ศุกร์ 09 ต.ค. 2009 1:35 pm
- character.jpg (30.8 KiB) เปิดดู 1077 ครั้ง
๑. หลวงปู่กล่าวรับรองว่าบทสวดมนต์แต่ละบท ๆ ในเจ็ดตำนานก็ดี ๑๒ ตำนานก็ดี ท่านว่าท่านเคยได้พิจารณาโดยตลอดแล้ว พบว่าดีทั้งนั้น ใช้ได้ทั้งนั้น ดีทุก ๆ บทเลยทีเดียว
๒. บทไตรสรณาคมน์นั้น (พุทธังสรณังคัจฉามิ ธัมมังสรณังคัจฉามิ สังฆังสรณัง คัจฉามิ) ท่านว่า
“สวดครั้งหนึ่ง (ด้วยจิตที่เลื่อมใสศรัทธาและเป็นสมาธิ) มีอานิสงส์ไปถึง ๕ กัลป์เชียว”๓. สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าตนประสบเคราะห์นั้นท่านแนะให้สวดอิติปิโสฯ (บทสรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ) เท่าอายุบวกหนึ่ง
๔. บางครั้ง ผู้ที่เขามาคอยรับส่วนบุญ เขามีเวลาน้อย (อาจขออนุญาตผู้คุมมาได้เดี๋ยวเดียว) หรืออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีเวลาน้อย หรือจะด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี หลวงปู่จึงได้มีบทแผ่เมตตาชนิดสั้นแต่มีประสิทธิผลมากคือ “พุทธัง อนันตังฯ”) แทนบทกรวดน้ำ ซึ่งค่อนข้างยาวและกินเวลามากและเหมาะกับการแผ่เมตตาประจำวันหลังสวดมนต์ทำวัตรมากกว่า
๕. บทบูชาพระ (นะโมพุทธายะฯ) หลวงปู่บอกว่า
“สวดแล้วรับรองว่าไม่มีจน” ท่านเอามาจากวัดประดู่ทรงธรรม สมัยที่ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่นั่น และเพื่อให้ลูกศิษย์ไม่มองข้ามความสำคัญ เพราะเหตุที่ได้มาจากหลวงปู่ง่าย ๆ ท่านจึงพุดแบบอมยิ้มไปด้วยว่า
“คาถาดี ๆ นี่ อาจารย์สมัยก่อนเขาหวงกันนะ เขาไม่เอามาบอกง่าย ๆ หรอกแก” ๖. จุดสำคัญในเวลาสวดมนต์หรืออธิษฐานคาถาใด ๆ ต้องทำจิตให้เป็นสมาธิ ให้จิตสว่าง ให้จิตมีภาวะตื่น จึงจะมีผลมาก และถือเป็นสร้างความชำนาญในการทำกรรมฐานไปด้วยทุกครั้ง (สำหรับบทสวดมนต์ (ไม่ใช่คาถา) นั้น ถ้ามีโอกาสก็ควรศึกษาคำแปลเพื่อให้เกิดความเข้าใจข้อธรรมและซาบซึ้งในคุณพระรัตนตรัยยิ่ง ๆ ขึ้นไป)
๗. สุดท้าย หลวงปู่บอกว่า
“สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน” สวดมนต์นานเท่าไรไม่ว่า แต่ภาวนาให้มากกว่าจึงจะถือว่าได้จัดสรรเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
----------------------------------------------
บทความจากพี่พรสิทธิ์