สนฺต ( ผู้สงบ ) + ธมฺม ( ธรรม )
ธรรมของผู้สงบ , ธรรมที่ทำให้เป็นผู้สงบ ได้แก่ พระสัทธรรม ๑๐ คือ มรรค ๔
ผล ๔ นิพพาน ๑ และปริยัติสัทธรรม ๑
คำว่า "สัทธรรม" หมายถึงธรรมของผู้สงบคือสัตบุรุษ ในพระไตรปิฎกแสดงไว้หลายนัย
คือ บางแห่งแสดงสัทธรรม ๓ บางแห่งแสดง ๔ บางแห่ง ๗ บางแห่ง ๘ บางแห่ง ๑๐
เป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 129
บทว่า สทฺธมฺมฏฐิติยา ความว่า สัทธรรมมี ๓ อย่าง คือ ปริ-
ยัตติสัทธรรม ปฏิปัตติสัทธรรม อธิคมสัทธรรม. บรรดาสัทธรรม ๓
อย่างนั้น พุทธวจนะแม้ทั้งสิ้น ชื่อว่า ปริยัตติสัทธรรม สัทธรรมนี้คือ
ธุองค์คุณ ๑๓ จาริตศีล วาริตศีล สมาธิ วิปัสสนา ชื่อว่า ปฏิปัตติ-
สัทธรรม. โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า อธิคมสัทธรรม. สัทธรรมนั้นแม้
ทั้งหมด เพราะเหตุที่เมื่อมีบัญญัติสิกขาบท ภิกษุทั้งหลายย่อมเรียนสิกขาบท
วิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และพระพุทธวจนะอื่น เพื่อส่องความสิกขาบท
และวิภังค์นั้น และเมื่อปฏิบัติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติ บำเพ็ญข้อปฏิบัติ
ย่อมบรรลุโลกุตรธรรมพี่พึงบรรลุด้วยข้อปฏิบัติ ฉะนั้น พระสัทธรรมจึง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 229 [๓๓๐] สัทธรรม ๗
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีพหูสูต
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง
๗. เป็นผู้มีปัญญา.
๔.ทุติยโกธสูตร ว่าด้วยอสัทธรรม ๔
[๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๔ ประเภทนี้ อสัทธรรม
๔ ประเภทคืออะไร คือ ความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระ-
สัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑
ความเป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในสักการะ
ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ นี้แล อสัทธรรม ๔ ประเภท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสัทธรรม ๔ ประเภทนี้ พระสัทธรรม ๔
ประเภทคืออะไร คือ ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความ
โกรธ ๑ ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน ๑
ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ ๑ ความเป็นผู้หนักใน
พระสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ ๑. นี้แล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 358
" ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม
ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่ ย่อมไม่เสื่อม
จากพระสัทธรรม."
บทว่า สทฺธมฺมา ความว่า ภิกษุเห็นปานนั้น ย่อมไม่เสื่อมจาก
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประเภท และจากโลกุตรธรรม ๙
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 740
[พระสัทธรรม ๓ อย่าง]
ข้อว่า สทฺธมฺมฏฺฐิติยา มีความว่า สัทธรรมมี ๓ อย่าง คือ ปริยัติ-
สัทธรรม ๑ ปฏิปัตติสัทธรรม ๑ อธิคมสัทธรรม ๑. บรรดาสัทธรรม ๓
อย่างนั้น ที่ชื่อว่าปริยัติสัทธรรม ได้แก่ พุทธพจน์แม้ทั้งสิ้นรวมด้วยพระไตร-
ปิฎก. ที่ชื่อว่าปฏิปัตติสัทธรรม ได้แก่ธรรมนี้คือธุดงคคุณ ๑๓ ขันธกวัตร ๑๔
มหาวัตร ๘๒ ศีล สมาธิ และวิปัสสนา. ที่ชื่อว่าอธิคมสัทธรรม ได้แก่ธรรมนี้ คือ อริยมรรค ๔ สามัญผล ๔ นิพพาน ๑. เมื่อมีสิกขาบทบัญญัติ ภิกษุ
ทั้งหลาย ย่อมเรียนสิกขาบทและวิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และพุทธวจนะอื่น
เพื่อส่องความแห่งสิกขาบทและวิภังค์นั้น และเมื่อปฏิบัติสิกขาตามที่ทรง
บัญญัติไว้ ย่อมบรรลุโลกุตรธรรม ที่ตนจะพึงบำเพ็ญข้อปฏิบัติแล้วบรรลุได้
ด้วยความปฏิบัติ, เพราะเหตุนั้น สัทธรรมแม้ทั้งสิ้นนั้น จึงชื่อว่า เป็นสภาพ
มีความตั้งอยู่ ยั่งยืน ด้วยสิกขาบทบัญญัติ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า สทฺธมฺมฏฺฐิติยา.
เอาบุญมาฝากได้ไปปฏิบัติธรรมมา 3 วันมีคนไปปฏิบัติ 200 กว่าคน ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
ได้ถวายสังฆทาน เดินจงกรม นั่งสมาธิ อย่างน้อย วันละ 12 ชั่วโมง ให้ธรรมะเป็นทาน สวดมนต์ ฟังธรรม ทำบุญค่านำค่าไฟ และได้ทานอาหารมังสาวิรัส ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
|