เมื่อจำแนกจิต โดยภูมิ ๔
คือ
กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตตรภูมิ
จิต ประณีตขึ้น...ตามลำดับขั้น.!
.
แต่
จิตของบุคคลส่วนมาก เป็น กามาวจรภูมิ
คือ
จิต เป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์.
.
กามาวจรภูมิ
เป็น "ภูมิขั้นต้น" ของระดับจิต.
ซึ่ง ได้แก่
ขณะที่ตื่นขึ้นมา.....เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส
รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย หรือ คิดนึกทางใจ.
(ขณะใดขณะหนึ่ง)
จิตเกิดขึ้น
ผลัดเปลี่ยน เวียนไป ทางตา ทางหู ทางจมูก
ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.
.
ในวันหนึ่ง ๆ
จิต ที่กิดขึ้นนั้น นอกจากจะเป็น ภูมิขั้นต้น (กามาวจรจิต) แล้ว
โดย ชาติ (การเกิด) ยังเป็นชาติที่เลว อีกด้วย.!
หมายความว่า
เป็นอกุศลจิต...ที่เกิดขึ้น เป็นประจำ
ขณะที่ กุศลจิต ไม่เกิด.!
เช่น
ขณะที่เห็น ก็เกิดความยินดี ติดข้อง
หรือ ได้ยิน ก็เกิดความยินดี ติดข้อง เป็นต้น.
ซึ่งเป็นปกติธรรมดา.!
เพราะส่วนใหญ่
"โลภมูลจิต" ความยินดี ติดข้อง นั้น
เกิดบ่อยกว่า โทสมูลจิต"
ซึ่งเป็นสภาพจิตที่หยาบกระด้าง ไม่แช่มชื่น.
.
ในวันหนึ่ง ๆ
ต้องยอมรับตามความเป็นจริง ว่า
มีอกุศลจิต มากกว่า กุศลจิต.!
ซึ่งถ้า "ไม่รู้ตามความเป็นจริง" อย่างนี้
ก็ไม่สามารถที่จะอบรม เจริญกุศล ให้พ้นจาก"สภาพของจิตที่เลว"ได้
ซึ่ง เป็นปัจจัยให้ยังคงมีการ "สั่งสมอกุศลจิต" มากเหมือนเดิม.........
และ
ยังมี ความพอใจ ในอกุศลธรรม นั้น ๆ
โดยไม่เห็น ว่า เป็นโทษ อีกด้วย.!
.
ฉะนั้น
ก็ควรทราบ ว่า
ขณะที่ตื่นนั้น...ส่วนใหญ่แล้ว ก็เป็นกิเลสทั้งนั้น ที่ตื่น.!
ไม่ว่าจะเป็น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น
ทางกาย หรือ ทางใจ.
.
แล้วแต่ การสั่งสมกิเลสของแต่ละบุคคล
ว่า กิเลสที่ได้สั่งสมมาในจิต นั้นเอง
จะเป็นปัจจัยให้ วุ่นวายใจ สักแค่ไหน.!
หรือ จะเป็นปัจจัยให้ เดือดร้อนใจ และ กาย
สักแค่ไหน.!
.
ซึ่ง เมื่อเข้าใจอย่างนี้ได้จริง ๆ แล้ว.
ก็เป็นปัจจัยให้เกิด ความขวนขวาย
ที่จะอบรมเจริญกุศล ทุกประการ ยิ่งขึ้น.
ไม่ว่าจะเป็นกุศลขั้นทาน กุศลขั้นศีล กุศลขั้นความสงบของจิต
หรือ กุศลขั้น การเจริญสติปัฏฐาน
คือ การระลึก รู้ ตรงลักษณะของสภาพธรรม
"ที่กำลังปรากฏ-ตามปกติ-ตามความเป็นจริง"
.
ไม่ใช่ว่า จะมีใครสามารถที่จะ ละโลภะ เสียก่อน
แล้วจึงจะอบรมเจริญปัญญา
จนบรรลุเป็นพระโสดาบันได้ ในภายหลัง.!
.
ถึงแม้ว่า โลภะ จะเกิดขึ้น.
"โลภะ"
ก็เป็น สภาพธรรมประเภทหนึ่ง
ที่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย.
"โลภะ"
จึงไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน.
.
ซึ่ง เมื่อมีปัจจัยให้ "สติ" และ "ปัญญา" เกิดขึ้น.
"สติ"
กระทำกิจระลึก ตรงลักษณะของสภาพธรรม
"ที่กำลังปรากฏ-ตามปกติ-ตามความเป็นจริง"
"ปัญญา"
กระทำกิจ รู้ ลักษณะของโลภะ ตามความเป็นจริง.
ว่า โลภะ เป็นสภาพธรรมประเภทหนึ่ง
ซึ่ง เกิด-ดับ.
(โลภะ เป็นอนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เกิด-ดับ ตามเหตุ ตามปัจจัย
เวทนา ๕.....เกิดกับจิตประเภทต่าง ๆ
ดังนี้ คือ
.
"สุขเวทนา"
เกิดกับ กายวิญญาณ-กุศลวิบาก ๑ ขณะ.
"ทุกขเวทนา"
เกิดกับ กายวิญญาณ-อกุศลวิบาก ๑ ขณะ.
"โทมนัสเวทนา"
เกิดกับ....... โทสมูลจิต ๒ ประเภท
คือ
โทมนสฺสสหคต ํ ปฎิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑ ขณะ
หรือ
โทมนสฺสสหคตํ ปฎิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ ๑ ขณะ
"โสมนัสเวทนา"
และ
"อุเบกขาเวทนา"
เกิดกับ
จิต ที่เป็นกุศล ก็ได้
จิต ที่เป็นอกุศล ก็ได
จิต ที่เป็นวิบาก ก็ได้
จิต ที่เป็นกิริยา ก็ได้
.
โทมนัสเวทนา
เกิดกับ จิต ที่เป็นกุศล วิบาก และกิริยา ไม่ได้.!
โทมนัสเวทนา
เกิดได้ เฉพาะกับ จิต ที่เป็นอกุศล เท่านั้น.!
คือ
โทมนสฺสสหคต ํ ปฎิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ ๑ ขณะ
หรือ
โทมนสฺสสหคตํ ปฎิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ ๑ ขณะ
.
ถ้าไม่เข้าใจ ตามความเป็นจริง เรื่องของเวทนา
บางท่าน
อาจจะเข้าใจผิด ว่า อกุศล เป็น กุศล.!
เช่น
ขณะที่เกิดความสงสาร บุคคลที่กำลังทุกข์ยาก เดือดร้อน
และ ใคร่ที่จะช่วยเหลือบุคคลนั้นให้พ้นจากความทุกข์ยาก นั้น
ขณะที่ "กรุณา"
คือ
ขณะที่จิต เกิดขึ้น มีกรุณาเจตสิกเกิดร่วมด้วย
(ร่วมกับโสภณเจตสิกอื่น ๆ ด้วย)
ขณะนั้น เป็น "กุศลจิต"
.
ซึ่ง ต้องรู้ "ลักษณะของเวทนา"
ในขณะที่ "กำลังปรากฏ" ขณะนั้น ๆ ด้วย
ว่า รู้สึก ไม่แช่มชื่น บ้างหรือเปล่า...........?
ถ้าหาก รู้สึกเสียใจ ไม่แช่มชื่น (โทมนัสเวทนา)
ขณะที่รู้สึกอย่างนั้น....เป็น "อกุศลจิต"
ซึ่ง
ไม่ใช่ขณะเดียวกัน กับ ขณะที่ จิตเกิดร่วมกับกรุณาเจตสิก.!
และ เมื่อเข้าใจอย่างนี้
ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความละคลาย ความรู้สึกเสียใจ (โทมนัสเวทนา)
ซึ่งเป็น "อกุศลจิต"
และสามารถที่จะช่วยเหลือบุคคลอื่น
ให้พ้นจากความทุกข์ยาก................
โดย ไม่เกิดความโทมนัส ไม่เสียใจ.!
.
ฉะนั้น
จึงควรเข้าใจ ว่า ขณะใด เป็น "อกศลจิต"
จึงะสามารถละคลาย (การสั่งสมอกุศลจิต) ได้.!
เพราะว่า.......โดยมาก มักเข้าใจผิด ว่า
เมื่อสงสาร บุคคลที่เป็นทุกข์เดือดร้อน
ก็จะต้องพลอยเศร้าโศก เสียใจ ไปกับบุคลนั้น ๆ ด้วย.
.
ถ้าถามว่า....ขณะนี้ รู้สึก อย่างไร.?
บางคน...ตอบว่า รู้สึกเฉย ๆ
บางคน.............ก็ รู้สึกดีใจ.
บางคน....ก็รู้สึกไม่สบายใจ.
ฯลฯ
.
แม้ขณะที่ สติ เกิดขึ้น
ระลึก ตรง "ลักษณของความรู้สึก" นั้น.
ก็ ยาก.........ที่จะรู้ตามความเป็นจริง ว่า
"ความรู้สึก" ที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้น ๆ
เป็นเพียง "สภาพรู้"
ซึ่ง เป็น "นามธรรมประเภทหนึ่ง"
ซึ่ง ต้องเกิดกับ จิต ทุกขณะ.
.
เช่น
ขณะที่ เสียง กำลังปรากฏ......................
โสตวิญญาณ เป็น สภาพรู้ ที่ได้ยิน เสียง.
ขณะนั้น
ต้องมี "เวทนาเจตสิก" คือ สภาพธรรมที่รู้สึก
เกิดขึ้นพร้อมกับ โสตวิญญาณ.
เมื่อ ผัสสเจตสิก
(ซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ...สัพพจิตตสาธารณเจตสิก)
เกิดขึ้น กระทบอารมณ์นั้น (เช่น เสียง)
จะไม่ให้ "เวทนาเจตสิก" เกิดขึ้น........
เป็นไปไม่ได้เลย.!
.
ฉะนั้น
เมื่อมีปัจจัยให้ "สติ" เกิดขึ้น
สามารถที่จะ เริ่ม ระลึก ตรงลักษณะของจิต บ้าง
หรือ ลักษณะของเวทนาเจตสิก บ้าง.................
ย่อมเป็นปัจจัย
ซึ่ง สั่งสม-เกื้อกูล ให้ไม่หลงลืมสติ.
.
ดังนั้น
ขณะที่ "รู้สึก" เฉย ๆ ดีใจ สุข ทุกข์ หรือ เสียใจ.
แทนที่จะยิ่ง "รู้สึก" ดังกล่าว ยิ่งขึ้น ๆ
"สติ" ก็ ระลึก รู้ได้ ว่า
ขณะนั้น...ก็เป็นเพียง "ความรู้สึก"
ซึ่งเกิดขึ้น และ ต้องดับไป
ตามเหตุ ตามปัจจัย.
.
สติปัฏฐาน
จึงมีคุณประโยชน์
ในการละคลายความทุกข์-ความเดือดร้อนใจ
ขณะที่ เกิดความรู้สึกไม่แช่มชื่น ได้.
กล่าวโดยรวมก็คือ ขณะใดที่จิตเป็นกุศล เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นจิตสงบ
จากอกุศล แต่กุศลขั้นภาวนาะดับอุปจาระหรืออัปปนาสมาธิจะสงบแนบแน่นมากว่า
จิตขณะขณิกสมาธิ ขณะที่จิตเป็นอกุศลขณะนั้นจิตไม่สงบ
ควรทราบว่าคำว่า อาบัติ ใช้เฉพาะเพศบรรพชิตเท่านั้น เมื่อภิกษุลาสิขาเป็นฆราวาส
แล้วคำว่าอาบัติหรือกิจที่ต้องปลงอาบัติย่อมไม่มี แต่อกุศลจิต หรืออกุศลกรรมมีอยู่ คือ
การก้าวล่วงสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ด้วยอกุศลเจตนา เป็นการกระทำที่
มีโทษ บางครั้งเป็นถึงอกุศลกรรมบถก็มี เช่น การฆ่าสัตว์เป็นต้น เมื่อลาสิกขาแล้วไม่มี
อาบัติก็จริง แต่กรรมที่กระทำไว้ไม่หายไปไหนคือย่อมมีผล อนึ่งการก้าวล่วงสิกขาบท
ด้วยเจตนาทั้งรู้ว่าเป็นอาบัติเป็นอกุศลจิตที่มีกำลัง ขาดความเคารพในพระพุทธเจ้าผู้
บัญญัติสิกขาบท ขาดความเคารพในพระธรรมวินัย ขาดความเคารพในพระสงฆ์ ขณะ
นั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความละอาย เป็นอลัชชี เป็นผู้ขาดหิริโอตตัปปะ เป็นผู้คตไม่ตรง
เป็นผู้ไม่มีสัจจะ ลองคิดดูครับว่าถ้าสะสมอกุศลธรรมอย่างนี้ไปเรี่อยๆ จะเป็นผู้เจริญได้
ไหม คติข้างหน้าจะเป็นอย่างไร วัฏฏะจะยาวไหม เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีของพระรุ่นหลังๆ
เท่ากับเป็นผู้ทำลายพระศาสนาให้เสื่อมเร็วขึ้น ถ้ารู้อย่างนี้แล้วควรกระทำอย่างไร และ
ที่แน่ๆ คือ ถ้ามรณะในระหว่างมีอาบัติติดตัว ต้องเกิดในอบายแน่นอน
การที่เราพบเห็นใครบางคน บางครั้งอาจชอบหรือไม่ชอบ ตั้งแต่เห็นครั้งแรก
อาจมีเหตุจากหลายสาเหตุ คือ ส่วนหนึ่งอาจมาจากกิริยาท่าทาง รูปร่าง หน้าตา
การแต่งตัวของคนนั้นก็ได้ อีกส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุจากอดีตชาติเคยเกื้อกูล
หรือเคยทำทุกข์ความเดือดร้อนความเสียหายแก่เรามาก่อนก็ได้ สรุปคือมีหลาย
สาเหตุ แต่ไม่ใช่ผลของกรรมอย่างที่กล่าวมา พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท " ใจย่อมจดจ่อ, แม้จิตก็เลื่อมใสในบุคคลใด,
เขาย่อมสนิทสนมในบุคคลแม้นั้น ซึ่งตนไม่เคยเห็น
โดยแท้ ความรักนั้นย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ ๒
ประการอย่างนี้ คือ เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑,
เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เปรียบเหมือน
ดอกบัวเกิดในน้ำได้(เพราะอาศัยเปือกตมและน้ำ)ฉะนั้น."
การไม่ถูกชะตากัน มี 2 สาเหตุ
1. มาจากกิเลสของเราเอง เช่น ไม่ชอบกิริยาท่าทางชองเขา ไม่ชอบหน้าตาของเขา
หรือนิสัยเขา
2. ในอดีตเคยมีเวรต่อกัน เช่น พระเทวทัต เกิดมาทุกชาติก็จองเวรกับพระพุทธเจ้า เป็น
ต้น
อาจจะเป็นเพราะว่าบางคนมีบุคลิกลักษณะทางกาย และใจที่ไม่ตรงกับความรู้สึก
ของเราไม่ตรงกับนิสัยของเรา เราจึงไม่ชอบในบุคลนั้น คนเราเข้ากันได้โดยธาตุ คือ
มีนิสัยคล้ายกัน ก็ทำให้คบกันได้ ชอบพอกันในบางครั้งอาจจะมองเผินๆ ภายนอกอาจ
ยังไม่ชอบเสียที่เดียว แต่พอเรียนรู้นิสัยกันนานๆ กลับเปลี่ยนความรู้สึกไปเลยก็ได้ ทั้ง
นี้อาจเกิดจากองค์ประกอบหลายอย่าง แต่ที่แน่ๆ เกิดจากพื้นฐานของจิตของแต่ละ
บุคคลที่สั่งสมมา (จริต)ในด้านนั้นๆ ที่พอจะให้เกลียดหรือชอบ ในกิริยาท่าทาง คำพูด
นิสัย แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะสภาวะจิตของแต่ละบุคคลนั้นย่อมแตกต่างกันออกไป
ต่างๆ ขอเพียงเราเข้าใจว่าสภาวะจิตหรือการแสดงออกนั้นๆ ย่อมมาจากเหตุๆ นั้นก็ตก
อยู่ในสภาพไม่เที่ยง มาจากเหตุ อื่นๆ อีก สืบๆ กันมาครับ เมื่อเป็นเช่นนี้เราไม่ควรยึด
มั่นในสิ่งที่ปรากฎ จะได้ไม่มีทุกข์ จะทำให้อยู่ด้วยความมีสติและปัญญา
ขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงสละนิพพานสุข อันมีในที่ใกล้พระหัตถ์
เมื่อครั้งยังเป็นพระสุเมธโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญบารมีอันกระทำได้ยาก
ทรงยอมเวียนว่ายในสังสารวัฎฎ์ ตลอดกาลนาน แสนนาน
เพียงเพื่อช่วยให้สัตว์ทั้งหลายได้บรรลุธรรมพ้นจากทุกข์
บุคคล ๒ พวกที่กระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒- หน้าที่ 357
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนึ่ง บุตรพึงสถาปนาบิดามารดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์
ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การการทำกิจอย่างนั้น
ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้
แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทาน
ตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีล-
สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา
ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่า
อันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา.
เรื่องจุดประสงค์ของการบวชที่ถูกต้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔- หน้าที่ 73
ข้อความบางตอนจาก รัฐปาลเถรคาถา
จริงอยู่ กามทั้งหลายวิจิตรด้วยรูปเป็นต้น คือมีรูปแปลก ๆ โดย
เป็นรูปสีเขียวเป็นต้น. กามทั้งหลายแสดงความชอบใจโดยประการนั้นๆ
ด้วยรูปแปลก ๆ นั้นอย่างนี้แล้ว ย่อมย่ำยีจิต คือไม่ให้ยินดีในการบรรพชา
เพราะเหตุนั้น เราเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย โดยมีความยินดีน้อยมีทุกข์
มากเป็นต้น เพราะฉะนั้น คือเพราะการเห็นโทษในกามคุณนั้น เราจึงบวช
บวช เป็นภาษาบาลี มาจาก ป (ทั่ว) + วช (เว้น) ดังนั้นจึงแปลว่าเว้นทั่ว เว้นจาก
คิหิสัญโญชน์ เว้นจากกามทั้งปวง เว้นความประพฤติที่ไม่เหมาะสมตามสิกขาบท
ที่ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัย ดังนั้น กุลบุตรผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต
ควรตั้งปุพพเจตนาเพื่อขัดเกลาอกุสลธรรมให้เบาบางลง และเจริญกุสลอันเป็น
ฝ่ายวิวัฏฏะ อันจะนำไปสู่อุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่สุด บุคคลที่จะรู้จริตและอัธยาศัยของสัตว์อย่างแท้จริงอันประกอบด้วยพระญาณต่างๆ
คือ พระพุทธเจ้า พระองค์มิได้บังคับให้ใครบวชหรือไม่บวช แต่พระองค์ทรงทราบว่าใคร
ควรบวช แม้ตอนแรกจุดประสงค์จะไม่ถูก แต่เข้ามีอุปนิสัยในเพศบรรพชิต ใครรู้ พระ
พุทธเจ้ารู้ ดังเช่นพระวังคีสะ เรียนมนต์ ทำนายกะโหลกคนตายว่า จะไปเกิดที่ไหน
พระองค์ตรัสว่าถ้าต้องการเรียนมนต์กับเรา ก็ต้องบวช เพราะพระวังคีสะ มีอุปนิสัย จน
ถึงพระอรหันต์ นั่นเอง ถามว่าใครรู้ ก็พระพุทธเจ้ารู้ ถามว่าทำไม พระพุทธเจ้าไม่ให้
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี บวช ก็ท่านไม่ได้มีอุปนิสัย ที่จะละเพศฆราวาส และได้เป็น
ถึงพระอรหันต์ ดังนั้น การจะให้บุคคลใดบวชแม้เพื่อเรียนมนต์ ก็ด้วยพระญาณของพระ
พุทธเจ้าที่ทรงรู้ว่าเขามีอุปนิสัย แต่ปัจจุบันมิใช่ใครอยากบวชก็บวช โดยไม่เข้าใจจุด
ประสงค์ที่แท้จริงในการบวช และความเข้าใจพระธรรม ถ้าอัธยาศัยเป็นอย่างนั้นก็ไม่ เป็นไร และคำว่า มีอัธยาศัยอย่างนั้น คำว่าอัธยาศัย คือ ไม่ยินดีในการครองเรือน และ
วัตถุกาม ไม่มีใครบังคับแต่ต้องรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง
เรื่อง เมื่อฟังธรรมจนเข้าใจแล้วจึงบวช
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 6
ข้อความบางตอนจาก ฆฏิการสูตร
[๔๑๑] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
กัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยังฆฏิการะช่างหม้อและโชติ-
ปาลมาณพให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.
ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา เพลิดเพลินชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มี
พระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วลุกจาก
อาสนะ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
[๔๑๒] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น โชติปาลมาณพได้ถามฆฏิการะช่าง
หม้อว่า เพื่อนฆฏิการะ เมื่อท่านฟังธรรมนี้อยู่ และเมื่อเช่นนั้น ท่านจะออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตหรือหนอ.
ฆ. เพื่อนโชติปาละ ท่านก็รู้อยู่ว่า เราต้องเลี้ยงมารดาบิดา ซึ่งเป็น
คนตาบอดผู้ชราแล้วมิใช่หรือ.
โช. เพื่อนฆฏิการะ ถ้าเช่นนั้น เราจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ฆฏิการช่างหม้อ เป็นพระอนาคามี ทำไมไม่บวช
โชติปาล ฟังธรรมจนเข้าใจจึงบวช
ผู้ศึกษาธรรมควรรู้ ..จุดประสงค์ของการบวชเป็นบรรพชิต
ในพระไตรปิฎกมีข้อความว่า ผู้ที่บวชเป็นบรรพชิตนั้น
เพราะเห็นว่าชีวิตของฆราวาสคับแคบ ไม่ สามารถเจริญกุศลได้เต็มที่ตลอดเวลา
ชีวิตบรรพชิต ไม่มีกิจธุระที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง หรือวิตกกังวลมากอย่างชีวิตฆราวาส
บรรพชิตนั้นตั้งแต่เช้าก็มีแต่เรื่องของกุศลจิต มีการสวดมนต์ระลึกถึงพระพุทธคุณ
การออกบิณฑบาตร ซึ่งเป็นการเจริญกุศลทั้งผู้ให้และผู้รับ
มีการศึกษาธรรม สนทนาธรรม ปฏิบัติธรรม
ซึ่งเป็นชีวิตที่บำเพ็ญประโยชน์ตั้งแต่ตื่นจนหลับ เป็นชีวิตที่ประเสริฐ
ฉะนั้น จุดประสงค์ที่แท้จริงของการบรรพชา อุปสมบทนั้น
ก็เพื่ออบรมเจริญกุศลยิ่งขึ้น จนกระทั่ง ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์
แต่ถ้าบรรพชาอุปสมบทแล้วไม่ได้ประพฤติธรรม ไม่ได้ขัดเกลากิเลส
เมื่อสึกออกมาแล้วก็อาจจะเป็นบุคคล ที่ประพฤติไม่ดี
แต่สำหรับผู้ที่บวชและได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมเป็นพระอริยบุคคลแล้วนั้นจะไม่สึกเลย
เพราะการที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้นั้น ต้องอบรมเจริญปัญญานานมาก
ไม่ใช่เพียงหนึ่งชาติ แสนชาติ
ดังนั้น เมื่ออบรมเจริญปัญญาในสภาพฐานะของ บรรพชิต
จนได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมในเพศบรรพชิตแล้ว
จะไม่หวนกลับมาสู่การเป็นคฤหัสถ์อีกเลย
|