นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พุธ 15 ม.ค. 2025 6:16 pm

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ขณะหลับมีเวทนาหรือ
โพสต์โพสต์แล้ว: อังคาร 01 ก.ย. 2009 9:03 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
ขณะที่กำลังหลับ....มีเวทนาเจตสิกไหม.?


.


ธรรมะ

เป็นเรื่องที่น่าคิด น่าพิจารณา.!


เพราะยิ่งคิด ยิ่งพิจารณา

ก็ยิ่งทำให้ "เข้าใจ" ธรรมะ ได้แจ่มแจ้ง ยิ่งขึ้น.


ฉะนั้น

จึงน่าคิด น่าพิจารณา ว่า


ขณะที่กำลังหลับสนิท....มีความรู้สึกไหม.?


.


ขณะที่กำลังนอนหลับสนิท.


ขณะนั้น..........

ไม่มีการรู้อารมณ์ใด ๆ ในโลกนี้เลย.!


ไม่ว่าจะเป็น การรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก

ทางลิ้น ทางกาย

และ ทางใจ...ซึ่ง ไม่ได้คิดนึก ไม่ได้ฝัน.


.


แต่เมื่อยังเป็นผู้ที่ไม่ได้สิ้นชีวิต

ก็ย่อมมี "จิต" ซึ่งเกิด-ดับ รู้อารมณ์(ของภวังคจิต)

ก็คือ "ภวังคจิต"


.


"ภวังคจิต"

กระทำกิจ ดำรงภพชาติของความเป็นบุคคล ในภพชาตินี้.


จนกว่าจะ ตื่นขึ้นมา และ รู้อารมณ์ในโลกนี้

ทั้ง ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ

จนกว่าจะถึงเวลาที่หลับไปอีก.


.


ดังนั้น

ขณะที่กำลังหลับสนิท

จะไม่รู้อารมณ์ใด ๆ ในโลกนี้เลย สักอย่างเดียว.!

ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก

ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.


.


แต่ขณะที่กำลังหลับสนิท

จิต ก็เกิด-ดับ-สืบต่อกันอยู่เรื่อย ๆ


ซึ่ง นามขันธ์ ทั้ง ๔.

คือ จิต และ เจตสิก

ต้องเกิด-ดับ ร่วมกัน

แยกกันไม่ได้เลย....!


(นามขันธ์ ๔

คือ จิต ๑.

หมายถึง วิญญาณขันธ์

เจตสิก ๓.

หมายถึง เวทนาขันธ์ ๑. สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑.)


.


ฉะนั้น

ขณะที่กำลังหลับสนิท

เป็น วิบากจิต (ภวังคจิต)

เป็น ผลของอดีตกรรม.


เพราะเหตุ คือ วิบากจิต (ภวังคจิต) เกิด-ดับ-สืบต่อ

กระทำกิจดำรงภพชาติอยู่

ทำให้บุคคลที่กำลังหลับสนิทนั้น ยังไม่สิ้นชีวิต.


และ ขณะใด ที่จิตเกิดขึ้น (ภวังคจิต)

ขณะนั้น...ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย.!


ฉะนั้น

"เวทนาเจตสิก"

ที่เกิดกับ ภวังคจิต

(ในขณะที่กำลังหลับสนิท)

เป็น วิบากเจตสิก.


เวทนาจตสิก ชาติวิบาก

ซึ่งเกิดขึ้น พร้อมกับ ภวังคจิต แต่ละขณะ.

รู้อารมณ์เดียวกัน

และ ดับพร้อมกัน กับภวังคจิตแต่ละขณะนั้น ๆ


.


อารมณ์ของภวังคจิต แต่ละขณะ

ไม่ใช่อารมณ์ ที่ปรากฏในโลก (ทางหกทวาร) นี้.


ฉะนั้น

ขณะที่กำลังหลับสนิท

จึงไม่รู้สึกตัว อย่างเช่นขณะที่เห็นทางตา

หรือ ได้ยินทางหู เป็นต้น.


.


ไม่มีใครสามารถ รู้ "ลักษณะของเวทนาเจตสิก"

ซึ่งเกิดขึ้นขณะที่กำลังหลับสนิท ได้.!


แต่ ขณะที่ตื่นขึ้นมา..............

ก็น่าคิดอีก ว่า...."อะไร" ตื่น.?


ขณะที่กำลังหลับสนิท............

ก็น่าคิด ว่า..... "อะไร" หลับ.?


.
.
.




รูป ไม่ใช่ สภาพรู้

รูป

จึง ไม่ตื่น ไม่หลับ.!


แต่

นามธรรม เป็น สภาพรู้


ฉะนั้น

เมื่อ สภาพรู้...ไม่รู้ อารมณ์ ในโลกนี้

จึงชื่อว่า "หลับ"


เพียง "หลับ" แต่ ยังไม่สิ้นชีวิต...............

เพราะว่ายังมี "ภวังคจิต" เกิด-ดับ-สืบต่อ

กระทำกิจ.....ดำรงภพชาติอยู่ นั่นเอง.

ขณะที่ตื่น นั้น....อะไร ตื่น.?


.


จิต และ เจตสิก นั่นเอง...ที่ ตื่น.!


ตื่น โดยการที่ จิต และ เจตสิก เกิดขึ้น รู้อารมณ์

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย และ ทางใจ.


ฉะนั้น

ขณะใดที่ รู้อารมณ์ ของโลกนี้

ขณะนั้น...ชื่อว่า "ตื่น"


.


แต่ก็ น่าพิจารณา ให้ละเอียดลงไปอีก.......

เพื่อ "ประโยชน์" ต่อการเจริญสติปัฏฐาน.!


เพราะการแสดงธรรม นั้น

จุดประสงค์ เพื่อเกื้อกูลให้ "สติ" เกิดขึ้น

ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

และ เป็น วิริยารัมภกถา

หมายถึง

คำพูด ที่อุปการะ เกื้อกูลให้เกิด วิริยะ

ที่จะระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง นั่นเอง.


.


ฉะนั้น

ก็ควรพิจารณา ว่า

ขณะที่ "ตื่น" นั้น

จิต และ เจตสิก เกิดขึ้น

รู้อารมณ์ของโลกนี้ ตามที่เข้าใจกัน.


แต่ก็น่าคิดพิจารณาให้ "ลึกซึ้ง" ขึ้นอีก ว่า

อะไร ที่ ตื่น.?


.


จิต และ เจตสิก เกิดขึ้น...ตื่น พร้อมกัน.

หมายถึง

จิต และ เจตสิก

ซึ่งเป็น ชาติวิบาก

ได้แก่

จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส

จิตที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย.

(ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐.)


การเกิดขึ้นของ วิบากจิต ดังกล่าว

ยับยั้งไม่ได้เลย.!


วิบากจิต ที่เกิดขึ้นนั้น.......

เกิดแล้ว ต้องดับไปทันที.!


.


จะหลับอยู่ตลอดไป ได้ไหม.?

ไม่มีทาง...ที่จะเป็นไปได้เลย.!


เพราะว่า

กรรม ไม่ได้เป็นปัจจัยให้เพียงเกิดขึ้น (ปฏิสนธิ)

เป็นบุคคลในชาตินี้ แล้วหลับไป จนกระทั่งตาย.


แต่

กรรม เป็นปัจจัยให้ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย

เพื่อเป็นปัจจัยให้ "จิต" (และเจตสิก) เกิดขึ้น รู้อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง

ตามเหตุ ตามปัจจัย.


เช่น

ขณะที่จิต (และเจตสิก) เกิดขึ้น เห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา

ถ้าเป็นสิ่งที่น่าพอใจ....ก็เป็นผลของกุศลกรรม ในอดีต.


และ ถ้าเห็น สิ่งที่ไม่น่าพอใจ..........

ก็เป็น ผลของอกุศลกรรม ในอดีต.


จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส

และ จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย

ก็โดยนัยเดียวกัน.


.


ฉะนั้น

เมื่อเข้าใจแล้ว ว่า

เป็น วิบากจิต และ วิบากเจตสิก

ที่ "ตื่น" และ รู้อารมณ์ที่ปรากฏ

ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

ทางกาย และ ทางใจ

ตามปกติ ตามความเป็นจริง

ในชีวิตประจำวัน.



นอกจากนั้นแล้ว....ยังมี "อะไร" อีก.?


.


นอกจาก การตื่น

ซึ่ง หมายถึง

ขณะที่ วิบากจิต และ วิบากเจตสิก เกิดขึ้น

รู้อารมณ์ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น

และ ทางกาย แล้ว.....


"อกุศลธรรม"

หรือ

"กิเลสทั้งหลาย"

ก็ เริ่มตื่นขึ้นมาด้วย.!


เพราะว่า

ขณะที่กำลังหลับสนิทอยู่นั้น

ยังมี "อนุสัยกิเลส" คือ กิเลสที่ยังไม่ได้ดับ

ซึ่งสั่งสมอยู่ในภวังคจิตทุกขณะ ที่เกิด-ดับ-สืบต่อ

ขณะที่กำลังหลับสนิท.


.


ฉะนั้น

ขณะที่กำลังหลับสนิท

กิเลสที่สั่งสมอยู่.........

(อนุสัยกิเลส)

ไม่ได้เกิดขึ้น....กระทำกิจ คือ ยินดี ยินร้าย ฯ

เพราะยังไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส

และ ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกายใด ๆ........

คือ

ไม่รู้อารมณ์ในโลกนี้เลย.!


.


ฉะนั้น

ขณะที่กำลังหลับสนิท

กิเลสทั้งหลาย ก็ยังหลับอยู่ด้วย.!


และขณะที่ตื่นขึ้นมา

กิเลสทั้งหลาย ก็ตื่นขึ้นมาด้วย.!


.


หมายความว่า

หลังจากที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส

และ รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย

(ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ประเภท.)

ดับไปแล้ว..........

กิเลสทั้งหลาย ก็เกิดขึ้น ร่วมกับจิตขณะต่อไป

เป็น อกุศลจิต ประเภทต่าง ๆ

(อกุศลจิต ๑๒)

ตามเหตุ ตามปัจจัย

ที่ทำให้เกิดอกุศลธรรม ประเภทนั้น ๆ



ในภาษาไทยคำว่า "พระ" มาจากภาษาบาลีว่า วร หรือ วรํ

มีความหมายว่า ประเสริฐ หรือ ผู้ประเสริฐ



จิตเกิดดับสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา สัญญาความทรงจำกระทำกิจจำ หมายรู้ลักษณะ

ของอารมณ์ทุก ๆ ขณะที่เกิด ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่เพียงแต่ภพชาตินี้ ไม่ว่าภพชาติ

ไหนก็ตาม สัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ทุกๆขณะจำได้หมดทุกๆขณะที่มีการเห็น

การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การถูกต้องกระทบสัมผัส และการคิดนึก สัญญาเจตสิก

กระทำกิจจำ หมายรู้ลักษณะของอารมณ์สืบต่อสะสมอยู่ในจิตต่อไปเรื่อยๆ

การอบรมเจริญสติปัฎฐานต้องเริ่มจากการอบรมความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรม

ที่กำลังปรากฎในชีวิตประจำวัน การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การถูกต้อง-

กระทบสัมผัส และการคิดนึก ขณะฟังพระธรรมควรพิจารณาถึงสิ่งที่กำลังปรากฎไม่ว่า

จิตเห็นเกิดขึ้น เป็นสภาพเห็น ก็เป็นเพียงจิตที่เกิดขึ้นทำกิจเห็นเท่านั้น สิ่งที่ปรากฎ


ทางตาก็เป็นเพียงรูปธรรมชนิดหนึ่ง เป็นเพียง สี สัน วรรณะต่างๆ ซึ่งปรากฎกับจิตเห็น

เท่านั้น จิตได้ยินไม่สามารถเห็นสิ่งที่ปรากฎทางตาได้ การฟังแล้วฟังอีกในลักษณะ

สภาพธรรมที่กำลังปรากฎไม่ว่าทางตา ทางหู... สัญญาจำในลักษณะสภาพธรรมที่กำ-

ลังปรากฎแต่ละประเภท จนเป็นสัญญาที่มั่นคง คือ จำในลักษณะสภาพธรรมตรงตาม

ความเป็นจริง ไม่ใช่จำแต่ชื่อว่า จิตเห็น สิ่งที่ปรากฎทางตา จิตได้ยิน เสียง... เป็นต้น

เพราะการจำชื่อ ไม่ได้จำในลักษณะสภาพธรรมก็ไม่เป็นเหตุใกล้ให้สติปัฏฐานเกิดได้

ปัญญาที่ค่อย ๆ อบรม ค่อย ๆ เห็นถูกในลักษณะสภาพธรรมแต่ละอย่าง แต่ละทวารที่

ปรากฎในชีวิตประจำวัน สัญญาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง เกิดขึ้นจำในลักษณะสภาพ

ธรรม จนเป็นสัญญาที่มั่นคงในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ เป็นเหตุใกล้ให้สติ

ปัฏฐานเกิด เมื่อใดที่สติเกิดขณะนั้นหมายความว่า เพราะมีความจำได้มั่นคงว่าขณะนี้

เป็นสภาพธรรม สติจึงเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ

ปฎิสนธิ ภวังค์ จุติ ไม่ใช่วิถีจิต เพราะไม่รู้อารมณ์คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใน

ปัจจุบันชาติที่กระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น และทางกายได้ ปฎิสนธิจิต

ภวังคจิต และจุติจิตในภพชาตินี้นั้น มีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จะจุติในชาติก่อนเป็น

อารมณ์ เพราะฉะนั้น ในภพชาติหนึ่ง ๆ นั้น ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตนั้นจึงมี

อารมณ์เดียวกันคือ อารมณ์เดียวกันกับชวนะสุดท้ายก่อนจุติจิตในชาติก่อนเป็นอารมณ์

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

" ภิกษุทั้งหลาย สำหรับบุคคลสองท่าน

เราไม่กล่าวว่าจะกระทำการตอบแทนคุณได้ง่ายเลย

สองท่านคือใคร คือ มารดาและบิดา

หากบุตรจะพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง

พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอด ๑๐๐ ปี

และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำและการดัด

และท่านทั้งสองนั้นจะพึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ

การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย

บุตรพึงสถาปนาบิดามารดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธปัตย์ในแผ่นดินใหญ่

อันมีรัตนะ ๗ ประการมากหลายนี้

การทำกิจอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย



ข้อนั้นเพราะเหตุไร



เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย

ส่วนว่าบุตรคนใด ยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธาให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา

ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา

ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา

ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญาให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา

ด้วยเหตุมีประการเท่านี้แลการกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่า

อันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา "

จาก...พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้า ๓๕๗-๓๕๘

สภาพธรรมที่มีในขณะนี้เป็นสิ่งที่ควรศึกษา

เพราะเป็นสิ่งที่ควรรูยิ่ง

อันเป็นไปเพื่อดับกิเลส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
ข้อความบางตอนจาก

ภัทเทกรัตตสูตร

ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๕๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่าง:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำตรัส

แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศ

และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงอุเทศและ

วิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าวต่อไป.ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๕๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง

ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ

สิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล

ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่

คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคลนั้น

พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิด

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใคร

เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่งเพราะว่าความ

ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้นย่อม

ไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อม

เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความ

เพียรไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวันและกลาง

คืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO