เพราะเหตุว่าเป็นเรื่องของความอดทน ความอดกลั้นทุกทางทุกสถานะการณ์ด้วย
แต่เมื่อระลึกถึงอดีตชาติของท่านพระสาวกทั้งหลาย ก็จะเห็นได้ว่า ก่อนทีท่าน
จะมีความอดทนถึงอย่างนั้น ท่านก็เป็นผู้ที่ มีโลภะ มีโทสะ มีโมหะ มีอกุศล
มากมายเหมือนอย่างทุกท่านที่นี่ แต่ว่าท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่มีปัญญาและก็เห็นคุณ
ของความอดทน เห็นคุณของกุศลทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท่านก็มีความอดทนที่จะ
อบรมเจริญกุศลทุกประการ จนในที่สุดบารมีทั้งหลายก็ถึงที่สุด ด้วยการรู้แจ้งอริยสัจจ
ธรรม เพราะฉะนั้นเรื่องของบารมี เป็นเรื่องที่จบเมื่อสมบรูณ์ แต่ว่าก่อนที่จะถึงความ
สมบรูณ์ ก่อนที่จะจบลงได้ ก็จะต้องอบรมไป และก็ อดทนไปแต่ละชาติ ซึ่ง
ก็เป็นจิรกาลภาวนา เพราะเหตุว่าต้องอาศัยกาลเวลา ในการอบรมเจริญปัญญา เพื่อ
ที่จะขัดเกลากิเลส เมื่อเห็นกิเลสมากเท่าไหร ก็รู้ว่าจะต้องอาศัยกาลเวลานานมากที
เดียว กว่าทีจะขัดเกลากิเลสนั้น ๆ ได้ โดยที่ไม่ขาดการฟังพระธรรม และก็ไม่
ขาดการที่จะพิจารณาตนเอง เพราะเหตุว่าพระธรรมที่ได้ฟังทั้งหมด เป็นเรื่องของ
การอบรมเจริญปัญญา และการขัดเกลากิเลสทั้งสิ้น...
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 452-458
(ทุติยวรรคที่ ๒)
ชฏิลสูตร...ไม่ควรวางใจ เพราะเห็นครู่เดียว
[๓๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่
ณ พระวิหารบุพพารามปราสาทของมิคารมารดา กรุงสาวัตถี.
สมัยนั้น ในเวลาเย็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ประทับนั่งที่นอกซุ้มประตู.
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๓๕๕]
สมัยนั้น ชฏิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎกนิครนถ์ ๗ คน
ปริพาชก ๗ คน ผู้มีขนรักแร้ เล็บ และขนยาว ถือเครื่องบริขารต่าง ๆ
เดินผ่านไปในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เสด็จลุกจากอาสนะ
ทรงกระทำพระภูษาเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง
ทรงจดพระชานุมณฑลเบื้องขวา ณ พื้นแผ่นดิน
ทรงประณมอัญชลีไปทางชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน
ปริพาชก ๗ คน เหล่านั้นแล้ว ทรงประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือ พระราชาปเสนทิโกศล . . .
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า คือ พระราชาปเสนทิโกศล.
ลำดับนั้น เมื่อชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน ปริพาชก ๗
คนเหล่านั้น เดินผ่านไปได้ไม่นาน พระเจ้าปเสนทิโกศล
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกนักบวชเหล่านั้น คงเป็นพระอรหันต์
หรือท่านผู้บรรลุพระอรหัตมรรคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก.
[๓๕๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม ครอบครองเรือน
บรรทมเบียดพระโอรสและพระชายา ทาจุรณจันทน์อันมาแต่แคว้นกาสี
ทรงมาลาของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีเงินและทอง.
ยากที่จะรู้เรื่องนี้ว่า
คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือคนพวกนี้ บรรลุอรหัตมรรค.
ดูก่อนมหาบพิตร
ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
ก็ศีลนั้น จะพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย
ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจก็ไม่รู้
ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้.
ดูก่อนมหาบพิตร
ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยการงาน
ก็ความสะอาดนั้น จะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย
ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจก็ไม่รู้
ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้.
ดูก่อนมหาบพิตร
กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย ก็กำลังใจนั้น
จะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย
ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจก็ไม่รู้
ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้.
ดูก่อนมหาบพิตร
ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา
ก็ปัญญานั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย
ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจก็ไม่รู้
ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้.
ฯลฯ
[๓๕๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความนี้แล้ว
จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
คนผู้เกิดมาดี ไม่ควรไว้วางใจเพราะผิวพรรณและรูปร่าง
ไม่ควรไว้วางใจเพราะ การเห็นกันชั่วครู่เดียว.
เพราะว่า นักบวชผู้ไม่สำรวมทั้งหลาย ย่อมเที่ยวไปยังโลกนี้
ด้วยเครื่องบริขารของเหล่านักบวช ผู้สำรวมดีแล้ว
ประดุจกุณฑลดิน และมาสกโลหะ หุ้มด้วยทองคำปลอมไว้.
คนทั้งหลายไม่บริสุทธิ์ในภายใน งามแต่ภายนอก
แวดล้อมด้วยบริวาร ท่องเที่ยวอยู่ในโลก.
อรรถกถาชฏิลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในชฎิลสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ต่อไป :-
ฯลฯ
บทว่า สํวาเสน แปลว่า โดยการอยู่ร่วมกัน.
บทว่า สีลํ เวทิตพฺพํ
ได้แก่เมื่ออยู่ร่วมกัน ใกล้ชิดกัน
ก็พึงทราบได้ว่าผู้นี้มีศีล คือปกติ หรือปกติชั่ว.
บทว่า ตญฺจ โข ทีเฆน อทฺธุนา น อิตรํ ความว่า
ก็ศีลนั้น บุคคลพึงรู้โดยกาลนาน ๆ ไม่ใช่นิดหน่อย.
เป็นความจริง อาการสำรวม และ อาการของผู้สำรวมอินทรีย์
อาจแสดงออกมา ๒-๓ วัน.
บทว่า มนสิกโรตา ความว่า
ศีลแม้นั้น ผู้ใส่ใจ พิจารณาดูว่า เราจักกำหนดถือศีลของผู้นั้น
ก็อาจรู้ได้ นอกนี้ก็รู้ไม่ได้.
บทว่า ปญฺญวตา ความว่า
ศีลนั้น อันบัณฑิตผู้มีปัญญาเท่านั้น จึงจะรู้ได้
เพราะว่า คนเขลา ถึงใส่ใจก็ไม่สามารถจะรู้ได้.
บทว่า สํโวหาเรน แปลว่า ด้วยการสนทนากัน.
ฯลฯ
จริงอยู่ คำพูดต่อหน้าของคนบางคน ไม่สมกับคำพูดลับหลัง
และคำพูดลับหลัง ไม่สมกับคำพูดต่อหน้า
คำพูดคำก่อนกับคำพูดคำหลัง และคำพูดคำหลังกับคำพูดคำก่อน ก็เหมือนกัน
ผู้นั้น อันผู้พูดด้วยเท่านั้น อาจรู้ได้ว่าบุคคลนี้ไม่สะอาด.
ส่วนคำก่อน กับคำหลังของผู้มีความสะอาดเป็นปกติ
และคำหลังกับคำก่อน ที่เขาพูดต่อหน้า ย่อมสมกับคำที่เขาพูดลับหลัง
และคำพูดลับหลัง ก็สมกับคำพูดที่เขาพูดต่อหน้า
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศว่า
ผู้พูด อาจรู้ความเป็นผู้สะอาดได้ จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า ถาโม ได้แก่ กำลังแห่งญาณ.
จริงอยู่ กำลังญาณของผู้ใดไม่มี
เมื่อเกิดอุปัทวันตรายขึ้น ผู้นั้นก็มองไม่เห็นการถือสิ่งที่ควรถือ
กิจที่ควรทำ ย่อมประพฤติเหมือนดังเข้าไปยังเรือนที่มืดตื้อ
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ถวายพระพร บุคคลพึงรู้กำลัง [ญาณ] ได้ก็ในคราวมีอันตราย.
บทว่า สากจฺฉาย ได้แก่ การสนทนากัน.
จริงอยู่ ถ้อยคำของคนทรามปัญญา ย่อมเลื่อนลอย เหมือนลูกยางลอยน้ำ
ปฎิภาณของผู้มีปัญญา พูดไม่มีที่สิ้นสุด.
เป็นความจริง โดยอาการที่น้ำไหว เขาก็รู้ได้ว่า ปลาตัวเล็กหรือตัวโต.
บทว่า โอจรกา ได้แก่ ประพฤติเบื้องต่ำ [ใต้ดิน]
จริงอยู่ พวกจารบุรุษ แม้จะพระพฤติอยู่ตามยอดเขา
ก็ชื่อว่าประพฤติต่ำทั้งนั้น.
ฯลฯ
.....................จบอรรถกถาชฏิลสูตรที่ ๑....................
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 394
[๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น
บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า.
ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า.
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
พึงหวังผลทักษิณาจะนับไม่ได้ จะประมาณไม่ได้
จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
ในปัจเจกสัมพุทธะ และในตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๓ - หน้าที่ 17
[๒๑] ก็ในทักขิณาวิภังคสูตร ในจตุตถวรรค อุปริปัณณาสก์ พระผู้มีพระภาคตรัสทานไว้ ๒๑ อย่าง. ก็บรรดาทาน ๒๑ อย่างเหล่านั้น
ทานใด บุคคลให้แก่สัตว์ดิรัจฉานเพื่อเลี้ยง ด้วยอำนาจคุณ มีความถึง
ทานใด บุคคลให้แก่สัตว์ดิรัจฉานเพื่อเลี้ยง ด้วยอำนาจคุณ มีความถึง
พร้อมด้วยลักษณะเป็นต้น และด้วยอำนาจอุปาการะ มีการได้น้ำนม และ
การเฝ้าเป็นต้น ทานนั้นไม่ทรงถือเอา เพราะไม่ประกอบด้วยลักษณะ
แห่งทาน. จริงอยู่ การบริจาควัตถุที่พึงให้ของตน ด้วยอำนาจความ
ปรารถนาเพื่ออนุเคราะห์และบูชา ชื่อว่าทาน. การบริจาควัตถุที่พึงให้
ด้วยอำนาจความกลัว ความรัก และความประสงค์สินบนเป็นต้น หาชื่อ
ว่าทานไม่ เพราะเป็นทานที่มีโทษ. วัตถุ (ของกิน) แม้เพียงคำครึ่งคำ ที่บุคคลให้แล้ว ก็ไม่ทรงถือเอา เพราะไม่สามารถในอันให้ผลตามมุ่ง-
หมาย เหตุความที่ทานที่พอแก่ความต้องการยังไม่บริบูรณ์. ก็ทานใด
บุคคลหวังเฉพาะผลโดยนัยเป็นต้นว่า บุญอันสำเร็จด้วยทานนี้นี่แหละ
จงเป็นไปเพื่อความเจริญประโยชนสุขต่อไป แล้วให้แก่บรรดาสัตว์ดิรัจฉาน
มีสุนัขสุกรไก่และกาเป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งประสบเข้าแล้ว พอแก่
ความต้องการ ทานนั้น ทรงถือเอาว่าทานในสัตว์ดิรัจฉาน. ดิรัจฉานทาน
นั้น ชื่อว่ามีอานิสงส์ ๑๐๐ เท่า เพราะให้อานิสงส์ ๕๐๐ คือให้อายุใน
๑๐๐ อัตภาพ. ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ ให้ปฏิภาณใน ๑๐๐ อัตภาพ.
พึงทราบนัยในทานแม้สูงขึ้นไปอย่างนั้น. อนึ่ง บุคคลมีชาวประมง คน
ดักปลา เป็นต้น ผู้เลี้ยงชีวิตด้วยการเบียดเบียนสัตว์อื่น ชื่อว่าปุถุนชน
ผู้ทุศีล ทานที่ให้แก่ปุถุชนผู้ทุศีลผู้นั้น มีอานิสงส์พันเท่า. อนึ่ง บุคคลผู้
มีศีลเหมือนผู้มีศีลไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น เลี้ยงชีวิต
ด้วยกสิกรรม หรือด้วยพาณิชกรรมโดยธรรมสม่ำเสมอ ชื่อว่า ปุถุชนผู้มีศีล.
ทานที่ให้แก่ปุถุชนผู้มีศีลนั้น มีอานิสงส์แสนเท่า
เอาบุญมาฝาก เมื่อวานได้ไปร่วมงานกฐิน ได้ร่วมถวายพระพุทธรูป 20 กว่าองค์ มีเกศดอกบัวตูม และนาคปรก และได้ถวายเตาแก็ส 20 ถัง ถวาย
ผ้าไตรจีวรอีก 20 ผืน ถวายบาตร อย่างละ 20 และถวายเงินกฐินเพื่อเป็นกองกลางอีก ประมาณ 200000 บาท และจัดซุ้มอาหาร เลี้ยงคน ประมาณ
500-600 คน และได้แจกน้ำตาลให้ คนในหมู้บ้าน เป็นคันรถ และบรรทุกไอศครีม 1 ถัง ไม่พอเลี้ยงผู้คนก็ ต้อง เอามาอีกถังใหญ่ๆ อีกถังนึง และได้
และวันนี้ได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา สวดมนต์ ให้ธรรมะเป็นทาน
เดินจงกรม นั่งสมาธิ ศึกษาธรรม และเจริญอนุสติอีก กำหนดอิริยาบทย่อย ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
|