Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

ปริยัติ 3 อย่าง

ศุกร์ 09 ต.ค. 2009 7:35 am

ปริยัติ ๓ อย่าง



จริงอยู่ ปริยัติ ๓

คือ

อลคัททูปมาปริยัติ ๑

นิสสรณัตถปริยัติ ๑

ภัณฑาคาริยปริยัติ* ๑


.


ในปริยัติ ๓ อย่างนั้น

ปริยัติใด อันบุคคลเรียนไม่ดี

คือ เรียนเพราะเหตุมีการโต้แย้ง เป็นต้น,

ปริยัตินี้ ชื่อว่า ปริยัติเปรียบด้วยงูพิษ.


ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า


ภิกษุทั้งหลาย !

เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ

เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่

พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง

งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือหรือแขน

หรือที่อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง

เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปางตาย

ซึ่งมีการกัดนั้นเป็นเหตุ.


ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ.?


ภิกษุทั้งหลาย !

เพราะงูพิษเขาจับไม่ดี แม้ฉันใด


ภิกษุทั้งหลาย !

โมฆบุรุษบางพวก ในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ

คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ


พวกเขาครั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว

ย่อมไม่พิจารณาแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา

ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ควรต่อการเพ่งพินิจแก่พวกเขา.


ผู้ไม่พิจารณาอรรถด้วยปัญญา

พวกเขาเรียนธรรม มีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์

และ มีหลักการบ่นเพ้อว่าอย่างนี้ เป็นอานิสงส์

และ ย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรม

ที่พวกกุลบุตรต้องประสงค์เล่าเรียน.


ธรรมเหล่านั้น ที่เขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์

เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน แก่โมฆบุรุษเหล่านั้น.


.


ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !

ข้อนั้น เพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดี ๑.


อนึ่ง

ปริยัติ อันบุคคลเรียนดีแล้ว

คือ

จำนงอยู่ ซึ่งความบริบูรณ์แห่งคุณ

มีสีลขันธ์ เป็นต้นนั่นแล เรียนแล้ว.

ไม่เรียนเพราะเหตุมีความโต้แย้ง เป็นต้น,


ปริยัตินี้ ชื่อว่า ปริยัติมีประโยชน์ที่จะออกจากวัฏฏะ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า

ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุขสิ้นกาลนานแก่กุลบุตรเหล่านั้น.


.


ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !

ข้อนั้น เพราะธรรมทั้งหลาย อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ๒ ดังนี้.


.


ส่วนพระขีณาสพ

ผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละแล้ว

มีมรรคอันอบรมแล้ว

มีธรรมอันไม่กำเริบแทงตลอดแล้ว

มีนิโรธอันกระทำให้แจ้งแล้ว

ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใด เพื่อต้องการแก่อันดำรงซึ่งประเพณี

เพื่อต้องการแก่อันตามรักษาซึ่งวงศ์


ปริยัตินี้

ชื่อว่า

ปริยัติของท่านผู้ประดุจขุนคลัง.

อธิบาย คัมภีรภาพ ๔ อย่าง


บรรดาคัมภีรภาพทั้ง ๔ นั้น


พระบาลี

ชื่อว่า ธรรม.


เนื้อความแห่งพระบาลีนั้นนั่นแล

ชื่อว่า อรรถ.


การแสดงพระบาลีนั้น ที่กำหนดไว้ด้วยใจนั้น

ชื่อว่า เทศนา.


การหยั่งรู้พระบาลีและอรรณแห่งพระบาลีตามเป็นจริง

ชื่อว่า ปฏิเวธ.




ก็เพราะในปิฎกทั้ง ๓ นี้

ธรรม อรรถ เทศนา และ ปฏิเวธ เหล่านี้

อันบุคคล ผู้มีปัญญาทรามทั้งหลาย หยั่งลงได้ยาก

และมีที่ตั้งอาศัย ที่พวกเขาไม่พึงได้

ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลาย

มีกระต่ายเป็นต้น หยั่งลงได้ยาก ฉะนั้น,

เพราะฉะนั้น จึงจัดว่าเป็นคุณลึกซึ้ง.


ก็แลบัณฑิตพึงทราบ คัมภีรภาพทั้ง ๔

ในปิฏกทั้ง ๓ นี้ แต่ละปิฎก

ด้วยประการฉะนี้.


.


[อธิบายคัมภีรภาพอีกนัยหนึ่ง]

อีกอย่างหนึ่ง


เหตุ ชื่อว่าธรรม,

สมจริง ดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ความรู้ในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ๑.



ผลแห่งเหตุ ชื่อว่า อรรถ

สมจริง ดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ว่า

ความรู้ในผลแห่งเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ๒.


บัญญัติ

อธิบายว่า

การเทศนาธรรมตามธรรม ชื่อว่า เทศนา.



การตรัสรู้ ชื่อว่า ปฏิเวธ.

ก็ปฏิเวธนั้น เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ

คือ ความรู้รวมลงในธรรมตามสมควรแก่อรรถ

ในอรรถตามสมควรแก่ธรรม

ในบัญญัติตามสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ

โดยวิสัยและโดยความไม่งมงาย ๓.


บัดนี้

ควรทราบ คัมภีร์ทั้ง ๔ ประการ

ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ แต่ละปิฎก


เพราะเหตุที่ธรรมชาต หรืออรรถชาตใด ๆ ก็ดี.


อรรถ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงให้ทราบ

ย่อมเป็นอรรถ

มีหน้าเฉพาะต่อญาณของนักศึกษาทั้งหลาย

ด้วยประการใด ๆ


เทศนา อันส่องอรรถนั้นให้กระจ่าง

ด้วยประการนั้น ๆ นี้ใดก็ดี.


ปฏิเวธ คือ ความหยั่งรู้

ไม่วิปริตในธรรม อรรถ และ เทศนานี้ใด ก็ดี.


ในปิฎกเหล่านี้

ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ ทั้งหมดนี้

อันบุคคลผู้มีปัญญาทรามทั้งหลาย

มิใช่ผู้มีกุศลสมภารได้ก่อสร้างไว้

พึงหยั่งถึงได้ยาก และ ที่พึ่งอาศัยไม่ได้

ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลาย

มีกระต่ายเป็นต้น หยั่งถึงได้ยาก ฉะนั้น.


ก็พระคาถานี้ว่า

บัณฑิตพึงแสดงความต่างแห่งเทศนา ศาสนา กถา

และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ

ในปิฎกเหล่านั้นตามสมควร

ดังนี้

(๑-๒ อภิ. วิ. ๓๕/๓๙๙. ๓. สารตฺถทีปนี. ๑/๑๒๒. )

อธิบายว่า

ในความตรัสรู้ เป็นโลกิยะ และ โลกุตระนั้น

ความหยั่งรู้ เป็นโลกิยะ มีธรรม มีอวิชชา เป็นต้น เป็นอารมณ์

มีสังขาร มีอรรถ เป็นต้น เป็นอารมณ์

มีการให้เข้าใจธรรมและอรรถทั้งสองนั้น เป็นอารมณ์

ชื่อว่า ความรู้ รวมลงในธรรม เป็นต้น

ตามสมควรแก่อรรถ เป็นต้น โดยวิสัย.

ส่วนความตรัสรู้ เป็นโลกุตระนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์

สัมปยุตด้วยมรรค มีการกำจัดความงมงายในธรรม

Re: ปริยัติ 3 อย่าง

ศุกร์ 09 ต.ค. 2009 8:41 am

ขอบคุณครับ
1187888343540.gif
1187888343540.gif (3.35 KiB) เปิดดู 850 ครั้ง
ตอบกระทู้