Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

วิปัสนุ

อาทิตย์ 11 ต.ค. 2009 4:21 pm

คำว่า วิปัสสนูปกิเลส หมายถึง ความเศร้าหมองของวิปัสสนา ข้อความในพระไตร-

ปิฎกและอรรถกถาท่านแสดงว่า ผู้ที่เจริญวิปัสสนาจนถึงระดับสัมมสนญาณและอุท-

ยัพพยญาณ เมื่ออุทยัพพยญาณดับไปแล้ว กิเลสที่ยังไม่ได้ดับเป็นสมุทจเฉทก็ทำให้

เกิดความพอใจใน วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น โอภาส ญาณ ปีติ สุข

เป็นต้น นี้เรียกว่า ความเศร้าหมองของวิปัสสนา สำหรับขณะทั่วๆไปผู้ที่ยังมีกิเลส มี

เครื่องเศร้าหมองของจิต(อุปกิเลส) เกิดเป็นปกติอยู่แล้ว



ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิปัสสนูปกิเลสอาจจะเกิดขึ้นได้ บุคคลนั้นต้องเริ่มจากเกิดจากการอบรมปัญญา

ขั้นการฟังด้วยความเข้าใจถูกก่อน จนปัญญาถึงระดับวิปัสสนาญาณ วิปัสสนูป-

กิเลสจึงเกิดขึ้นได้ (แต่ไมได้หมายความว่า วิปัสสนูปกิเลสเกิดจากความเห็นถูก

แต่ต้องเริ่มจากความเข้าใจถูกก่อนจึงจะถึงระดับวิปัสสนาญาณ) ดังนั้น หากยัง

ไม่เข้าใจหนทางที่ถูกต้องแม้ขั้นการฟัง ก็อาจสำคัญในสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็น

วิปัสสนูปกิเลส ก็ถูกกิเลสหลอกอีก ไม่พ้นไปจากความไม่รู้ ดังนั้นปัญญาเริ่มต้น

จึงควรเข้าใจก่อนว่าธรรมคืออะไร
สัมมสนญานเป็นวิปัสนาญาณที่เจือด้วยความคิดอยู่ ถึงแม้จะประจักษ์ในเรื่องรูป-

นามแล้ว ที่สำคัญเราคิดเรื่องอะไรก็ขอให้รู้ว่าคิดครับ เพราะความคิดเป็นต้นเหตุของ

ความสงสัยและความสงสัยเป็นเหตุให้เราคิดหาคำตอบโดยวิธีการต่างๆ หรือแม้กระทั่ง

คิดว่าบรรลุธรรมแล้วถ้าเรารู้ไม่ทันก็จะสมมุติให้ตัวเองอยู่ขั้นนี้ อยู่ขั้นนั้น เป็นโน่นเป็นนี่

การตัดสินความรู้เป็นเรื่องของสติปัญญาเขาทำหน้าที่ ไม่มีเราเป็นผู้ตัดสิน ก็แล้วแต่จะ

ใส่ชื่อใส่สมมุติว่าอะไรมันก็เป็นแค่สมมุติ ถ้าติดสมมุติก็ยังเป็นวิปัสสนูปกิเลส แต่แท้

จริงแล้ว ทั้งความคิด และความสงสัย ก็เป็นธรรมะ

ผิดถูกประการใดแล้วแต่ท่านผู้รู้จะพิจารณา ขออนุโมทนา
ตอบกระทู้