พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
อังคาร 22 ก.ย. 2009 8:55 am
ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สมิทธิสูตร ที่ ๔ ข้อ ๗๕
ท่านพระสมิทธิ ทูลถามพระผู้มีพระภาคฯ ว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
จึงเป็นโลก หรือ บัญญัติ ว่า โลก."
พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสว่า
"ดูกร สมิทธิ
จักขุ รูป จักขุวิญญาณ
ธรรม ที่จะพึง รู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด
โลก หรือ การบัญญัติ ว่า โลก ก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯลฯ"
.
การที่จะรู้แจ้ง โลก ได้นั้น
ก็เพราะ มี ตา....จึง เห็น สีสันวัณณะของโลก.
มี หู...จึง ได้ยินเสียงของโลก
มี ลิ้น........จึง ได้รู้รสของโลก
มี กาย...จึง ได้รู้เย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว ของโลก.
(มี ใจ...จึงรู้ ธรรมารมณ์ และ เรื่องราวของโลก)
ถ้าไม่มีทาง (ทวาร) เหล่านี้เลย.!
"โลก"
จะปรากฏไหม.?
.
ขณะที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส
ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย และ ไม่มีการคิดนึก
โลกไหน จะ ปรากฏ.?
.
โลกใด ๆ ย่อมไม่ปรากฏ.!
ฉะนั้น
สิ่งที่ยึดถือว่า เป็น โลกที่กำลังปรากฏ ขณะนี้.!
ก็เพราะ เห็น....เห็น อะไร.?
เห็น...โลก
คือ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา นั้นเอง ที่เป็นโลก.
ได้ยิน...เสียง อะไร.?
เสียง คือ โลก อีกเช่นกัน.
เพราะถ้าไม่มีเสียงเลย...ก็ไม่มีการได้ยิน
และ โลกของเสียง ก็ไม่มีเลย.!
ฉะนั้น
"โลก"
ซึ่งประกอบด้วย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ธรรมารมณ์) นั้น
ปรากฏได้.!
เพราะมี "ทาง"
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ.
จึงไม่ต้องแสวงหา โลก จากที่อื่น
......เพราะไม่ว่าจะอยู่ ณ โลกไหน
โลก นั้น ๆ จะปรากฏได้..............
ก็เพราะมี ตา เป็นปัจจัยให้ เห็น
มี หู.............เป็นปัจจัยให้ ได้ยิน
มี จมูก......เป็นปัจจัยให้ ได้กลิ่น
มี ลิ้น..............เป็นปัจจัยให้ รู้รส
มี กาย เป็นปัจจัยให้รู้โผฏฐัพพะ
และ
มี ใจ
(เป็นปัจจัยให้รู้ ธรมารมณ์)
เป็นปัจจัยให้ คิดนึก เรื่องของสิ่งที่ปรากฏทางตา
ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ.
.
พระผู้มีพระภาคฯ ตรัสว่า
"ดูกร สมิทธิ
จักขุ รูป จักขุวิญญาณ
ธรรม ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด
โลก หรือ การบัญญัติ ว่า โลก ก็ไม่มี ณ ที่นั้น.
ฯลฯ
ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ
ธรรม ที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด
โลก หรือ การบัญญัติ ว่า โลก ก็ไม่มี ณ ที่นั้น.
รูปธรรมทั้งหมดเป็นอารัมณปัจจัยแก่กุศลจิต แต่ไม่เป็นอารัมณาธิปติปัจจัย
แก่กุศลจิต เพราะรูปเป็นอารัมณาธิปติปัจจัยได้เฉพาะอกุศลเท่านั้น ส่วนนาม
ธรรม เป็นอารัมมณาธิปติปัจจัยทั้งกุศลจิตและอกุศลจิตได้ เพราะเหตุว่า
ขณะที่จิตมีรูปเป็นปัจจัยอย่างหนักแน่น มีอารมณ์เป็นใหญ่ยิ่งเป็นปัจจัย จิต
จะเป็นกุศลไม่ได้ ต้องเป็นอกุศลเท่านั้นครับ เพราะสภาวของกุศลธรรมต่างจาก
อกุศลธรรมที่ติดข้องต้องการอย่างยิ่งในอิฏฐารมณ์
วิถีจิตต้องเป็นขณะชวนวิถี ทั้งปัญจทวารและมโนทวาร เพราะมโนทวารรับอารมณ์
ต่อจากปัญจทวาร ส่วนนามธรรมเป็นอารัมณาธิปติปัจจัย แก่วิถีจิตทางมโนทวารเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
[๓๕๙] อกุศลกรรมบถ ๑๐
๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ๔. มุสาวาท
๕. ปิสุณาวาจา ๖. ผรุสาวาจา
๗. สัมผัปปลาปะ ๘. อภิชฌา
๙. พยาบาท ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ.
[๓๖๐] กุศลกรรมบถ ๑๐
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. อนภิชฌา ความไม่โลภอยากได้ของเขา
๙. อัพยาบาท ความไม่ปองร้ายเขา
๑๐. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ.
สังฆทาน หมายถึง ทานที่ถวายแก่สงฆ์ โดยมากหมายถึงการถวาย
อาหาร แต่การถวายไทยธรรมอย่างอื่น ก็เป็นการให้ทานแก่สงฆ์ได้
( สังฆทาน ) เช่น การถวายผ้า จีวร การถวายยารักษาโรค การถวายกุฎีวิหาร
เป็นต้น ฉะนั้น ไทยธรรมที่ควร ถวายแก่พระสงฆ์จึงมีหลายอย่าง และไม่จำ
เป็นต้องเป็นกระป๋องสีเหลือง หรือมี เครื่องใช้ที่ทางร้านค้ากำหนด อีกอย่าง
หนึ่ง การจะเป็นสังฆทาน ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ กระป๋องสีเหลือง แต่ขึ้นอยู่ที่
ความเข้าใจว่าสงฆ์คืออะไร สภาพจิตใจที่เคารพยำเกรงต่อสงฆ์ สภาพจิตที่ไม่
หวั่นไหวเมื่อผู้รับเป็นพระเถระหรือพระใหม่ มีศีลหรือทุศีลไม่เลือก หรือเจาะจง
ภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่ง เป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ หน้าที่ 394
[๗๑๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ ให้
ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๑. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เป็น
ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็น
ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒. ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่
ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓. ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้ว
ในสงฆ์ประการที่ ๔. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวน
เท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๕. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่
ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖. เผดียงสงฆ์
ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 407
แม้ทักขิณาที่ถวายสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า มีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ ด้วยประการฉะนี้. แม้ทักขิณาที่
ให้ในสงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอ ตรัสว่ามีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ
เหมือนกัน. ก็ทักขิณาที่ถึงสงฆ์ย่อมมีแก่บุคคลผู้อาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์
แต่ความยำเกรงในสงฆ์ ทำได้ยาก. ก็บุคคลได้เตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่า
เราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์ ไปวิหารแล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจง
ให้พระเถระรูปหนึ่งเจาะจงสงฆ์เถิด. ลำดับนั้น ได้สามเณรจากสงฆ์ย่อมถึง
ความเป็นประการอื่นว่า เราได้สามเณรแล้ว ดังนี้. ทักขิณาของบุคคลนั้น
ย่อมไม่ถึงสงฆ์. เมื่อได้พระมหาเถระแม้เกิดความโสมนัสว่า เราได้มหาเถระ
แล้ว ดังนี้ ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดได้สามเณร ผู้อุป-
สมบทแล้ว ภิกษุหนุ่ม หรือเถระ ผู้พาลหรือ บัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจาก
สงฆ์แล้ว ไม่สงสัย ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายสงฆ์.
ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอัน ชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว.
ไม่มีใครหนีผลกรรมที่ทำไว้แล้วได้ เช่น เมื่อทำกุศลกรรมมาแล้ว ถึง
เวลาที่กุศลกรรมจะให้ผล แม้ไม่อยากได้ก็ต้องได้ ไม่อยากรวยก็ต้องรวย
อยู่ดีๆ ก็มีคนมาเชิญให้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แม้ไม่อยากเป็น เขาก็เชิญ
ให้เป็น สำหรับผลของอกุศลกรรมก็โดยนัยเดียวกัน กล่าวคือ แม้ไม่อยาก
ให้เกิดขึ้น ก็ไม่สามารถจะยับยั้งได้ เช่น ได้ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงหนักเบา
ต่างๆ กันไป ตามควรแก่กรรม (อกุศลกรรม) ที่ได้กระทำไว้แล้ว เจ็บป่วยด้วย
โรคร้ายต่างๆ หรือลงทุนค้าขายก็ประสบปัญหาขาดทุน ล้มละลาย เป็นต้น
บางคนคิดว่าตนเองฉลาด จึงพยายามจะทำความดีลบล้างความชั่ว
เช่น ได้เงินมาหลายร้อยล้านด้วยการทุจริต คอรัปชั่น ก็นำเงินที่ได้แบ่งไปทำ
บุญกฐิน ผ้าป่า หรือ บริจาคช่วยเหลือคนยากจน ด้วยคิดว่าจะได้หักกลบลบ
หนี้กันไป แต่โดยสภาพความเป็นจริงแล้ว การให้ผลของกรรมมิได้ปะปนกัน
เลย กรรมชั่วที่ได้กระทำไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องรับผลในส่วนของกรรมชั่ว
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ช้าก็เร็ว ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า ส่วนกรรมดีที่ได้กระทำ
ก็รอโอกาสที่จะให้ผลต่อไป
แม้พระพุทธองค์ ก็ไม่สามารถจะพ้นจากกรรมที่ได้กระทำไว้แล้วใน
อดีตชาติ ดังได้ทรงแสดงอกุศลกรรมในอดีตชาติ อันเป็นเหตุให้พระองค์
ประสบกับทุกขเวทนาต่างๆ ในพระชาตินี้ ตัวอย่างที่ขอยกมากล่าวในที่นี้คือ
การที่ต้องบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ถึง ๖ พรรษา ทรงแสดงบุรพกรรมของพระ-
องค์ดังข้อความใน อรรถกถา พุทธวรรคที่ ๑ พุทธปาทาน ว่า “ก็ในกาลนั้น
เราได้เป็นพราหมณ์ชื่อโชติปาละ ได้กล่าวกับพระกัสสปสุคตเจ้าว่า การตรัสรู้
ของสมณโล้นจักมีมาแต่ไหน การตรัสรู้เป็นของยากยิ่ง เพราะวิบากกรรมอัน
นั้น เราจึงต้องทำทุกรกิริยามากมายอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาถึง ๖ ปี จึงบรรลุพระ-
โพธิญาณ…” ด้วยวิบากกรรมนั้น ทำให้พระองค์ปฏิบัติผิดอันเป็นเหตุให้
พระองค์ต้องทุกข์ทรมานพระวรกายอย่างยิ่ง กว่าจะทรงทราบว่าการบำเพ็ญ
ทุกรกิริยาเป็นข้อปฏิบัติที่ผิด และมิใช่หนทางที่จะบรรลุพระอนุตตรสัมมา-
สัมโพธิญาณ
อังคาร 22 ก.ย. 2009 11:55 am
ขอบคุณครับ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.