นวรัตน์ดอทคอม

รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับวัตถุมงคล-เครื่องรางของขลัง

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
วันเวลาปัจจุบัน พฤหัสฯ. 16 ม.ค. 2025 3:38 am

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


Switch to mobile style


โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 
เจ้าของ ข้อความ
 หัวข้อกระทู้: ในชีวิต
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 30 พ.ย. 2009 11:38 am 
ออฟไลน์

ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 07 มิ.ย. 2009 7:24 pm
โพสต์: 4803
ในชีวิตประจำวันของปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลส ไม่ใช่แค่การดูหนังฟังเพลง อ่านนิยาย

เท่านั้น แม้การดำเนินชีวิต ทุกๆขณะ ตั้งแต่ตื่นนอน จนถึงหลับไป เริ่มตั้งแต่การอาบ

น้ำแต่งตัว กินข้าว ขับรถเดินทาง ทำงาน ก็เป็นไปกับอกุศลทั้งนั้น อกุศลชวนะก็

สะสมไปเรือยๆ เว้นแต่ขณะที่เป็นไปในการกุศล คือ ทาน ศีล และภาวนา ที่เหลือจิตก็

เป็นไปกับอกุศลทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อเข้าใจตามเป็นจริงแล้ว ไม่ควรประมาทในการเจริญ

กุศลทุกประการ

ถ้าเกิดพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้น...สามารถที่จะรู้ได้ว่า

ขณะนั้น...เป็น สภาพที่พอใจ

หรือว่า ถ้าขณะนั้น เป็นความไม่แช่มชื่น เป็นลักษณะที่หยาบกระด้าง

หรือ เป็นความประทุษร้าย หรือเป็นความโกรธ

ในขณะนั้น...ก็รู้ว่าทันทีที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วโกรธ

หรือว่า ขุ่นเคืองใจไม่พอใจ

หรือว่าทันทีที่ได้ยินเสียงแล้วก็ขุ่นเคืองใจ ไม่ชอบใจในเสียงนั้น

ที่เป็นอย่างนี้ ก็เพราะเหตุว่า

จิตที่ทำชวนกิจ (ชวนจิต) แล่นไปในอารมณ์ด้วยความยินดี

ซึ่ง เป็นโลภมูลจิตเกิดดับสืบต่อกัน (ตามปกติแล้วก็ ๗ ขณะ)


หรือว่า ถ้าเป็นขณะที่ไม่พอใจ



หมายความว่า ขณะนั้น ชวนจิต เป็นโทสมูลจิต ที่ไม่ได้เกิดขณะเดียว

อย่างจักขุวิญญาณจิต หรือ โสตวิญญาณจิต

แต่ว่าเกิดดับซ้ำกันถึง ๗ ขณะตามปกติ...จึงเป็น ชวนจิต.


ชวนจิต เกิด-ปรากฏในชีวิตประจำวัน

ซึ่งทุกคนสามารถจะรู้ได้...ในขณะที่จิตนั้นเป็น "ชวนจิต"

และข้อความในอรรถกถาบางแห่ง ก็ได้แสดงถึงขณะที่ปัญญาเกิดขึ้น

ขณะนั้น สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม

ว่าเป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม ในขณะที่เป็นชวนจิต.


ระหว่างขณะไหนที่เป็นจักขุวิญญาณจิต ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้

ซึ่งเกิดแล้ว ดับแล้ว อย่างรวดเร็วมาก

ซึ่งขณะต่อไป ต้องเป็นสัมปฏิจฉันนจิต...ก็แยกไม่ได้

เมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับไปแล้ว สันตีรณจิตเกิดต่อก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้

เมื่อสันตีรณจิตดับไปแล้ว โวฏฐัพพนจิตเกิดต่อ ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้.


เพราะฉะนั้น

ปัญญา ที่จะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม

จึงต้องรู้ในขณะที่เป็นชวนจิต

ไม่ว่าจะเป็นทางปัญจทวาร หรือทางมโนทวาร

แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณ ก็ต้องเป็นทางมโนทวารวิถี.


แต่ในขณะนี้...ที่กำลังเห็น ถ้าชวนวิถีจิตไม่เกิดดับซ้ำกันถึง ๗ ขณะ

ท่านผู้ฟังจะไม่ปรากฏว่ามีการเห็น

คือจักขุวิญญาณจิต ที่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏพอที่สติจะระลึกและศึกษาให้รู้ว่า

ขณะนั้นสติระลึกตรงลักษณะของรูปธรรม

หรือว่า ระลึกตรงลักษณะของนามธรรม.



เพราะฉะนั้น สำหรับสภาพธรรม คือ จิตและเจตสิก

ซึ่งจะเป็น สหชาตาธิปติปัจจัย....จึงต้องเป็นเฉพาะในขณะที่เป็นชวนจิต

ไม่ใช่ขณะเห็น (ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้โผฏฐัพะ)

ไม่ใช่ขณะสัมปฏิจฉันนจิต ไม่ใช่ขณะสันตีรณจิต ไม่ใช่ขณะโวฏฐัพพนจิต

และสำหรับชวนจิตทั้งหมด คือ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์

ก็ได้แก่ อกุศลจิต และกุศลจิต

สำหรับผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้ว...ไม่มีกุศลจิต และอกุศลจิต

เพราะฉะนั้น ชวนจิตของพระอรหันต์ เป็นกริยาจิต.


ชวนจิตทั้งหมด มี ๕๕ ประเภท

ซึ่งได้เคยกล่าวถึงโดยสังเขปแล้ว เมื่อจำแนกโดยชาติบ้างโดยภูมิบ้าง.

ชวนจิต ๕๕ ประเภท

คือ

จิตที่เป็นกุศลจิตบ้าง และอกุศลจิตบ้าง สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์

และ กริยาจิตของพระอรหันต์

และ โลกุตตรจิต ทั้ง ๘ ประเภท.


ชวนจิตทั้งหมด ๕๕ ประเภท

คือ

อกุศลจิต ๑๒ ประเภท

มหากุศลจิต คือ กามาวจรกุศลจิต ๘ ประเภท

มหากริยาจิต คือ กามาวจรกริยาจิตของพระอรหันต์ ๘ ประเภท

รูปาวจรกุศลจิต ๕ ประเภท

รูปาวจรกริยาจิตของพระอรหันต์ ๕ ประเภท

อรูปาวจรกุศลจิต ๔ ประเภท

และอรูปาวจรกริยาจิตของพระอรหันต์ ๔ ประเภท

โลกุตรกุศลจิต ๔ ประเภท

โลกุตรวิบากจิต ๔ ประเภท

รวมเป็นชวนจิตที่ประกอบด้วยเหตุ ๕๔ ประเภท

และ หสิตุปปาทจิต คือ จิตที่ทำให้เกิดการยิ้มของอรหันต์

ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุเจตสิกอีก ๑ ประเภท

รวมเป็นชวนจิตทั้งหมด ๕๕ ประเภท.


สำหรับกุศลจิตในกามภูมิ

คือไม่ใช่ฌานจิต ไม่ใช่รูปาวจรจิต ไม่ใช่อรูปาวจรจิต มี ๘ ประเภท

ชื่อว่า กามาวจรกุศล ๘ ประเภท

เวลาที่ท่านจะให้ทานก็ดี...วิรัตทุจริตก็ดี หรือว่าจิตที่สงบเกิดขึ้น

หรือว่าจิตขณะนั้น กำลังระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม

และรู้ว่าเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม

ในขณะนั้นก็เป็นกามาวจรกุศลจิตนั่นเอง

เพราะเหตุว่า ยังไม่ใช่ฌานจิต ยังไม่ใช่รูปาวจรกุศลจิต

ยังไม่ใช่อรูปาวจรกุศลจิต ยังไม่ใช่โลกุตตรกุศลจิต

เพราะฉะนั้น สำหรับกุศลจิต โดยภูมิ...มี ๔ ภูมิ

คือ กามาวจรกุศลมี ๘ ประเภท

รูปาวจรกุศลจิต คือ รูปฌานจิต มี ๕ ประเภท

อรูปาวจรกุศลจิต คือ อรูปฌานกุศลจิตมี ๔ ประเภท

และ โลกุตตรกุศลจิต ๔ ประเภท

ได้แก่

โสตาปัตติมัคคจิต ๑ สกทาคามิมัคคจิต ๑

อนาคามิมัคคจิต ๑ และ อรหัตตมัคคจิต ๑




นี่คือ กามาวจรกุศลจิต ๘ รูปาวจรกุศลจิต ๕

อรูปาวจรชวกุศลจิต ๔ และ โลกุตตรกุศลจิต ๔

แต่ให้เข้าใจว่า สำหรับ จิตชาติกุศล มี ๔ ภูมิ.



ชวนจิตของผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ เป็นชาติอกุศลก็ได้ เป็นชาติกุศลก็ได้

แต่ ชวนจิตของพระอรหันต์ เป็นชาติกริยา เท่านั้น

เพราะเหตุว่า เมื่อมีการเห็น (เป็นต้น) เกิดขึ้นแล้ว

ไม่มี "เหตุ-ปัจจัย" ที่จะให้เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล

แต่สามารถเป็นโสภณจิตซึ่งกระทำชวนจิตโดยความเป็นจิตชาติกริยา

เพราเหตุว่า จะไม่เป็นเหตุให้เกิดผล

เพราะฉะนั้น

แทนที่จะเป็นมหากุศลจิต อย่างผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์

สำหรับพระอรหันต์ ก็เป็นมหากริยาจิต

แทนที่จะเป็นรูปาวจรกุศลจิต อย่างผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์

สำหรับพระอรหันต์ที่ได้รูปาวจรฌาน ก็เป็นรูปาวจรกริยาจิต

และถ้าเป็นพระอรหันต์ที่ได้ถึงอรูปฌานก็เป็นอรูปาวจรกริยาจิต

แต่ว่าโลกุตตรจิต ไม่มีชาติกริยา
พระโสดาบันมี ๓ จำพวก เพราะอินทรีย์ต่างกัน ภพที่เหลือจึงต่างกัน

การบรรลุเป็นพระโสดาบัน ต้องอาศัยการเจริญภาวนา จึงจะบรรลุได้

แม้ในขณะที่ปลงผม หรือฟังพระธรรม หรือการพิจารณาธรรมอยู่ ขณะนั้น

ภาวนาก็เกิดได้ ท่านจึงบรรลุได้ทุกสถานที่ สติปัฏฐานของพระอริยบุคคล

ต่างกันตรงที่ปัญญา ถ้าปัญญาคมกล้าก็สำเร็จมรรคเบื้องสูงขึ้นไปตามลำดับ


คำว่า สัตบุรุษ ส่วนใหญ่ท่านหมายถึง พระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้า

การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีหลายระดับ ตั้งแต่ขั้นศีล ขั้นสมถะ

ขั้นสติปัฏฐาน ขั้นมรรค ..


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา สวดมนต์ เดินจงกรม อารธนาศีล รักษาศีล กำหนดอิริยาบทย่อย ให้ธรรมะเป็นทาน
โมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
 หัวข้อกระทู้: Re: ในชีวิต
โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ 30 พ.ย. 2009 11:42 am 
ออฟไลน์
Administrator
ภาพประจำตัวสมาชิก

ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ 08 ก.ย. 2008 11:37 am
โพสต์: 6391
:grt:

_________________
089 969 9445 @ anytime
line ID navaraht


ข้างบน
 ข้อมูลส่วนตัว  
 
แสดงโพสจาก:  เรียงตาม  
โพสต์กระทู้ใหม่ กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 135 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ไปที่:  
cron
ขับเคลื่อนโดย phpBB® Forum Software © phpBB Group
Thai language by phpBBThailand.com
phpBB SEO