ตั้งแต่คำว่า “สักกายะ” ซึ่งท่านก็เคยได้ยินได้ฟังบ่อยๆ สักกาย-
ทิฏฐิ ความเห็นที่ยึดถือในสิ่งที่ประชุมรวมกันว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เพราะ
ฉะนั้น ก่อนอื่น วิสาขอุบาสก ครั้นนั่งแล้วได้ถาม ธัมมทินนาภิกษุณี ว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรม
อะไรที่ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า สักกายะ
ธัมมทินนาภิกษุณี ตอบว่า
ดูกร วิสาขะ ผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ คือ
รูปูปาทานขันธ์ ๑
เวทนูปาทานขันธ์ ๑
สัญญูปาทานขันธ์ ๑
สังขารูปาทานขันธ์ ๑
วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑
อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สักกายะ”
เพราะว่าเกิดร่วมกัน ประชุมเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ก็เป็นที่ยึดถือว่าเป็นสัตว์
เป็นบุคคล เป็นตัวตน
เมื่อธัมมทินนาภิกษุณี ตอบอย่างนี้ วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนาภาษิต
ของธัมมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละ พระแม่เจ้า ดังนี้แล้วได้ถามปัญหาต่อไปว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย สักกายสมุทัย ดัง
นี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า “สักกายสมุทัย”
ใหม่อีกหรือเปล่า สำหรับคำ บางท่านก็อาจจะบอกว่าไม่เคยได้ยิน
เคยได้ยินแต่ ทุกขสมุทัย แต่ถ้ากล่าวว่า สักกายสมุทัย ผู้ที่เข้าใจอรรถ ก็
ทราบใช่ไหมว่า หมายความถึงอะไร สิ่งที่ประชุมรวมกันเป็น สักกายะ ก็ได้แก่ รูปขันธ์
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
เพราะฉะนั้น เมื่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสักกายะ อะไรเป็นสมุทัย เป็นเหตุให้
เกิด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นอุปาทานขันธ์เหล่านี้ เพราะฉะนั้น ก็
จะใช้คำว่า สักกายสมุทัยก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องใช้เพียงศัพท์เดียวว่า ทุกขสมุทัย
เพราะเหตุว่า สักกายะ ก็ได้แก่สภาพธรรม
คือ ขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นทุกข์นั่นเอง
|