อนุปุพพิกถา คือ เทศนาที่ทรงแสดงตามลำดับ เพื่อชำระจิตของผู้ฟังให้ผ่องใสก่อนที่
จะทรงแสดงอริยสัจจ์ คือ เริ่มตั้งแต่เรื่องทาน ศีล อานิสงส์ของทาน ศีล ทำให้เกิดบน
สวรรค์ จากนั้นแสดงโทษของกาม คุณของเนกขัมมะ ต่อจากนั้นทรงแสดงอริยสัจจ-
ธรรม ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 63
...............................................................ขณะนั้น ยสกุลบุตร
เปล่งอุทานในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่
นี่ขัดข้องหนอ ทันทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะยสกุลบุตรว่า ดูก่อนยส ที่
นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดยส นั่งลง เราจักแสดงธรรมแก่เธอ ที่นั้น
ยสกุลบุตรร่าเริงบันเทิงใจว่าได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ดังนี้
แล้วถอดรองเท้าทองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อยสกุลบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้
มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา
สัคคกถา โทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองของกามทั้งหลาย และอานิสงส์
ในความออกจากกาม เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตสงบ มีจิตอ่อน
มีจิตปลอดจากนิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระ
ธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์
สมุทัย นิโรธ มรรค ดวงตาเห็นธรรมปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ว่า สิ่ง
ใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา
ได้เกิดแก่ยสกุลบุตร ณ ที่นั่งนั้นแล ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรได้รับ
น้ำย้อมเป็นอย่างดี ฉะนั้น.
เราเวียนว่ายตายเกิดมานับชาติไม่ถ้วนแล้ว ชาตินี้ก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่
กุศลกรรมให้ผลทำให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ แต่อีกไม่นานเราก็ต้องเปลี่ยนภพ
เปลี่ยนชาติกันอีกแล้ว เราจะมีชีวิตยืนยาวอยู่อีกกี่ปี กี่เดือน กี่วัน ถ้าคิดว่าเรา
จะอยู่กันอีก ๑๐ ปี ก็เพียง ๓๖๕๐ วัน ถ้า ๒๐ ปี ก็เพียง ๗๓๐๐ วันเท่านั้นเอง
แต่ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เราอาจจะตายวันนี้ พรุ่งนี้หรือเย็นนี้ก็ได้ เมื่อผล
ของกุศลกรรมที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์หมดสิ้นแล้ว
การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นเพราะชวนวิถีจิต สุดท้ายก่อนตายคือ ก่อนจุติ
จิต (จิตที่ทำกิจเคลื่อนจากภพชาติ) เป็นกุศลทำให้พ้นจากการเกิดในอบาย-
ภูมิ เมื่อรู้อย่างนี้บางคนคงจะตั้งใจว่า เมื่อเวลาใกล้ตายจะทำให้จิตให้เป็น
กุศล ซึ่งในความเป็นจริงกุศลจิตจะเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยให้เกิด ไม่มีใคร
บังคับให้จิตเป็นกุศลได้ เพราะจิตเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วไม่ได้อยู่ใน
อำนาจบังคับบัญชาของใคร ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงเตือนให้พุทธบริษัท
หมั่นเจริญกุศล เพราะกุศลเป็นเหตุให้ได้รับความสุข เมื่อหมั่นทำกุศลจนเป็น
นิสัย โอกาสที่ชวนจิตสุดท้ายก่อนจุติ (ตาย) จะเป็นกุศลก็มีมากกว่าคนที่
ประกอบแต่อกุศลกรรมเป็นนิจ ดังนั้น หากชวนจิตขณะสุดท้ายเป็นกุศล ก็จะ
เป็นเหตุให้ได้เกิดในสุคติภูมิ (ได้แก่ เกิดในมนุษย์โลก และสวรรค์ชั้นต่างๆ)
ในทางตรงข้าม ถ้าหากเราเป็นผู้ประมาท ประกอบอกุศลกรรมอยู่เสมอ
สะสมแต่อกุศลจิตจนเป็นอุปนิสัย โอกาสที่ชวนจิตสุดท้ายจะเป็นกุศลย่อม
เป็นไปไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นทุคติเป็นอันหวังได้ กล่าวคือ ย่อมไปเกิดในนรก
ภูมิ เปตวิสัย (ภูมิของเปรต) หรือ เดรัจฉานภูมิ
เราไม่รู้ว่ากรรมใดจะทำให้เกิดปฏิสนธิจิตในภพหน้า เพราะเราทำทั้ง
ความดีและความชั่วปะปนกันไป กรรมหนึ่งในชาตินี้หรือชาติก่อนๆ มีโอกาส
ทำให้ปฏิสนธิจิตในชาติหน้าเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงทรง
สอนให้เจริญกุศลนานาประการ เพราะเมื่อเจริญกุศลบ่อยๆ มากขึ้น ย่อมมี
โอกาสได้รับผลของกุศล ซึ่งให้ผลเป็นสุข
กุศลจิต เปรียบเหมือนเพื่อนสนิท
ส่วน อกุศลจิต เปรียบเสมือนศัตรู เพราะให้ผลเป็นทุกข์
เราต้องคอยหมั่นระวังศัตรู คืออกุศลจิตของเราเอง ดังนั้น เราจึงควร
ศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า กุศลจิตได้แก่ จิตประเภทใดบ้าง และอกุศล
จิต ได้แก่ จิตประเภทใดบ้าง เพื่ออบรมกุศลให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป และคอย
ระวังไม่ให้อกุศลจิตเกิด เพราะอกุศลจิตของเรานั่นเองคือศัตรูที่แท้จริง เมื่อ
เรายังไม่ได้ศึกษาพระธรรมที่ลึกซึ้งเราก็หลงนิยมชมชื่นกับศัตรู เพราะเข้าใจ
ผิดว่าศัตรู คือ มิตรสนิท แท้จริงแล้วเราชอบที่จะมีโลภะ เราชอบสิ่งนั้นสิ่งนี้
เราคิดว่าสิ่งต่างๆ นำความสุขมาให้ เราจึงอยากได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ
โดยไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ เราไม่เคยเห็นโทษของโลภะเลย เราไม่เคยรู้เลย
ว่าถูกโลภะครอบงำ ท่วมทับ และตกเป็นทาสของโลภะอยู่เป็นประจำ เราไม่
เคยรู้เลยว่าโลภะนี้เองนำมาซึ่งทุกข์ทั้งหลาย นอกจากเราเป็นมิตรกับอกุศล
ประเภทโลภะแล้ว เรายังเป็นมิตรกับอกุศลอีกประเภทหนึ่ง คือ โมหะ ความ
ไม่รู้ความจริง (สัจจธรรม) เราไม่มีความรู้ กระทั่งว่าเราไม่รู้อะไร ไม่รู้วาชาติ
หน้ามีจริงหรือไม่ ไม่รู้ว่าอะไรเป็นกุศลหรืออกุศลตามความเป็นจริง ต่อเมื่อ
ได้ศึกษาพระอภิธรรม และมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เราจึงจะเริ่มรู้
ว่าพระธรรมที่ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงนี้ เป็นคำสอนที่ประเสริฐสุด ยิ่งใหญ่
และน่าอัศจรรย์ เมื่อเรามีความเข้าใจพระธรรมมากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งรู้สึกซาบ
ซึ้งในพระมหากรุณาที่มีต่อชาวโลก และประจักษ์ในพระปัญญาคุณอันประ-
เสริฐมากขึ้นเท่านั้น
ถ้าเราไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของกรรมและการให้ผลของกรรม
เมื่อเห็นข้าราชการ นักธุรกิจ หรือนักการเมืองบางคนที่ประพฤติทุจริต เราคง
อดไม่ได้ที่จะโกรธ เคียดแค้นสาปแช่งผู้ประพฤติชั่วเหล่านั้น เราอาจจะคิดว่า
เราเป็นคนดีของสังคม เราเป็นผู้มีความยุติธรรม เราเป็นผู้เห็นแก่ประโยชน์
ส่วนรวม น่าที่ใครๆ จะยกย่องสรรเสริญ และน่าจะมาร่วมวงบริภาษคนโกง
ชาติกัน ในทางตรงกันข้ามเมื่อมีความเข้าใจเรื่องของกรรมและการให้ผล
ของกรรมแล้ว เราจะรู้ตัวว่า เราเป็นผู้ประมาทในชีวิต เราปล่อยเวลาให้ล่วง
เลยไปกับการกระทำทุจริตทางวาจาโดยผรุสวาจาบ้าง พูดส่อเสียดบ้าง พูด
มุสาบ้าง (พูดเกินความเป็นจริงเพื่อสีสันในการสนทนา) และสะสมเพิ่มพูน
โทสะไว้ในจิต ซึ่งก็คงจะต้องรอว่าเมื่อใดอกุศลกรรมนั้นจะย้อนมาให้ผลแก่
ตนเอง ความจริงที่ทุกคนควรทราบคือ ขณะที่เราโกรธไม่พอใจเมื่อเห็นคน
กระทำความชั่ว ขณะนั้นเราได้สะสมโทสะไว้ในจิตแล้ว เมื่อสะสมมากขึ้นจน
โทสะมีกำลัง วันใดวันหนึ่งเราอาจฆ่าคนได้
หลายคนคิดว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องกรรม และการให้ผล
ของกรรมนั้น เป็นเทคนิค หรือ วิธีการขู่ให้คนเกรงกลัวการกระทำชั่ว และคิด
ว่าเป็นอุบายให้คนกระทำความดี แต่เมื่อได้ศึกษาธรรมขั้นละเอียด (พระ-
อภิธรรม)ในเรื่องของจิต การทำงานของจิต และวิถีจิตแล้ว จะทราบได้ด้วย
ตนเองว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ขู่ ไม่ได้คิดกลยุทธ์ใดๆ ทั้งสิ้น แต่พระพุทธองค์
ทรงแสดงความจริงให้รู้ ซึ่งความจริงอันประเสริฐนี้ พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญ
พระบารมีมายาวนานกว่าจะบรรลุสัจธรรมนี้
ทุกคนอยากเป็นคนดี เพราะเรารู้ว่าคนดีใครๆ ก็ไม่รังเกียจ คนดีย่อม
เป็นที่รัก แต่เราจะอดทนที่จะกระทำความดีได้มาก ได้นานแค่ไหน ในเมื่อเรา
ยังมีจิตที่เต็มไปด้วยอกุศล (กิเลส) คือ มีความรักตน เห็นแก่ตัว ความอิจฉา
ความริษยา ความแข่งดี ที่เราสะสมมาช้านาน และยังนอนเนื่องอยู่ในจิตทุก
ขณะ ผู้ที่อบรมจิตมาดี ก็จะมีจิตเมตตาเห็นแก่ประโยชน์สุขของคนอื่นบ้าง
ตามกำลังของความเห็นแก่ตนหรือความรักตน
ถ้ารักตนเองมาก ย่อมเห็นประโยชน์ผู้อื่นน้อย
ถ้ารักตนเองน้อยลง ก็จะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมได้มาก
จิตของมนุษย์นั้นไซร้ยากแท้หยั่งถึง ไม่มีใครสามารถทราบจิตของ
คนอื่นได้จริงๆ มีแต่ตนเองเท่านั้น ที่จะรู้สภาพจิตของตนเอง การกระทำดี
ของแต่ละคน แม้ภาพภายนอกจะดูว่าผู้นั้นเป็นคนดี แต่เราจะรู้จิตใจที่แท้จริง
ของเขาหรือไม่ เราไม่สามารถทราบสภาพจิตที่แท้จริงของใครได้ แต่เรา
สามารถทราบสภาพจิตของเราเองว่าการที่เราทำดีกับผู้อื่น เป็นเพราะหวังผล
อะไรหรือไม่ เช่น
• ขยันทำงาน เพราะหวังให้เป็นที่ยกย่องสรรเสริญ
• อ่อนน้อมถ่อมตน เพราะหวังให้ผู้บังคับบัญชารัก
• ให้ของผู้อื่น เพราะหวังให้ตนเองเป็นที่รักใคร่ หรือหวังได้รับ
สิ่งหนึ่งสิ่งใดตอบแทน
• บริจาคเงินช่วยเหลือสังคมช่วยเหลือการกุศลต่าง ๆ เพื่อให้คนยก
ย่องสรรเสริญ
• บอกบุญเรี่ยไร เพราะหวังให้ตนเองได้บุญมากๆ
• พูดจาอ่อนหวาน ประจบช่วยเหลือกิจการงานของผู้บังคับบัญชา
เพราะหวังจะเป็นที่รักใคร่เอ็นดู จะได้มีโอกาสเจริญก้าวหน้าในหน้าที่
การงานเป็นพิเศษ
• พูดตำหนิการกระทำของผู้อื่น เพราะหวังให้ผู้ฟังเข้าใจว่า ตนเอง
ฉลาดกว่า เก่งกว่า ดีกว่า
• จำใจทำดี เพราะเกรงจะถูกตำหนิ หรือกลัวจะถูกลงโทษ (หวังใน
ความปลอดภัย)
• ออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ หรือออกกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์แก่
ตน และ/ หรือพวกพ้องของตน เป็นต้น
ความหวังที่แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในจิตนั้น แท้จริงแล้ว เป็นความรักตน
เห็นแก่ตน ที่เหนียวแน่น และฝังลึกยากจะถ่ายถอน เป็นอกุศลจิตที่ถ้าไม่มี
ความเข้าใจธรรมขั้นละเอียดแล้ว จะไม่เห็นเลยว่าเป็นโทษเป็นภัย และขัด
ขวางการอบรมเจริญบารมีเพื่อถึงฝั่ง (พระนิพพาน)
การทำความดีเพราะหวังในผลของการทำความดีนั้นเป็นอกุศล (โลภะ)
บางคนอาจจะรู้สึกไม่เห็นด้วยที่กล่าวเช่นนี้ เพราะคิดว่าทำความดีก็ดีแล้ว จะ
ทำดีด้วยมูลเหตุจูงใจอะไร ก็ไม่เห็นจะสำคัญตรงไหน หากเราจะพิจารณา
อย่างผิวเผิน ก็น่าจะใช่ แต่หากพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว จะทราบว่า
ความหวัง ความต้องการทุกชนิดเป็นลักษณะของโลภะ สำหรับผู้ที่ทำความ
ดีเพราะความเกรงกลัวต่าง ๆ นั้น เป็นอกุศลประเภทโทสะ สำหรับผู้ที่ทำดี
และพูดจายกย่องตนเองนั้นเป็นอกุศลประเภทโลภะ
สำหรับผู้ที่ทำดีและพูดจายกย่องตนเองนั้น พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรร-
เสริญโดยได้ทรงแสดงธรรมว่า ผู้ทรงบัณฑิตย่อมไม่สรรเสริญตนเอง ดังนั้น
จะไม่เป็นการดีกว่าหรือ ถ้าเราจะทำความดี เพราะความดีเป็นสิ่งที่ควรกระทำ
ทำความดีด้วยจิตที่มีเมตตา คิดจะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่
หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น
เราควรตั้งจิตไว้ชอบ คือ ทำความดีเพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือเพื่อ
ประโยชน์ของผู้อื่นโดยแท้ ไม่หวังแม้คำชมหรือคำสรรเสริญ เพื่อเป็นการ
เจริญกุศลให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
เราควรทำบุญแม้เพียงนิดหน่อยก็ไม่ควรละเลย เพื่อขัดเกลาจิตตนเอง
เพื่อลดความตระหนี่ ความเห็นแก่ได้ของตนลง
เราควรมีเมตตาแบ่งปันสิ่งต่างๆ ให้เพื่อนฝูงหรือญาติมิตรเพื่อให้เขาได้
รับประโยชน์ ไม่ใช่เพราะหวังประโยชน์ตอบแทน เราควรมีความอ่อนน้อม
ต่อผู้ใหญ่ เพราะจิตที่อ่อนน้อมเป็นสภาพจิตที่ดีงาม ไม่ใช่อ่อนน้อมเพราะ
หวังประจบ
การทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน (ลาภ ยศ สรรเสริญ) เป็นสิ่งที่
ควรกระทำ เพราะขณะที่ทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทนนั้นเป็นขณะที่
กุศลจิตมีกำลัง กุศลกรรมในขณะนั้นทำให้อกุศลกรรมระงับไป ดังนั้น ทุกคน
ควรหมั่นพิจารณาจิตของตน ว่าในแต่ละวันจิตเป็นอกุศลหรือกุศลมากน้อย
แค่ไหน ซึ่งเป็นการเจริญกุศลอย่างยิ่งประการหนึ่ง อีกทั้งเป็นการสะสมเหตุ
แห่งความสุขความเจริญทั้งในชาติปัจจุบันและชาติต่อๆ ไป
ทุกคนมีความรักตัวเองอย่างเหนียวแน่น จึงรักสุข (สุขเวทนา) เกลียด
ทุกข์ (ทุกขเวทนา) กันทั้งนั้น ทำกุศลก็เพื่อตนเองจะได้รับผลของกุศล เช่น
ทำบุญเพราะหวังจะได้ไปเกิดบนสวรรค์ ทำอกุศลก็เพื่อให้ตนเองได้รับสุขใน
ชาตินี้ เช่น บางคนพูดเท็จใส่ร้ายคนอื่นเพื่อให้ตนเองได้ดี บางคนประกอบ
อาชีพทุจริต เช่น ลักขโมย ขายยาเสพย์ติด บางคนมีอาชีพที่ดูจะสุจริตแต่
ประพฤติทุจริต เช่น คอรัปชั่นในวงการต่างๆ เพราะความเห็นแก่ตัว รักตนเอง
ทั้งสิ้น อยากให้ตนเองร่ำรวย อยากให้ตนเองเป็นใหญ่เป็นโต มีคนนับหน้าถือ
ตา อยากให้ตนเองเป็นใหญ่เป็นโต มีคนนับหน้าถือตา อยากให้ตนเองเป็นที่
ยกย่องสรรเสริญว่าร่ำรวยมีวาสนาบารมี มียศฐาบรรดาศักดิ์กว่าผู้อื่น
ความอยาก (โลภะ) ของมนุษย์มีมากมายไม่รู้จบ มีคำกล่าวว่า ภูเขา
ทอง ๒ ลูก ก็ยังไม่พอแก่โลภะ ยังอยากได้มากขึ้นไปอีก ตัวอย่างที่เห็นได้
ชัดเจนก็คือ เมื่อถึงคราวเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บรรดาผู้สมัครรับ
เลือกตั้งทั้งหลาย ต่างคนต่างภาวนาขอให้ได้รับเลือกตั้ง แม้ได้รับเลือกเป็น
ลำดับสุดท้ายก็ยังดีกว่าไม่ได้เลย พอได้รับเลือกตั้งเป็น สส. เข้าจริง ก็
ภาวนาขอให้ได้ตำแหน่งใหญ่โต เป็นรัฐมนตรีสักกระทรวงหนึ่ง กระทรวงไหน
ก็ได้เอาทั้งนั้น พอได้เป็นสมใจหวังก็คิด (โลภะ) อีกว่า น่าจะได้เป็นเจ้า
กระทรวงที่มีอำนาจมากๆ หน่อยก็จะดีจะได้เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล เมื่อได้
เป็นรัฐมนตรีไปสักระยะหนึ่ง ก็ใฝ่ฝันอยากเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก พอได้
เป็นนายกรัฐมนตรี ก็อยากเป็นต่อไปเรื่อยๆ ให้นานที่สุด
การที่ผู้ใดจะได้ลาภ ได้ยศ ไม่ได้เกิดจากความอยาก ทุกคนย่อมปรา-
รถนาอยากได้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนและผู้ที่ตนรักใคร่ผูกพัน แต่จะมีสักกี่คนที่
สมหวัง กรรมดีที่ได้กระทำไว้ดีแล้วเท่านั้นเป็นเหตุให้ได้รับสิ่งต่างๆ ที่ดี ที่น่า
ปรารถนา เพราะ เหตุ นั้นย่อมสมควรแก่ ผล เสมอ กล่าวคือ เมื่อทำเหตุมาดี
ย่อมได้รับผลที่ดี เมื่อทำเหตุไว้ไม่ดีหรือดีไม่พอ จะหวังหรืออยากอย่างไรก็
ไร้ผล
สังคมคงจะสงบร่มเย็นขึ้นถ้าทุกคนรู้จักคำว่า “พอ” แต่มนุษย์ปุถุชนใคร
เลยจะละกิเลสได้ เพราะคำว่า ปุถุชน แปลว่า ผู้หนาแน่นด้วยกิเลส ในเมื่อยัง
ละกิเลสไม่ได้ เราควรที่จะศึกษาพระธรรม เพื่อรู้จักลักษณะของกิเลสต่างๆ
จะได้หมั่นคอยสำรวจจิตตนเองเมื่อกิเลสเกิดขึ้น จะทำให้รู้จักตนเองตามที่
เป็นจริงว่ามีกิเลสมากแค่ไหน เมื่อใดมีปัญญามากขึ้น เห็นโทษภัยของกิเลส
อย่างแท้จริง ปัญญานั่นเองจะทำหน้าที่ละกิเลส การรู้จักกิเลสของตนเองมี
ประโยชน์กว่าคอยจ้องจับผิดกิเลสของผู้อื่น เพราะจะเป็นเหตุให้สำรวมกาย
วาจา ใจ ของตนให้เรียบร้อยดีงาม มีความประพฤติหรือแสดงออกที่ดีเป็น
กุศลกรรมต่อไป
|