุที่เขาถวายเพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ พึงน้อม

ไปในเสนาสนะเท่านั้น เพราะเสนาสนะเป็นครุภัณฑ์. ก็ถ้าว่า เมื่อพวก

ภิกษุละทิ้งเสนาสนะไป เสนาสนะจะเสียหาย, ในกาลเช่นนี้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย แม้จำหน่ายเสนาสนะแล้วบริโภค

(ปัจจัย) ได้.

เพราะฉะนั้น เพื่อรักษาเสนาสนะไว้ ภิกษุอย่ากระทำให้ขาดมูลค่า

พึงบริโภคพอยังอัตภาพให้เป็นไป. และมิใช่แต่เงินทองอย่างเดียวเท่านั้น,

แม้อกัปปิยวัตถุอื่นมีนาและสวนเป็นต้น อันภิกษุไม่ควรรับ.

พรรณนาราชสิกขาบทในอรรถกถาพระวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกาจบ

ความยากจนและความร่ำรวยเป็นธรรมประจำโลก เป็นของธรรมดาทุกยุค

ทุกสมัย จะมีพระศาสนาหรือไม่มีพระศาสนา ความยากจนและความร่ำรวยก็

ต้องปรากฏให้เห็นได้ ศาสนาคือคำสอน จะเจริญหรือเสื่อมไม่ได้อยู่ที่เงินทอง

แต่อยู่ที่มีผู้สนใจศึกษามากหรือน้อย


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 323



๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร

ว่าด้วยเหตุเสื่อมและเหตุเจริญแห่งศาสนา



[๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑

ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดย

เคารพ ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญ

แห่งสัทธรรม.



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น

ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ ๑ เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑ ทรงจำ

ธรรมโดยเคารพ ๑ ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑ รู้อรรถรู้

ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.



จบปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 446



๑. กิมพิลสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม



[๒๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

ใกล้เมืองกิมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมพิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ค รั้นแล้วได้ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรม

ไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา เป็นผู้ไม่มี

ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม เป็นผู้ไม่มีความเคารพไม่มีความยำเกรง

ในสงฆ์ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา เป็นผู้ไม่มีความ

เคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน ดูก่อนกิมพิละนี้ แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง

ให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 67 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO