พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
เสาร์ 17 ต.ค. 2009 9:47 am
ขณะที่เราเสียสละทรัพย์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ขณะนั้นจิตเป็นบุญ
คือ กุศลจิต ส่วนผู้ที่รับจะนำไปใช้ในทางไหนอีกเรื่องหนึ่ง ทานกุศล
ของผู้บริจาคสำเร็จแล้ว
บุญและกุศล ต่างกันที่คำ โดยอรรถมีความหมายเหมือนกัน บุญคือกุศล
กุศลคือบุญ
ทุกกรสูตร.....ว่าด้วย ธรรมที่ทำได้ยาก
[๓๖]
เทวดากล่าวว่า
ธรรมของสมณะ
คนไม่ฉลาด ทำได้ยาก ทนได้ยาก
เพราะธรรมของสมณะนั้น มีความลำบากมาก
เป็นที่ติดขัดของคนพาล.
[๓๗]
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
คนพาล ประพฤติธรรมของสมณะ สิ้นวันเท่าใด
หากไม่ห้ามจิต เขาตกอยู่ในอำนาจของความดำริทั้งหลาย
พึงติดขัดอยู่ทุก ๆ อารมณ์
ภิกษุ ยั้งวิตกในใจไว้ได้
เหมือนเต่าหดอวัยวะทั้งหลาย ไว้ในกระดองของตน
อันตัณหานิสัย และ ทิฏฐินิสัย ไม่พัวพันแล้ว
ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น ปรินิพพานแล้ว
ไม่พึงติเตียนใคร.
อรรถกถาทุกกรสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุกกรสูตรที่ ๗ ต่อไป :-
บทว่า ทุตฺติติกิขํ ได้แก่ ทนได้ยาก คือ อดกลั้นได้โดยยาก.
บทว่า อพฺยตฺเตน แปลว่า คนพาล.
บทว่า สามญฺญํ แปลว่า ธรรมของสมณะ
อธิบายว่า
เทวดา ย่อมแสดงคำนี้ว่า
กุลบุตรผู้ฉลาด ฝึกสมณธรรมอันใด ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง
แม้ถือการฝึกอย่างยิ่ง คือ กดเพดานด้วยลิ้นบ้าง ข่มจิตด้วยจิตบ้าง
เสพอยู่ซึ่งอาสนะเดียว ซึ่งภัตหนเดียว
ประพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิต กระทำอยู่ซึ่ง ธรรมของสมณะ
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
คนพาล ผู้ไม่ฉลาด
ย่อมไม่อาจเพื่อกระทำซึ่งธรรมของสมณะนั้นได้ ดังนี้.
บทว่า พหู หิ ตตฺถ สมฺพาธา ความว่า
เทวดาย่อมแสดงว่า
ความลำบากมาก ของคนพาลผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุมรรคในอริยมรรค
กล่าวคือ ธรรมของสมณะนั้น เพราะในส่วนเบื้องต้น ย่อมมีอันตรายมาก ดังนี้.
บทว่า จิตฺตํ เจ น นิวารเย
อธิบายว่า
หากว่าไม่พึงห้ามจิตอันเกิดขึ้น โดยอุบายอันไม่แยบคายไซร้
ก็พึงประพฤติธรรมของสมณะได้สิ้นวันเล็กน้อย คือ พึงประพฤติได้วันหนึ่งบ้าง
เพราะว่า บุคคลผู้ตกอยู่ในอำนาจจิต
ย่อมไม่อาจเพื่อกระทำธรรมของสมณะได้.
บทว่า ปเท ปเท
ได้เเก่ ทุก ๆ อารมณ์ จริงอยู่
ในที่นี้ ปทศัพท์ ท่านหมายถึงอารมณ์
เพราะว่า อารมณ์ใด ๆ ที่กิเลสเกิด
คนพาลย่อมจมอยู่ (ย่อมติดขัด) ในอารมณ์นั้น ๆ
ปทศัพท์ จะหมายถึง อิริยาบถด้วยก็สมควร
เพราะว่า กิเลสย่อมเกิดขึ้นในอิริยาบถใด ๆ มีการเดินเป็นต้น
คนพาลนั้น ชื่อว่า ย่อมจมลง ในอิริยาบถนั้น ๆ นั่นแหละ.
บทว่า สงฺกปฺปานํ แปลว่า มีกามวิตกเป็นต้น.
บทว่า กุมฺโมว แปลว่า เหมือนเต่า.
บทว่า องฺคานิ ได้แก่ อวัยวะทั้งหลายมีคอเป็นที่ครบห้า.
บทว่า สโมทหํ แปลว่า หดอยู่ หรือว่า หดแล้ว.
บทว่า มโนวิตกฺเก แปลว่า วิตกอันเกิดขึ้นในใจ.
พระผู้มีภาคเจ้า ทรงแสดงคำนี้ไว้ ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า
เต่าหดอวัยวะทั้งหลาย มีคอเป็นที่ ๕ ไว้ในกระดองของตน
ไม่ให้ช่องแก่สุนัขจิ้งจอก
เพราะการหดตน จึงพ้นจากอันตรายแม้ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ
ยั้งวิตกที่เกิดขึ้นในใจ ในการรักษาอารมณ์ของตน
ย่อมไม่ให้ช่องแก่มาร
แม้เพราะการยั้งนั้น เธอจึงถึงความไม่มีภัย ดังนี้.
บทว่า อนิสฺสิตฺโต แปลว่า
เป็นผู้อันตัณหานิสัย และ ทิฐินิสัยไม่อาศัยแล้ว.
บทว่า อเหฐมาโน แปลว่า ไม่เบียดเบียนอยู่.
บทว่า ปรินิพฺพุโต
แปลว่า ปรินิพพานแล้ว ด้วยกิเลสนิพพาน (ด้วยการดับสนิทแห่งกิเลส).
บทว่า นูปวเทยฺย กญฺจิ อธิบายว่า
เป็นผู้ใคร่เพื่อกระทำให้เก้อด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความวิบัติแห่งอาจาระ เป็นต้น
ไม่พึงกล่าวกะบุคคลไร ๆ อื่น คือว่า ก็ภิกษุเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง ธรรม ๕ อย่าง
มีคำว่า เราจักกล่าวโดยกาลอันสมควร
จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่สมควร เป็นต้น ไว้ในภายใน
แล้วอาศัยความเป็นผู้กรุณา
พึงกล่าว ด้วยจิตอันดำรงไว้ในสภาพแห่งความอนุเคราะห์
ดังนี้แล.
กุศลจิตไม่ได้ยั่งยืนยาวนาน เกิดขึ้นแล้วก็ดับ
ไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น เวลาที่กุศลจิตดับแล้ว
อกุศลจิตก็เกิดต่อ เพราะฉะนั้น การที่จะบอกว่า ได้บุญ
ไหม ? ...ขณะใดที่เป็นกุศลจิต เป็นบุญ เป็นกุศล แต่กุศล
จิตก็ดับไปแล้ว และอกุศลจิตก็เกิดได้ จะให้มีกุศลตลอด
ไปไม่ได้
...ทำอย่างนั้น ...ทำอย่างนี้
จะเป็นบุญไหม ถ้าเป็นบุญก็จะทำ คล้ายๆ กับว่า อยากจะ
ได้บุญ โดยที่ไม่เข้าใจว่า "บุญคือกุศลจิต" ขณะใด
ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ ขณะนั้นคือบุญ
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องคิดว่า ได้ไหม เป็นบุญไหม
จะได้บุญไหม...
เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องเรียนเรื่อง "กุศลจิต
และอกุศลจิตอย่างละเอียด" ถ้าต้องการบุญจริงๆ ก็จะต้อง
รู้ว่ากุศลจิตต่างกับอกุศลจิต และขณะใดเป็นกุศล ขณะ
ใดเป็นอกุศล การศึกษาธรรม ก็เพื่อให้รู้ตามความเป็น
จริงว่า กุศลเป็นกุศล และอกุศลเป็นอกุศล บุญคือกุศลจิต
เกิดขณะใดเป็นบุญขณะนั้น
นี่เป็นตัวอย่างที่กว้างไกล เพราะมีกุศลจิตเกิด
บ้าง อกุศลจิตเกิดบ้าง สลับดับไปอย่างรวดเร็ว แต่ที่จะให้
รู้ชัดก็คือว่า ...รู้จิตของตนเองว่า ขณะใดเป็นกุศล ขณะใด
เป็นอกุศล ...แล้วจะตอบปัญหาได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องของการใส่บาตร หรือเรื่องของการสร้างวัด สร้างโรง
พยาบาล สร้างโรงเรียนหรืออะไรๆ ก็ตามแต่ ถ้ารู้ลักษณะ
ของจิต ก็จะตอบคำถามได้ทั้งหมดแต่ถ้าไม่รู้ลักษณะ
ของจิต จะตอบได้อย่างไร ไม่ทราบว่าจิตของท่านที่
ถาม หวังอะไร หรือต้องการอะไรหรือเปล่า ? เพราะโลภะนี้
ไม่ห่างไกลเลย และหนียาก ยากที่จะพ้นได้ แม้แต่กุศลทั้ง
หลาย ไม่ว่ากุศลที่เป็นทาน หรือศีล หรือสมถภาวนาก็ตาม
แต่ก็ยังเป็นปัจจัยให้เกิดโลภะได้
คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ
คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม
เมื่อนรชนถูกความโลภครอบงำ ย่อมมืดตื้อทันที
ความโลภก่อให้เกิดความพินาศ
ความโลภทำให้จิตอยากได้
ชนไม่รู้จักความโลภนั้นซึ่งเป็นภัยเกิดในภายใน ดังนี้.
เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องเรียนเรื่อง "กุศลจิต
และอกุศลจิตอย่างละเอียด" ถ้าต้องการบุญจริงๆ ก็จะต้อง
รู้ว่ากุศลจิตต่างกับอกุศลจิต และขณะใดเป็นกุศล ขณะ
ใดเป็นอกุศล การศึกษาธรรม ก็เพื่อให้รู้ตามความเป็น
จริงว่า กุศลเป็นกุศล และอกุศลเป็นอกุศล บุญคือกุศลจิต
เกิดขณะใดเป็นบุญขณะนั้น
เพราะโลภะนี้
ไม่ห่างไกลเลย และหนียาก ยากที่จะพ้นได้ แม้แต่กุศลทั้ง
หลาย ไม่ว่ากุศลที่เป็นทาน หรือศีล หรือสมถภาวนาก็ตาม
แต่ก็ยังเป็นปัจจัยให้เกิดโลภะได้
เอาบุญมาฝากวันนี้ได้ถวายสังฆทาน สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม ให้ธรรมะเป็นทาน เจริญวิปัสสนา กำหนดอิริยาบทย่อย ศึกษาธรรม ฝึกสมถกรรมฐานอนุสติ 3 อย่างคือ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
เสาร์ 17 ต.ค. 2009 2:51 pm
สาธุครับ
Powered by phpBB © phpBB Group.
phpBB Mobile / SEO by Artodia.