สภาพธรรมที่จำ ภาษาบาลี เรียกว่า "สัญญา"
"สัญญา" เป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ.
.
จิต รู้อารมณ์ เท่านั้น จิต ไม่จำ ในอารมณ์
แต่ "สัญญาเจตสิก" ทำกิจ "จำหมายในอารมณ์ที่ปรากฏ"
ขณะใด ที่จำได้...ขณะนั้น เป็น "สัญญาเจตสิก" ที่กระทำกิจ "จำ"
เพราะฉะนั้น
ไม่ใช่ "ตัวตน" ที่จำได้.
.
"เจตนาเจตสิก" หมายถึง "สภาพธรรมที่ตั้งใจ"
เจตนาเจตสิก เป็นเจตสิกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ.
.
มีเจตสิกอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดกับจิตทุกขณะ
เช่น
"อกุศลเจตสิก" ต้องเกิดร่วมกับ "อกุศลจิต" เท่านั้น
แต่สำหรับ "โสภณเจตสิก" (โสภณ=ดีงาม)
ต้องเกิดร่วมกับ "โสภณจิต" เท่านั้น
เป็นต้น.
.
โลภะ โทสะ โมหะ เป็น อกุศลเจตสิก
ซึ่งต้องเกิดร่วมกับ อกุศลจิต เท่านั้น.!
เช่น
ขณะที่เห็นสิ่งที่สวยงาม...จิตอาจจะเกิดความยินดีพอใจ ในสิ่งที่เห็น
หมายความว่า จิตขณะนั้น มี "โลภเจตสิก" เกิดร่วมด้วย
และ โลภเจตสิก ก็ทำกิจ "ติดข้องในอารมณ์"
.
นอกจากนี้ ยังมี "อกุศลเจตสิก" ประเภทอื่น ๆ อีก
ที่เกิดร่วมกับ "อกุศลจิต"
เช่น
ความสำคัญตน (มานะเจตสิก)
ความเห็นผิด (ทิฏฐิเจตสิก)
ความริษยา (อิสสาเจตสิก)
เป็นต้น.
.
"โสภณเจตสิก" ต้องเกิดร่วมกับ "โสภณจิต"
เช่น
อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก อโมหเจตสิก (ปัญญาเจตสิก)
เช่น ขณะที่กำลังให้ทาน
ขณะนั้น...อโลภเจตสิก และ อโทสเจตสิก กำลังเกิดขึ้นร่วมกับกุศลจิต.
และ โสภณเจตสิก ประเภทอื่น ๆ เช่น "ปัญญาเจตสิก" เป็นต้น
อาจจะเกิดร่วมด้วยกับกุศลจิต (ขณะที่กำลังให้ทาน) หรือไม่ก็ได้.
.
แม้ว่า จิต และ เจตสิก เป็น นามธรรม
แต่มี "ลักษณะ"ต่างกัน.
บางท่านอาจจะสงสัยว่า...จะรู้ลักษณะของเจตสิกได้อย่างไร.!
.
เราอาจจะรู้ลักษณะของเจตสิกได้
เมื่อสังเกตเห็น "ความเปลี่ยนแปลงของจิต"
เช่น
ขณะที่อกุศลจิต ซึ่งมี "มัจฉริยเจตสิก" (ความตระหนี่)
เกิดขึ้นหลังจากที่กุศลจิต ซึ่งมีอโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย...ดับไปแล้ว
สภาพธรรมที่ปรากฏ...ทำให้เรารู้ว่า
มัจฉริยเจตสิก (ความตระหนี่) ต่างจาก อโลภเจตสิก (ความไม่ติดข้อง)
เป็นต้น.
.
หรือ เราอาจจะสังเกตเห็น "ความเปลี่ยนแปลง"
จาก ความยินดี เป็น ความยินร้าย
จาก ความสบายใจ เป็น ความไม่สบายใจ
(ซึ่ง เป็น เวทนาเจตสิก)
"เวทนาเจตสิก"
เป็น เจตสิกประเภทหนึ่ง ที่สามารถสังเกตรู้ได้ ในชีวิตประจำวัน.
เพราะว่า บางครั้ง เวทนาเจตสิก ปรากฏชัด
และ เวทนาเจตสิก มีลักษณะต่าง ๆ หลายประเภท
ซึ่งถ้าสังเกต จะทำให้เราสามารถรู้ได้ว่า...............
"ลักษณะ" ของ โทมนัสเวทนา ต่างกับ โสมนัสเวทนา และ อุเบกขาเวทนา.
.
เจตสิกบางประเภท เกิดกับจิตบางประเภทเท่านั้น
เจตสิกประเภทต่าง ๆ เมื่อเกิดร่วมกับจิตขณะหนึ่ง ๆ แล้ว
ก็ดับไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับจิตที่เกิดร่วมด้วย.
.
ความเข้าใจเรื่องของ "จิตและเจตสิก" ประเภทต่าง ๆ อย่างละเอียด
จะเป็นปัจจัยให้ "รู้สภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง"
"ทุกชีวิต มีกรรมเป็นของของตน
ซึ่งเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย
ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน.
การได้ประสบกับสิ่งที่ไม่ดี ไม่น่าพอใจ
เป็นผลจากกรรมในอดีตที่ บุคคลนั้น ๆ เอง...ได้เคยกระทำไว้.
การได้ประสบกับสิ่งที่ดี ที่น่าพอใจ
ก็เป็นผลจากกรรมในอดีต ที่บุคคลนั้น ๆ เอง ได้กระทำไว้....
ที่สำคัญ คือ ไม่ประมาท...ในการกระทำใด ๆ ที่กำลังจะทำต่อไป
เพราะนั่นคือ "เหตุ" ที่จะให้ "ผล" ต่อไปในอนาคต.
ซึ่งถ้าเป็นการกระทำที่ดี ต้องให้ผลที่ดี
ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่ดี ต้องให้ผลไม่ดีแน่นอน...ฯลฯ"
เป็นต้น.
ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับ "เรื่องของกรรม"
มีมากมายหลายนัย.
เช่น
"สัตว์โลก เป็นที่ดูผลของบุญและบาป"
เป็นต้น. พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า กรรม คือ เจตนา เมื่อมีเจตนากระทำ ด้วย
กาย หรือด้วยวาจา ด้วยใจ จึงชื่อว่าเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ดังนั้น ในการเดิน
ทางในชีวิตประจำวัน ขณะเดินทางอาจเหยียบถูกสัตว์เล็กสัตว์น้อยตาย โดยไม่ได้
ตั้งใจ หรือขณะขับรถชนแมลงและสัตว์ต่างๆตายโดยไม่ได้ตั้งใจ ลักษณะนี้ตามหลัก
ธรรมคำสอนแสดงว่าไม่เป็นอกุศลกรรมบถ เพราะฉะนั้นเมื่อศึกษาพระธรรมโดยละเอียด
ย่อมทราบความจริง ว่าลักษณะอย่างไรเป็นอกุศลกรรมบถ ลักษณะอย่างไรไม่เป็น
กรรมบถ ทำให้ผู้ศึกษาไม่ต้องไปกังวลหรือเกิดอกุศลกับเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะสัตว์ทั้ง
หลายย่อมเป็นไปตามกรรม
วิบากจิตไม่สำคัญอะไรเลย...ใช่มั้ย.?
เช่น ขณะกำลังนอนหลับสนิท...ภวังคจิตของบางท่าน
ประกอบด้วยอโลภเจตสิก อโทสเจตสิก อโมหเจตสิก (ปัญญาเจตสิก)
เพราะเหตุว่า เป็นผลของกุศล ซึ่งประกอบด้วยปัญญา
ซึ่งทำให้พื้นจิต...เป็นจิตซึ่งมีปัญญาเกิดร่วมด้วย
พร้อมที่จะเจริญเติบโตได้...พร้อมที่จะเจริญขึ้นในภายหลังได้
สำหรับผู้ที่ภวังคจิต มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย.
แต่ในขณะที่นอนหลับสนิท
แม้ภวังคจิตของบุคคลนั้น จะมีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย
บุคคลนั้น ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้เลย ในขณะที่เป็นภวังคจิต
เพราะฉะนั้น
แม้ปัญญาจะเกิดกับภวังคจิต ก็ไม่เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย
นี้เป็นเหตุที่วิบากจิตทั้งหมดที่เป็นโลกิยวิบาก ไม่สำคัญอะไรเลย
ไม่สามารถที่จะเป็นอธิปติปัจจัยได้.
แต่ชีวิตในวันหนึ่ง ๆ ขณะไหนสำคัญ.?
ขณะที่เป็นชวนจิต...สำคัญที่เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล.!
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงว่า
สำหรับขณะเป็น "ชวนจิต" นั้น
ขณะใด.....ที่ฉันทะ เป็นอธิปดี
หรือว่า......... วิริยะ เป็นอธิปดี
หรือว่า.......ปัญญา เป็นอธิปดี
หรือว่า........... จิต เป็นอธิปดี
เพื่อจะให้เห็นว่า แม้ในขณะที่กำลังเป็นโลภะ หรือขณะที่กำลังเป็นกุศล
ซึ่งสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใดกำลังปรากฏ "ลักษณะที่เป็นหัวหน้า"
คือ เป็นอธิปดี.......ขณะนั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนทั้งสิ้น
เพียงแต่เป็น "สภาพธรรมที่มีลักษณะเช่นนั้น ๆ "
เพราะอาศัยสภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่ง (ดังกล่าว) เป็นอธิปดี.
เพื่อที่จะได้เห็นถึง "ความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม"
ในขณะที่กำลังเป็น "กุศล" หรือในขณะที่เป็น "อกุศล"
เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน แต่ตั้งแต่ ประมาณตี 3 มาสวดมนต์ นั้งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย โมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตาม ถนนหนทาง เมื่อวานได้ บริจาคเงินให้แก่มูลนิธิสร้างบ้านแก่ผู้ที่ขาดแคลน และบริจาคเงินเพื่อการศึกษาธรรม บริจาคเงินร่วมงานฝังลูกนิมิต และวันนี้ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระบรมสารีริกธาตุ ช่วยเหลือระหว่างทาง และเมื่อวานนี้ได้เผยแพร่ความรู้วิชาการ เล็กๆน้อยๆ ให้แก่บุคคลประมาณ 50 กว่าท่าน และได้ปิดไฟตามที่สาธารณะ และตั้งใจที่จะสวดมนต์ รักษาศีล เจริญวิปัสสนา กำหนดอิริยาบทย่อย เดินจงกรม นั่งสมาธิ ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
|