ว่า " อิริยาบถบังทุกข์ " นั้น ต้องเข้าใจด้วยว่าหมายถึง ทุกข-
ลักษณะของสภาพธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่เฉพาะทุกขเวทนา แม้ว่าขณะนี้จะนั่ง
นอน ยืน เดิน โดยยังไม่เมื่อย อิริยบถก็ปิดบังทุกขลักษณะซึ่งเป็นการเกิดดับ
ของนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดรวมกันในอิริยบถนั้นๆ
ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งการเกิดดับของนามธรรมและรูปธรรมนั้น ไม่
ใช่รู้อิริยาบถหนึ่งแล้วเปลี่ยนเป็นอีกอิริยาบถหนึ่ง จึงกล่าวว่าอิริยาบถปิดบังทุกข์
และถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะต้องกล่าวว่าการเปลี่ยนอิริยาบถปิดบังทุกข์ ซึ่งไม่ใช่รู้ว่า
อิริยาบถนั้นเองปิดบังทุกข์ แต่ที่พระธรรมแสดงว่าอิริยาบถปิดบังทุกข์นั้น ก็
เพราะ การเกิดรวมกันของนามรูปเป็นอิริยาบถต่างๆ จึงปิดบังไม่ให้รู้ทุกข-
ลักษณะของแต่ละรูปแต่ละนามที่กำลังเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
บางท่านสารภาพว่าเพิ่งนั่งใหม่ๆ พอถูกถามว่าเป็นทุกข์ไหมก็ตอบ
ว่าไม่เป็น เมื่อไม่เป็นทุกข์แล้ว อิริยาบถจะบังทุกข์ได้อย่างไร เมื่อทุกข์ไม่มี จะ
กล่าวว่าอิริยาบถปิดบังทุกข์ไม่ได้ ต้องมีทุกข์อยู่จึงจะกล่าวได้ว่าอิริยาบทปิดบัง
ทุกข์ ความจริงถึงแม้ว่าอิริยาบถใดไม่มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น อิริยาบถนั้นก็
ปิดบังทุกข์ไว้แล้ว เพราะไม่เห็นการเกิดดับของนามรูปในขณะนั้น เมื่อไม่อบรม
เจริญปัญญาให้รู้ลักษณะของนามและรูป ก็เข้าใจผิดว่ารู้ทุกข์ขณะที่พิจารณา
ก่อนเปลี่ยนอิริยาบถ แต่ว่ารู้ทุกข์อะไร ในเมื่อยังไม่รู้ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตนของ
สภาพรู้ทางตากับสิ่งที่ปรากฏทางตา สภาพได้ยินกับเสียงที่ปรากฏทางหู
สภาพรู้กลิ่นกับกลิ่น สภาพรู้รสกับรส สภาพรู้โผฏฐัพพะและโผฏฐัพพะ
สภาพคิดนึกสุขทุกข์ต่างๆ แม้แต่สภาพธรรมที่คิดจะเปลี่ยนอิริยาบถนั้น ก็ไม่รู้
ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นนามธรรมชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เมื่อไม่ระลึกรู้
ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมตามปรกติตามความจริง ปัญญาก็สมบูรณ์
ขึ้นตามลำดับขั้นไม่ได้ จึงไม่ประจักษ์ทุกขอริยสัจจ์ เพราะปัญญายังไม่ประจักษ์
ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องตื่นเต้นกับการผ่านของคนอื่น จะต้องเป็น
ปัญญาของท่านเองที่พิจารณารู้ว่า.....ปัญญาที่ได้อบรมเจริญขึ้นๆ จนเป็นปัจจัย
ให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้นนั้น ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏ
ตามปรกติทีละอย่างทางมโนทวาร ประจักษ์ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม
แต่ละลักษณะที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เพียงนามธรรมเดียวและรูปธรรมเดียวเท่านั้น
องค์ธรรมของการบรรลุโสดาบันมี ๔ คือ ...
คบสัตตบุรุษ ๑ ฟังธรรมจากท่าน ๑ พิจารณาธรรมที่ได้ฟังด้วยความถูกต้อง ๑
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ...........ไม่เกี่ยวกับสถานที่เลย
ฉะนั้น ในเรื่องของสำนักปฏิบัตินั้น ควรย้อนกลับไปพิจารณา
สำนักของพระผู้มีพระภาค เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่า สำนักปฏิบัติในสมัยนี้
เหมือนกับสำนักของพระผู้มีพระภาคหรือไม่ ?
สำนักของพระผู้มีพระภาคในอดีตกาลนั้น พระภิกษุทั้งหลายบิณฑ-
บาต สนทนาธรรม ทำกิจต่างๆ ตามพระวินัยบัญญัติ พระผู้มีพระภาคทรงสรร-
เสริญกุศลทั้งปวง แต่ผู้ที่ไปสู่สำนักปฏิบัติในสมัยนี้ ปฏิบัติเช่นเดียวกับพุทธ-
บริษัทในครั้งนั้น หรือเกินกว่า หรือต่างกัน ถ้าเหตุคือการปฏิบัติต่างกัน ผลจะ
เหมือนกันได้ไหม ?
อุบาสกและอุบาสิกาในครั้งพุทธกาล เช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
ท่านก็ไปพระเชตวันมหาวิหารที่ท่านได้สร้างไว้ แต่ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้เข้าใจ
ผิดว่า จะต้องบรรลุมัคค์ผลเฉพาะในสถานที่เหล่านั้น เพราะท่านเหล่านั้นบรรลุ
มัคค์ผลนิพพาน ณ สถานที่ต่างๆ กันตามชีวิตประจำวันจริงๆ ของแต่ละท่าน
ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อรัญญวัคคที่ ๔ อรัญญกสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุที่ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ๕
จำพวกเป็นไฉน คือ ...
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา เพราะหลงงามงาย ๑
มีปรารถนาลามกถูกความอยากครอบงำจึงถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๑
ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะเป็นบ้าเพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑
ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะรู้ว่าเป็นวัตรอันพระพุทธเจ้าและสาวกแห่ง
พระพุทธเจ้าสรรเสริญ ๑
ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปราถนาน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ ๑
ข้อความต่อไปมีว่า ....
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสัน-
โดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงาม
เช่นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็น
วัตร ๕ พวกนี้ เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิด
จากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส หัวเนยใสชาวโลก
ย่อมกล่าวว่าเป็นยอดในจำพวกโครส ๕ เหล่านั้นฉันใด บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่า
เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัยความเป็นผู้มีความ
ปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้อง
การด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นเลิศ ประเสริฐ เป็นประธานสูงสุดและดีกว่า
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน
จบสูตรที่ ๑
ทำไมจึงมีภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงม
งาย บางท่านคิดว่าอยู่ป่าแล้วก็จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างนั้นเป็น
ผู้อยู่ป่าเพราะโง่เขลาหรือเพราะงมงายหรือไม่ ? ถ้าเข้าใจเหตุผลแล้วจะเห็นว่า
ไม่มีชีวิตใดที่ประเสริฐยิ่งกว่าบรรพชิตผู้สละชีวิตฆราวาส ไปสู่สำนักของพระผู้มี
พระภาค ซึ่งไม่ใช่การไปสู่สำนักปฏิบัติเพียงชั่วครู่ชั่วยาม เพื่อต้องการบรรลุ
มัคค์ผล เพราะคิดว่าการไปทำวิปัสสนาที่สำนักปฏิบัติซึ่งไม่ใช่อัธยาศัยจริง ๆ
นั้นจะเป็นเหตุให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ซึ่ งถ้าเป็นจริงเช่นนั้น คฤหหัสภ์ที่ไปทำ
วิปัสสนาที่สำนักปฏิบัติก็ควรแก่การสรรเสริญยิ่งกว่าพระภิกษุในสำนักของพระผู้
มีพระภาค ซึ่งท่านมีชีวิตตามปรกติธรรมดาตามพระวินัยบัญญัติ คือ บิณฑบาต
ฟังธรรม สนทนาธรรม และกระทำกิจต่างๆ ของสงฆ์ด้วย
อันนี้ต้องพิจารณาเหตุผลให้ถูกต้อง มีพระภิกษุจำนวนมากที
เดียวที่ไม่ได้อยู่ป่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงบังคับให้เจริญสติปัฏฐานในป่า หรือ
ในห้อง หรือในสถานที่ที่ไม่ให้ทำกิจอะไรเลย พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญการ
อยู่ป่า ทรงสรรเสริญการไม่คลุกคลี ทรงสรรเสริญทุกอย่างที่ไม่เป็นปัจจัยให้เกิด
โลภะ โทสะ โมหะ แต่มิได้ทรงบังคับ มิได้ทรงวางกฏเกณฑ์ในการอบรมเจริญ
ปัญญา เพราะพระองค์ทรงรู้อัธยาศัยของสัตว์โลก พระองค์ทรงแสดงธรรมให้
พุทธบริษัทเข้าใจสภาพธรรมถูกต้อง เพื่อขัดเกลากิเลสที่มีอยู่ ตามปรกติ ตาม
ความเป็นจริง ด้วยการเจริญสติปัฏฐานตามเพศของบรรพชิตและคฤหัสถ์ เมื่อ
สติระลึกรู้พิจารณาศึกษาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละ
น้อยนั้น ก็จะสังเกตได้ว่าค่อยๆ ละนิสัยเก่าที่เคยเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น
กาย ใจ ด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ไปทีละน้อย เป็นอัธยาศัยจริงๆ ไม่ใช่ฮวบฮาบ
เป็นพักๆ ไม่ใช่อย่างที่บางท่านกล่าวว่า สถานที่ปฏิบัตินั้นไม่ควรทาสีเพราะ
ทำให้เกิดโลภะ แต่พอกลับบ้านก็ทาสีบ้าน ปลูกต้นไม้ ดอกไม้ ตามอัธยาศัยแท้
จริงที่สะสมมา
พระผู้มีพระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธรรมซึ่ง
เป็นสัจจธรรม เป็นความจริงเพี่อให้เกิดความเห็นถูกในเหตุและผลของสภาพ
ธรรมทั้งหลาย ทรงแสดงการอบรมเจริญปัญญาด้วยการเจริญสติปัฏฐาน เพื่อละ
คลายอนุสัยกิเลสที่ประจำอยู่ในจิต ซึ่งเกิดดับสืบต่อกันมาในอดีตอนันตชาติ
จนถึงขณะนี้ อวิชชาความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม และความเห็นผิดที่ยึดถือ
สภาพธรรมว่าเป็นตัวตนนั้นเป็นอนุสัยกิเลส ไม่ว่าจะเห็นขณะใด ได้ยินขณะใด
ลิ้มรส รู้โผฐฐัพพะ คิดนึก สุข ทุกข์ ขณะใด ก็ยึดถือว่าเป็นตัวตนทั้งสิ้น
ฉะนั้น ทางเดียวที่จะละอนุสัยกิเลสได้ ก็คือ เจริญสติ พิจารณารู้
ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ และรู้ชัดขึ้นเป็นลำดับจนถึงวิปัสสนาญาณขั้นที่
๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ ซึ่งเป็นความสมบูรณ์ของปัญญา ที่ประจักษ์แจ้ง
ลักษณะต่างกันของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น
การอบรมเจริญปัญญาไม่ใช่การพยายามสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นด้วย
การนั่ง นอน ยืน เดินนานๆ เพื่อให้เกิดทุกขเวทนา แต่เป็นการระลึกรู้พิจารณา
ศึกษาลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ใจ ตามปรกติ ตามความจริง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วตามเหตุปัจจัย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็
ตาม การเจริญสติที่ถูกต้อง คือ รู้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา จึง
รู้ว่าขณะใดสติเกิด ขณะใดสติไม่เกิด แต่ถ้ามีตัวตนที่จะระวังก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน
ขันธ์ คือสภาพ
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไปอย่างรวดเร็วจริงๆ จึงจำแนกเป็นอดีต เป็นอนาคต เป็น
ปัจจุบัน เป็นภายใน เป็นภายนอก หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้
เมื่อประจักษ์ลักษณะของขันธ์จริงๆ ก็รู้ว่าสภาพธรรมแต่ละลักษณะ
ที่เกิดดับนั้นเป็นรูปขันธ์ หรือเป็นเวทนาขันธ์ หรือเป็นสัญญาขันธ์ หรือเป็น
สังขารขันธ์ หรือเป็นวิญญาณขันธ์ นั่นเอง
ขณะที่สติเกิด ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดสภาพธรรม
หนึ่งที่ปรากฏ และพิจารณารู้ลักษณะสภาพธรรมนั้นๆ (ไม่ใช่คิดในใจเป็นคำๆ )
เพื่อประจักษ์แจ้งไตรลักษณ์ของสภาพรู้ และสภาพธรรมที่ไม่ใช่สภาพรู้ นั่น
แหละคือการศึกษาลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตนของสภาพธรรมที่ปรากฏ
เมื่อไม่รู้สภาพความเป็นจริงของธรรมที่ปรากฏ ก็
ย่อมยินดียินร้าย ในขณะที่ยินดียินร้ายก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง เพราะขณะนั้นไม่
สงบจากกิเลสเลย
ตราบใดที่ปัญญายังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่รู้สภาพที่ต่างกันของกุศลจิต
และอกุศลจิต ทุกคนชอบโลภะ ไม่หมดความพอใจในโลภะจนกว่าปัญญาจะ
เห็นความต่างกันของขณะที่เป็นกุศลซึ่งไม่มีโลภะ กับขณะที่เป็นโลภะซึ่งสนุก
รื่นเริง ปรารถนา พอใจ ติดข้อง เมื่อปัญญาไม่เกิดก็พอใจในกิเลส พอใจใน
โลภะ ซึ่งไม่มีวันพอ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทาง
ใจ โดยไม่รู้เลยว่าขณะนั้นเป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นภัย การยึดถืออุปาทาน
ขันธ์ ๕ จึงเป็นทุกข์
ไม่มีใครระวังหรือบังคับให้สติเกิดขึ้นได้ เมื่อสติเกิด ก็รู้ความ
ต่างกันว่า ขณะที่สติเกิด ต่างกับ ขณะที่สติไม่เกิด
เรื่องพ้นทุกข์ยังเป็นเรื่องที่พ้นไม่ได้ง่ายๆ จนกว่าปัญญาจะเจริญ
ขึ้นเป็นขั้นๆ และละความไม่รู้ ความสงสัย ความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมเป็น
สัตว์ บุคคล ตัวตนก่อน ซึ่งผู้มีปรกติเจริญสติปัฏฐานรู้ว่าสติและปัญญาจะค่อยๆ
อบรมเจริญขึ้นทีละเล็กละน้อย เพราะอวิชชาในวันหนึ่งๆ เกิดมากกว่ากุศล ทั้ง
ในอดีตอนันตชาติและในปัจจุบันชาติ
รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป และมีเพียงรูปเดียวเท่านั้นที่เห็นได้ คือ รู-
ปารมณ์ที่ปรากฏทางตา ซึ่งเป็นรูปที่เห็นได้(สนิทัสสนรูป) และกระทบได้ (สัป-
ปฏิฆรูป) อีก ๑๑ รูป คือ เสียง๑ กลิ่น๑ รส๑ โผฏฐัพพะ๓ จักขุปสาทรูป๑
โสตปสาทรูป๑ ฆานปสาทรูป๑ ชิวหาปสาทรูป ๑ กายปสาทรูป๑ เป็นรูปที่
กระทบได้แต่เห็นไม่ได้ รูป ๑๒ รูปที่กระทบได้นี้เป็นรูปหยาบ จึงเป็นรูปใกล้ต่อ
การพิจารณารู้ได้ ส่วนรูปอีก ๑๖ รูปที่เหลือนั้นเห็นไม่ได้ และกระทบไม่ได้ จึง
เป็นรูปละเอียดและเป็นรูปไกลต่อการพิจารณารู้ได้
สภาพธรรมมีจริงที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้นั้น ผู้อบรมเจริญ
สติปัฏฐานสามารถพิสูจน์รู้ลักษณะของสภาพธรรรมนั้นๆ ที่กำลังปรากฏตาม
ปรกติตามความเป็นจริงได้ แต่ก็เป็นเรื่องละเอียดและลึกซึ้งมาก เช่น รูปารมณ์
ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏทางตานั้น เพียงได้ฟังเท่านี้ ก็รู้สึกว่าจะเข้าใจได้
ไม่ยาก แต่ไม่ใช่ความรู้ในขณะกำลังเห็น ถ้าบุคคลนั้นไม่ได้อบรมเจริญสติ
ปัฏฐานจนปัญญาคมกล้า ก็จะไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมตามความ
เป็นจริง เพราะขณะเห็นทางตานั้นมีรูปารมณ์แน่ๆ แต่ก็เห็นเป็นคน สัตว์ เป็น
วัตถุต่างๆ จนกระทั่งเกิดความสงสัยว่า รูปารมณ์นั้นเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่าง
ไร
รูปารมณ์เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏ เมื่อลืมตาแล้วเห็นโดยที่ยังไม่
ได้นึกถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย นั่นแหละเป็นลักษณะแท้ๆ ของรูปารมณ์ ซึ่งปัญญา
จะต้องเจริญจนเข้าใจจนชินว่า รูปารมณ์ ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน หรือวัตถุใดๆ
ทั้งสิ้น ลักษณะที่แท้จริงของรูปารมณ์เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาเท่านั้น
จริงๆ
ฉะนั้น เมื่อสติปัฏฐานยังไม่เกิดก็ยังไม่ระลึกศึกษาพิจารณาลักษณะ
ของรูปารมณ์จริงๆ ว่าเป็นเพียงว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา จึงละคลายการยึดถือสิ่งที่
เคยเห็นเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นวัตถุต่างๆ ไม่ได้เลย
จะเป็นโยนิโสมนสิการจริงๆ นั้น ต้องเป็นสัมมาสติในการเจริญ
มัคค์มีองค์ ๘
ฉะนั้น จึงไม่ควรคิดว่าจะนั่งกรรมฐาน ที่คิดว่าจะนั่งกรรมฐานก็
เพราะเห็นผิดว่ามีตัวตนที่สามารถจะให้สติเกิดขึ้นได้ตามกำหนดเวลา แต่สัมมา
สตินั้นไม่ต้องคอยจนกระทั่งไหว้พระสวดมนต์ แล้วใครไหว้พระ เมื่อไม่รู้ว่าเป็น
นามธรรม เป็นรูปธรรม จึงยึดถือสภาพธรรมในขณะที่กำลังไหว้พระนั้นเป็นตัวตน
คือเป็นเราไหว้พระ ในขณะที่สวดมนต์เมื่อไม่รู้ว่าเป็นนามธรรมเป็นรูปธรรมก็ยึด
ถือว่าเป็นเราสวดมนต์ สัมมาสติจะเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง
สภาพธรรมใดขณะที่กำลังไหว้พระสวดมนต์ หรือในขณะอื่นๆ ไม่ว่าจะอยู่ใน
อิริยาบถใดได้ทั้งนั้น
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับแม่และหลาน และคุณแมได้ถวายสังฆทานแทบทุกวัน สวดมนต์เจริญกรรมฐานทุกวัน และวันนี้
ได้ให้อภัยทานคือ ไปตัดผมมาแล้วมีดโกรนบาดแผลตรง
ใกล้ลูกตาเป็นแผลและแสบกมีสติกำหนดว่าแสบหนอเจ็บหนอ
ให้อภัยหนอโดยไม่โกรธ และได้ให้ธรรมะเป็นทาน
และขณะรอตัดผมได้ให้โอกาสผู้อื่นที่มาทีหลังตัดก่อน
โดยเสียสละเวลาและระหว่างรอก็กำหนดพองหนอยุบหนอจนคนในร้านตัดผมเสร็จ และได้ช่วยแม่ทำงานบ้านและตั้งใจที่จะสวดมนต์ นั่งสมาธิ
เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย อาราธนาศีล รักษาศีล
และจะไปไหว้หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อทวารวดี หอพระที่ชลบุรี
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
|