ปรมัตถธรรม ๔
คือ
จิต เจตสิก รูป นิพพาน.
เมื่อกล่าวโดย "เหตุ"
.
จิต ไม่ใช่ เหตุ.
เจตสิก ที่เป็น เหตุ
มีเพียง ๖ ประเภท เท่านั้น.
เจตสิกอื่น ๆ อีก ๔๖ ประเภท ไม่ใช่ เหตุ.
รูป ไม่ใช่ เหตุ.
นิพพาน ไม่ใช่ เหตุ.
.
"ธรรมที่ไม่ใช่เหตุ" ภาษาบาลีเรียกว่า "นเหตุ"
.
ฉะนั้น
ธรรมทั้งหลาย จึงจำแนกเป็น ๒ หมวด (โดยเหตุ)
คือ
เหตุ และ นเหตุ
.
เจตสิก ๖ ประเภท ที่เป็น เหตุ.
ได้แก่
โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก
อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก (อโมหเจตสิก)
.
จิต รูป นิพพาน
และ เจตสิกอื่น ๆ อีก ๔๖ ประเภท เว้น เจตสิก ๖ ประเภท.
เป็น นเหตุ.
.
จิต และ เจตสิก ๔๖ ประเภท เป็น นเหตุ
คือ ไม่ใช่ เหตุ.
.
แต่
จิต และ เจตสิก บางประเภท
มี "เจตสิกที่เป็นเหตุ" เกิดร่วมด้วย ก็ได้.
และ
จิต และ เจตสิก บางประเภท
ก็ไม่มี "เจตสิกที่เป็นเหตุ" เกิดร่วมด้วย.
.
จิต และ เจตสิก ประเภทใด
ที่ไม่มี "เจตสิกที่เป็นเหตุ" เกิดร่วมด้วยเลย.
จิต และ เจตสิก ประเภทนั้น
เป็น
"อเหตุกจิต และ อเหตุกเจตสิก"
และ
จิต และ เจตสิก ประเภทใด
ที่มี "เจตสิกที่เป็นเหตุ" เกิดร่วมด้วย.
จิต และ เจตสิก ประเภทนั้น
เป็น
"สเหตุกจิต และ สเหตุกเจตสิก"
คนเราเกิดมาทำไม? เป็นคำถามที่หาคำตอบได้ยาก เพราะทุกคนเกิดมา
ในโลกนี้ด้วยความไม่รู้ ไม่รู้ว่าทำไมจึงเกิดมาเป็นคนรวย ทำไมจึงต้องเกิด
มาลำบากยากจน ทำไมจึงเกิดมาพิการ ทำไมจึงสวย ทำไมจึงขี้เหร่ ฯลฯ
นอกจากเกิดมาด้วยความไม่รู้แล้วก็ยังไม่รู้อีกว่าจะตายเมื่อไหร่ จะตาย
ด้วยเหตุใด ตายแล้วจะไปอยู่ที่ไหน ทุกคนมีชีวิตอยู่ด้วยความไม่รู้ ไม่รู้
กระทั่งว่าชีวิตคืออะไร
มีนักจิตวิทยา นักวิทยาศาสตร์ จำนวนไม่น้อย ที่พยายามอธิบายความ
หมายของคำว่า “ชีวิต” และพยายามศึกษาเพื่อให้เข้าใจชีวิต รวมทั้ง
พยายามจะทำความเข้าใจพฤติกรรมการแสดงออกต่างๆ ของมนุษย์ว่าทำไม
จึงมีพฤติกรรม เช่นนั้นเช่นนี้ มีอะไรเป็นตัวเร้า หรือตัวกำหนด และพยายาม
จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับชีวิตในแง่มุมต่างๆ เพื่ออธิบายพฤติกรรมของมนุษย์
ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว คำตอบ เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์นั้นมีกล่าวไว้แล้วในพระพุทธ
ศาสนา เพียงแต่น้อยคนนักที่จะสนใจศึกษาอย่างจริงจัง
|