พระพุทธองค์มิได้ห้ามการฉันเนื้อสัตว์ และ ก็ไม่ได้ห้ามมิให้จะไม่ฉันเนื้อสัตว์
การจะรับประทานเนื้อหรือไม่รับประทาน จึงเป็นเรื่องของอัธยาศัยทางโลก ผู้ที่นั่ง
รถหรูราคาแพง ก็ไม่มีใครทราบได้ว่าเขายึดหรือไม่ยึด ผู้ที่จะรับประทานเนื้อสัตว์หรือ
จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ก็ไม่มีใครทราบได้ว่าเขายึดหรือไม่ยึด
หากปัญญาเกิดขึ้นแล้ว และจุดประสงค์เป็นไปการละ เพื่อความเมตตาที่จะ
เจริญในส่วนตนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา
ในความเป็นจริงนั้น ไม่มีปรมัตถธรรมที่เป็นเนื้อสัตว์ หรือ ไม่ใช่เนื้อสัตว์
จิตจะมนสิการในเรื่องของความเป็นธาตุ
บุคคลจะเป็นเช่นไร มีความเห็นเช่นไร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย รอปัญญาบ่ม
เพาะตามเหตุปัจจัย สังสารวัฏฏ์นี้เป็นทุกข์ มีแต่ความน่าสลดใจ มนุษย์โลกขวนขวาย
ตะเกียกตะกายกระเสือกกระสนเพื่อหาทางพ้นทุกข์ แม้เราก็เป็นหนึ่ง
จึงควรเมตตา กรุณา เอื้อเฟึ้อ เท่าที่จะทำได้ อย่างน้อยมานะนุสัยในตัวตน
ของเราเอง การถือตน การสำคัญตน การสำคัญในปัญญาของตน ก็จะคลายลง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 80
อามคันธสูตรที่ ๒ ว่าด้วยมีกลิ่นดิบไม่มีกลิ่นดิบ
ติสสดาบสทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ด้วยคาถา
ความว่า
[๓๑๕] สัตบุรุษทั้งหลายบริโภค
ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเขียว ใบไม้ เหง้ามัน
และผลไม้ที่ได้แล้วโดยธรรม หาปรารถนา
กาม กล่าวคำเหลาะแหละไม่.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
กัสสปะ พระองค์เมื่อเสวยเนื้อชนิดใด ที่ผู้
อื่นทำสำเร็จดีแล้ว ตบแต่งไว้ถวายอย่างประ-
ณีต เมื่อเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ก็ชื่อว่า
ย่อมเสวยกลิ่นดิบ.
แต่พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง
พรหม พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นดิบย่อม
ไม่ควรแก่เรา แต่ยังเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี
กับเนื้อนกที่บุคคลปรุงดีแล้ว.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
กัสสปะ ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้อนี้กะ
พระองค์ว่า กลิ่นดิบของพระองค์มีประการ
อย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
การฆ่าสัตว์ การทุบตี การตัด การ
จองจำ การลัก การพูดเท็จ การกระทำ
ด้วยความหวัง การหลอกลวง การเรียน
คัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์ และการคบหาภรรยา
ผู้อื่น นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่
ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมใน
กามทั้งหลาย ยินดีในรสทั้งหลาย เจือปน
ด้วยของไม่สะอาด มีความเห็นว่าทานที่
บุคคลให้แล้วไม่มีผล มีการงานไม่เสมอ
บุคคลพึงแนะนำได้โดยยาก นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ
ของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า
กลิ่นดิบเลย.
ชนเหล่าใดผู้เศร้าหมอง หยาบช้า
หน้าไหว้หลังหลอก ประทุษร้ายมิตร ไม่มี
ความกรุณา มีมานะจัด มีปกติไม่ให้ และ
ไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ
ของชนเหล่านี้ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า
กลิ่นดิบเลย.
ความโกรธ ความมัวเมา ความเป็น
คนหัวดื้อ ความตั้งอยู่ผิด มายา ริษยา
ความยกตน ความถือตัว ความดูหมิ่น และ
ความสนิทสนมด้วยอสัตบุรุษทั้งหลาย นี้ชื่อว่า
กลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบ
เลย.
ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประ-
พฤติลามก กู้หนี้มาแล้วไม่ใช้ พูดเสียดสี
พูดโกง เป็นคนเทียม เป็นคนต่ำทราม
กระทำกรรมหยาบช้า นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของ
ชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่น-
ดิบเลย.
ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประ-
สัตว์ทั้งหลาย ชักชวนผู้อื่นประกอบการ
เบียดเบียน ทุศีล ร้ายกาจ หยาบคาย ไม่
เอื้อเฟื้อ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น
เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 575
[ปลาเนื้อบริสุทธิ์โดยส่วน ๓ เป็นกัปปิยมังสะควรฉันได้]
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องปลาและเนื้อ ดังนี้:-
บทว่า ติโกฏิปริสุทฺธ ได้แก่ บริสุทธิ์โดยส่วน ๓. อธิบายว่าเว้นจาก
ที่ไม่บริสุทธิ์ มีการเห็นเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ไม่
ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ.
บรรดามังสะ ๓ อย่างนั้น มังสะที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือ ไม่เห็นชาวบ้าน
ฆ่าเนื้อและปลา เอามาเพื่อประโยชน์แก่พวกภิกษุ. ที่ชื่อว่าไม่ได้ยินคือ ไม่ได้ยิน
ว่า พวกชาวบ้านฆ่าเนื้อ ปลา เอามาเพื่อ ประโยชน์แก่พวกภิกษุ, ส่วนที่
ไม่ได้รังเกียจ ผู้ศึกษาควรรู้จักมังสะที่รังเกียจด้วยการเห็น รังเกียจด้วยการ
ได้ยิน และที่รังเกียจพ้นจากเหตุทั้งสองนั้น แล้วพึงทราบโดยส่วนตรงกันข้าม
จากสามอย่างนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ 97 พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสมีอยู่ เขาสละเนื้อ
ของเขาถวายก็ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน
ต้องอาบัติถุลลัจจัย อนึ่ง ภิกษุยังมิได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ. พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อช้าง
[ ๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ช้างหลวงล้มลงหลายเชือก สมัยอัตคัตอาหาร
ประชาชนพากันบริโภคเนื้อช้าง และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุ
ทั้งหลายฉันเนื้อช้าง ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ-
สมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อช้างเล่า เพราะช้างเป็นราชพาหนะ ถ้า
พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ คงไม่ทรงเลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้ง
หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อช้าง รูปใดฉัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อม้า
สมัยต่อมา ม้าหลวงตายมาก สมัยนั้นอัตคัดอาหาร ประชาชนพากัน
บริโภคเนื้อม้า และถวายแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อม้า
ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากย
บุตรจึงได้ฉันเนื้อม้าเล่า เพราะม้าเป็นราชพาหนะ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ
คงไม่ทรงเลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อม้า รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อสุนัข
สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อสุนัข
และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อสุนัข ประชาชน
จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้
ฉันเนื้อสุนัขเล่า เพราะสุนัขเป็นสัตว์น่าเกลียด น่าชัง ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสุนัข รูปใดฉัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อราชสีห์
สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าราชสีห์แล้วบริโภคเนื้อราชสีห์ และถวายแก่
พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อราสีห์แล้วอยู่ในป่า ฝูงราชสีห์ฆ่า
พวกภิกษุเสีย เพราะได้กลิ่นเนื้อราชสีห์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อราชสีห์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนาให้ธรรมะเป็นทาน กำหนดอิริยาบทย่อย
ไปไหว้หอพระที่ชลบุรี ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
|