Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

การอบรมเจริญเมตตา

จันทร์ 12 ต.ค. 2009 7:52 am

การอบรมเจริญเมตตานั้นจะเป็นไปได้เมื่อรู้ลักษณะของเมตตา คือ ไมตรี

ความรู้สึกเป็นมิตร ความสนิทสนม ความเกื้อกูล ความนำประโยชน์สุขมาให้

ขณะใดที่เมตตาเกิด ขณะนั้นจิตอ่อนโยน ปราศจาก มานะ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ยกตน

สำคัญตน และข่มบุคคลอื่น

การอบรมเจริญเมตตาจริงๆ นั้นจะขัดเกลาอกุศลธรรมหลายอย่าง ปกติอาจไม่รู้สึก

ตัวว่ามี มานะ อิสสา มัจฉริยะ โทสะ และอกุศลธรรมอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน

เมื่ออบรมเจริญเมตตาขึ้น อกุศลธรรมเหล่านั้นจะละคลายลดน้อยไปด้วย

ผู้ใคร่จะขัดเกลามานะและเจริญเมตตาเพิ่มขึ้น ควรรู้ลักษณะของมานะ

ซึ่งข้อความในอัฎฐสาลินี นิกเขปกัณฑ์ อธิบายนิทเทสมานสังโญชน์ (๑๑๒๑)

มีชื่อว่า ความถือตัว เนื่องด้วยกระทำมานะ

คำว่า "กิริยาถือตัว ความถือตัว" แสดงขยายถึงอาการและภาวะ ที่ชื่อว่า การยก-

ตน เกี่ยวกับการเชิดชูตน

การยกตนเกิดขึ้นกับบุคคลใด ย่อมยังบุคคลนั้นให้เทิดขึ้น คือ สถาปนาตนยก

ขึ้นไว้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า ความเทิดตน

ที่ชื่อว่า "การเชิดชูตนดุจธง" โดยความหมายว่า ทำตัวให้เด่นขึ้น (ทำให้เด่น

หรือสำคัญขึ้น)

ที่ชื่อว่า "การยกจิตขึ้น" ด้วยอรรถว่า ประคองจิตไว้โดยความหมายว่ายกขึ้นไว้

บรรดาธงหลายคัน ธงที่ยกขึ้นสูงกว่าเขา ชื่อว่า เกตุ หมายความว่า ธงเด่น

แม้มานะเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็เปรียบได้กับ ธงเด่น โดยเทียบกับมานะต่อๆมา เหตุฉะนั้น

จึงชื่อว่า เกตุ แปลว่าดุจธงเด่น

ธรรมชาติที่ชื่อว่า เกตุกมย ด้วยอรรถว่าปราถนาเป็นดุจธง ภาวะแห่งธรรมชาติที่ต้อง

การ ดุจธง ชื่อว่า เกตุกมยตา แปลว่า ความต้องการเป็นดุจธงและความต้องการเป็น

ดุจธงนั้นเป็นของจิต ไม่ใช่ของตนด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า

"ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง" จริงอยู่จิตที่สัมปยุตต์ด้วยมานะ ย่อมปราถนาเป็นดุจธง

และภาวะแห่งจิตนั้น ชื่อว่าความต้องการเป็นดุจธ ได้แก่ "มานะ" ที่นับว่าเป็นดุจธง

ที่กล่าวถึงลักษณะของมานะก็เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะของอกุศลธรรม ซึ่ง

ไม่ใช่ลักษณะอาการที่อ่อนโยน สนิทสนม เป็นไมตรีกับผู้อื่น

ผู้ที่อบรมเจริญเมตตานั้น เมื่อสติสัมปชัญญะเกิดจึงรู้ได้ว่าขณะนั้นเป็นกุศลหรือ

อกุศล ขณะใดมีมานะ ขณะนั้นไม่ใช่ เมตตา

ขณะใดที่อิสสาคือ ริษยา ขณะนั้นก็ไม่เป็นมิตรกับผู้ที่ถูกริษยาแน่นอน ฉะนั้นใน

วันหนึ่งๆ ผู้เจริญเมตตาจริงๆ จึงต้องระลึกรู้ลักษณะอาการสนิทสนมที่จะต้องปราศจาก

ความริษยาในบุคคลอื่นๆด้วย



อย่างไรก็ตาม ถ้ายังไม่มีการแสดงออกทางกาย หรือ วาจา ยังเป็น

เพียงความคิด ก็จะเป็นการสะสมเป็นอุปนิสัยสืบต่อไป ยังไม่เป็นกรรม แต่

หากได้มีการกระทำออกมาทางกาย วาจา ที่ล่วงอกุศลกรรมบถ หรือเป็น

ทุจริตที่มีกำลัง ก็ย่อมจะให้ผลเป็นอกุศลวิบากทั้งสิ้น ทางฝ่ายกุศลกรรมก็

โดยนัยเดียวกัน

ดังนั้น เราจึงควรอบรมจิตให้เป็นจิตที่ดีเป็นกุศล อันจะเป็นเหตุให้ได้

รับผลที่ดี คือ กุศลวิบากในอนาคต และควรลดละอกุศลจิตซึ่งเป็นจิตชั้นเลว

อันจะเป็นเหตุให้เกิดผลที่เป็นทุกข์ไม่น่าพอใจ จิตที่ดีที่สุด คือ จิตที่ประกอบ

ด้วยปัญญาซึ่งรู้แจ้งในสภาพธรรมตามความเป็นจริง

Re: การอบรมเจริญเมตตา

จันทร์ 12 ต.ค. 2009 9:39 am

ขอบคุณครับ
ตอบกระทู้