Switch to full style
พระพุทธพจน์ - พุทธภาษิต พระธรรมเทศนา และ ธรรมะจากครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
ตอบกระทู้

บารมี 10 และลอยกระทง

อังคาร 03 พ.ย. 2009 7:55 pm

บารมี ๑๐ ในชีวิตประจำวัน


.


บารมี ๑๐ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก สำหรับการที่จะดับกิเลสเป็นสมุจเฉท

เพราะการเจริญกุศลนั้น ต้องเจริญทุกประการ

เพื่อเป็นปัจจัยให้ปัญญาเกิดขึ้น ดับกิเลสได้หมดสิ้น เป็นสมุจเฉท

ตามลำดับขั้น.

.


ดังนั้น จึงต้องเข้าใจให้ถูก ว่า กุศลใด เป็นบารมี...กุศลใด ไม่ใช่บารมี

และควรศึกษาให้เห็นความสำคัญของบารมีทั้ง ๑๐

เพื่อจะได้อบรมให้เจริญยิ่งขึ้น.


.


บารมี ๑๐


ได้แก่


ทานบารมี

ศีลบารมี

เนกขัมมบารมี

ปัญญาบารมี

วิริยบารมี

ขันติบารมี

สัจจบารมี

อฐิษฐานบารมี

เมตตาบารมี

อุเบกขาบารมี


จุดประสงค์ของการศึกษาธรรม เพื่อละความไม่รู้ เพื่อขัดเกลากิเลส เพื่อสะสม

ปัญญา สะสมความดี เพื่อเป็นปัจจัยให้ออกจากสังสารวัฏฏ์คือการเวียนว่ายตายเกิด

ตายแล้วเกิดทันทีตามกรรมที่ทำไว้ จึงทำให้มีรูปร่างหน้าตา ชาติตระกูล ปัญญา แตก

ต่างกันตามการสะสม เพราะกุศลและอกุศลที่ทำไว้สะสมอยู่ในจิตไม่สุญหายไปไหน



วันเพ็ญเดือน ๑๒(ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) เป็นวันปริพนิพพานของพระสารีบุตรเถระ

พระอัครสาวกเบื้องขวาผู้เลิศด้วยปัญญา พระอัครสาวกทั้งสอง (ท่านพระสารีบุตรเถระ,

พระมหาโมคคัลลานะ) ย่อมปรินิพพานก่อนพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

กล่าวคือท่านพระสารีบุตร ปรินิพพาน ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ต่อจากนั้นอีก ๖ เดือน

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน (และ ท่านพระ

สาบุตรปรินิพพานก่อนท่านพระมหาโมคคัลลานะ ๑๕ วัน) ดังนั้น เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน

๑๒ แทนที่จะนึกถึง คิดถึงอย่างอื่น ก็ควรที่จะได้น้อมระลึกถึงพระรัตนตรัย พร้อมทั้ง

น้อมระลึกถึงพระคุณของท่านพระสารีบุตร ที่ท่านได้กระทำไว้ต่อพุทธบริษัท



สภาพธรรม มี ๒ อย่าง คือ นามธรรม และ รูปธรรม.



นามธรรม เป็นสภาพรู้

รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร.


เช่น

การเห็น....เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่รู้สี

สี เป็น รูปธรรม เพราะ สี ไม่รู้อะไร.


.


สิ่งที่เรายึดถือ ว่า เป็นตัวตน นั้น

เป็นเพียงนามธรรม และ รูปธรรม

ซึ่ง เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป.


.


สภาพธรรมทั้งหลาย ทั้งภายในกาย และ ภายนอกกาย

เป็นแต่เพียง นามธรรม และ รูปธรรม

ซึ่ง เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป...ไม่เที่ยง.


.


นามธรรม และ รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง

ซึ่ง ภาษาบาลี เรียกว่า ปรมัตถธรรม.


.


เราสามารถรู้ลักษณะของปรมัตถธรรมได้...เมื่อปรมัตถธรรมปรากฏ

ไม่ว่าเราจะบัญญัติเรียกปรมัตถธรรมนั้น ๆ ว่าอย่างไรก็ตาม.


.


สำหรับผู้ที่อบรมเจริญวิปัสสนา

สามารถประจักษ์ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรม ตามความเป็นจริง

ว่า ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน


และเมื่อรู้ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรม แต่ละประเภทมากขึ้น

ก็จะยิ่งรู้ชัดขึ้น ว่า "ตัวตน" นั้น....เป็นแต่เพียง "ความคิดเห็น"

ไม่ใช่ "ปรมัตถธรรม"


.
เอาบุญมาฝากวันนี้ได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน

กำหนดอิริยาบทย่อย และตั้งใจว่าจะสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม

ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ตอบกระทู้