ธรรมเป็นอนัตตา เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยากไปก็ได้ไป มีเหตุปัจจัยก็ไปในที่ อโคจร การเกิดขึ้นของกุศลจิตและอกุศลจิตก็เป็นอนัตตาด้วย แต่การอบรมปัญญา
เป็นการรู้สภาพธรรที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่ว่าที่ไหนปัญญาก็สามารถ เกิดขึ้นได้เพราะมีสภาพธรรมให้รู้ หากไปแล้วมีธรรมที่มีจริงให้รู้ไหม ธรรมทั้งหลายที่มี จริงนี่แหละครับ เป็นที่ที่สติสามารถรู้เป็นโคจรของสติ สติปัฏฐานสามารถเกิดระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราได้ เป็นโคจรประเภทหนึ่งที่เรียกว่า อุป นิพันธโคจร คือ สิ่งที่ผูกไว้เป็นที่เที่ยวไปของบุคคลต่างๆคือสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง ซึ่งสามารถอบรมได้ในทุกสถานที่เพราะธรรมมีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน สติปัฏฐานจึง เป็นโคจรของบุคคลต่างๆ(อุปนิพันธโคจร)
ดังนั้นโคจรจึงมีหลายนัย อันจะนำมาสู่ความเข้าใจในการอบรมปัญญา อีกนัยหนึ่ง โคจร มี 3 อย่างคือ
อุปนิสัยโคจร คือ การเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรผู้มีคุณธรรมมีปัญญาแล้วทำให้ตัวเอง เจริญในคุณธรรมและปัญญา เข้าใจถูกในหนทางดับกิเลส เป็นต้น
อารักขโคจร คือ ภิกษุเป็นผู้สำรวมกาย วาจา เมื่อบิณฑบาต มีจักษุทอดลงต่ำ ไม่แล
ดูสิ่งไม่ควร ไม่วอกแวก เป็นต้น
อุปนิพันธโคจร คือ สิ่งที่ผูกไว้เป็นที่เที่ยวไปของภิกษุคือสติปัฏฐาน 4 นั่นเองครับ
ซึ่งสามารถอบรมได้ในทุกสถานที่เพราะธรรมมีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน สติปัฏฐานจึง
เป็นโคจรของภิกษุ(อุปนิพันธโคจร)
สามารถอ่านเพิ่มเติมในเรื่องอาจารและโคจรที่นี่ครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 394
หรือในวิสุทธิมรรค เรื่อง ศีลนิเทส
ทุคติ แปลว่า ที่ไปอันชั่ว ทีอยู่อันชั่ว ภพอันเป็นที่ไปของสัตว์อันชั่ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 770
ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นภูมิเป็นที่ไป คือ เป็นที่พำนักอาศัยแห่งทุกข์.อีกอย่าง หนึ่ง ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นภูมิเป็นที่ไป อันเกิดด้วยกรรมชั่ว เหตุมากไปด้วยโทสะ โดยศัพท์แล้วไม่เกี่ยวข้องกับอคติ แต่ผู้ที่อคติ(ลำเอียง)แล้วทำชั่วย่อมไปสู่ทุคติได้
คำว่าอคติ หมายถึง ฐานะอันไม่พึงถึง,ทางความประพฤติที่ผิด, ความลำเอียง มี ๔ คือ
๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก
๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
|