พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 36 [รวมรวมพระวินัยของภิกษุไว้เป็นหมวด ๆ]
ลำดับนั้น พระเถระทั้งหลาย ยกปาราชิก ๔ เหล่านี้ขึ้นสู่สังคหะ
(การสังคายนา) ว่า นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์ แล้วได้ตั้งสังฆาทิเสส ๑๓ ไว้ว่า
เตรสกัณฑ์ ตั้ง ๒ สิกขาบทไว้ว่า อนิยต ตั้ง ๓๐ สิกขาบทไว้ว่า นิสสัคคิย -
ปาจิตตีย์ ตั้ง ๙๒ สิกขาบทไว้ว่า ปาจิตตีย์ ตั้ง ๔ สิกขาบทไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ
ตั้ง ๗๕ สิกขาบทไว้ว่า เสขิยะ ( และ) ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณ-
สมถะ ดังนี้. รวมเป็น ๒๒๗
[รวบรวมวินัยของภิกษุณีเป็นหมวด ๆ]
พระเถระทั้งหลายครั้นยกมหาวิภังค์ขึ้นสู่สังคหะอย่างนี้แล้ว จึงตั้ง ๘
สิกขาบท ในภิกษุณีวิภังค์ไว้ว่า นี้ชื่อปาราชิกกัณฑ์ ตั้ง ๑๗ สิกขาบทไว้ว่า
สัตตรสกัณฑ์ ตั้ง ๓๐ สิกขาบทไว้ว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ตั้ง ๑๖๖ สิกขาบท
ไว้ว่า ปาจิตตีย์ ตั้ง ๘ สิกขาบทไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ ตั้ง ๗๕ สิกขาบทไว้ว่า
เสขิยะ (และ) ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ว่า อธิกรณสมถะ ดังนี้. รวมเป็น ๓๑๑
พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ 602
ประเภทสิกขาบทของภิกษุ
[๑,๐๒๕] สิกขาบทของภิกษุ ๒๒๐
สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ ท่านจง
ฟังสิกขาบทเทล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป
ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒
นิสสัคคิยะ ๓๐ ถ้วน ขุททกะ ๙๒ ปาฏิ-
เทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ สิกขาบทของภิกษุ
รวม ๒๒๐ สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ.
(เมื่อรวมอธิกรณสมถ ๗ เป็น ๒๒๗)
ประเภทสิกขาบทของภิกษุณี
[๑,๐๒๖] สิกขาบทของภิกษุณี ๓๐๔
สิกขาบท มาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ ท่าน
จงฟังสิกขาบทเหล่านั้น ดังจะกล่าวต่อไป
ปาราชิก ๘ สังฆาทิเสส ๑๗ นิสสัคคิยะ
๓๐ ถ้วน ขุททกะ ๑๖๖ ปาฏิเทสนียะ ๘
เสขิยะ ๗๕ สิกขาบทของภิกษุณีรวม ๓๐๔
สิกขาบทมาสู่อุเทศทุกวันอุโบสถ.
( เมื่อรวมอธิกรณสมถ ๗ เป็น ๓๑๑ )
ปาราชิก 4
1. เสพเมถุน
2. อทินนาทาน ตั้งแต่ 5 มาสก
3. ฆ่ามนุษย์
4. อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน
สังฏาทิเสส 13 ข้อ เช่น ภิกษุจับต้องกายหญิง พูดเกี้ยวหญิง
ภิกษุชักสื่อหญิงชายให้อยู่ด้วยกัน ฯลฯ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 ข้อ เช่น ภิกษุขอจีวรคฤหัสถ์ชายหรือหญิงที่ไม่ใช่ญาติ
อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ปาจิตตีย์ 92 ข้อ เช่น ภิกษุพูดส่อเสียด ให้แตกแยกกัน หรือ พูดเท็จ
สิ่งที่ไม่มีว่ามี สิ่งที่มีว่าไม่มี อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ปาฏิเทศนียะ เช่น ภิกษุรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือตน จากมือภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ
นำมาเคี้ยวฉันกลืนล่วงลำคอ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ
ปาราชิก ๑ ห้ามภิกษุเสพเมถุนกับมนุษย์ อมุนษย์(เช่นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต เป็นต้นไม่ว่าตายหรือยังมี ชีวฅ อยู่ หรือแม้แต่ศพเมื่อมีจิตรับจะทำเมถุนกับสิ่งนั้น ๒.ห้ามลักทรัพย์ ตั้งแต่ ๕ มาสก(หรือประมาณ ๑ บาทใน สมัยนี้)ขึ้นไป ถ้าลักทรัพย์ต่ำกว่าเป็นอาบัติข้ออื่น โดยมีจิตคิดจะเอาและได้ทรัพย์นั้นแล้ว ๓. ห้ามฆ่ามนุษย์และทำแท้งกับหญิงที่มีครรภ์ ( มีเจตนากระทำให้มนุษย์ตายหรือเด็กในครรภ์ตาย) ๔. ห้ามอวดอุตตริมนุษสธรรม คือไม่มีญาณก็ว่ามี ไม่มี ณานก็ว่ามี ไม่ได้มรรคไม่ได้ผลก็อ้างว่ามี ( ถ้ามีอยู่หรือถึงแล้วแสดงเพื่อประโยชน์ ก็ต้องห้ามเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ผลของการอาบัติปาราชิก ปรับอาบัติไม่ได้ถือขาดจากการครองสมณเพศไม่จำต้องบอกกล่าวหรือแจ้งแก่ผู้ กระทำ เป็นเหตุปิดการทำมรรคผลนิพพานในชาตินี้ ถ้าครองสมณเพศอยู่ถือว่าเป็นโจรปล้นพระศาสนาทำลายตนเองให้ถึงทุคติมีอบายภูมิเป็นที่เกิดอย่างแน่นอน เปรียบเสมือนต้นตาลที่ยอดด้วนย่อมไม่เกิดผลได้
สังฆาทิเสส ๕. ห้ามทำน้ำอสุจิ ให้เคลื่อนด้วยความจงใจ (ยกเว้นฝัน) ๖ . ห้ามถูกต้องเคล้าคลึงกายหญิงด้วยความจงใจ ๗ . ห้ามพูดสอนความพูดพาดพิงถึงทวารหนักทวารเบาแก่สตรี ๘. ห้ามพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยเมถุนธรรม ๙. ห้ามเป็นพ่อสื่อให้คนแต่งงานกัน ๑๐.ภิกษุขอให้สร้างกุฎิแก่ตนต้องมีขนาดกว้าง ๗ คืบยาว ๑๒ คืบด้วยคืบของพระพุทธเจ้า ๑๑.ห้ามสร้างวิหารใหญ่โดยสงฆ์มิได้กำหนดที่ ๑๒.ห้ามโจทอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ๑๓.ห้ามอ้างเลสโจทอาบัติปาราชิก ๑๔.ทำสังฆ์ให้แตกกัน(สงฆเภท) ๑๕.ห้ามเป็นพรรคพวกของผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ๑๖.ห้ามเป็นคนว่ายากสอนยาก ๑๗.ห้ามเป็นผู้มีความประพฤติเลวทรามและประจบ คฤหัสถ์อนิยตะ ๑๘. ห้ามนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง(อาบัติ ปาราชิก, สงฆาทิเสส,หรือปาจิตตีย์ ) ๑๙ ห้ามนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง (อาบัติ สังฆาทิเสส , หรือปาจิตตีย์นิสสัคคีย์ ๒๐. ห้ามเก็บจีวรเกินจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน (ยกเว้นทำเป็น สองเจ้าของ) ๒๑.ห้ามอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้คืนหนึ่ง(ยกเว้น ภิกษุ(ได้รับสมมติ) ๒๒.ห้ามเก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกิน ๑ เดือน(ยกเว้นทำเป็นสองเจ้าของ) ๒๓.ห้ามใช้นางภิกษุณีชักจีวรเก่า(จีวรที่ใช้แล้ว) ๒๔.ห้ามรับจีวรจากมือของภิกษุณี ๒๕.ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติ(ยกเว้นขอต่อคนปวารณา) ๒๖.ห้ามรับจีวรเกินกำหนดเมื่อจีวรถูกชิงหรือ หายไป ๒๗.ห้ามพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดีกว่าเขากำหนดไว้เดิมถวาย ๒๘.ห้ามไปพูดให้เขารวมกันซื้อจีวรที่ดีถวาย ๒๙.ห้ามทวงจีวรเอาแก่คนที่รับฝากผู้อื่นเพื่อซื้อ จีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง ๓๐.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งพรมเจือด้วยไหม ๓๑.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม(ขนสัตว์) ดำล้วน ๓๒.ห้ามใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน๔ส่วนเมื่อหล่อเครื่องปูนั่ง ๓๓.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งให้ตัดของเก่าปนลงใน ของใหม่ ๓๔.ห้ามการทำเครื่องปูนั่งให้ตัดของเก่าปนลงในของใหม่ ๓๕.ห้ามนำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ ๓๖.ห้ามใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติทำการซักย้อมซึ่งขนเจียม ๓๗.ห้ามรับทองเงิน( ชาตะ รูปรชตะ) ๓๘.ห้ามทำการซื้อขายของด้วยเงินทอง ๓๙.ห้ามซื้อขายโดยใช้ของแลก ๔๐.ห้ามเก็บบาตรเกิน ๑ ลูกไว้เกิน ๓๐ วัน ๔๑.ห้ามขอบาตรเมื่อบาตรเป็นแผลงไม่เกิน ๕ แห่ง ๔๒.ห้ามเก็บเภสัช ๕(เนยใส, เนยข้น,น้ำมัน, น้ำผึ้ง ,น้ำอ้อย)เกิน ๗ วัน ๔๓.ห้ามแสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนเกินกำหนด ๔๔.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วห้ามชิงคืนในภายหลัง ๔๕.ห้ามขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร ๔๖.ห้ามไปกำหนดให้ช่างหูกทอจีวรให้ดีขึ้นเพื่อตน (ยกเว้นขอต่อคนปวารณา) ๔๗.ห้ามเก็บผ้าจำนำพรรษาไว้เกินกำหนด ๔๘.ห้ามภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน (ยกเว้นภิกษุได้รับสมมุติ) ๔๙.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน
ปาจิตตีย์ ๕๐.ห้ามพูดปด(มุสาวาท) ๕๑.ห้ามด่า(ผรุสวาท) ๕๒.ห้ามพูดส่อเสียด(ปิสุณาวาท) ๕๓.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช่ภิกษุ เช่นภิกษุณีสามเณรเป็นต้น)ในขณะสอน) ๕๔.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๓ คืน ๕๕.ห้ามนอนร่วมกับหญิง ๕๖ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิงเกิน๖คำ(ยกเว้นเมื่อมีผู้ชายที่รู้เรียงสาอยู่ด้วย) ๕๗.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน ๕๘.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน ๕๙.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด ๖๐.ห้ามทำลายต้นไม้ ๖๑.ห้ามพูดไฉไลหรือทำให้ยุ่งยากเมื่อถูกสอบสวน ๖๒.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์ไว้กลางแจ้ง ๖๓.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง ๖๔.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ไม่เก็บงำ ๖๕.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อนเพื่อทำให้ ภิกษุนั้นลุกหนีไป ๖๖.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ เพราะ ขัดใจ(ยกเว้นภิกษุอลัชชี) ๖๗.ห้ามนั่งนอนบนเตียงหรือตั่งโดยแรงที่อยู่ชั้นบน ซึ่งมีผู้นอนอยู่ชั้นล่าง(เป็นเตียง ๒ ชั้น) ๖๘.ห้ามโบกฉาบวิหารใหญ่เกิน ๓ ชั้น ๖๙.ห้ามเอาน้ำมีตัวสัตว์รดหญ้าหรือดิน ๗๐.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมายจากสงฆ์ ๗๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว ๗๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่ ๗๓.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ ๗๔.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ แต่ให้แลก เปลี่ยนจีวรกันได้ ๗๕.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ๗๖.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี เว้นไว้แต่หนทาง ที่จะไปมีอันตราย ๗๗.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน เว้นไว้แต่โดยสารหรือข้ามฟาก ๗๘.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย ๗๙.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับนางภิกษุณี ๘๐.ห้ามฉันอาหารในที่ทานเกิน ๑ มื้อ(ยกเว้นแต่ป่วย) ๘๑.ห้ามขออาหารชาวบ้านเพื่อมาฉันรวมมกลุ่มกับพวกของตน ๘๒.ห้ามนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น ๘๓.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร ๘๔.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว ๘๕.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันอีกเพื่อจับผิด ๘๖.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล(วิกาลโภชนา) ๘๗.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๘๘.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง(ยกเว้นขอต่อผู้ปวารณา) ๘๙.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน(ยกเว้นน้ำ) ๙๐.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่น ๙๑.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ ๙๒.ห้ามเข้าไปนั่งกีดขวางในห้องนอนของหญิงกับ ชายที่มีราคะ(เข้าไปขัดจังหวะชายหญิง) ๙๓.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับหญิง ๙๔.ห้ามนั่งในที่ลับหูสองต่อสองกับหญิง ๙๕.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ๙๖.ห้ามขอปัจจัยเภสัชเกินกำหนดชนิดและเวลาที่เขาปวารณาไว้ ๙๗..ห้ามไปดูกองทัพที่ยกออกไป ๙๘.ห้ามภิกษุมีกิจจำเป็นพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน ๙๙.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้นเมื่อมีกิจจำเป็นไปในกองทัพ ๑๐๐.ห้ามดื่มสุราเมรัย รวมของมึงเมาต่างๆ ๑๐๑.ห้ามจี้ภิกษุให้หัวเราะ ๑๐๒ห้ามว่ายน้ำเล่น ๑๐๓.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย ขืนประพฤติอนาจารอยู่ ๑๐๔.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว(หรือตกใจ) ๑๐๕.ห้ามก่อกองไฟเพื่อผิง(ยกเว้นผิงถ่านไฟที่ปราศจากเปลวไฟ ) ๑๐๖.ห้ามอาบน้ำบ่อย เว้นแต่มีเหตุ ๑๐๗.ห้ามทำเครื่องหมายจีวรที่ได้มาใหม่ ๑๐๘.วิกัปจีวรไว้แล้วจะใช้ถอนก่อน ๑๐๙.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น ๑๑๐.ห้ามฆ่าสัตว์ ๑๑๑.ห้ามดื่มน้ำมีตัวสัตว์ ๑๑๒.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินเป็นธรรมแล้ว ๑๑๓.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบ(อาบัติปาราชิก,อาบัติสังฆาทิเสส)ของภิกษุอื่น ๑๑๔.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี ๑๑๕.ห้ามเดินทางร่วมกับโจรหรือพ่อค้าผู้หนีภาษี ๑๑๖.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน ๑๑๗.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย ๑๑๘.ห้ามคบหากินอยู่ร่วมกับภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย ๑๑๙.ห้ามคบหาให้อุปัฏฐากกินอยู่ร่วมกับสามเณร ผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย ๑๒๐.ห้ามพูดเลี่ยงเพื่อหวังจะไม่ศึกษาในสิขาบท ๑๒๑.ห้ามกล่าวย่ำยีดูแคลนพระวินัย ๑๒๒.ห้ามพูดแก้ตัวว่าเพิ่งรู้ว่ามีในปาติโมกข์ ๑๒๓.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ ๑๒๔.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ ๑๒๕.ห้ามโจทอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล ๑๒๖.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น ๑๒๗.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน ๑๒๘.มอบฉันทะให้ทำการแทนแล้วห้ามพูดติเตียน ๑๒๙.ในที่ประชุมสงฆ์ตั้งญัตติแล้วกำลังทำการวินิจฉัยห้ามลุกไปโดยไม่ให้ความยินยอมต่อสงฆ์(เว้นไปสุขา) ๑๓๐.ร่วมกับสงฆ์ห้จีวรแก่ภิกษุแล้วห้ามติเตียนภายหลัง ๑๓๑.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล ๑๓๒.ห้ามเข้าไปในพระราชฐานชั้นในโดยไม่ได้ รับราชานุญาต ๑๓๓.ห้ามเก็บของมีค่า(รัตนะ)ที่ตกอยู่(เว้นตกในวัดเก็บไว้คืน) ๑๓๔.ห้ามเข้าบ้านยามวิกาลต้องลาภิกษุก่อน(เว้นมีธุระด่วน) ๑๓๕.ห้ามทำหล่อมเข็มด้วย กระดูก,งา,เขาสัตว์ ๑๓๖.ห้ามใช้เตียงตั่งมีเท้าสูงกว่า ๘ นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต ๑๓๗.ห้ามใช้เตียงตั่งหุ้มด้วยนุ่น ๑๓๘.ห้ามใช้ผ้าปูนั่งมีขนาดเกินกว่าขนาดยาว ๒ คืบกว้าง ๑ คืบ ชาย ๑ คืบด้วยคืบสุคต ๑๓๙.ห้ามใช้ผ้าปิดฝีมีขนาดเกินกว่าขนาดยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบ ด้วยคืบสุคต ๑๔๐.ห้ามใช้ผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินกว่าขนาด ยาว ๖คืบ กว้าง ๒ คืบด้วยคืบสุคต ๑๔๑.ห้ามใช้จีวรมีขนาดเท่ากับขนาดยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ด้วยคืบสุคต
ปาฎิเทสนียะ ๑๔๒.ห้ามรับของเคี้ยวของฉันจากมือนางภิกษุณี ๑๔๓.ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร ๑๔๔.ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ(ตระกูลที่ยากจน)นอกจากป่วยหรือเขานิมนต์แล้ว ๑๔๕..ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้บอกไว้ก่อนเมื่ออยู่ป่า ๑๕๙.เราจักไม่พูดเสียงดัง นั่งในบ้าน ๑๖๐.เราจักไม่เดินโคลงกาย ไปในบ้าน ๑๖๑.เราจักไม่นั่งโคลงกายในบ้าน ๑๖๒.เราจักไม่ไกวแขน ไปในบ้าน ๑๖๓.เราจักไม่ไกวแขน นั่งในบ้าน ๑๖๔.เราจักไม่สั่นศรีษะ ไปในบ้าน ๑๖๕.เราจักไม่สั่นศีรษะ นั่งในบ้าน ๑๖๖.เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปในบ้าน(เดินเท้าเอว) ๑๖๗.เราจักไม่เอามือค้ำกาย นั่งในบ้าน ๑๖๘.เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน ๑๖๙.เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ นั่งในบ้าน ๑๗๐.เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในเท้า ๑๗๑.เราจักไม่นั่งรัดเข่า ในบ้าน(กอดเข่า) ๑๗๒เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ ๑๗๓.เราจักดูแลแต่ในบาตร รับบิณฑบาต ๑๗๔.เราจักรับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง(ไม่รับมาก) ๑๔๖.เราจักนุ่งให้เป็นปริมณฑล(เบื้องล่างปิดเข่า เบื้องบนปิดสะดือไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง) ๑๔๗.เราจักห่มให้เป็นปริมณฑล(ให้ชายผ้าเสมอกัน ไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง) ๑๔๘.เราจักปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน ๑๔๙.เราจักปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน ๑๕๐.เราจักสำรวมด้วยดีไปในบ้าน (คือไม่คะนองมือคะนองเท้าหรือค้นหาอะไร) ๑๕๑.เราจักสำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน ๑๕๒.เราจักมีตาทอดลงไปในบ้าน(อินทรียสังวร) ๑๕๓.เราจักมีตาทอดลง นั่งในบ้าน(เพื่อป้องกันกิเลส) ๑๕๔.เราจักไม่เวิกผ้าไปในบ้าน ๑๕๕.เราจักไม่เวิกผ้า นั่งในบ้าน ๑๕๖.เราจักไม่หัวเราะดัง ไปในบ้าน ๑๕๗.เราจักไม่หัวเราะดัง นั่งในบ้าน ๑๕๘.เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปในบ้าน ๑๗๕.เราจักรับบิณฑบาตพอเสมอขอบปากบาตร ๑๗๖.เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ ไม่รังเกียจ ๑๗๗.เราจักดูแต่ในบาตร เวลาฉัน(ถ้าฉันในบาตร) ๑๗๘.เราจักฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ(ไม่ขุดให้แหว่ง). ๑๗๙.เราจักฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง(ไม่ฉันกับมากเกินไป) ๑๘๐.เราจักฉันบิณฑบาต ไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป ๑๘๑.เราจักไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยจะได้มาก ๑๘๒.เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อ ประโยชน์แก่ตนมาฉัน ๑๘๓.เราจักไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะเพ่งโทษ ๑๘๔.เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป ๑๘๕.เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม ๑๘๖.เราจักไม่อ้าปากในเมื่อคำข้าวยังไม่มาถึง(อ้างค้าง) ๑๘๗.เราจักไม่เอานิ้วมือทั้งหมดใส่ปากในขณะฉัน ๑๘๘.เราจักไม่พูดทั้งที่ปากยังมีคำข้าว ๑๘๙.เราจักไม่ฉันโยนคำข้าวเข้าปาก ๑๙๐.เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว ๑๙๑.เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ๑๙๒.เราจักไม่ฉันพลางสลัดมือพลาง ๑๙๓.เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว(ทำข้าวเรี่ยราด) ๑๙๔.เราจักไม่ฉันแลบลิ้น ๑๙๕.เราจักไม่ฉันดังจับๆ(ไม่สำรวม) ๑๙๖.เราจักไม่ฉันดังซูดๆ(ไม่สำรวม) ๑๙๗.เราจักไม่ฉันเลียมือ ๑๙๘.เราจักไม่ฉันขอดบาตร(เว้นเหลือน้อยต้องขอด) ๑๙๙.เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก ๒๐๐.เราจักไม่เอามือเปื้อนจักภาชนะน้ำ ๒๐๑.เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงใน ละแวกบ้าน(ดูสกปรกเป็นรังเกียจ) ๒๐๒.เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ ๒๐๓.เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มี ไม้พลองในมือ ๒๑๘.เราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ๒๑๙.เราไม่เป็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ บ้วนน้ำลายลงในของเขียว(พืชต้นไม้) ๒๒๐.เราไม่เป็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ บ้วนน้ำลายลงในน้ำ
อธิกาณะ ๒๒๑.การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้า(บุคคล,วัตถุ,ธรรม) ๒๒๒.การระงับอธิกรณ์ด้วยยกให้ว่าพระอรหันต์ เป็นผู้มีสติ) ๒๒๓.การระงับอธิกรณ์ด้วยยกประโยชน์ให้ ในขณะเป็นบ้า ๒๒๔.การระงับอธิกรณ์ด้วยถือตามคำรับของจำเลย ๒๒๕.การระงับอธิกรณ์ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ ๒๒๖.การระงับอธิกรณ์ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด ๒๒๗.การระงับอธิกรณ์ด้วยให้ประนีประนอมหรือ เลิกแล้วกันไป
พระภิกษุที่ก้าวล่วงพระวินัยบัญญัติ ต้องโทษตามสมควรแก่พระบัญญัติ
เช่น ปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที
สังฆาทิเสส ยังแก้ไขได้ แต่ต้องอาศัยสงฆ์ในการประพฤติวัตร อยู่กรรม มีปริวาสเป็นต้น
ส่วนอาบัติที่เหลือ เมื่อต้องเข้าแล้วสามารถแสดงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ ก็บริสุทธิ์ได้
การรับโทษทางพระวินัย แม้ไม่มีใครมาลงโทษแต่การกระทำของตนนั้นแหละลงโทษ คือ เมื่อ
ต้องอาบัติไม่แก้ไขให้ถูกต้อง อาบัตินั้นย่อมเป็นเครื่องกั้นคุณธรรมเบื้องสูง และทำให้เกิดใน
อบายภูมิได้
|