นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 3:38 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ในวินัย
โพสต์โพสต์แล้ว: พุธ 11 พ.ย. 2009 12:27 pm 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
ในพระวินัยมีสิกขาบทสำหรับพระภิกษุในการแสดงธรรม บางตอนมีว่า

อันภิกษุผู้ยืนอยู่ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ภิกษุใดอาศัยความ

ไม่เอื้อเฟื้อ ยืนแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

...ตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติปรับอาบัติแก่ภิกษุที่ยืนแสดงธรรมกับผู้นั่งฟัง

ถ้าภิกษุนั่ง แสดงธรรมกับผู้นั่งฟัง ไม่มีอาบัติ ภิกษุยืน แสดงธรรมแก่ผู้ยืน ไม่มีอาบัติ

และยังมีรายละเอียดในเรื่องอาสนะสูง อาสนะต่ำ และเรื่องอิริยาบถนอน เป็นต้น

สำหรับคฤหัสถ์ผู้แสดงธรรม ไม่มีอาบัติเหมือนพระภิกษุ แต่เมื่อเป็นผู้เคารพในธรรม

ควรให้ผู้แสดงธรรมนั่ง ผู้ฟังจะนั่งหรือยืนก็ได้



ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

...

ในวันที่สี่และห้าของการเดินทางไปยังกุสินาราและลุมพินี

ก่อนที่จะเดินทางออกจากเมืองปัฏนะ

ใคร่ขอกล่าวถึงประวัติอันน่าสนใจของเมืองปัฏนะสักเล็กน้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีมีข้อความที่กล่าวถึงเมืองปัฏนะไว้ว่า


ปัฏนา (ชื่ออื่น: ปาตลีบุตร, ปาฏลีบุตร, ปัตนะ, มคธ) เป็นเมือหลวง

ของรัฐพิหาร รัฐหนึ่งในประเทศอินเดีย ปัฏนาเป็นเมืองเก่าแก่ที่ยังมีผู้อาศัย

อยู่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเมื่อ 2,500 ปีก่อน

ในสมัยพุทธกาล เมืองแห่งนี้เป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆในแคว้นมคธ

ที่ตั้งโดยพระเจ้าอชาตศัตรู เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านสำหรับการเตรียมทำสงคราม

กับแคว้นวัชชี หลังจากพุทธกาล เมืองนี้มีความสำคัญเพราะได้กลายเป็น

เมืองหลวงของแคว้นมคธและมีพระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งพระจักรพรรดิ

ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียคือพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งราชวงศ์เมารยะ

ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง ทรงอุปถัมภ์การทำตติยสังคายนา

ณ อโศการาม โดยให้เมืองปัฏนา (หรือปาตลีบุตร ตามที่เรียกกันในสมัยนั้น)

เป็นศูนย์กลางในการส่งสมณทูตออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่น ๆ

ทั่วโลกซึ่งรวมถึงสุวรรณภูมิ หรือดินแดนที่ตั้งประเทศไทยในปัจจุบันด้วย

ปัจจุบัน เมืองแห่งนี้ยังคงเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐพิหาร

(แคว้นมคธในสมัยโบราณ)มีพื้นที่เมืองประมาณ 25 ตารางกิโลเมตร

และมีประชากรมากกว่า 1 ล้าน 8 แสนคน โดยประมาณ



ในขณะที่พวกเราเดินทางไปถึง แต่ละท่านก็ได้ตรงเข้าไปภายในอาคาร
ด้วยความสงบสำรวม ประหนึ่งได้เข้าเฝ้าแทบเบื้องหน้าพระสรีระอันสงบนิ่ง
ขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าฯ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
หลังจากที่ได้กราบสักการะด้วยความตื้นตัน ปีติยิ่งในใจ
ก็ให้ได้หวลคิดพิจารณาในพระพุทธดำรัสกับท่านพระอานนท์ที่ว่า
".........ดูก่อนอานนท์


ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายยัง


พระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต.แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์


แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์...แม้ดนตรีอ้นเป็นทิพย์เล่า...แม้


สังคีตอันเป็นทิพย์ ย่อมเป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ดูก่อนอานนท์


พระตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อมด้วยเครื่อง


สักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา


ก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่


ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เพราะเหตุ


นั้นแหละ อานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรม


สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่..."


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ 306-307

พระปัจฉิมวาจา


(๑๔๓) ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม


ไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด. นี้เป็นพระ


ปัจฉิมวาจาของพระตถาคต.


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑-หน้าที่ 322

ดี" แล้วก็ยึดว่าเป็น "เรา" ที่ดี ก็ยังยึดอยู่ว่าดี
ทั้งๆที่รู้ว่า "ดี" นั้น เป็นแต่เพียง "ธรรม" ที่ ดี

ปรากฎแล้วก็ดับไป

ก็ยังหลงยึดว่าเป็น "เรา" อยู่ดี

แล้วเมื่อไหร่จึงจะ "ดี"



ขันธ์ ๕ คือ สภาพธรรมทั้งหลายที่เกิดแล้วดับ จึงจำแนกเป็นอดีต

ปัจจุบัน และอนาคต สภาพธรรมใดเกิดแล้วแต่ยังไม่ดับ ขณะที่ยังไม่ดับก็เป็น

ปัจจุบัน เมื่อดับแล้วก็เป็นอดีต สภาพธรรมใดที่ยังไม่เกิดแต่จะเกิดขึ้น ก็เป็น

อนาคต

ในขณะที่กำลังนั่งอยู่นี้เป็นขันธ์ ๕ ทั้งนั้น

จิตเห็น จิตได้ยิน ก็เป็นขันธ์

เสียง ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ก็เป็นขันธ์

ขันธ์ ๕ แบ่งเป็น รูปขันธ์ ๑ และ นามขันธ์ ๔

ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑

สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑

รูปขันธ์ ได้แก่ รูปทุกรูป รูปทุกชนิด ทุกประเภท

เวทนาขันธ์ ได้แก่ เวทนาเจตสิก (ความรู้สึกสุข ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เฉยๆ) ๑ ดวง

สัญญาขันธ์ ได้แก่ สัญญาเจตสิก (ความจำหมายรู้อารมณ์) ๑ ดวง

สังขารขันธ์ ได้แก่ เจตสิก ๕๐ ดวง (เว้นเวทนาเจตสิก และสัญญาเจตสิก)

วิญญาณขันธ์ ได้แก่ จิตทุกดวง

รูปทั้งหมดเป็นรูปขันธ์

จิตทั้งหมดเป็นวิญญาณขันธ์

เจตสิก จำแนกเป็นขันธ์ ได้ ๓ ขันธ์ คือ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑

พระนิพพานไม่ใช่ขันธ์ ขันธวิมุติ คือ พ้นจากขันธ์ เพราะพระนิพพานไม่เกิด ไม่ดับ



เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา กำหนดอิริยาบทย่อย ให้ธรรมะเป็นทาน

และเมื่อวานนี้ได้บริจาคสมทบทุนให้แก่เด็กยากไร้ บริจาคทางการแพทย์ด้านเครื่องมือรักษาตา

และบริจาคซื้อเครื่องมือแพทย์

และตั้งใจว่าจะสวดมนต์

นั่งสมาธิ เดินจงกรม ศึกษาธรรม ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 132 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO