Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ผลของกรรมที่ต่างกัน

อังคาร 15 ก.ย. 2009 9:30 am

ปฏิสนธิจิตในภูมิมนุษย์ กับ ปฏิสนธิจิตในอบายภูมิ

เป็น ผลของกรรม ที่ต่างกัน.


.


ผู้ที่ปฏิสนธิในอบายภูมิ นั้น

ปฏิสนธิจิตของบุคคลนั้น เป็น อกุศลวิบากจิต

ซึ่ง เป็นผลของอกุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้ว

จึงเกิดใน อบายภูมิ ๔

คือ

นรกภูมิ ๑. ปิตติวิสัยภูมิ (เปรต) ๑.

อสุรกายภูมิ ๑. ดิรัจฉานภูมิ ๑.


.


ปฏิสนธิจิต ของผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์ หรือ เทวดาชั้นต่าง ๆ

เป็น กุศลวิบากจิต

ซึ่งเป็น ผลของกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว

จึงทำให้เกิดใน สุคติภูมิ.


.


แม้ว่า การเกิดในมนุสภูมิ เป็นกุศลวิบาก ก็จริง

แต่บางบุคคล ก็พิการตั้งแต่กำเนิด.



เพราะกุศลวิบากจิต ที่ทำกิจปฏิสนธินั้น

เป็น ผลของกุศลกรรม ที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย

และ เป็นผลของกุศลกรรมอย่างอ่อนมาก.



กุศลวิบากจิตที่ทำปฏิสนธิกิจ

ของบุคคลผู้พิการตั้งแต่กำเนิด นั้น

จึงไม่ประกอบด้วย โสภณเจตสิก

คือ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก

เมื่อเป็นผลของกรรมอย่างอ่อนมาก

อกุศลกรรม ซึ่งได้เคยกระทำไว้

จึงเบียดเบียน ให้เป็นผู้พิการตั้งแต่กำเนิด.


.


ผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์ ซึ่งไม่พิการตั้งแต่กำเนิด

ล้วนเกิดมาแตกต่างกัน โดย สกุล ยศศักดิ์ บริวาร ฯลฯ

เพราะ กุศลวิบากที่ทำกิจปฏิสนธินั้น

ต่างกัน ตามกำลังของกุศลกรรมที่เป็น "เหตุ"



ถ้าปฏิสนธิจิต ของบุคคลนั้น

เป็นผลของกุศลกรรม ที่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก อย่างอ่อน

และ ไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย.



ก็หมายความว่า

ปฏิสนธิจิต ที่เป็นกุศลวิบาก นั้น

เกิดร่วมกับ โสภณเจตสิก และ เหตุ ๒

คือ

อโลภเจตสิก และ อโทสเจตสิก

เกิดเป็น "ทวิเหตุกบุคคล"



หมายความว่า

ปฏิสนธิจิตของบุคคลนั้น

ไม่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย

บุคคลนั้น

จึงไม่สามารถบรรลุฌาน หรือ โลกุตตรธรรม ได้

ในชาตินั้น.


.


ผู้ที่ปฏิสนธิจิต เป็นผลของกรรม ที่ประกอบด้วยปัญญา

และ ปฏิสนธิจิต มีปัญญาเกิดร่วมด้วย

เป็น "ติเหตุกบุคคล"

เพราะมีเหตุ เกิดร่วมด้วย ๓ เ หตุ คือ

อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก (อโมหเหตุ)



เมื่อบุคคลนั้น ได้ฟังพระธรรม

ก็สามารถพิจารณาและเข้าใจพระธรรม

สามารถอบรมเจริญปัญญา จนบรรลุฌาน

หรือ รู้แจ้งอริยสัจธรรม ๔

บรรลุมัคค์ ผล นิพพาน เป็น พระอริยบุคคล

ในชาติที่เกิดนั้นได้

ตามควรแก่การสะสม ของเหตุปัจจัย.



แต่ก็ไม่ควรประมาท.!



เพราะว่า

บางท่าน เป็นผู้ที่มีสติปัญญา

และ ปฏิสนธิจิตเป็นติเหตุกะ ก็จริง

แต่ถ้าประมาทในการเจริญกุศล และ ประมาทในการฟังธรรม

ก็จะเป็นผู้ที่ฉลาดแต่ในทางโลก ในวิชาการต่าง ๆ

แต่ เมื่อไม่มีการอบรมเจริญปัญญา....ในทางธรรม

จึงไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง.

สำหรับคำพยากรณ์ที่ว่า พุทธศาสนาจะมีอายุ ๕,๐๐๐ ปีนั้น มี

กล่าวไว้ใน ทุติยสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัยปิฎก แต่ถ้าพิจารณา

ถึงเหตุการณ์ของโลกจะเห็นได้ว่า ยุคนี้ยังไม่ถึง ๕,๐๐๐ ปี เพียง ๒,๕๐๐

กว่าปี มีผู้ศึกษาพุทธศาสนามาก หรือน้อย ซึ่งเราก็พอจะพิจารณาได้ว่า

พระพุทธศาสนาจะคงอยู่ถึง ๕,๐๐๐ ปีหรือไม่

พระพุทธศาสนาจะค่อย ๆ อันตรธาน ไปตามลำดับของพระไตรปิฎก

คือ พระอภิธรรมปิฎกคัมภีร์สุดท้าย คือ "คัมภีร์ปัฏฐาน" ซึ่งแสดงปัจจัย

ของสภาพธรรมทั้งหลายอย่างละเอียด ลึกซึ้งมาก จะอันตรธานก่อน และ

ถอยไปเรื่อย ๆ จนถึงพระสุตตันตปิฎก จนถึงพระวินัยปิฎก

พระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ต่อเมื่อมีผู้ศึกษา และเข้าใจพระธรรม

คำสอนอย่างถูกต้อง ถ้ามีพระไตรปิฎก และอรรถกถา แต่ไม่มีใครศึกษา

ไม่มีใครเข้าใจพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาค ฯ ทรงพระมหากรุณาแสดงไว้

เลย ก็ไม่ชื่อว่าพระพุทธศาสนายังดำรงอยู่

ดังนั้น พระพุทธศาสนาจะเสื่อมจากพระธรรมก่อน แล้วพระวินัยจึง

เสื่อม จนถึงกาลสมัยที่ภิกษุจะมีแต่เพียงผ้ากาสายะพันคอ หรือ ห้อยหูเป็น

เครื่องหมายแสดงว่าเป็นบรรพชิตเท่านั้นเอง แต่ความเป็นบรรพชิตที่แท้จริง

นั้น มิได้อยู่ที่ผ้ากาสายะ แต่อยู่ที่การประพฤติปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 446

๑. กิมพิลสูตร ว่าด้วยเหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม

[๒๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุ-

วันใกล้เมืองกิมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมพิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้พระ

สัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงใน

ศาสดา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม เป็นผู้ไม่มีความ

เคารพไม่มีความยำเกรงในสงฆ์ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง

ในสิกขา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน ดูก่อน

กิมพิละนี้ แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน

ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

Re: ผลของกรรมที่ต่างกัน

อังคาร 15 ก.ย. 2009 7:34 pm

สาธุ
ตอบกระทู้