Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

เหตุที่ต่างกัน

พุธ 09 ก.ย. 2009 8:38 am

จิต ต่างกัน โดยสัมปยุตตธรรม ที่เป็น "เหตุ"



สภาพธรรม ที่เป็น สังขารธรรม นั้น

จะเกิดขึ้นมาเองลอย ๆ โดยไม่อาศัยปัจจัยอะไรเลย

เป็นไปไม่ได้.!



ปรมัตถธรรม ที่เป็น สังขารธรรม

คือ ปรมัตถธรรม ๓

ได้แก่

จิต เจตสิก รูป


.


จิต อาศัยเจตสิก เป็นปัจจัย จึงเกิดขึ้นได้.


และ จิต บางประเภท

ต้องอาศัย เจตสิก และ รูป เป็นปัจจัย จึงเกิดขึ้นได้.


และ รูป บาง รูป

ต้องอาศัย จิต เจตสิก และ รูป เป็นปัจจัย จึงเกิดขึ้นได้.


.


ฉะนั้น

จิต ต่างกัน โดย "เหตุ"


หมายความว่า

จิตบางประเภท เกิดร่วมกับ "เจตสิกที่เป็นเหตุ"

และ

จิตบางประเภท เกิดร่วมกับ "เจตสิกที่ไม่ใช่เหตุ"


.


ปรมัตถธรรม ที่เป็น "เหตุ" นั้น

ได้แก่

เจตสิก ๖ ประเภท เท่านั้น.!


คือ


โลภเจตสิก เป็น "โลภเหตุ" ๑.

โทสเจตสิก เป็น "โทสเหตุ" ๑.

โมหเจตสิก เป็น "โมหเหตุ" ๑.


รวม เป็น "อกุศลเหตุ ๓. "


.


อโลภเจตสิก เป็น "อโลภเหตุ" ๑.

อโทสเจตสิก เป็น "อโทสเหตุ" ๑.

ปัญญาเจตสิก เป็น "อโมหเหตุ" ๑.


รวม เป็น "โสภณเหตุ ๓. "


(เหตุ ๖ คือ เจตสิก ๖ ประเภท....เป็น อกุศลเหตุ ๓ และ เป็น โสภณเหตุ ๓)


.


นอกจาก เจตสิก ๖ ประเภทนี้ แล้ว

สภาพธรรมอื่นทั้งหมด

ไม่ใช่ "เหตุ-ปัจจัย".!


.


เจตสิกอื่น ๆ ที่เกิดร่วมกับจิตแต่ละขณะนั้น

ต่างก็ เป็นปัจจัยให้ จิตขณะนั้น ๆ เกิดขึ้น.


แต่

เจตสิกอื่น ๆ ยกเว้น เจตสิก ทั้ง ๖ ประเภท ดังกล่าว

ไม่ใช่ "เหตุ-ปัจจัย"


หมายความว่า

เจตสิกอื่น ๆ นั้น

ไม่ได้เป็นปัจจัยจิตเกิดขึ้น โดยความเป็น "เหตุ"


เพราะว่า

เหตุ (เห-ตุ) ปัจจัย เป็นเพียง "ปัจจัยหนึ่ง"

ใน สภาพธรรมทั้งหลาย ที่จำแนกเป็น "ปัจจัย" ที่ต่าง ๆ กัน

ถึง ๒๔ ปัจจัย.

(จำแนก โดยประเภทใหญ่ ๆ)


.


เจตสิก ๖ ประเภท ที่เป็น "เหตุปัจจัย" นั้น.


อุปมา เหมือนกับ รากแก้วของต้นไม้

ซึ่งเป็น เหตุให้ต้นไม้นั้น เจริญ สมบูรณ์ งอกงาม

มีดอก มีผล มากมาย ฉันใด.

เจตสิก ซึ่งเป็น เหตุ ทั้ง ๖ เหตุ

เมื่อเกิดขึ้น กับจิตขณะใด

ก็เป็นเหตุให้สภาพธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น

มี ผล ตามเหตุที่เกิดร่วมด้วย ฉันนั้น.


.


ผู้ที่ ไม่ใช่พระอรหันต์.

ยังมีอกุศลเหตุ ๓. และ โสภณเหตุ ๓.


เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้ว

ก็ดับทั้ง กุศลเหตุ ๓. และ อกุศลเหตุ ๓.




อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก (อโมหเจตสิก)

ที่เกิดร่วมกับจิตของพระอรหันต์ นั้น

จึงเป็น "อัพยากตเหตุ"

คือ

ไม่ใช่ กุศลเหตุ และ ไม่ใช่ กุศลเหตุ.


.


สภาพธรรมที่เป็น "อัพยากตธรรม" นั้น

หมายถึง

สภาพธรรมที่ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล.


ฉะนั้น

วิบากจิต กิริยาจิต วิบากเจตสิก กิริยาเจตสิก รูป นิพพาน

จึงเป็น "อัพยากตธรรม"


เพราะสภาพธรรมเหล่านี้

ไม่ใช่กุศลธรรม และ ไม่ใช่ อกุศลธรรม.


.


เหตุ ๖ จำแนกเป็น ๒ ประเภท

คือ

"อกุศลเหตุ ๓."

ได้แก่

โลภเจตสิก ๑. โทสเจตสก ๑. โมหเจตสิก ๑.

และ

"โสภณเหตุ ๓."

ได้แก่

อโลภเจตสิก ๑. อโทสเจตสิก ๑. ปัญญาเจตสิก ๑.


.


ควรสังเกต ว่า


ไม่ใช้ คำ ว่า กุศลเหตุ ๓.

แต่

ใช้ คำ ว่า โสภณเหตุ ๓.


เพราะว่า

กุศลเหตุ เป็น "เหตุ" ให้เกิด กุศลวิบากจิต ซึ่งเป็น "ผล"


แต่

"โสภณเหตุ"

ซึ่งเป็นเหตุที่ดี นั้น.


เกิดกับ กุศลวิบากจิต ก็ได้

เกิดกับ โสภณกิริยาจิต ก็ได้



"โสภณเหตุ"

จึงไม่ได้เกิดแต่เฉพาะกับ "กุศลจิต" เท่านั้น.!

การฟังพระธรรมเพื่ออบรมความเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ เห็นขณะนี้

เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ได้ยินก็เป็นธรรมอีกชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจิตรู้กลิ่น จิตรู้รส จิตรู้เย็นร้อน

อ่อนแข็งตึงไหว จิตมีความติดข้อง จิตที่ขุ่นเคืองใจ...ที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยในชีวิต
ล้วนเป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละอย่าง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนใดๆทั้งนั้น ขณะจิตโลภ
หรือจิตมีโทสะเกิดขึ้นล้วนเกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด

ได้ การศึกษาพระธรรมเพื่อรู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่า ยังมีกิเลสที่สะสมอยู่อย่าง

หนาแน่น เมื่อมีปัจจัยพร้อมก็เกิดขึ้น เมื่อกิเลส คือ โลภะ โทสะ ความไม่รู้...เกิดขึ้น
แล้วไม่รู้ตามความเป็นจริงก็ละโลภะ โทสะ...ไม่ได้
ตอบกระทู้